Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เด็กชายอายุ 2 ปี มารพ.ด้วยอาการหหายใจเหนื่อย มีเสียงหวัด ไอถี่…
เด็กชายอายุ 2 ปี มารพ.ด้วยอาการหหายใจเหนื่อย มีเสียงหวัด ไอถี่ เเรกรับสัญญาณชีพ T 37.5 องศาเซลเซียส, PR 100 ครั้ง/นาที, RR 46 ครั้ง/นาที, BP 100/70 mmHg พักอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน
การวินิจฉัยโรค
-
ประวัติ
มีอาการไอหอบเหนื่อย เเน่นหน้าอก หายใจมีเสียงดังหวีด โดยเป็นซํ้าหลายๆครั้ง มักจะเกิดในเวลากลางคืนหรือเช้าตรู่ อาการดีขึ้นได้เองหรือหลังได้รับยาขยายหลอดลม
อาการมักจะเกิดตามหลังสิ่งกระตุ้น ได้เเก่ การติดเชื้อระบบทาเดินหายใจ การออกกำลังกาย ควันบุหรี่ สารระค่ยเคือง การเปลี่ยนเเปลงของอากาศ สารก่อภูมิเเพ้ เช่น ไรฝุ่น
มักพบร่วมกับโรคภูมิเเพ้อื่นๆ เช่น atopic dermatitis, allergic rhinitis
-
-
-
-
พยาธิสรีรวิทยา
หลอดลมของผู้ป่วยมักไวต่อสารกระตุ้น (bronchial hyperresponsiveness) เมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้จะเกิดการอักเสบในหลอดลม สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้จะกระตุ้น T และ B lymphocyte ให้ผลิตสาร interleukin-3 และ 4 เพื่อกลับไปกระตุ้นให้ B lymphocyte ผลิต IgE มาตอบสนองต่อตัวกระตุ้น หลังจากนั้น IgE จะไปกระตุ้น mast cell, macrophages, eosinophils, neutrophils และ lymphocytes ที่ผนังหลอดลมให้หลั่งสารอักเสบออกมาที่ผนังหลอดลมจนเกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดลม โดยพบมี epithelial cell ของผนังหลอดลมลอกหลุด มีการสร้างสารเมือกมากขึ้นในหลอดลม ส่วน basement membrane ของผนังหลอดลมมีการหนาตัวขึ้น และเซลล์กล้ามเนื้อหลอดลมเพิ่มจำนวนมากขึ้น
-
-
การป้องกัน
การป้องกันและควบคุมอาการของโรคไม่ให้กำเริบนั้นสามารถทำได้และถือเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาโรค โดยค้นหาปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืด เช่น สารก่อภูมิแพ้ สารระคายเคือง สภาวะอากาศ และให้คำแนะนำในการหลีกเลี่ยงปัจจัยเหล่านั้น เช่น กำจัดไรฝุ่นในบ้าน หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยง หลีกเลี่ยงควันบุหรี่และควันต่างๆ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
-
ข้อวินิจฉัยการบาลที่ 1
-
กิจกรรมการพยาบาล
-
-
จัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง 45 องศา เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนตัว ปอดขยายตัวได้ดีขึ้นเเละปอดมีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซเพิ่มขึ้น
ใช้หูฟังตรวจสอบเสียงหายใจที่ปอด เพื่อประเมินความผิดปกติจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ซึ่งอาจเกิดเนื่องจากเสมหะอยู่ในหลอดลมปอดหรือถุงลมปอด
เเนะนำไม่ให้ผู้ป่วยออกเเรงหรือพูดโดยไม่จำเป็น ช่วยเหลือกิจกรรมในการรัับประทานอาหาร ดื่มนํ้า ให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมทุกอย่างที่เตียงโดยพยายามทำในเวลาเดียวกัน เพื่อให้ผู้ป่วยพักผ่อนเเละลดการใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญให้เกิดพลังงานของร่างกาย
วัดสัญญาณชีพ 30 นาที เเละติดตามการเปลี่ยนเเปลงของผู้ป่วย สังเกตเเละบันทึกการหายใจ เพื่อประเมินภาวะการณ์หายใจเเละให้ความช่วยเหลืออย่างถูกต้องต่อไป
-