Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ, น.ส.พิชญาภา น้อยเงิน เลขที่ 58…
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute laryngotracheobronchitis, viral croup)
viral croup เป็นโรคที่เกิดจาก การติดเชื้อของทางเดินหายใจ
ไวรัส
influenza A และ B
respiratory syncytial virus (RSV),
parainfluenza viruses พบร้อยละ 50-75
แบคทีเรีย
Mycoplasma pneumoniae
พยาธิสภาพที่พบในเด็ก
มีการอักเสบและบวมของกล่อง
เสียง หลอดคอ และหลอดลม
ส่งผลทำให้เกิดภาวะอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนแบบเฉียบพลัน
อาการที่พบ
barking cough
hoarseness
หายใจได้ยินเสียง stridor
ส่วนใหญ่จะพ่น Adrenaline
ต้องใส่ Endotracheal tube
Tonsilitis / Pharyngitis
สาเหตุ
การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส
Beta Hemolytic
streptococcus gr. A
อาการ
ไข้ ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ
ในรายที่มีตุ่มใสหรือแผลตื้นที่คอหอย หรือเพดานปาก สาเหตุจะเกิดจาก Coxsackie Virus
เรียกว่า Herpangina
คำแนะนำที่สำคัญคือ ให้กินยา Antibiotic
ให้ครบ 10 วัน
การผ่าตัดต่อมทอนซิล(tonsillectomy)
ทำเมื่อมีการติดเชื้อเรื้อรัง / เป็นๆหายๆ
มีไข้, เจ็บคอ, เจ็บคอมากเวลากลืนหรือกลืนลำบาก
มีการอุดกลั้นของทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้นอนกรน หรือหยุดหายใจขณะหลับ
รายที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งต่อมทอนซิล
การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด Tonsillectomy
หลังผ่าตัดควรให้เด็กนอนตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อสะดวกต่อการระบายเสมหะ น้ำลายหรือโลหิตอาจมีคั่งอยู่ในปากและในคอ
สังเกตอาการและการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
เมื่อเด็กรู้ตัวดี จัดให้อยู่ในท่านั่ง 1-2 ชั่วโมง ให้อมน้ำแข็งก้อนเล็ก ทานของเหลว รายที่ปวดแผลผ่าตัด กระเป๋ษน้ำแข็งวางรอบคอ ถ้าปวดมาก กินยา
ผู้ป่วยจะมีแผลที่ผนังในคอทั้งสองข้าง บางรายยังมีอาการเจ็บคอ กลืน อาหารหรือน้ำลายลำบากจากแผลผ่าตัด แนะนำให้ทานของเหลวที่เย็น เช่นไอศกรีม
หลังผ่าตัด เพดาน-ผนังในคออาจบวม ทำให้หายใจอึดอัด ควรนอนหมอนสูง
ไซนัสอักเสบ(Sinusitis)
เป็นอาการอักเสบของโพรงอากาศข้างจมูก
สาเหตุ
ติดเชื้อจากแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา
เมื่อติดเชื้อ จะทำให้เยื่อบุโพรงอากาศบวม และส่งผลให้เกิดภาวะอุดตันช่องระบายของโพรงอากาศข้างจมูก ทำให้เกิดการคั่งของสารคัดหลั่ง
ทำให้ความดันโพรงอากาศเป็นลบ เมื่อจาม/สูดน้ำมูก จะทำให้เชื้อ Bact.ที่nasopharynx มีโอกาสเข้าไปในโพรงจมูกง่ายๆ
ผลของการติดเชื้อ cilia จะทำงานผิดปกติ และสารคัดหลั่งออกมามากและมีความหนืดมาก
ระยะของโรค
Acute sinusitis ระยะของโรคไม่เกิน 12 สัปดาห์
Chronic sinusitis อาการจะต่อเนื่องเกิน 12 สัปดาห์
อาการ
มีไข้สูงมากกว่า 39 ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มีน้ำมูกไหล ไอ
อาการ Acute จะรุนแรงกว่า Chronic
การวินิจฉัย
X-ray paranasal sinus
CT scan ได้ผลดีกว่าวิธีอื่น
การตรวจด้วยการส่องไฟผ่าน (Transilumination) จะพบว่าไซนัสที่มีการอักเสบจะมี ลักษณะมัว
การดูแลรักษา
ให้ยา antibiotic ตามแผนการรักษา
ให้ยา paracetamal เพื่อลดไข้ และบรรเทาอาการปวดศีรษะ
ให้ยาแก้แพ้ ในรายที่ไซนัสอักเสบเรื้อรังที่มีสาเหตุชักนำมาจากโรคภูมิแพ้
ให้ยาSteroid เพื่อลดอาการบวม ลดการคั่งของเลือดที่จมูก ทำให้รูเปิดของโพรงไซนัสสามารถระบายสารคัดหลั่งได้ดีขึ้น
การล้างจมูก
การทำความสะอาดโพรงจมูก ช่วยชะล้างมูก คราบมูก/ หนองบริเวณจมูก /ไซนัส และหลังโพรงจมูกออก ทำให้โพรงจมูกสะอาด
การล้างจมูกก่อนใช้ยาพ่นจมูก จะท าให้ยาพ่นจมูกมีประสิทธิภาพดีขึ้น
น้ำที่ใช้ล้างคือ น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% NSS
หอบหืด Asthma
เป็นภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม
พยาธิสภาพ
ทำให้หลอดลมหดเกร็งตัว(Brochospasm)
ทำให้หลอดลมตีบแคบลง (Stenosis) เยื่อบุภายในหลอดลมบวม
มีการสร้างเมือกเหนียวจำนวนมาก(Hypersecretion) ทำให้ช่องทางเดินอากาศในหลอดลมแคบลง ท าให้เกิดอาการหอบหืดขึ้น
เมื่อพยาธิสภาพที่ 3 อย่างเกิดขึ้น ผู้ป่วยจึงมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ
อาการ
มักเริ่มต้นด้วยอาการ หวัด ไอ มีเสมหะ ถ้าไอมากขึ้นเรื่อยๆ ก็มักจะมีเสียง
Wheezing ในช่วงหายใจออก
เมื่อร่างกายขาดออกซิเจนมากขึ้น ก็เกิด
อาการหอบมาก ปากซีดเขียว ใจสั่น
บางครั้งการเกร็งตัวของหลอดลมเกิดขึ้นไม่มากนัก ผู้ป่วยจะมีอาการไม่มาก แต่ก็เป็นอยู่เรื่อยๆ
การรักษา
การลดอาการของเด็ก ให้เด็กมีกิจกรรมได้ ตามปกติ พยายามหลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้นและการใช้ยาอย่าง
ถูกต้อง
ยาขยายหลอดลม ( Relievers ) มีทั้งชนิดพ่น และชนิดรับประทาน
ชนิดพ่นจะให้ผลเร็ว เพราะไปขยายกล้ามเนื้อเล็กๆ ซึ่งอยู่ภายในหลอดลมที่หดเกร็ง จะใช้เมื่อปรากฏอาการหอบ
ยาลดการบวม และการอักเสบของหลอดลม(Steroid ) ควรใช้เพียงระยะสั้นๆ คือ 3 - 5 วัน
การใช้ baby haler
Baby haler ต้องล้างทำความสะอาดบ่อยๆ แต่ไม่จำเป็นต้องทุกครั้งหลังใช้ ล้างด้วยน้ำยาล้างจานตากให้แห้ง ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดถู
หลังทำความสะอาด ต้องพ่นยาทิ้ง 1 ครั้งเพื่อให้ยาจับกับ spacer เพื่อให้พ่นยาครั้งต่อไป ยาจะพ่นเข้าผู้ป่วยได้มาก
หลอดลมอักเสบ( Bronchitis)
หลอดลมฝอยอักเสบ(Bronchiolitis)
ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างที่พบบ่อยในเด็กเล็ก
เกิดขึ้นเนื่องจากมีการอักเสบและอุดกลั้นของหลอดลม
เชื้อที่พบบ่อยคือ RSV
กลไกการเกิด
เชื้อไวรัส ทำลายเนื้อเยื่อ
ของหลอดลมฝอยทำให้เกิดอาการ อักเสบ บวม และมีการคั้งของเสมหะ
เกิดการอุดกลั้นของหลอดลมฝอย ผลที่ตามมาคือ Atelectasis
อาการ
เริ่มจาก ไข้หวัดเล็กน้อย มีน้ำมูกใส จาม เบื่อ อาหาร
ต่อมาเริ่มไอเป็นชุดๆ ร้องกวน หายใจเร็ว หอบ หายใจมีจมูกบาน ดูดนม/น้ำได้น้อย /ไม่ได้เลย
การรักษา
รักษาตามอาการ ให้ยาลดไข้ ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ ยาขยายหลอดลม
การดูแลเด็กให้ได้รับออกซิเจน อย่างเพียงพอ ได้รับน้ำ ดูแลไข้
ดูแลปัญหาการติดเชื้อ ดูแลเสริมสร้างภูมิต้านทาน
ปอดบวม Pneumonia
สาเหตุ
สำลักสิ่งแปลกปลอม
ติดเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส
อาการ
ไข้ ไอ หอบ ดูดน้ำ ดูดนมน้อยลง ซึม
การรักษา
ดูแลให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้เสมหะอ่อนตัวขับออกได้ง่าย ช่วยลดไข้
ดูแลเรื่องไข้ Clear airway suction เพื่อให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดูแลแก้ไขปัญหาพร่องออกซิเจน ให้ยาขยายหลอดลม ยาขับเสมหะ ยาฆ่าเชื้อ
การพยาบาลผู้ป่วยเด็ก
ปัญหาการอุดกั้นทางเดินหายใจเป็นปัญหาสำคัญจำเป็นต้องดูแลแก้ไข
เด็กโตต้องสอนการไออย่างถูกวิธี กระตุ้นให้ดื่มน้ำมากๆ
ในรายที่เสมหะอยู่ลึกให้ Postural drainage โดยการเคาะปอด และSuction เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ
จัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง หรือนอนทับข้างที่มีพยาธิสภาพเพื่อให้ปอดข้างที่ดีขยายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอตามแผนการรักษา
น.ส.พิชญาภา น้อยเงิน
เลขที่ 58 รหัส 62111301060