Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 วัสดุในชีวิตประจำวันและงานช่าง :<3: - Coggle Diagram
บทที่ 4 วัสดุในชีวิตประจำวันและงานช่าง :<3:
4.1 วัสดุในชีวิตประจำวัน
ไม้
:star:
วัสดุจากไม้
:!:
ไม้ เป็นวัสดุแข็งที่ทำจากแก่นลำต้นของต้นไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น โดยแบ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง ไม้แดง และไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้สัก ไม้ยางพารา ไม้โอ๊ก โดยนิยามแล้วไม้ จะหมายถึงเนื้อเยื่อไซเล็มชั้นที่สอง (Xylem) ของต้นไม้ แต่ในความเข้าใจไม้ อาจหมายรวมไปถึงวัสดุใดๆ ที่มีส่วนประกอบทำมาจากไม้ด้วย
ไม้โดยสภาพแล้ว ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างโดยตรง เนื่องจากอาจจะมีการแตกหักในโครงสร้าง จึงต้องนำไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นก่อน เช่น ไม้อัด,chipboard, engineered wood, hardboard, medium-density fiberboard (MDF) , oriented strand board (OSB) เป็นต้น ไม้ดังกล่าวนี้ใช้ประโยชน์กันในวงกว้าง อีกทั้งเยื่อไม้ยังเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตกระดาษอีกด้วย เซลลูโลสที่อยู่ในไม้ยังใช้การทำวัสดุสังเคราะห์
ไม้ใช้ประโยชน์ในการทำอุปกรณ์อื่นนอกเหนือจากการก่อสร้าง เช่น ใช้ทำตะเกียบ เครื่องดนตรี เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ
โลหะหรือเหล็ก
:check:
ธาตุเหล็กนั้นมีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ fe เหล็กนั้นมีประโยชน์อย่างมากในปัจจุบันเป็นธาตุที่พบเห็นได้ในทุกวัน โดยเฉพาะในการก่อสร้าง ในโรงงานอุตสาหกรรมอีกทั้งยังเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใช้ในการสร้างบ้าน อาคาร ต่างๆ เหล็กจึงเป็นธาตุที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้แล้วยังใช้ในการทำเป็นวัสดุต่างๆ ทำเป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักร และอื่นๆอีกมากมาย
ผลิตภัณฑ์เหล็ก โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์เหล่านั้นสามารถแบ่งออกได้ หลายหมวดหมู่ (1) ยานยนต์ (2) การก่อสร้าง (3) ภาชนะบรรจุภัณฑ์และการจัดส่ง (4) เครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรม (5) การขนส่งทางรถไฟ (6) อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ (7) อุปกรณ์ไฟฟ้า (8) เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องใช้ในครัว [1]
พลาสติก
พลาสติก (en:Plastic) เป็นวัสดุในกลุ่มพอลิเมอร์ สังเคราะห์ขึ้นจากสารประกอบอินทรีย์ มีน้ำหนักโมเลกุลสูง สามารถหลอมขึ้นรูปเป็นของแข็งรูปทรงต่างๆ ได้ง่าย มีการนำมาใช้งานหลากหลายรูปแบบ เช่น ถุงพลาสติก ขวดน้ำ ภาชนะ บรรจุภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนรถยนต์ ท่อประปา เป็นต้น [1][2]
พลาสติกโดยทั่วไปสังเคราะห์จากปิโตรเคมี แต่ในปัจจุบันมีพลาสติกที่ทำจากทรัพยากรหมุนเวียน (en:Renewable resource) มากขึ้น เช่น ทำจากกรดพอลิแลกติกที่ได้จากข้าวโพด หรือเอทานอลที่ได้จากอ้อย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พลาสติกที่ทำจากวัสดุทางชีวภาพบางชนิดก็ไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ [3]
พลาสติกสังเคราะห์ชนิดแรกของโลก คือ เบคคาไลท์ (en:Bakelite) ถูกคิดค้นขึ้นโดย Leo Baekeland ในปี ค.ศ. 1907 ณ เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา [4] และต่อมาได้มีนักเคมีคนสำคัญอีกหลายคนที่ศึกษาเรื่องพลาสติก อาทิ Hermann Staudinger ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งเคมีพอลิเมอร์ และ Herman Mark ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งฟิสิกส์พอลิเมอร์ [5]
พลาสติกเริ่มกลายมาเป็นวัสดุที่ใช้งานแพร่หลายในช่วงศตวรรษที่ 20 และอัตราการผลิตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในปี ค.ศ. 2018 มีปริมาณการผลิตพลาสติกทั่วโลกมากถึง 359 ล้านตัน [6] แม้พลาสติกจะเป็นวัสดุที่มีประโยชน์หลากหลาย แต่ความคงทนของพลาสติกก็นำมาซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่นกัน เนื่องจากพลาสติกส่วนใหญ่ไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ ในระยะหลังจึงมีความพยายามที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวมากขึ้น เช่น เพิ่มอัตราการรีไซเคิลพลาสติก และรณรงค์ให้ลดการใช้พลาสติก หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ เป็นต้น
4.2 เครื่องมือช่าง
1.ไขควงเช็คไฟ
ใช้ตรวจวงจรไฟฟ้าจุดต่าง ๆว่ามีกระแสไฟฟ้าหรือไม่
ไขควงปากแบน หรือปากตรงใช้ขันสกรูหัวแบน
ไขควงปากแฉกใช้ขันสกรูหัวสี่แฉก
เครื่องมือช่างมีมากมายหลายประเภท แบ่งออกหลายแบบ แต่ละแบบมีวิธีดูแลรักษาแตกต่างกันออกไป