Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การควบคุมการเจริญเติบโต และเมตาบอลิสมของต่อมไร้ท่อ - Coggle Diagram
การควบคุมการเจริญเติบโต
และเมตาบอลิสมของต่อมไร้ท่อ
ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) มีบทบาทสำคัญ 5 อย่างคือ
ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของระบบอวัยวะสืบพันธุ์และระบบประสาท
กระตุ้นการเติบโตทั้งในวัยเด็กและวัยรุ่น
ช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิงและเพศชายทำงาน
ปรับสมดุลสภาพแวดล้อมภายในร่างกาย
ช่วยในการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อภาวะวิกฤตเมื่อระบบต่อมไร้ท่อไม่สามารถทำหน้าที่ได้ปกติ
ต่อมไร้ท่อและฮอร์โมน
กลไกการควบคุมฮอร์โมน ต่อมไร้ท่อผลิตฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดหรือน้ำเหลืองเพื่อไปยังอวัยวะเป้าหมาย (target organ) กระตุ้นให้อวัยวะเป้าหมายทำหน้าที่ตามชนิดของข้อมูลนั้น ๆฮอร์โมนทุกชนิดมีลักษณะดังต่อไปนี้
มีการหลั่งและจังหวะการหลั่งเป็นลักษณะแบบ 2 จังหวะ (diurnal pattern) และแบบเป็นจังหวะ (pulsatile and cyclic pattern) โดยการหลั่งขึ้นอยู่กับระดับสารในเลือดเป็นตัวกระตุ้น เช่น แคลเซียม โซเดียม โพแทสเซียมหรือฮอร์โมน
ควบคุมด้วยระบบย้อนกลับ
(negative feedback mechanism) ทางเดินกลับทางบวกและทางลบ เพื่อควบคุมสิ่งแวดล้อมภายใน
ฮอร์โมนมีผลต่อเซลล์เป้าหมายโดยมีตัวรับที่จำเพาะกับฮอร์โมนผลที่เกิดขึ้นช่วยให้เซลล์ทำหน้าที่ได้
ขับออกทางตับหรือไต
กลไกการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน
การออกฤทธิ์ของฮอร์โมนต้องอาศัยตัวรับ (Hormone receptor) ซึ่งทำหน้าที่จับกับฮอร์โมนและ กระตุ้นที่เซลล์เป็นเป้าหมาย ฮอร์โมนมีผลทั้งโดยตรง (direct effect) และมีผลทางอ้อม (permissive effect) ต่อการทำหน้าที่ของเซลล์
พยาธิสรีรวิทยาของระบบต่อมไร้ท่อ (pathophysiology of endocrine system)
การหลั่งฮอร์โมนมากเกินไป (Hyper function) จากสาเหตุปฐมภูมิ (primary source) อาจ มาจากการที่ต่อมโตขึ้น (hypertrophy) หรือต่อมสร้างเซลล์มากขึ้น (hyperplasia) หรือต่อมเป็นเนื้องอก (tumor) เป็นมะเร็ง (cancer) การหลั่งฮอร์โมนมากจากสาเหตุทุติยภูมิ (secondary source) จากการที่ต่อม ใต้สมองหลั่งฮอร์โมนมากระตุ้นมากขึ้น ทำให้ต่อมไร้ท่อที่ถูกกระตุ้นหลั่งฮอร์โมนมากขึ้น
การหลั่งฮอร์โมนน้อยเกินไป (Hypo function) หรือการหลั่งออร์โมนที่ไม่เพียงพอ (insufficiency) ซึ่งมีสาเหตุหลัก 3 ส่วน คือ ต่อมไร้ท่อเจริญเติบโตไม่เพียงพอ ความผิดปกติของต่อมตั้งแต่ กำเนิด ต่อมไร้ท่อถูกทำลายจากการได้รับยา สารเคมี สารพิษต่าง ๆ หรือการได้รับอุบัติเหตุ การขาดฮอร์โมน จากต่อมใต้สมองมากระตุ้น และสาเหตุจากอวัยวะเป้าหมายมีความไวต่อการถูกกระตุ้นของฮอร์โมนที่ลดลง
พยาธิสภาพของต่อมไทรอยด์
▪ Hyperthyroidismm คือภาวะที่ร่างกายมีระดับไทรอยด์ฮอร์โมนสูงกว่าปกติจากสาเหตุ
Grave, s disease (toxic diffused goiter)
Struma ovarii
Thyroiditis
Toxic multinodular goiter
Functioning metastasis Thyroid carcinoma
พยาธิสรีรวิทยา (pathophysiology)
การเพิ่มระดับไทรอยด์ฮอร์โมนในร่างกายจะมีผลทำให้การเผาผลาญสารอาหาร (metabolism) ต่าง ๆ ในร่างกาย อวัยวะ ต่าง ๆทำงานเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองต่อภาวะการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายที่เพิ่มขึ้น อุณหภูมิของ ร่างกายจึงสูงขึ้น การทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติกจะเพิ่มขึ้น ( sympathetic over activity) ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ปริมาณเลือดออกจากหัวใจเพิ่มขึ้นและการไหลเวียนเลือดในร่างกายมากขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น
ในผู้ป่วย Grave, s disease มีthyroid stimulating immunoglobulin (TSI) กระตุ้นต่อมไทรอยด์ ให้ผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนเพิ่มขึ้นซึ่งจะมีผลกดการหลั่ง thyroid stimulating hormone (TSH) จาก pituitary gland และกดการหลั่ง thyroid -releasing hormone จาก hypothalamus ต่อม ไทรอยด์จะจับกับธาตุไอโอดีนมากขึ้นและต่อมทำงานมากขึ้นขนาดของต่อมไทรอยด์โตขึ้นได้
ในผู้ป่วย nodular goiter จะพบต่อมไทรอยด์โตขึ้นเพื่อสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนให้พอกับความต้องการ ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะที่ร่างกายขาดไอโอดีน
ภาวะ hyperthyroidism หากไม่สามารถควบคุมได้เนื่องจากการรักษาที่ไม่เพียงพอหรือภาวะเครียด จะทำให้เกิดอาการผิดปกติที่เรียกว่า “thyrotoxic crisis หรือ thyroid storm” อาการของโรคจะ รุนแรงขึ้นซึ่งเป็นอันตรายทำให้เสียชีวิตได้ภายใน 48 ชั่วโมงหากไม่ได้รับการรักษา
อาการและอาการแสดง (sign and symptom)
เหนื่อยง่าย ใจสั่น หัวใจเต้น เร็ว ชีพจรเร็ว ความดันโลหิตสูง อาจพบภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
หิวง่าย น้ำหนักลด อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น เหงื่อออก มี อาการร้อนวูบวาบ อาการมือสั่นขณะยื่นแขนไปข้างหน้า (tremor) คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ประจำเดือนผิดปกติ
เส้นผมบางและนุ่ม ผมร่วง มีการเปลี่ยนแปลงของเล็บโดยมีการแยกของเล็บออกมาจาก nail bed (onycholyses) หรือเรียกความผิดปกติมีว่า “plummer, s nail”
กระสับกระส่าย ตื่นเต้น สับสน นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่ายเกิดจากระบบประสาทส่วนกลางถูกกระตุ้น การตอบสนองต่อสิ่งเร้าจะไวมากขึ้น
ตาดุหรือตาจ้อง (staring eye) ตาโปน (exophthalmos) บวม คัน เจ็บตา น้ำตาไหล แพ้แสง กระจกตาอาจเกิดแผล ได้ง่าย หนังตายกขึ้น (lid retraction)
ในผู้ป่วย Grave, s disease จะพบอาการต่อมไทรอยด์ขนาดใหญ่ขึ้น บวมที่หน้าขา ตาแดง ฝ่ามือแดง อุ่นร่วมกับอาการอื่นๆ
ตรวจพบระดับ T3, T4 เพิ่มขึ้นระดับ TSH ลดลง