Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 10 การพัฒนามารยาททางสังคม - Coggle Diagram
บทที่ 10
การพัฒนามารยาททางสังคม
มารยาท
กิริยา วาจา ที่สุภาพเรียบร้อยที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน
มารยาทไม่ได้เป็นสิ่งติดตัวมาแต่เกิดแต่เป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม การศึกษาและการอบรมสั่งสอนเป็นสำคัญ
มารยาท คือ ความสุภาพและสำรวม
วัตถุประสงค์สำคัญของมารยาท
เพื่อความปลอดภัย
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
เพื่อเป็นการให้เกียรติกัน
เพื่อเป็นการแสดงอัธยาศัย
เพื่อความสะดวกสบาย
มารยาทไทย
มารยาทในการยืน
มารยาทในการเดิน
มารยาทในการนั่ง
มารยาทในการไหว้
มารยาทในการกราบ
มารยาทในการรับ-ส่งสิ่งของจากผู้ใหญ่
มารยาทสากล
มารยาสากลมีพื้นฐานมาจากระเบียบปฏิบัติทางสังคมของชาวยุโรปที่มีภูมิอากาศแตกต่างจากเมืองไทยฝรั่งจึงไม่นั่งหรือนอนกับพื้นแต่ใช้เก้าอี้โต๊ะและเตียง
สิ่งใดทาให้เกิดความอบอุ่นได้มีอัธยาศัยในการต้อนรับลักษณะอบอุ่น(Warm Welcome) สิ่งนั้นย่อมเป็นที่ปรารถนาของคนทั่วไป
ในขณะที่ชาวไทยให้การต้อนรับผู้มาเยือนโดยให้ความร่มเย็นเป็นสุข
มารยาทในการแนะนำบุคคลให้รู้จักกัน
ต้องแนะนำผู้น้อยให้รู้จักกับผู้อาวุโสกว่ายึดหลักคุณวุฒิสาคัญกว่าด้านวัยวุฒิแต่ถ้ามีคุณวุฒิเท่ากันให้แนะนำตามความอาวุโสด้านวัยวุฒิ
การแนะนำระหว่างเพศที่อาวุโสเท่าเทียมกันต้องแนะนาฝ่ายชายต่อฝ่ายหญิง
การแนะนำบุคคลหนึ่งให้รู้จักกับบุคคลหลายคนต้องแนะนาให้รู้จักคนที่อยู่ใกล้ไปตามลำดับไม่แนะนำข้ามลำดับเพราะจะทำให้คนที่ถูกข้ามเกิดความรู้สึกที่ไม่ดี
ควรแนะนำบุคคลที่มาทีหลังแก่บุคคลที่มาก่อน
ไม่ควรแนะนำบุคคลให้รู้จักกันตามถนนหนทางแต่ถ้ามีความจำเป็นก็อาจพาไปแนะนำให้รู้จักกันที่ร้านอาหารก็ได้
สุภาพสตรีที่โสดกับสุภาพสตรีที่สมรสแล้วถ้ามีอายุไล่เลี่ยกันหรือมีฐานะเสมอกันควรแนะนำสุภาพสตรีโสดต่อสุภาพสตรีที่สมรสแล้วเว้นแต่สุภาพสตรีโสดนั้นมีฐานะทางสังคมสูงกว่า
ในกรณีที่มีความสนิทสนมกับผู้แนะนำต้องแนะนำผู้ที่ไม่ค่อยสนิทสนมให้รู้จักกับผู้ที่มีความสนิทสนมกับผู้แนะนำก่อน
การแนะนำบุคคลต่างเพศ
ควรแนะนำบุรุษให้รู้จักกับสตรี
เมื่อกล่าวเสร็จแล้วสุภาพสตรีควรแสดงความเคารพก่อนแล้วสุภาพบุรุษจึงแสดงตอบ
การแนะนำบุคคลต่างวัย
ควรแนะนำผู้อายุน้อยให้รู้จักกับผู้มีอายุมากกว่า
เมื่อแนะนำแล้วผู้อาวุโสน้อยต้องทำความเคารพก่อน
ผู้อาวุโสมากกว่าต้องรับการเคารพยิ้มแย้มทักทายปราศรัยด้วยไมตรีจิต
มารยาทในการสนทนา
ควรหลีกเลี่ยงการสนทนาเกี่่ยวกับเรื่องส่วนตัวของบุคคลอื่นตลอดจนการพูดคุยเรื่องที่เป็นปมด้อยหรือข้อบกพร่องของคู่สนทนา
ควรจะสนทนากันอย่างสุภาพเรียบร้อยคือไม่พูดเสียงดังเกินควรไม่หัวเราะเสียงดังมาก ไม่ตะโกนเรียกกันจนไม่สุภาพ
พยายามหลีกเลี่ยงการโต้เถียงที่นำไปสู่การวิวาท
เมื่ออยู่ในวงสนทนาควรจะเข้าร่วมในการสนทนาด้วยไม่ทำตนเป็นนิ่งเฉยหรือไม่ยอมพูดคุย
อย่าสรรเสริญหรือยกยอคู่สนทนาจนเกินไปเพราะอาจทาให้คู่สนทนาเกิดความไม่พอใจหรืออายบางครั้งการสรรเสริญมากเกินความจริงผู้ฟังอาจนึกว่าผู้พูดพูดเสียดสีหรือเหน็บแนม
เมื่อพูดเกี่ยวกับสิ่งที่ตนไม่พอใจก็ไม่ควรพูดผูกมัดตนเองหรือพูดคลุมไปหมด
ระหว่างการสนทนาหากมีการพูดผิดพลั้งโดยไม่เจตนาผู้พูดควรกล่าวคาว่า“ขอโทษ”
ใช้ภาษาที่สุภาพในการสนทนาอย่าพูดภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาไทยในขณะที่ผู้ร่วมวงสนทนาใช้ภาษาไทยกันในกรณีที่ผู้ร่วมวงสนทนาเป็นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเราควรจะพูดภาษาต่างประเทศกับชาวต่างประเทศและควรจะบอกกับคู่สนทนาที่เป็นคนไทยถึงเรื่องที่สนทนากัน
ในขณะที่สนทนากันอย่าออกท่าทางมากเกินไปและอย่าดัดเสียงจนเป็นที่น่ารำคาญ เช่นพูดลากเสียงยาวพูดดัดเสียงให้แหลมเล็ก
เป็นผู้ฟังที่ดีโดยการเปิดโอกาสให้คู่สนทนาได้มีโอกาสพูดบ้างมิใช่เราเป็นฝ่ายพูดเพียงฝ่ายเดียวขอให้ระลึกอยู่เสมอว่าถ้าเรายอมฟังคนอื่นพูดคนอื่นก็จะยอมฟังเราพูดด้วยเช่นกันจึงควรฝึกนิสัยตัวเองให้เป็นผู้ฟังที่ดี
มารยาทในการไปเยี่ยมผู้อื่น
มีของเยี่ยมไปด้วยเป็นการแสดงน้ำใจไมตรี
มีการนัดหมายล่วงหน้าทางโทรศัพท์เพื่อความสะดวกของเจ้าของบ้านและต้องไปให้ตรงเวลา
ถ้าบ้านที่ไปเยี่ยมมีประตูรั้วรอบขอบชิดก่อนเข้าบ้านควรเคาะประตูหรือกดกริ่งก่อนถ้าเป็นการพบครั้งแรกควรส่งนามบัตรหรือแจ้งความประสงค์แก่ผู้มาเปิดรับเพื่อแจ้งเจ้าของบ้าน
เมื่อพบเจ้าของบ้านหรือผู้ที่เราไปเยี่ยม ควรทำความเคารพหรือทักทายตามความเหมาะสมถ้ามีผู้ใหญ่ในครอบครัวควรทาความเคารพท่านด้วย
ถ้าคุ้นเคยกันมาก่อนควรไต่ถามทุกข์สุขของบุคคลในครอบครัวตามสมควร
ไม่ควรอยู่นานเกินไปเมื่อหมดธุระหรือใกล้ถึงเวลารับประทานอาหารควรลากลับ
ไม่ควรไปเยี่ยมพร่ำเพื่อเพราะอาจรบกวนเจ้าของบ้านจนเกินความจำเป็น
ไม่ควรพาเพื่อนหรือบุตรหลานไปด้วยเพราะอาจจะก่อให้เกิดความรำคาญให้แก่เจ้าของบ้าน
มารยาทในการเป็นเจ้าของบ้าน
แต่งกายให้เรียบร้อยและต้อนรับผู้มาเยี่ยมด้วยความสุภาพยิ้มแย้มแจ่มใส
เชิญให้นั่งในที่อันสมควรและจัดหาน้ำร้อนหรือน้ำเย็นมาตั้งเป็นการต้อนรับในชั้นต้นแล้วชวนสนทนาปราศรัยเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มาเยี่ยมแสดงความประสงค์ในการมา
เมื่อถึงเวลารับประทานอาหารก็ควรชวนผู้มาเยี่ยมให้ร่วมรับประทานด้วย หากติดขัดประการใดเช่นอาหารไม่เพียงพอก็ควรหาทางอื่นที่เหมาะสมเช่นรอเวลารับประทานอาหารไว้ก่อน
ถ้าผู้มาเยี่ยมขอความช่วยเหลือก็ควรจะช่วยเหลือตามสมควรหากขัดข้องก็ควรพูดชี้แจงให้เข้าใจโดยสุภาพและแสดงความเสียใจ
เจ้าของบ้านควรชวนผู้มาเยี่ยมสนทนาอย่าให้เก้อเขินไม่ควรแสดงกิริยารังเกียจให้ปรากฏในการสนทนาควรเลี่ยงการพูดขัดแย้งกันเช่นเรื่องการเมือง ศาสนา
เมื่อผู้มาเยี่ยมลากลับเจ้าของบ้านควรไปส่งที่ประตูบ้านตามความเหมาะสมแต่ถ้าผู้มาเยี่ยมรายอื่นยังสนทนาอยู่ก็ไม่ต้องออกไปส่งเว้นแต่ในกรณีที่จาเป็นก็อาจขออภัยผู้ที่ยังนั่งอยู่เสียก่อน
มารยาทในการใช้โทรศัพท์
การพูดโทรศัพท์: โทรออก
ควรรีบรับโทรศัพท์ทันทีเมื่อได้ยินสัญญาณ
ไม่ควรขบเคี้ยวอะไรขณะพูดโทรศัพท
ไม่หัวเราะหรือพูดล้อเล่นหรือล้อเลียนเสียงผู้โทรเข้ามา
ไม่หยุดไปคุยกับผู้อื่นขณะกำลังพูดโทรศัพท์กับคู่สนทน
พยายามอย่าให้เสียงอื่นเข้าไปรบกวน
เมื่อเป็นผู้รับ : รับสาย
รับสายด้วยความรวดเร็วอย่าให้โทรศัพท์ดังนานเกิน2 ครั้ง
เตรียมกระดาษ ปากกา เอกสาร ข้อมูล ให้พร้อม
ขณะพูดควรยิ้มและใช้น้าเสียงที่นุ่มนวลและมีหางเสียง
พยายามอย่าคุยออกนอกประเด็น
เมื่อเป็นผู้โทร
เช็คเบอร์โทรศัพท์ที่จะโทรไปให้ถูกต้อง
เตรียมตัว/คำพูด/สถานการณ์ให้พร้อม
ยกหูโทรศัพท์ด้วยมือข้างที่ไม่ใช้บันทึก
ทักทาย/แนะนำตัวเอง ขอทราบสถานที่ที่โทรไปเพื่อความถูกต้อง
มารยาทในการทักทาย
อิตาลี: กอดพร้อมตบหลังอีกฝ่ายเบาๆ
ชนเผ่าโวลอฟเซเนกัล : ค้อมตัวลงแล้วนำหลังมือของผู้อาวุโสมาแตะหน้าผากตัวเอง
แทนซาเนีย: ห้ามมองหน้าอีกฝ่ายและต้องคุกเข่าลงพร้อมตบมือขณะทักทายผู้อาวุโส
เคนยา : บ้วนน้ำลายตัวเองบนฝ่ามือของอีกฝ่าย เพื่ออวยพรให้โชคดี
อินเดีย: จะพูดว่า"นะมัสเต" พนมมือและโค้งตัวเล็กน้อยเวลาทักทายผู้อาวุโสหรือแขก
อินเดียเหนือ: ชาวลาดักจะพูดว่า"ชู-เลย" ทักทายโดยยกมือขวาขึ้น
นิวซีแลนด์ชนเผ่าเมารี: เอาจมูกแตะกันและคลึงเล็กน้อย
ทิเบต: ดึงหูทั้งสองข้างของตัวเองไว้พร้อมแลบลิ้น
อาร์เจนตินา: หอมแก้มกันและทำเสียง"จุ๊บ"เวลาทักทาย
บราซิล: จะใช้ใบหน้าและส่วนอกสัมผัสกันพร้อมหอมแก้ม
สหรัฐอเมริกา: หอมแก้มกันเมื่อทักทายเพื่อนหรือคนในครอบครัวและพูดว่า"ไฮ" ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ล้วนใช้การจับมือ
ชนเผ่าเอสกิโม: จะพูดว่า"อัลละคุต"เอาจมูกแตะกันและคลึงเล็กน้อยเพื่อแสดงความเคารพและการต้อนรับ
เกาหลี: ผู้อ่อนวัยจะคุกเข่าและก้มศีรษะคานับผู้อาวุโส
อิรัก:ทักทายหญิงสาวที่ใส่ผ้าคลุมหน้าโดยใช่ฝ่ามือทาบที่หน้าอกตัวเองส าหรับหญิงสาวที่ไม่ใส่ผ้าคลุมหน้าใช้การจับมือ
ฝรั่งเศส : จะพูดว่า"บงชูร์" แนบแก้มกับแก้มของอีกฝ่ายและทำเสียงจุ๊บ
จีน : จะพูดว่า"หนีห่าวมา" จับมือพร้อมส่งเสียงทักทาย
มารยาทในการรับประทานอาหารแบบตะวันตก
ศึกษาการวางเครื่องมือเครื่องใช้ในการรับประทานอาหารบนโต๊ะอาหารตามปกติ
เครื่องมือจะถูกจัดวางตามลำดับการใช้ก่อน-หลัง
เริ่มจากสิ่งที่วางนอกสุดก่อนแล้วค่อยๆใช้สิ่งที่วางด้านในตามลำดับถัดมาเรื่อยๆ
ส่วนช้อนและส้อมหวานจะวางอยู่เหนือจานในแนวขวาง
จานขนมปังอยู่ด้านซ้ายมือ
การเชิญ
เชิญทางโทรศัพท์ต้องส่งบัตร"To Remind"ตามไปทันที
บัตรเชิญที่เป็นแบบพิมพ์จะต้องเขียนชื่อผู้ได้รับเชิญด้วยลายมือเสมอและถือว่างานเลี้ยงที่ออกบัตรเชิญเป็นงานที่เป็นแบบพิธีอยู่แล้ว
แต่ถ้าประสงค์จะให้แขกแต่งกาย"BLACK TIE"หรือชุดราตรีสโมสร/ทักซิโดสูท จะต้องระบุลงไปให้ชัดเจนมิฉะนั้นแขกอาจจะแต่งกายแบบ"DARK SUIT"คือสูทสากลสีเข้มซึ่งได้แก่สีดำน้ำเงินเข้มสีถ่านหินมาร่วมงานได้
ควรส่งบัตรเชิญล่วงหน้าประมาณ3 สัปดาห์และอย่างช้าไม่น้อยกว่า 10 วัน เพื่อจะได้มีเวลาให้แขกตอบรับ
การใช้มีด ส้อมและช้อน
แบบยุโรป
ผู้รับประทานอาหารจะไม่วางมีดโดยมือขวาถือมีดมือซ้ายถือส้อม
เมื่อใช้มีดหั่นอาหารแล้วใช้ใบมีดกันอาหารแล้วใช้ส้อมจิ้มลงไปที่ชิ้นเนื้อที่หั่นแล้ว
การรับประทานอาหารแบบยุโรปจะไม่มีการเปลี่ยนมือในการจับมีดหรือส้อม
การรวบมีดและส้อมนี้ให้วางคู่กันในลักษณะห้าโมงเย็นหรือหกโมงเย็นแต่แบบห้าโมงเย็นจะสุภาพกว่า
นาชิ้นเนื้อเข้าปากด้วยมือซ้ายโดยส้อมจะต้องคว่าลงในขณะส่งอาหารเข้าปาก
แบบอเมริกัน
ผู้รับประทานจะถือมีดด้วยมือขวาและถือส้อมด้วยมือซ้าย
ส้อมจะช่วยในการหั่นเมื่อหั่นเนื้อออกเป็นชิ้นเรียบร้อยแล้ววางมีดที่ถือในมือขวาลงบนจาน
เปลี่ยนมือขวาไปหยิบส้อมแล้วใช้มือขวานี้จิ้มชิ้นเนื้อเข้าปาก
ยุโรปนิยมรวบไว้ตรงกลางตรงหน้าและหงายส้อม
อเมริกันนิยมรวบไว้หัวจานเฉียงๆ
วิธีรับประทานขนมปังหยิบที่ถูกต้อง
เวลารับประทานขนมปังควรบิขนมปังด้วยมือและฉีกให้พอดีคำไม่ควรฉีกทิ้งไว้และไม่ใช้มีดหั่น
หลังจากนั้นทาเนยลงบนขนมปังโดยใช้มีดป้ายขนมปังด้วยมือขวา แล้วต้องวางมีดคืนไว้ที่ขอบจานขนมปังด้านบนและหันคมมีดเข้าหาตัว และใช้มือซ้ายส่งขนมปังเข้าปาก
มีข้อยกเว้นเพียงประการเดียวคือ การรับประทานขนมปังแบบอังกฤษหรือขนมปังแซนด์วิช(English หรือ Sandwich Bread) ใช้มีดตัดแบ่งได้
การรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต
ควรตักทีละอย่างต้องมั่นใจด้วยว่าที่ตักมาแล้วต้องรับประทานให้หมด
เมื่อหมดแล้วสามารถลุกไปหยิบใหม่ได้อีก
ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะตักมากองๆไว้เผื่อคนอื่นให้ตักเฉพาะตัวเองเท่านั้น
การใช้ผ้าเช็ดปาก
ให้คลี่ผ้าแล้ววางบนตัก
ใช้เพื่อซับอาหารที่ติดปาก
ถ้าผ้าตกระหว่างรับประทานอาหารให้พยายามหยิบโดยไม่รบกวนผู้อื่น
ถ้าจำเป็นต้องลุกออกไปไหนชั่วขณะให้วางผ้าไว้ที่เก้าอี้
ถ้าเลิกรับประทานให้วางผ้าไว้บนโต๊ะด้านซ้ายมือและผ้าที่ใช้แล้วไม่ต้องพับ