Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acute Gastroenteritis โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน, image, image - Coggle…
Acute Gastroenteritis โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
พยาธิสภาพ
ภายหลังเชื้อรอดจากการถุกทำลายของสารภูมิคุ้มกันในน้ำลายกรดที่กระเพาะและด่างที่ Duodenumแล้ว เชื้อจะแบ่งตัวและก่อพยาธิสภาพ
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะพร่องเอนไซม์ย่อยนมหรือแพ้น้ำตาลแล็กโทส ทำให้มีอาการ เช่น ท้องอืด ปวดท้อง และถ่ายเหลวหลังจากดื่มนม
ภาวะขาดน้ำและระดับเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล ทำให้มีอาการ เช่น กระหายน้ำรุนแรง อ่อนเพลีย ตาโหลหรือตาลึก ไม่มีเหงื่อ ปัสสาวะน้อยและมีสีเข้ม
การติดเชื้อแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น กระดูก ข้อต่อ หรือเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง
โรคลำไส้แปรปรวน ทำให้มีอาการ เช่น แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือปวดท้องมากหลังรับประทานอาหาร
กลุ่มอาการไตวายและเม็ดเลือดแดงแตก (Haemolytic Uraemic Syndrome) ซึ่งเป็นภาวะร้ายแรงที่อาจทำให้มีอาการโลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ำ และไตวายได้
อาการ
มีอาการของภาวะขาดน้ำ เช่น ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ กระสับกระส่าย เซื่องซึม ตัวซีด มือและเท้าเย็น
มีเลือดปนในอุจจาระ หรือท้องเสียนานเกิน 1 สัปดาห์
อาเจียนเป็นสีเขียว อาเจียนต่อเนื่องนานกว่า 3 วัน หรืออาเจียนอยู่ตลอดเวลา
มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หายใจตื้นหรือหายใจถี่ คอแข็ง กระหม่อมศีรษะโป่งตึงหรือบุ๋มลง
มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง
สาเหตุ
โรตาไวรัสมักระบาดในช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนตุลาคม–กุมภาพันธ์ของทุกปี
เชื้อไวรัส เช่น โนโรไวรัส (Norovirus) และโรทาไวรัส (Rotavirus)
ปรสิต เช่น ไกอาเดีย (Giardia) และคริปโตสปอริเดีย (Cryptosporidia)
บริโภคอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยเฉพาะอาหารทะเล ปลาดิบ หรือปลาที่ปรุงไม่สุกดี
สัมผัสวัตถุหรือพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น ใช้เครื่องครัวหรือของใช้ภายในบ้านที่สกปรก
ไม่ล้างมือหลังเข้าห้องน้ำ หรือหลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็ก
ใกล้ชิดหรือได้รับเชื้อจากผู้ป่วย Gastroenteritis เพราะลมหายใจของผู้ป่วยอาจปนเปื้อนเชื้อจากอาเจียนออกมาด้วย สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้
ปรสิต เช่น ไกอาเดีย (Giardia) และคริปโตสปอริเดีย (Cryptosporidia)
การวินิจฉัย
แพทย์อาจสอบถามประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย
ตรวจหาสัญญาณของภาวะขาดน้ำ และพิจารณาความถี่ของอาการท้องเสียหรืออาเจียน
ตรวจตัวอย่างอุจจาระ เพื่อระบุเชื้อไวรัสหรือเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรค Gastroenteritis
การรักษา
ดูแลให้เด็กดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยหลีกเลี่ยงน้ำอัดลมหรือน้ำผลไม้ เพราะอาจทำให้ท้องเสียมากขึ้นได้ และทารกควรได้รับอาหาร นมแม่ และนมอื่น ๆ ตามปกติ
ให้เด็กรับประทานอาหารเมื่อหิว โดยเริ่มจากให้อาหารปริมาณน้อยก่อน
ใช้ยารักษา เช่น ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้และบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ หรือยาเมโทโคลพราไมด์เพื่อรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน