Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การออมการลงทุน - Coggle Diagram
การออมการลงทุน
การออม
ความหมายและความสำคัญ
หมายถึง การเก็บเงินรายได้ส่วนหนึ่งไว้ สำหรับซื้อสิ่งที่ต้องการตามที่ตั้งจุดประสงค์และวางแผนไว้ในอนาคตข้างหน้า มีทั้งการออมด้วยความสมัครใจ และถูกบังคับ
ความสำคัญ เป็นปัจจัยที่จะทำให้เป้าหมายที่บุคคลกำหนดไว้ในอนาคตบรรลุจุดประสงค์ และใช้แก้ไขความเดือดร้อนทางการเงิน
-
เป้าหมาย
เป้าหมายทางการเงินที่ดี ต้อง SMART
S – Specific: เป้าหมายต้องชัดเจน ไม่คลุมเครือ
M – Measurable: เป้าหมายต้องวัดผลได้
A – Achievable: เป้าหมายนั้นต้องทำสำเร็จได้ มีวิธีทำให้บรรลุเป้าหมาย
R – Realistic: เป้าหมายต้องสมเหตุสมผล สามารถบรรลุผลได้
T – Time-bound: เป้าหมายต้องมีกำหนดเวลาที่ชัดเจน
ปัญหาในสังคมไทย
- เป้าหมายไม่ชัดเจน
- รายจ่ายมากกว่ารายได้
- เงินเฟ้อ
รูปแบบ
- การออมโดยการฝากเงินกับธนาคาร มีแบบออมทรัพย์ และฝากประจำ
- การซื้อสลากออมสินพิเศษ
- การซื้อพันธบัตรรัฐบาล
- การซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต
- การถือเงินออมในรูปเงินสด
- การออมในรูปแบบไม่เป็นตัวเงิน (ลดค่าใช้จ่าย)
หลักเกณฑ์การพิจารณา
- ความปลอดภัยของเงินออม
- สภาพคล่องของเงินออม
- อัตราผลตอบแทน
- ภาษีที่ต้องจ่าย
การลงทุน
ความหมายและความสำคัญ
หมายถึง การนำเงินที่เก็บสะสมไปสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าการออมปัจจุบัน ให้ได้รับผลตอบแทนจากการใช้จ่ายนั้นในอนาคต ซึ่งผู้ลงทุนเชื่อว่า เงินสดหรือผลตอบแทนส่วนเพิ่มที่จะได้รับคืนนั้น จะสามารถชดเชยระยะเวลา อัตราเงินเฟ้อ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างคุ้มค่า
ความสำคัญ
- ทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทน ในรูปแบบของดอกเบี้ยและเงินปันผลสูงกว่าเงินออม
- ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ขยายกิจการและดำเนินการผลิตได้มากขึ้น เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมีการขยายตัว
- ช่วยให้รัฐบาลมีเงินทุนไปใช้ในการพัฒนาประเทศ
ประเภท
- ตราสารหนี้ ตราสารการเงินที่ผู้ถือมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ และผู้ออกมีสถานะเป็นลูกหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับดอกเบี้ย และการชำระคืนตามวัน เวลาที่กำหนดไว้ในตราสาร
- ตราสารทุน ผู้ลงทุนมีสถานะเป็นเจ้าของธุรกิจ มีส่วนได้เสียหรือสิทธิในทรัพย์สินและรายได้ ได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล
- ตราสารอนุพันธ์ สัญญาการเงินที่ทำขึ้นในปัจจุบัน เพื่อตกลงซื้อขาย หรือให้สิทธิในการซื้อขาย สินค้าอ้างอิงในอนาคต
- กองทุนรวม คือการระดมเงินลงทุนจากคนจำนวนมากและนำไปจดทะเบียนให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล เพื่อตั้งเป็นกองทุนขึ้น และให้ผู้จัดการกองทุนนำเงินไปลงทุนตามนโยบาย ได้รับผลตอบแทนนำมาเฉลี่ยคืนให้ผู้ลงทุนตามสัดส่วน
หลักเกณฑ์การพิจารณา
- ความปลอดภัยของเงินลงทุน
- เสถียรภาพของรายได้
- การงอกเงยของการลงทุน
- ความคล่องตัวในการซื้อขาย
- การกระจายการลงทุน
- หลักเกี่ยวกับภาษี
ปัญหาการลงทุนในประเทศไทย
- ผลประกอบการบริษัท
- ความไม่แน่นอนของอัตราผลตอบแทนที่จะได้รับ
- ความเสี่ยงทางการเงิน
- ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่อง
- ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ
-