Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การตรวจสภาพจิต - Coggle Diagram
บทที่ 2 การตรวจสภาพจิต
การตรวจสภาพจิต
คือ การตรวจตรวจสภาพการทำงานของจิจใจผู้ป่วย ทำการตรวจแล้วบันทึกอาการแสดงต่างๆ ซึ่งสะท้อนการทำงานของจิตใจหลายด้าน เช่น ความคิด อารมณ์ ความจำ เป็นต้น แล้วนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุของโรค
คือ การวินิจฉัย
-
การตรวจจิตใจจึงใช้กานอนุมานจากการสังเกตสิ่งที่ผู้ป่วยแสดงออกทาง สีหน้า ท่าทาง ความรู้สึกนึกคิด และพฤติกกรมของผู้ป่วย โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์และทักษะในการสังเกตอาการที่ผู้ป่วยแสดงออกตามความเป็นจริง
-
-
3. อารมณ์ (Emotion)
3.1 พื้นฐานอารมณ์ ( mood ) ถามผู้ป่วยถึงอารมณ์ที่เขามี ซึ่งแสดงถึงความรู้สึกของเขาต่อสิ่งต่างๆ ควรถามถึงระยะเวลา ความรุนแรง อารมณ์ที่ตรวจจะพบได้บ่อยคือ อารมณ์ปกติ เศร้า สิ้นหวัง กังวล ความรู้สึกผิด ความรู้สึกว่างเปล่า
3.2 การแสดงอารมณ์ ( affective expression ) สังเกตการแสดงออกของความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ป่วยว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปตามเรื่องราวที่พูดกันหรือสถานการณ์ที่ผู้ป่วยเผชิญได้มากน้อยเพียงไร การแสดงออกของอารมณ์มีได้หลายลักษณะคือ เปลี่ยนแปลงได้ช่วงกว้าง จำกัด เศร้า แสดงอารมณ์ตื้น ช่วงแคป
3.3 ความเหมาะสม ( appropriateness ) ความเหมาะสมในการแสดงอารมณ์ว่าเหมาะสมกับเรื่องราวที่กำลังพูดคุยยกันอยู๋หรือไม่ โดยเฉพาะอารมณ์ที่สอดคล้องกับความนึกคิดของผู้ป่วยในขณะนั้น เช่น ขณะเล่าเรื่อง ความตายขของมารดาผู้ป่วยมรอารมณ์ร่วมคือ เศร้า
คำถามประเมินสภาพด้านอารมณ์ :
ตัวอย่าง " ผู้ป่วยควบคุมอารมณ์ของตนเองได้หรือไม่ " " มีอาการแสดงออกของอารมณ์ที่เหมาะสมหรือไม่ " เวลามีอารมณ์โกรธผู้ป่วยทำอย่างไร "
-
คำถามประเมินความหงุดหงิด ( Irritability ) : ตัวอย่าง " ระยะนี้คุณหงุดหงิดมากขึ้นกว่าปกติหรือเปล่า " " คุณเก็บไว้ในใจหรือแสดงออกอย่างไร "
คำถามประเมินอารมณ์เศร้า : ตัวอย่าง " คุณร้องไห้บ่อยกว่าธรรมดาไหม" "คุณรู้สึกเพลิดเพลินในการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริงครั้งสุดท้ายเมื่อใด"
คำถามประเมินความสิ้นหวัง : ตัวอย่าง " คุณเคยรู้สึกว่าชีวิตไม่มีค่าที่จะอยู่ต่อไปบ้างไหม " " คุณเคยคิดอยากจะตายไปเสียให้พ้นๆไหม"