Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวิเคราะห์สถานการณ์การบริหารความเสี่ยง หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง…
การวิเคราะห์สถานการณ์การบริหารความเสี่ยง หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย
บทคัดย่อ
การบริหารความเสี่ยงมีความสำคัญต่อคุณภาพของการให้บริการสุขภาพ โดยเฉพาะความปลอดภัยของผู้ป่วย การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์การบริหารความเสี่ยง และศึกษาแนวทางการ แก้ปัญหา การบริหารความเสี่ยงของหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในเขตภาคเหนือตอนล่างของ ประเทศไทย
โดยการศึกษาเอกสารและข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง การสัมภาษณ์ตัวแทนคณะกรรมการ บริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาล จำนวน 6 คน และ การประชุมกลุ่มบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอ ผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้างจากกรอบแนวคิด การประเมินคุณภาพของโดนาบีเดียน (Donabedian, 2003) ซึ่่งประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านโครงสร้าง ด้านกระบวนการ และ ด้านผลลัพธ์ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทางการพยาบาล จำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
-
-
วัตถุประสงค์การวิจัย
- เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการบริหาร ความเสี่ยงของหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง
- เพื่อศึกษาสถานการณ์การบริหารความเสี่ยง ของหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง
-
วิธีดำเนินการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive study) ประชากรในการศึกษารวมทั้งหมด 32 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มประชากรที่เป็นบุคลากรในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง จำนวน 26 คน
และกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคณะกรรมการ บริหารความเสี่ยงแต่ละด้านของโรงพยาบาล เลือกกลุ่ม ตัวอย่างด้วยวิธีการแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 6 คน
มีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดย การสัมภาษณ์รายบุคคลแบบกึ่งโครงสร้าง ในกลุ่ม ตัวอย่างที่เป็นคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง จำนวน 6 คน ใช้เวลาสัมภาษณ์เฉลี่ย 43.50 นาที และการ ประชุมกลุ่มบุคลากรในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง จำนวน 26 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 9 คน 2 กลุ่ม และพนักงานช่วยเหลือคนไข้ จำนวน 8 คน 1 กลุ่ม ใช้เวลาในการประชุมกลุ่มเฉลี่ย 56.67 นาที
ผลการศึกษาพบว่า
- ด้านโครงสร้าง หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง มีการกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง คือความปลอดภัยของ ผู้ป่วยเป็นแนวทางในการบริหารความเสี่ยง แต่ไม่สามารถนำนโยบายดังกล่าวลงสู่การปฏิบัติได้อย่างครบถ้วน ส่วน ปัจจัยด้านการสนับสนุนพบว่ามีปัญหาด้านงบประมาณ ด้านบุคลากรและด้านอาคารสถานที่ สำหรับเครื่องมือคุณภาพ บุคลากรขาดความรู้ในการนำไปใช้ จึงควรมีการสื่อสารนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่ชัดเจนและหลากหลายช่อง ทาง มีการบูรณาการการบริหารความเสี่ยงเข้ากับงานประจำ ควรเตรียมความพร้อมด้านงบประมาณ ควรมีการมอบ หมายงานและจัดอัตรากำลังให้เหมาะสมกับภาระงาน และควรมีการพัฒนาความรู้เรื่องการใช้เครื่องมือคุณภาพแก่ บุคลากร
- ด้านกระบวนการ มีปัญหาขั้นตอนของการบริหารความเสี่ยงได้แก่ การค้นหาความเสี่ยง การประเมินระดับ ความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยง และการประเมินผล จึงควรมีการกระตุ้น และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการ ค้นหาและรายงานความเสี่ยง ควรมีคู่มือหรือแนวปฏิบัติการบริหารความเสี่ยง ควรมีการนิเทศและสื่อสารเกี่ยวกับ แนวปฏิบัติหรือวิธีการบริหารความเสี่ยง ควรมีการติดตาม ประเมินผลและพัฒนาการบริหารความเสี่ยง และควรมีการประสานงานในทีมสหสาขาอย่างต่อเนื่อง
- ด้านผลลัพธ์ พบว่า ผลลัพธ์ที่ได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงควรส่งเสริมให้บุคลากรมีการรายงาน อุบัติการณ์ความเสี่ยง ควรมีการติดตามการรายงานความเสี่ยงของบุคลากรในแต่ละเวร กระตุ้นให้มีการบันทึกข้อมูล สร้างทัศนคติเชิงบวกต่อการรายงานและมีการติดตามตัวชี้วัดการบริหารความเสี่ยงทุกเดือน ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารโรงพยาบาลและผู้บริหารทางการพยาบาลในการ ปรับปรุงระบบบริหารความเสี่ยงของหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง
-
-