ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมาประเทศไทยมีการ เปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการภาครัฐครั้งสำคัญคือ การ ปฏิรูประบบราชการและปฏิรูประบบบริการสุขภาพทำให้มี ผลกระทบต่อการบริหารจัดการในหน่วยราชการที่รับผิดชอบ ด้านการบริการสุขภาพอย่างมาก รวมทั้งการบริหารจัดการ ระบบบริการพยาบาลซึ่งเป็นระบบย่อยระบบหนึ่งของระบบ บริการสุขภาพวิชาชีพ ระบบบริหารจัดการบริการพยาบาล กำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในทุกด้าน ทั้งด้านการ ปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบบริการสุขภาพ และการ เปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการภาครัฐการขับเคลื่อน ความสามารถด้านการบริหารจัดการองค์การที่มีวิธีปฏิบัติและ ผลการดำเนินการในระดับมาตรฐาน หรือการบริหารงานที่ พึงประสงค์ ซึ่งจะส่งผลต่อศักยภาพในการแข่งขันของ ประเทศไทยในตลาดการค้าโลก (สำนักงานรางวัลคุณภาพ แห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, พฤษภาคม 2552) ธุรกิจบริการสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชนเป็นหนึ่งในสาขา บริการที่มีบทบาทสำคัญมากสาขาหนึ่งที่รัฐบาลไทยให้การ สนับสนุนเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์แห่ง เอเชีย (Medical Hub of Asia) ผู้บริหารการพยาบาลจำเป็นต้องให้ความสนใจต่อ การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นใน องค์กรและสามารถปรับปรุงและพัฒนาการบริการและ การบริหารจัดการองค์กรเพื่อธำรงรักษาและสร้างเสริม ประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การได้อย่างต่อเนื่อง ประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การสามารถประเมิน ผลหรือวัดผลได้จากตัวชี้วัด โรงพยาบาลนวนครเป็นโรงพยาบาลเอกชน ขนาด 200 เตียง เปิดให้บริการจริง 135 เตียง ผลการตรวจเยี่ยมครั้งล่าสุดปี พ.ศ. 2556 แต่ละแผนกมีผลการประเมินที่แตกต่างกัน ผู้บริหารจึงเห็น ว่าแผนกที่มีผลการประเมินค่อนข้างดีจะมีความพร้อมด้าน การบริหารจัดการที่ดีกว่า ทั้งนี้ยังพบปัญหาและข้อร้องเรียน ต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมบริการ รอตรวจนาน ความผิดพลาด ด้านการรักษาพยาบาล ผู้รับบริการไม่มาตามนัดเป็นปัญหา ไม่พึงพอใจในการบริการพยาบาล (ข้อมูลจากการประเมิน ตนเองโรงพยาบาลนวนคร 15 สิงหาคม 2556) และจากผลการวิจัยแบบจำลองปัจจัยความสำเร็จ การจัดการธุรกิจบริการสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชนใน ประเทศไทย (วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) จากผลการวิจัยการดำเนินงานของโรงพยาบาลเอกชนใน ประเทศไทยประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยกลยุทธ์ ปัจจัยระบบบริหารจัดการ และปัจจัยการบริหารทรัพยากร บุคคลโดยปัจจัยการจัดการธุรกิจบริการสุขภาพที่สำคัญมาก ที่สุดคือ ปัจจัยการจัดการทรัพยากรบุคคล รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยระบบการบริหารจัดการ และปัจจัยกลยุทธ์ของ โรงพยาบาลตามลำดับผู้วิจัยในฐานะเป็นคณะกรรมการบริหารและหัวหน้า แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลนวนคร ปฏิบัติงานด้านการ พยาบาลมากว่า 10 ปีมีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพ การบริหารงานของโรงพยาบาล จึงมุ่งหวังที่จะศึกษาเปรียบ เทียบการบริหารงานของหัวหน้าแผนกกับการบริหารงานที่พึง ประสงค์ของผู้ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลของโรงพยาบาล ทั้งนี้เพื่อนำไปเป็นแนวทางสู่การบริหารงานที่ดี และมี ประสิทธิภาพส่งผลให้โรงพยาบาลนวนครผ่านการรับรอง คุณภาพของสถานพยาบาลในโอกาสต่อไป