Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้สูงอายุหญิงไทย อายุ 76 ปี
โรคประจำตัว : ความดันโลหิตสูง เบาหวาน…
ผู้สูงอายุหญิงไทย อายุ 76 ปี
โรคประจำตัว : ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และหัวใจโต ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต : ผ่าตัดต้อหิน+ ผ่าตัดลำไส้อักเสบที่โรงพยาบาลบางละมุง
ปฏิเสธการแพ้ยาและอาหาร
ยาที่รับประทาน
- Aspirin 81 mg : บรรเทาอาการปวด ลดอาการเจ็บหน้าอก 1 เม็ด 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
ข้อควรระวัง อาการแพ้ยา เช่น หายใจลำบาก ผื่นคัน มีอาการบวม
- Simvastatin 20 mg : ยาลดไขมันในหลอดเลือด ลดความเสี่ยงใน การเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง และภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหาร
ข้อควรระวัง อาการแพ้ยา ได้แก่ ลมพิษ หายใจลำบาก หน้าบวม
- Amlodipine 5 mg : ยาควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก 2 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
ข้อควรระวัง อาการบวมตามมือ เท้า ขาส่วนล่าง ข้อเท้า ปวดศีรษะ ท้องเสีย
- Calcium Carbonate 1250 mg : ยารักษาภาวะขาดแคลเซียม เป็นยาเสริมในการป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน 1 เม็ด 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
ข้อควรระวัง อาจมีอาการคลื่นไส้ ท้องอืด ท้องผูก เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ร้อนวูบวาบตามใบหน้าหรือผิวหนัง
- Carvedilol 12.5 mg : ยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลวและลดความดันโลหิต 1/2เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
ข้อควรระวัง อาการแพ้ยา ลมพิษขึ้น มือเท้าเย็นหรือมีอาการชาริมฝีปาก ใบหน้า ลิ้นหรือคอบวม
- Glipizide 5 mg : ยารักษาโรคเบาหวาน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานขนิดที่2 1 เม็ด 1 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า
ข้อควรระวัง อาการคลื่นไส้เล็กน้อย ท้องเสีย ท้องผูก วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด มีผื่นแดงตามผิวหนัง มีรอยฟกช้ำ เลือดออกง่าย
- Loratadinc 10 mg : ยาต้านฮีสทามีน รักษาอาการจากโรคหวัด ภูมิแพ้ และลมพิษ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหาร
ข้อควรระวัง ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง อาเจียน รู้สึกวิตกกังวล อยู่ไม่สุข อ่อนล้า การรับประทาน
เกินปริมาณที่กำหนดอาจทำให้ปวดศีรษะ ง่วงซึม สัปหงก หัวใจเต้นเร็วและรัว
- Isosorbide SL 5 mg : ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ ใช้รักษาและป้องกันอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อมใต้ลิ้น 1 เม็ด ข้อควรระวัง ปวดศีรษะบางรายอาจจะปวดศีรษะรุนแรง มึนงง หน้ามืดเป็นลม ความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า
-
-
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
-
-
-
-
ข้อวินิจฉัยที่ 5
มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากพฤติกรรมการดูแลสุขภาพไม่เหมาะสม
ข้อมูลสนับสนุน
S:ผู้สูงอายุบอกว่า “ดื่มกาแฟโบราณและชานมทุกวันสลับกัน วันละ1-2 แก้ว”
O: จากการสังเกตผู้สูงอายุไม่ค่อยออกกำลังกาย เนื่องจากตนเองเป็นโรคหัวใจโต ทำให้เหนื่อยง่าย และมีรูปร่างอ้วน
-มีประวัติโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
-จาการตรวจร่างกายพบน้ำหนัก62 กิโลกรัม ส่วนสูง 150 เซนติเมตร เส้นรอบเอว 103 เซนติเมตร BMI=27.56 kg/m2 อยู่ในโรคอ้วนระดับ2
-จากการวัดสัญญาณชีพพบ ระดับความดันโลหิต 140/90 mmHg
การวิเคราะห์
- ภาวะความดันโลหิตสูง(Hypertension)เป็นสภาวะผิดปกติที่บุคคลมีระดับความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าระดับปกติของคนส่วนใหญ่ คือมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmHg และถือว่าเป็นสภาวะที่ต้องควบคุม เนื่องจากความดันโลหิตสูงทำให้เกิดความเสียหาย และการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง นำไปสู่สภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือด การอุดตันของหลอดเลือด หรือหลอดเลือดแตกได้ ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่
ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้
1.กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีพ่อแม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีโอกาสและความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่า
2.เพศและอายุ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในช่วงก่อนอายุ 50 ปี แต่เมื่ออายุเลย 50 ปี ผู้หญิงจะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีฮอร์โมนเอสโทรเจนลดลง ซึ่งมีผลต่อความยืดหยุ่นของเส้นเลือด ส่วนในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป พบความดันโลหิตสูงเท่ากันทั้ง 2 เพศ
ปัจจัยที่ควบคุมได้
1.อ้วนหรือมีน้ำหนักเกิน
2.ไขมันในเลือดสูง
3.ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก
4.กินเค็มเป็นประจำ
5.ขาดการออกกำลังกาย
6.มีภาวะดื้ออินซูลินหรือเป็นเบาหวาน
พยาธิของภาวะความดันโลหิตสูง คือมีผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทําให้หลอดเลือดแดงหนาตัวขึ้น และรูเล็กลง จึงต้องเพิ่มแรงดันเพื่อให้เลือดไปเลี้ยง ส่วนต่างๆของร่างกายหลอดเลือดในสมองก็จะตึงตัวมากขึ้น และเกิด อาการปวดศีรษะบริเวณหลอดเลือดเยื่อหุ้มสมอง หน้ามืด เวียนศีรษะตอนตื่นนอนใหม่ๆ ตาพร่ามัว เลือดกำเดาไหล เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก
- การเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุในระบบหัวใจและหลอดเลือด คือ ผู้สูงอายุจะมีการเพิ่มขึ้นของคอลลาเจน และมีแคลเซียมไปจับกับอิลาสตินเป็นผลทำให้หลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดเอออตาร์(Aorta) มีการหนาตัวของหลอดเลือด ทำให้เกิดแรงต้านของเลือด ส่งผลให้หัวใจห้องล่างช้ายต้องทำงานหนัก ออกแรงบีบตัวเพื่อเอาเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายเพิ่มมากขึ้น และส่งผลทำให้ความดันซิสโตลิก (Systolic) ในผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น และจากทฤษฎีเชื่อมตามขวาง (Cross-linking Theory) จะมีการเชื่อมตามของโมเลกุลโปรตีนอีลาสตินและคอลลาเจน ทำให้เนื้อเยื่อแหละหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น เกิดความดันโลหิตสูงได้
- จากผลการตรวจร่างกายและซักประวัติพบว่าผู้สูงอายุดื่มกาแฟโบราณและชานมทุกวันสลับกัน วันละ1-2 แก้ว ซึ่งในกาแฟมีคาเฟอีน เพิ่มการทำงานของหัวใจ ทำให้หลอดเลือดแดงหดตัว และเกิดความดันโลหิตสูงได้ จากการสังเกตผู้สูงอายุไม่ค่อยออกกำลังกาย มีประวัติโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งการออกกำลังกายแบบระดับที่เบาถึงปานกลางแต่สม่ำเสมอสามารถช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ และตรวจร่างกายพบน้ำหนัก62 กิโลกรัม ส่วนสูง 150 เซนติเมตร เส้นรอบเอว 103 เซนติเมตร BMI=27.56 kg/m2 อยู่ในโรคอ้วนระดับ2 วัดสัญญาณชีพพบ ระดับความดันโลหิต 140/90 mmHg ผู้สูงอายุมีภาวะอ้วน ทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดต้องขนส่งออกซิเจนและสารอาหารไปให้เนื้อเยื่อภายในร่างกายมากขึ้น หัวใจต้องใช้แรงดันในการส่งเลือดมากขึ้นเช่นกัน
- ความดันโลหิตสูงเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งสาเหตุที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ความดันโลหิตสูงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้เช่น โรคหัวใจวาย โรคอัมพาต โรคสมองเสื่อมหรือโรคไตวายเรื้อรัง
-
เกณฑ์การประเมิน
1.ไม่มีอาการของความดันโลหิตสูงและโรคแทรกซ้อน เช่น ปวดหัว เวียนหัว เหนื่อยง่าย อาการอัมพาต หรือ มีภาวะหัวใจวาย
-
-
4.ผู้สูงอายุสามารถเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายและพยาธิของโรคได้ เช่น อาหารที่มีโปแตสเซียมและแคลเซียมสูง แต่ไขมันและโซเดียมต่ำ
-
กิจกรรมการพยาบาล
1.สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง เพื่อประเมินความผิดปกติและความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน
2.ประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ เพื่อเป็นแนวทางในการให้การพยาบาล
-
-
5.ดูแลและแนะนำให้ผู้สูงอายุรับประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์ อย่างเคร่งครัด รวมถึงผลข้างเคียงจากยาลดความดันโลหิต และการปฏิบัติตนเมื่อเกิดอาการด้วย ได้แก่
- Amlodipine 5 mg 2 เม็ด 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
ผลข้างเคียง อาการบวมตามมือ เท้า ขาส่วนล่าง ข้อเท้า ปวดศีรษะ ท้องเสีย มึนหัว หน้ามืด เหนื่อยง่าย ซึม หน้าแดง ใสั่น ท้องอืด ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า (Orthostatic hypertension) ควรเปลี่ยนท่าทางช้าๆ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมภายหลังรับประทานยาเป็นเวลาประมาณ 30 นาที
- Carvedilol 12.5 mg ½ เม็ด 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
ผลข้างเคียง อาการแพ้ยา ลมพิษขึ้น มือเท้าเย็นหรือมีอาการชาริมฝีปาก ใบหน้า ลิ้นหรือคอบวม ซึ่งหากเกิดอาการ ควรพบแพทย์โดยด่วน
6.แนะนำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ดูแลหมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง หรือมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดมึนศีรษะบริเวณท้ายทอย วิงเวียงศีรษะเหมือนบ้านหมุน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หายใจลำบากเลือดกำเดาไหล ใจสั่น เจ็บหน้าอก อาการชาหรือมีแขนขาอ่อนแรง เป็นต้น หากมีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์
7.สร้างแรงจูงใจและความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเอง ให้เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุร่วมกับการจัดหาสื่อที่มีส่วนช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาให้แก่ผู้สูงอายุ
กิจกรรมผู้สูงอายุ
-
-
3.ออกกำลังกายแบบแอโรบิก ครั้งละ 30-60นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทาน ให้กับหัวใจและหลอดเลือด
4.หากิจกรรมผ่อนคลายทำ เพื่อให้ตนเองไม่เครียดและสามารถนอนหลับได้เพียงพอ เพื่อไม่ให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
5.รับประทานยา Amlodipine 5 mg 2 เม็ด 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า และCarvedilol 12.5 mg ½ เม็ด 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า อย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน
-
กิจกรรมผู้ดูแล
1.ดูแลและกระตุ้นให้ผู้สูงอายุรับประทานยาให้ครบและตรงต่อเวลาอย่างเคร่งครัด รวมถึงคอยสังเกตและเฝ้าระวังอาการผิดปกติของผู้สูงอายุที่เกิดจากผลข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้น
2.ดูแลการวัดความดันโลหิตให้ผู้สูงอายุอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิต
-
4.กระตุ้นให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ นานครั้งละ 30 - 60 นาที และควรเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ เช่น การเดินแกว่งแขน การรำมวยจีน เป็นต้น
5.ดูแลให้ผู้สูงอายุนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากิจกรรมให้ทำในตอนกลางวัน เพื่อไม่ให้งีบหลับ และทำให้นอนหลับในตอนกลางคืนได้ยาวนาน
6.พูดคุยและเปิดโอกาสให้ผู้งอายุได้ระบายความวิตกกังวลหรือเรื่องกังวลใจ เพื่อลดการเกิความเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ความดันโลหิตสูง
-
-
-
-
-
-
ข้อมูลผู้ดูแล
ผู้ดูแลหลัก ชื่อนาง สุจิตรา มีบุญ เพศ หญิง อายุ 39 ปี ระดับการศึกษา ม.3
ภาวะสุขภาพ สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว
ความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุ ผู้ดูแลหลัก ความสัมพันธ์ดี ไม่มีการทะเลาะกัน
ระยะเวลาที่ดูแล (ตั้งแต่เริ่มดูแลถึงปัจจุบัน) 8 ปี
ระยะเวลาที่ให้การดูแลต่อวันและกิจกรรม ดูแลจ่ายยา อาหาร กระตุ้นให้ทำกิจวัตรประจำวัน และดูแลความเรียบร้อยโดยทั่วไป
อ้างอิง
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). การบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อวันที่
10 มี.ค. 2564, จากเว็บไซต์ http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=335.
ชวิศา แก้วอนันต์. (2018). โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2564, จากเว็บไซต์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/download/134720/105612/.
จารุณี ปลายยอดและอรสา พันธ์ภักดี. (2006). ภาวะท้องผูกในผู้ป่วยที่รับไว้ในโรงพยาบาล. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2564, จากเว็บไซต์
https://med.mahidol.ac.th/nursing/jns/DocumentLink/2549/issue_01/02.pdf.
นัชชา ยันติ. (2563). พฤติกรรมการบริโภคอาหารและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะน้ำหนักเกิน. สืบค้นเมื่อวันที่10 มี.ค. 2564, จากเว็บไซต์ http://203.157.108.3/pathum/Fileupload/research/20200325583290203-รายงานวิจัยเล่มสมบูรณ์16.3.63จัดหน้า.pdf.
ปริศนา รสสีดา. (2561). การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน: บทบาทพยาบาล กับการดูแลสุขภาพที่บ้าน. สืบค้นเมื่อวันที่10 มี.ค. 2564, จากเว็บไซต์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/trcnj/article/download/164295/128686/.
ปิยนุช รักษ์พาณิชย์. (2559). การออกกําลังกายสําหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง. สืบค้นเมื่อวันที่10 มี.ค. 2564, จากเว็บไซต์
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nmdjournal/article/download/113971/88491/.
เมธารัตน์ เยาวะ, พรรณวดี พุธวัฒนะและสุปรีดา มั่นคง. (2018). การจัดการปัญหาการนอนไม่หลับในผู้สูง
อายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. สืบค้นเมื่อวันที่10 มี.ค. 2564, จากเว็บไซต์ https://med.mahidol.ac.th/nursing/jns/DocumentLink/2552/issue_02/09.pdf.
ยศพล เหลืองโสมนภาและศรีสุดา งามขํา. (2013). ความสนใจต่อความปวด. สืบค้นเมื่อวันที่10 มี.ค. 2564, จากเว็บไซต์
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ppkjournal/article/download/68501/55776/.
โรงพยาบาลนนทเวช. (ม.ป.ป.). ความดันโลหิตสูง. สืบค้นเมื่อวันที่10 มี.ค. 2564, จากเว็บไซต์
https://www.nonthavej.co.th/HYPERTENSION.php.
ละออม สร้อยแสง, จริยาวัตร คมพยัคฆ์และกนกพร นทีธนสมบัติ. (2557). การศึกษาแนวทางการป้องกันการ
หกล้มในผู้สูงอายุชุมชนมิตรภาพพัฒนา. สืบค้นเมื่อวันที่10 มี.ค. 2564, จากเว็บไซต์
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/download/18441/16216/.
วาสนา บุตรปัญญา. (2016). ผลของโปรแกรมป้องกันอาการท้องผูกสำหรับผู้ป่วย. สืบค้นเมื่อวันที่10 มี.ค. 2564, จากเว็บไซต์
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/download/8967/7631/.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ. (2562). อาหารบำรุงข้อต่อและกลามเนื้อ. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2564,จากเว็บไซต์ https://www.thaihealth.or.th/Content/50513-อาหารบำรุงกระดูกข้อต่อและกล้ามเนื้อ.html.
เสาวลักษณ์ มูลสารและเกษร สำเภาทอง. (2016). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ตามแนวทางของ DASH ร่วมด้วยทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตน และแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง. สืบค้นเมื่อวันที่10 มี.ค. 2564, จากเว็บไซต์
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/download/59881/49173/.
อมรพันธุ์ วงจันทร์, นิยา ธานีรัตน์และเพชรพิเชฐเชียร สออารีย์. (2560). ความปวดและการจัดการความปวด ของผู้ป่วยที่มีความปวดเรื้อรัง
จากความผิดปกติในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็ง. สืบค้นเมื่อวันที่10 มี.ค. 2564, จากเว็บไซต์http://medinfo.psu.ac.th/smj2/26_1/pdf26_1/03.pdf.