Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาทางจิตเวช (Psychopharmacology) -…
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาทางจิตเวช (Psychopharmacology)
ยารักษาโรคจิต (Antipsychotic drugs/Major tranquillizers)
ยารักษาโรคจิตเป็นยาที่ใช้รักษาอาการโรคจิต (Psychosis) และรักษากลุ่ม อาการทางจิตเวชท่ีเกิดจากพยาธิสภาพทางกาย สามารถควบคุมอาการของโรคได้ดีขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วย ปรับตัวได้มากขึ้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้
ข้อบ่งใช้
1) โรคจิตเภท (Schizophrenia)
2) โรคจิตอารมณ์ (Schizoaffective disorder)
3) โรคจิตจากภาวะทางกาย (Organic psychosis)
4) โรคจิตท่ีเกิดในบางช่วงของโรคอารมณ์แปรปรวน (Mood disorders) ทั้ง
โรคอารมณ์สองขั้ว ระยะคลุ้มคลั่ง (Bipolar disorder, mania type) และโรคซึมเศร้า (Major depressive disorder: MDD)
5) รักษาอาการ agitation ในผู้ป่วย alzheimer และ bipolar disorder
6) รักษาอาการก้าวร้าวในผู้ป่วยสมองเส่ือมและผู้ป่วย delirium
ประเภทของยา
1) Typical antipsychotic drugs หรือ Dopamine antagonists (DA) กลไกการออกฤทธ์
ยาออกฤทธิ์ยับยั้งการจับของ dopamine ทำให้ dopamine ลดลง การที่
dopamine ในส่วน mesolimbic และ mesocortical ถูกยับยั้ง ทำให้รักษากลุ่มอาการด้านบวก (Positive symptoms) และกลุ่มอาการด้านลบ (Negative symptoms) ของผู้ป่วยได้ แต่ยาจะออกฤทธิ์ต่อ dopamine ในทุก pathway ดังน้ัน dopamine ใน pathway อื่นๆ ถูกยังยั้งด้วย เมื่อ dopamine receptor ถูกยับยั้งจะทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ อยู่นิ่งไม่ได้ เคลื่อนไหว ตลอดเวลา เดินตัวแข็งทื่อ มือสั่น เป็นต้น ซึ่งเรียกว่าเป็นอาการข้างเคียงของยา คือ extrapyramidal symptoms (EPS) การท่ี dopamine ลดลงมีผลให้ความคิดอารมณ์ของผู้ป่วยดีขึ้น แต่ทำให้เกิด อาการข้างเคียง EPS ยาในกลุ่มนี้สามารถจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ phenothiazine และ butyrophenone
ตัวอย่างยาที่ใช้
กลุ่ม Phenothiazine
ชื่อสามัญ Chlorpromazine (CPZ)
ชื่อการค้า Largactil
กลไกการออกฤทธิ์
มี potency ต่ำต้องใช้ยาในขนาดสูง ยาออกฤทธิ์ หลังรับประทาน 30-60 นาที ฤทธิ์ของยาอยู่นาน 2-4 ชั่วโมง มีฤทธิ์ sedative สูง
เกิด EPS แต่ไม่มีอาการ tardive dyskinesia พบอาการง่วงนอน ปากแห้งมาก เนื่องจากมี antihistamine effects และ anticholinergic effects สูง
ขนาดยา 25 mg, 50 mg, 100 mg, 200 mg
ชื่อสามัญ Thioridazine
ชื่อการค้า Melleril
กลไกการออกฤทธิ์
มี potency ต่ำ มีฤทธิ์ sedative และ antipsychotic ปานกลาง
EPS ต่ำกว่า chlorpromazine
ขนาดยา 10 mg, 25 mg, 50 mg, 100 mg
ชื่อสามัญ Perphenazine
ชื่อการค้า Trilafon
กลไกการออกฤทธิ์
มี potency ปานกลาง มีฤทธิ์ sedative ต่ำ มีฤทธิ์ antipsychotic สูง
-EPS สูงกว่า chlorpromazine
-ขนาดยา2mg,4mg,8mg
ชื่อสามัญ Trifluoperazine
ชื่อการค้า Stelazine
กลไกการออกฤทธิ์
-มี potency สูง
-EPS สูง มีฤทธิ์ sedative ต่ำและ anticholinergic effects ต่ำ
-ขยาดยา1mg,2mg,5mg,10 mg
ชื่อสามัญ Fluphenazine
ชื่อการค้า Fendec, Proxilin
กลไกการออกฤทธิ์
-มี potency สูง มีฤทธิ์ sedative ต่ำมีฤทธิ์ antipsychotic สูง
-ออกฤทธิ์นาน นิยมฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุก 1 เดือนยาจะออกฤทธิ์ในเวลา 1 ชั่วโมงหลังฉีด อาการทางจิตจะสงบลงภายใน 1-2 สัปดาห์ ฤทธิ์ของยาอยู่นาน 2-6 สัปดาห์ เป็น long acting
-EPS สูงกว่า chlorpromazine มีอาการง่วงนอน และ anticholinergic effects ต่ำ
-ขนาดยา 25 mg/ml
กลุ่ม Butyrophenone
ชื่อสามัญ Haloperidol
ชื่อการค้า Haldol, Halop
กลไกการออกฤทธิ์
มี potency สูง มีฤทธิ์ sedative ต่ำ
กลไกการออกฤทธิ์คล้ายกับ phenothiazine แต่มีประสิทธิภาพแรงกว่า chlorpromazine หลังได้ยา 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น
EPS สูงกว่าการใช้ยากลุ่ม phenothiazine ที่พบ บ่อย คือ การเคลื่อนไหวช้าโดยไม่ตั้งใจ ผู้ป่วยจะ แสดงอาการเคี้ยวปาก ดูดริมฝีปาก เดินตัวเอียง (tardive dyskinesia) ไม่ค่อยทำให้ง่วงนอนเพราะมี anticholinergic effects ต่ำ
ขนาดยา0.5mg,2mg,5mg,10mgและชนิด ฉีด 5 mg/ml
2) Atypical antipsychotic drugs หรือ Serotonin-Dopamine Antagonists (SDA)
กลไกการออกฤทธิ์
ยาออกฤทธ์ิปิดการจับของserotoninและdopamineจึงเพิ่มประสิทธิภาพ การรักษากลุ่มอาการด้านลบ(Negative symptoms)และด้านกระบวนการรู้คิด(Cognitive symptoms) ได้ดีกว่ากลุ่ม DA ในขณะท่ีรักษากลุ่มอาการด้านบวก (Positive symptoms) ได้ดีเท่าๆกัน แต่กลุ่ม SDA มีผลข้างเคียงน้อยกว่า มีอาการ EPS ต่ำมาก ผลข้างเคียงที่สำคัญของยากลุ่ม SDAคือน้ำหนักขึ้นยาในกลุ่มนี้สามารถจำแนกออกเป็น2 กลุ่มได้แก่dibenzodiazepine และ benzisoxazole
กลุ่ม Dibenzodiazepine
ชื่อสามัญ Clozapine
ชื่อการค้า Clozaril, Clopaze
กลไกการออกฤทธิ์
มีประสิทธิภาพสูงกว่ายารักษาโรคจิตกลุ่มเดิม รักษาอาการด้านบวก และอาการด้านลบได้ดี
มี potency ต่ำต้องใช้ยาขนาดสูง
EPS ต่ำมากผลข้างเคียงที่พบคือ ง่วงซึม น้ำลายมาก ตาพร่า เหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก น้ำหนักเพิ่ม ความดันโลหิตต่ำเสี่ยงต่อการชัก อาการที่รุนแรง คือ ความผิดปกติของระบบเลือด agranulocytosis ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจเม็ดเลือดขาว (WBC count) ก่อนให้ยา ถ้าต่ำกว่า 3,500/ลบ. มม. จะให้ยาไม่ได้ และระหว่างให้ยาผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจเม็ดเลือดขาวทุกสัปดาห์ เป็นเวลา 18 สัปดาห์ ต่อจากนั้นตรวจทุกเดือน
การตอบสนองของยาใช้เวลา 4-6 เดือน ซึ่งช้ากว่ายาอื่น แต่เมื่อได้ผลจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นชัดเจน
ขนาดยา 25 mg, 100 mg
กลุ่ม Benzisoxazole
ช่ือสามัญ Risperidone
ชื่อการค้า Risperdal
กลไกการออกฤทธิ์
มีประสิทธิภาพสูงกว่ายารักษาโรคจิตกลุ่มเดิม รักษา อาการด้านบวก และอาการด้านลบได้ดี
มี potency สูง
ออกฤทธิ์เร็วและมีฤทธิ์อยู่นาน 24 ชั่วโมง จึงให้ยา เพียงวันละ 1-2 ครั้ง แต่ยามีราคาสูง
EPS ต่า ที่พบคือ akathisia ได้แก่ กระวนกระวาย ผุดลุกผุดนั่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา ผลข้างเคียงอื่น ได้แก่ ง่วงนอน เวียนศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ปากแห้ง น้ำลายมาก ความดันโลหิตต่ำเวลา ยืน หัวใจเต้นผิดจังหวะ มีผื่น ผิวแห้ง ไวต่อแสง น้ำหนักเพิ่ม ขาดประจำเดือน และไม่หลั่งน้ำอสุจิ
ขนาดยา1mg,2mg,3mg,4mg
ผลข้างเคียงของยารักษาโรคจิต
Extrapyramidal Symptoms (EPS)
1.1 Acute dystonia มักเกิด 1-5 วันแรก หลังจากการใช้ยา มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ (Muscle spasm) คอบิด (Torticollis) ไปข้างใด ข้างหนึ่งหรือลำตัวบิดไปด้านข้าง กล้ามเนื้อที่หน้า กระตุก ขากรรไกรแข็ง น้ำลายไหล ลิ้นคับปาก พูด ไม่ชัด กลืนลำบาก ตาเหลือกขึ้นข้างบนตลอดเวลา
หลังแอ่น
การพยาบาล
ในรายที่ไม่รุนแรง อาจให้หยุดยาที่เป็นสาเหตุ อาการจะหายไปใน 1-2 วัน ในรายที่รุนแรงดูแลให้ได้รับยาแก้อาการตามแผนการ รักษา
1.2 Akathisia มักเกิดใน 2-3 สัปดาห์แรก
หลังจากการใช้ยา เป็นความรู้สึกกระวนกระวาย กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้ ผุดลุกผุดนั่งต้อง เคลื่อนไหวตลอดเวลามือและแขนสั่น มีอาการ คล้าย agitation
การพยาบาล
ระวังการเกิดอุบัติเหตุ และการรบกวนผู้อื่น คอยดูแลการรับประทานอาหาร
1.3 Parkinsonism มักพบใน 4 สัปดาห์แรก ของการใช้ยามีอาการเหมือนกับคนเป็นโรค parkinson เช่น การเคลื่อนไหวช้า (Akinesia) เดินขาลาก มีอาการสั่น (Tremor) กล้ามเนื้อแข็ง เกร็ง (Rigidity) สีหน้าเฉยเมยไม่แสดงความรู้สึก เหมือนใส่หน้ากาก (Mask face) กลืนน้ำลายไม่ลง มีน้ำลายเต็มปาก
การพยาบาล
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบ ว่าอาการเหล่านี้จะเกิดได้ในระยะแรกที่ได้รับยา เกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น จะหายไปได้เมื่อใช้ยาแก้แพ้ (Anticholinergic drugs/Antiparkinson drugs) และร่างกายจะค่อยๆ ปรับตัวได้ เพื่อลด ความวิตกกังวลของผู้ป่วย
1.4 Tardivedyskinesiaเกิดจากการใช้ยาในขนาดสูงเป็นระยะนานติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน มีอาการของการเคลื่อนไหวช้าๆ ของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัว หรือควบคุมไม่ได้ เช่นดูดปากแลบลิ้นเลียริม ฝีปาก เคี้ยวปาก แสยะใบหน้า กลืนลำบาก
การพยาบาล
คอยสังเกตอาการ ถ้าพบควรให้อาหาร ที่มีแคลอรี่สูง อาหารอ่อน ให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้ เพียงพอ แนะนำผู้ป่วยให้พูดช้าๆ ให้ผู้ป่วยพูดถึง ความรู้สึกเขาออกมา
Neuroleptic malignant syndrome (NMS) เป็นอาการที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักอาการสำคัญ คือ มีอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็งอย่างรุนแรง ไข้สูง หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก ปัสสาวะออกน้อย ความดันโลหิตไม่สม่ำเสมอ ระดับการรู้สึกตัวลดลง การทำงานของระบบหายใจล้มเหลว และ อาจเสียชีวิตได้ มักเกิดในสัปดาห์แรกของการรักษาหรือหลังเพิ่มขนาดยา
คอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ถ้าพบรีบ รายงานแพทย์ทราบเพื่อให้การช่วยเหลือ
Anticholinergic side effects จะทาให้มีผล ต่อระบบประสาทอัตโนมัติ เกิดจากการใช้ยา thioridazine เป็นส่วนใหญ่ โดยมีอาการดังนี้
-ปากแห้ง
-ตาพร่า
-ปัสสาวะลำบาก
-ท้องผูก
การพยาบาล
-ให้อมน้าแข็งหรือจิบน้ำบ่อยๆ
-ไม่ควรขับรถจนกว่าอาการตาพร่าจะดีขึ้น ระวังการพลัดตกหกล้มจากการมองเห็นไม่ชัด
-จดบันทึกน้าดื่มและปัสสาวะเพื่อดูความสมดุลของน้ำที่ได้รับและการขับถ่ายออกไป ส่งเสริมให้ผู้ป่วยปัสสาวะได้เอง
-แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใย มากๆ เช่น ผัก ผลไม้ ดื่มน้ำเพิ่มขึ้นถ้าไม่มีข้อห้าม และกระตุ้นให้ออกกำลังกาย
Adrenergic side effects มีความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ (Orthostatic hypotension) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะและหน้ามืด
การพยาบาล
แนะนาให้ลุกขึ้นช้าๆ จากท่านอนเป็นท่านั่ง หรือท่านั่งเป็นท่ายืน วัดความดันโลหิตท่านอน และท่ายืนเพื่อเปรียบเทียบกัน
Endocrine effects ยารักษาโรคจิต มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายหลายชนิดที่พบบ่อย คือ ผู้หญิงมีการเพิ่มระดับ prolactin ซึ่งเป็นผลให้เต้านมคัด บางรายมีการหลั่งน้ำนม (Lactation) ประจำเดือนผิดปกติ ความต้องการ ทางเพศลดลง สำหรับผู้ชายอาจมีเต้านมโตขึ้น การหลั่งอสุจิลดลง มักเกิดจากยา hioridazine นอกจากนี้ที่พบบ่อย คือ หิวบ่อย กินจุ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น (Weightgain)
การพยาบาล
อธิบายให้ผู้ป่วยฟังว่าอาการเหล่านี้จะเกิด ชั่วคราวเท่านั้นและจะเป็นปกติได้ แนะนำเรื่อง อาหารและการออกกาลังกาย
7.Hepaticeffectsทำให้เกิดดีซ่านได้จากยา
การพยาบาล
สังเกตอาการดีซ่านเช่นตัวเหลืองตาเหลือง
Skin reaction เกิดภายใน 1-5 สัปดาห์ หลังจากเริ่มใช้ยา อาจมีลมพิษหรือผิวหนังอักเสบ เนื่องจากผิวหนังไวต่อแสงแดด มักจะพบบริเวณ ใบหน้าและแขน ผิวหนังอาจไหม้เมื่อถูกแสงแดด หรือสีผิวอาจเปลี่ยนไป แดง และคล้ำ โดยเฉพาะในส่วนที่ถูกแสงแดด มักเกิดจากการใช้ยา chlorpromazine
การพยาบาล
อาจหยุดยาชั่วคราว หรือให้ยาแก้แพ้และ แนะนำผู้ป่วยให้ระวังโดยใส่เสื้อแขนยาวหรือ กางร่ม หรือใช้ยาทาผิวกันแสงแดดเมื่อจะออกไปข้างนอก
Hematologic effects ทาให้มีจำนวนเม็ดเลือดขาวน้อยกว่าปกติ (Agranulocytosis) ผู้ป่วยจะมีอาการติดเชื้อง่าย (เจ็บคอ มีไข้) พบได้จากยา chlorpromazin
การพยาบาล
สังเกตอาการของผู้ป่วย เช่น เจ็บคอ มีไข้ รายงานให้แพทย์ทราบ
Effect on seizure threshold ผู้ป่วยจะมีอาการชักง่ายขึ้นในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคลมชัก
การพยาบาล
คอยสังเกตอาการชักของผู้ป่วยที่อาจจะเกิดขึ้นได้
Ocular effects มีการเปลี่ยนสีที่เลนส์ลูกตา และที่ retina ทำให้ตาพร่ามองเห็นไม่ชัด พบในรายที่ได้รับการรักษาเป็นเวลานานเป็นผลจาก thioridazine ขนาดสูง (800 mg/day)
การพยาบาล
คอยสังเกตอาการของผู้ป่วยและถ้าพบ แนะนำให้ผู้ป่วยระวังการเคลื่อนไหว เพราะอาจพลัดตกหกล้มทำให้บาดเจ็บได้