Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้สูงอายุชื่อ ชายไทย อายุ 69 ปี เพศชาย สัญชาติไทย - Coggle Diagram
ผู้สูงอายุชื่อ ชายไทย อายุ 69 ปี เพศชาย สัญชาติไทย
ข้อมูลทั่วไป
เชื้อชาติ ไทย ศาสนา พุทธ สถานภาพ โสด ระดับการศึกษา ปวส.
ภูมิลำเนาเดิม 528/7 ถ.ไทยประชา ต.มะขามหย่ง อ.เมือง จ.ชลบุรี
ที่อยู่ปัจจุบัน 40 หมู่ 4 ถนนสุขุมวิท ตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
โรคประจำตัวและการรักษา : โรคความดันโลหิตสูง, ไขมันและเส้นเลือดในสมอง
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต : ปฏิเสธการแพ้ยา ปฏิเสธการแพ้อาหาร ไม่พบประวัติการผ่าตัด มีประวัติการหกล้มเมื่อปี 2552 และปี 2556
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว : ผู้สูงอายุปฏิเสธประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
ยา
Hydralazine 25 มก.: ยาขยายหลอดเลือด 1 เม็ด 3 ครั้ง หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น
ข้อควรระวัง อาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย ท้องผูก เวียนศีรษะและปวดศีรษะ
Hydrochlorothiazide 25 มก.: ยาขับปัสสาวะใช้รักษาความดันโลหิตสูง 1 เม็ด หลังอาหารเช้า
ข้อควรระวัง อาการแพ้ยา เช่น ผื่นคัน หายใจลำบาก มีอาการบวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ
Aspirin 81 มก: ยาช่วยต้านเกล็ดเลือด ลดการเกิดลิ่มเลือด อาการเจ็บหน้าอก ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือโรคหลอดเลือดในสมอง 1 เม็ด หลังอาหารเช้า
ข้อควรระวัง อาการแพ้ยา เช่น หายใจลำบาก ผื่นคัน มีอาการบวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ
หูอื้อ รู้สึกสับสน หายใจเร็วผิดปกติและซัก
B complex : วิตามินรักษาและป้องกันการขาดวิตามินบีชนิดต่าง 1 ช่วยเสริมการทำงานของระบบต่างในร่างกาย
ข้อควรระวัง อาจมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย รู้สึกวูบวาบได้เล็กน้อย อาการรุนแรง วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง มีปัญหาในการหายใจ เกิดผื่นแดง คัน และมีอาการบวมบริเวณใบหน้า คอ ลิ้น ซึ่งควรรีบไปพบแพทย์
Omeprazole 20 มก: ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร 1 เม็ด 1 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า
ข้อควรระวัง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง มีแก๊สในกระเพาะอาหาร
ข้อมูลเกี่ยวกับแบบแผนสุขภาพ
แบบแผนการรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
1.1 การรับรู้สุขภาวะสุขภาพในปัจจุบัน: รับรู้ว่าตนเองเจ็บป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และการล้มทำให้เป็นอัมพาตครึ่งซีก
1.2 ประวัติการแพ้ต่าง ๆ: ปฏิเสธการแพ้ยา ปฏิเสธการแพ้อาหาร
1.3 พฤติกรรมเสี่ยง (การสูบบุหรี่, ดื่มแอลกอฮอล์): ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่วันละ 2 มวน
1.4 การดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย: ลดปริมาณการสูบบุหรี่ลงจากวันละ 2 ซองเหลือ วันละ 2 มวน
รับประทานยาต่อเนื่อง ซึ่งมีตัวยา Htydralazine: ยาขยายหลอดเลือด, Hydrochlorothiazide: ยาขับปัสสาวะใช้รักษาความดันโลหิตสูง, Aspirin: ยาช่วยต้านเกล็ดเลือด, B complex: วิตามินรักษาและป้องกันการซาดวิตามินบีชนิดต่าง ๆ และ Omeprazole: ยาลดกรดในกระเพาะ
สรุปปัญหาที่พบ รับรู้ว่าตนเป็นเพียงโรคความดันโลหิตสูงและสูบบุหรี่
แบบแผนอาหารและการเผาผลาญอาหาร
2.1 พฤติกรรมการรับประทานอาหาร (ชนิดและปริมาณ): ช่วงเช้าชอบรับประทานขนมปังคู่กับกาแฟชอบรับประทานอาหารรสจัด เติมเครื่องปรุงบ่อยครั้ง ไม่รับประทานผลไม้และรับประทานผักบ้างบางครั้ง ส่วนใหญ่รับประทานอาหารที่ผู้ดูแลได้จัดไว้ให้เวลา 08.00น. 11.00น.และ17.00น. อาหารที่รับประทาน เช่น ข้าวต้มหมู ข้าวสวยกับไข่ต้มและผัดผัก ข้าวสวยกับ ต้มจืด และก๋วยเตี๋ยว รับประทานข้าวประมาณครึ่งหนึ่งที่จัดมาให้ประมาณ 1 ทัพพีครึ่ง และรับประทานขนมที่ผู้ดูแลจัดมาให้ เช่น ขนมลอดช่อง รับประทานหมดถ้วย เป็นต้น
สรุปปัญหาที่พบ ดื่มกาแฟวันละ 4 แก้ว (600มล.) และฟันผุ , รับประทานรสจัด เติมเครื่องปรุง รับประทานผักบางครั้งและไม่รับประทานผลไม้
2.2 การดื่มน้ำ: ดื่มน้ำวันละ 2000 มล. และดื่มกาแฟวันละ 4 แก้ว (600มล.)
2.3 ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร (ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน การเคี้ยว การกลืน): รับประทาน
อาหารได้ไม่มีปัญหาท้องงอืด คลื่นไส้ อาเจียน การเคี้ยว การกลืน
ผลการประเมินตามแบบประเมินภาวะโภชนาการ (Mini Nutritional Assessment : MNA: ผลการประเมินได้ 9 คะแนน แปลผลได้ว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร
ผลการตรวจร่างกายและชักประวัติระบบทางเดินอาหาร: ปาก ฟันและเหงือกไม่มีการบวมหรือการอักเสบ
ฟันล่าง 11 ซี่ ฟันบน 9 ซี่ พบฟันผุ 18 ซี่ ต่อมทอนชินไม่แดงหรือบวม
**น้ำหนัก 70 กิโลกรัม ส่วนสูง 170 เซนติเมตร ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เท่ากับ 24.22 วัดเส้นรอบเอว: ไม่ได้ทำการวัด
แบบแผนการขับถ่าย
3.1 การขับถ่ายอุจจาระ (จำนวนครั้ง/วัน ลักษณะ): 1 ครั้ง/วัน มีลักษณะเป็นก้อน
ไม่เหลว มีสีน้ำตาล ปนเหลือง
สรุปปัญหาที่พบ มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในระดับรุนแรงน้อย
3.2 การขับถ่ายปัสสาวะ (จำนวนครั้ง/วัน สี ปริมาณ) : 10 ครั้ง/วัน สีเหลืองเข้ม ปริมาณครั้งละ 100มล.
** ผลการประเมินแบบประเมินภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ: ผู้สูงอายุมีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในระดับรุนแรงน้อย
** ผลการตรวจร่างกายและซักประวัติระบบขับถ่าย: bowel sound 9 ครั้ง/นาที คลำไม่พบก้อนหรือบริเวณที่
กดเจ็บบริเวณท้อง อวัยวะเพศไม่มีตุ่มหนองหรือการบวมแดง ไม่พบภาวะต่อมลูกหมากโต
แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
4.1 ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันชั้นพื้นฐาน: สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานได้บางส่วน เช่น ลุกจากที่นอนไปเก้าอี้เองได้ อาบน้ำ แปรงฟัน สวมใส่เสื้อผ้าได้ด้วยตนเอง รับประทานอาหารเองได้แต่ต้องมีผู้จัดให้ ต้องใช้รถเข็นในการช่วยในการเคลื่อนที่ได้เอง
สรุปปัญหาที่พบ เสี่ยงต่อการหกล้มและกล้ามเนื้อขาและแขนข้างช้ายอ่อนแรง
4.2 พฤติกรรมการออกกำลังกาย: มีเดินเกาะราวทางเดินทำกายภาพบำบัดด้วยตนเองบ้าง 15- 30 นาที
4.3 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในศูนย์ฯ บ้านบางละมุง: การทำกายภาพบำบัดให้ผู้สูงอายุ นวด และโภชนบำบัด
4.4 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในศูนย์ฯ บ้านบางละมุง และอื่น ๆ ที่ผู้สูงอายุเข้าร่วม: การทำกายภาพบำบัด
** ผลการประเมินตามแบบประเมินความสามารถเชิงปฏิบัติ (Barthel ADL Index): ผลการประเมิน 14 คะแนน แปลผลว่า มีภาวะพึ่งพาเล็กน้อย
** ผลการประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกลัมของผู้สูงอายุในชุมชน: ผลการประเมิน 4 คะแนน แปลผลว่า มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม
** ผลการตรวจร่างกายและซักประวัติระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ: กล้ามเนื้อขาและแขนข้างขวา motor
power 5 คะแนน กล้ามเนื้อขาและแขนข้างซ้าย motor power 0 คะแนน
** ผลการตรวจร่างกายและซักประวัติระบบหัวใจและหลอดเลือด: PR= 98 ครั้ง/นาที คลำชีพจร ข้างขวาทั้ง
ขาและแขนเต้นแรงสม่ำเสมอ ชีพจรขาและแขนข้างซ้าย เบาและไม่สม่ำเสมอ ไม่พบหลอดเลือดโป่งพอง ไม่พบเสียง murmur
** ผลการตรวจร่างกายและซักประวัติระบบทางเดินหายใจ: RR= 18 ครั้ง/นาที หายใจสม่ำเสมอ ไม่มีอาการ
หอบเหนื่อย ฟังปอดได้ยินเสียงเท่ากันทั้งปอด คลำแรงสั่นสะเทือนเท่ากันทั้งปอดและทรวงอกขยายตัวเท่ากันทั้ง 2 ข้าง ไม่พบเสียง Crepitation, Rhonchi, Wheezing
แบบแผนการพักผ่อนและการนอนหลับ
5.1 ปกตินอนหลับวันละ 7-8 ชั่วโมง
สรุปปัญหาที่พบ มีเสียงรบกวนการนอน
5.2 ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ: มีเสียงรบกวนทำให้ก่อนจะเข้านอนใช้เวลานาน ไม่ตื่นตอนกลางคืน ไม่ปัสสาวะในตอนกลางคืน
5.2 การปฏิบัติตนเพื่อผ่อนคลายและส่งเสริมการนอนหลับ: สวดมนต์ เพ่งมองสิ่งของให้จิตใจนิ่งและสงบ
** ผลการประเมินตามแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ (PSQI): ผลการประเมิน 11 คะแนน แปลผลว่า
ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี
แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
6.1 การได้ยิน: สามารถฟังและตอบคำถามในระดับเสียงปกติได้ แต่จะได้ยินชัดหูข้างขวา หูทั้งสองข้าง
จากการตรวจร่างกายพบขี้หูอุดตันอยู่
สรุปปัญหาที่พบ มีขี้หูอุดตันบริเวณหูทั้ง 2 ข้างและปวดไหล่ซ้ายและหลังเล็กน้อย Reflex ข้างซ้ายได้ 0
6.2 การมองเห็น: สายตายาว 425 ใส่แว่นแล้วสามารถมองเห็นตัวหนังสือในระยะ 1 ฟุตได้
6.3 การรับสัมผัส/ความสุขสบาย: มีปวดไหล่ช้างข้ายเล็กน้อยเวลายก และมีปวดหลังบ้างเป็นบางครั้ง
6.4 ความจำ: ผู้สูงอายุสามารถจำวันเวลาและสถานที่ได้เป็นปกติ จำเรื่องราวในอดีตและปัจจุบันได้
** ผลการประเมินสภาพสมองเบื้องตันฉบับภาษาไทย MMSE - Thai 2002 ในผู้สูงอายุ: ผลการประเมิน 27
คะแนน แปลผลว่าผู้สูงอายุไม่มีภาวะสมองเสื่อม
** ผลการประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (Thai Geriatric Depress Scale : TGDS): ผลการประเมิน 0
คะแนน แปลผลว่าเป็นผู้สูงอายุปกติ
** ผลการประเมินความปวด (Visual Analogue Scale, VAS) / (Visual Analogue Scale, VAS): ผลการ
ประเมิน 3 คะแนน เต็ม 10 คะแนน อยู่ในระดับปวดเล็กน้อย
ผลการตรวจร่างกายและซักประวัติระบบประสาทและการรับสัมผัส: แขนและขาซีกขวาสามารถรับสัมผัสร้อนเย็นและเจ็บได้ปกติ แต่แขนและขาซีกซ้ายไม่สามารถรับความรู้สึกได้ หูทั้งสองข้างจากการตรวจร่างกายพบขี้หูอุดตันอยู่ จากการวัดสายตาทั้ง 2 ข้างมองเห็นในแถว 3/12 ขณะใส่แว่นตามองเห็นแถว 6/12
ผลการตรวจ Reflex Biceps Jerk, Triceps Jerk, Brachioradialis Reflex, Knee Jerk, Ankle Jerk และ Plantar Reflex ข้างขวาได้ 2+ ข้างซ้ายได้ 0
*motor power กล้ามเนื้อขาและแขนข้างขวา motor power 5 คะแนน กล้ามเนื้อขาและแขนข้างซ้าย motor power 0 คะแนน
แบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
7.1 ความรู้สึกต่อตนเองในด้านต่าง ๆ: ด้านร่างกาย รู้สึกว่าตนเองแข็งแรงขึ้นจากตอนที่เป็นอัมพาต
แรก ๆ ด้านจิตใจ รู้สึกว่ามีจิตใจที่เข้มแข็ง และปล่อยวางในเรื่องต่าง ๆมากขึ้น
สรุปปัญหาที่พบ ไม่พบปัญหา
7.2 ความรู้สึกผิดปกติของตนเองที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วย: มีเจ็บแขนข้างช้ายบริเวณหัวไหล่บ้าง
บางครั้งในขณะที่ยก ไม่มีอาการมึนศีรษะหรือเวียนศีรษะ
7.3 วิธีการเผชิญและแก้ไขปัญหาะ จะอยู่นิ่ง ๆ ทำจิตใจให้สงบ เพ่งมองวัตถุที่อยู่นิ่งเพื่อให้ใจสงบ
แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
8.1 บทบาทและหน้าที่พิเศษ: ดูแลรดน้ำตันไม้ 3 ต้น และดูแลบ่อปลา
สรุปปัญหาที่พบ ไม่พบปัญหา
8.2 สัมพันธภาพกับผู้อื่น: พูดคุยยิ้มแย้มให้เพื่อนบางคนในบ้าน ยิ้มแย้มแจ่มใสต้อนรับผู้ที่มาเยี่ยมพูดคุยกับผู้ดูแลได้ปกติ
แบบแผนเพศสัมพันธ์
9.1 การมีเพศสัมพันธุ์: ไม่มีเพศสัมพันธุ์
9.2 ปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์: ไม่มีปัญหา
9.3 พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมกับเพศ: เหมาะสมกับเพศของตนเอง คือ เพศชาย การแต่งกายแบบเพศชายและมีการพูดปกติ
สรุปปัญหาที่พบ ไม่พบปัญหา
** ผลการตรวจร่างกายและชักประวัติระบบสืบพันธุ์: ไม่มีอาการบวมแดง หรือหนองบริเวณอวัยวะเพศ
แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญกับความเครียด
10.1 ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด: ผู้สูงอายุภายในอาคารและเสียงรบกวนจากผู้สูงอายุ
10.2 วิธีการเผชิญและแก้ไขความเครียด: สวดมนต์ นั่งมองสิ่งของที่อยู่นิ่ง เพ่งสมาธิเพื่อทำให้จิตใจสงบ
10.3 บุคคลที่คอยให้ความช่วยเหลือ: ผู้ดูแล
สรุปปัญหาที่พบ มีความเครียดระดับปานกลาง
** ผลการประเมินตามแบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต (ST-๕): ผลการประเมิน 5 คะแนน แปลผลว่า มีความเครียดระดับปานกลาง
แบบแผนค่านิยมและความเชื่อ
11.1 การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา: สวดมนต์ไหว้พระก่อนนอน
11.2 สิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ: พระพุทธศาสนา
11.3 ความเชื่อเกี่ยวกับทางด้านสุขภาพ: ไม่มี
สรุปปัญหาที่พบ ไม่พบปัญหา
ข้อมูลลักษณะของศูนย์ฯ บ้านบางละมุง
จำนวนผู้สูงอายุภายในศูนย์ฯ บ้านบางละมุง 190 คน จำนวนเรือนนอน สถานบริการสุขภาพ โรงพยาบาลบางละมุง
เรือนนอนชื่อ อาคารป้าใสใจ อาคาร 4 จำนวนสมาชิก 51 คน ชาย 31 คน หญิง 20 คน
สิ่งแวดล้อมภายในเรือนนอน อากาศไม่ค่อยปลอดโปร่ง มีห้องน้ำด้านหลังเรือน มีพื้นที่ให้นั่งพักผ่อน 2 จุด คือ
หน้าเรือนกับข้างเรือน แต่จะมีกลิ่นปัสสาวะทั่วเรือนเมื่อเข้าไป ห้องน้ำเปียก ราวตากผ้า บริเวณพื้นมีน้ำจากการซักผ้า มุ้งลวด หน้าต่างมีฝุ่นเกาะ
สิ่งแวดล้อมบริเวณภายนอกเรือนนอน มีต้นไม้ใหญ่อยู่หน้าเรือน สะอาด มีราวตากผ้าข้างอาคาร มีทางลาดและ
บันไดในทางขึ้น ลง พื้นที่ข้างเรือนมีทางเดินแต่สูง
สิ่งอำนวยความสะดวกภายในเรือนนอน เตียงนอนขนาด 3.5 ฟุต หมอน ผ้าห่ม ชั้นวางของ พัดลม
แหล่งน้ำดื่มน้ำใช้: มีเครื่องกรองน้ำอยู่บริเวณหน้าเรือน
ลักษณะของห้องน้ำ มีราวจับ มีชักโครก บริเวณพื้นจะมีคราบสกปรกเล็กน้อย ห้องน้ำกว้างสามารถเข็นรถเข็น
เข้าไปได้
การกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล ขยะจะนำไปทิ้งที่ถังขยะหน้าอาคาร และจะมีรถเทศบาลมารับไปทิ้ง
ข้อมูลผู้ดูแล
ผู้ดูแลหลัก (ที่เลี้ยง) ชื่อ – สกุล เพศ ชาย อายุ 38 ปี ระดับการศึกษา ม.6
ภาวะสุขภาพ แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว
ความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุ ผู้ดูแลหลัก ความสัมพันธ์ดี ไม่มีการทะเลาะกัน
ระยะเวลาที่ดูแล (ตั้งแต่เริ่มดูแลถึงปัจจุบัน) 18 ปี ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2544
ระยะเวลาที่ให้การดูแลต่อวันและกิจกรรม 06.00 น. - 17.00 น.
กิจกรรมการดูแล ได้แก่ การดูแลทั่วไป การดูแลปัจจัย 4 ทั้งหมด การจัดยาให้กับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถจัดเองได้และอาหารทั้ง 3 มื้อ
ผู้ดูแลรอง (สมาชิกภายในศูนย์) ชื่อ-สกุล นางรัศมี สายจำปา เพศ หญิง อายุ 39 ปี
ระดับการศึกษา ม.3 ภาวะสุขภาพ แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว
ความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุ ความสัมพันธ์ดี ไม่มีการทะเลาะกัน
ระยะเวลาที่ดูแล (ตั้งแต่เริ่มดูแลถึงปัจจุบัน) 6 ปี ตั้งแต่ปี 2556
ระยะเวลาที่ให้การดูแลต่อวันและกิจกรรม 06.00 น. - 17.00 น. กิจกรรมการดูแล ได้แก่ การดูแลทั่วไป การดูแลปัจจัย 4 ทั้งหมด การจัดยาให้กับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถจัดเองได้และอาหารทั้ง 3 มื้อ
ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดหัวไหล่ด้านซ้าย
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้สูงอายุบอกว่า “ปวดที่หัวไหล่ซ้ายเวลายกแขน”
-O: V/S: PR=98 bpm, RR= 18 bpm, T=37.5 ํC, BP= 154/90 mmHg
O: VAS = 3 คะแนน
วิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ความปวด หมายถึง ประสบการณ์ที่บุคคลบอกว่าปวดเป็นประสบการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาของบุคคล มีความสัมพันธ์กบจิตใจ อารมณ์ ที่เป็นการตอบสนองจากร่างกาย หรือเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ เป็นประสบการณ์ที่ซับซ้อนประกอบด้วยความรู้สึก และพฤติกรรมที่บุคคลมีต่อร่างกายจิตใจ และสังคม (สุชาดา, 2557) จำแนกตามกลไกทางสรีรวิทยาของระบบประสาท หรือเรียกว่า neurophysiological mechanisms ประกอบด้วย 4 ปัจจัย โดยที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
1) ความปวดที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือความปวดจากจิตใจ (idiopathic or psychogenic pain) เป็นความปวด 2 ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการกระตุ้นตัวรับความปวด หรือพยาธิสภาพ และการทำงานที่ผิดปกติของระบบประสาท สันนิษฐานว่าพฤติกรรมความปวด อาจเกิดจากปัจจัยทางด้านจิตใจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น myofascial pain syndrome, somatoform pain disorder
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and Tear Theory) การบาดเจ็บสะสมจากการใช้งานเป็นเวลาต่อเนื่องของอวัยวะในร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้นจึงเกิดการตายของเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ และระบบต่างๆ ของร่างกายจะทำงานเสื่อมลง จนในที่สุดไม่สามารถทำงานๆ ได้ เกิดความชราและเสียชีวิต เช่น เซลล์ประสาทหรือเซลล์กล้ามเนื้อเสื่อมและตายลง เป็นต้น
ผลการซักประวัติและการตรวจร่างกาย พบว่า มีระดับความเจ็บปวด (VAS=3 คะแนน) และจากการซักประวัติพบว่าผู้สูงอายุบ่นปวดบริเวณหัวไหล่ด้านซ้ายขณะยกแขน
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล เพื่อลดอาการปวดบริเวณหัวไหล่ด้านซ้ายและสุขสบายมากขึ้น
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีสีหน้าที่แสดงถึงอาการเจ็บปวด เช่น หน้านิ่วคิ้วขมวด เป็นต้น
ไม่มีบ่นปวด
สีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส
สัญญาณชีพอยู่ในระดับปกติ คือ PR= 80-100 bpm, RR=12-20 bpm, T=36.5-37.4 ํC, BP=120/80-90/60 mmHg
VAS อยู่ในระดับ 1 คือ ไม่ปวด ใบหน้ามีความสุข
สามารถบอกวิธีการประคบร้อนได้ถูกต้อง
สามารถบอกและปฏิบัติการบริหารข้อศอกได้มากกว่า 3 ข้อ
สามารถบอกการเบี่ยงเบนความสนใจจากความเจ็บปวดได้ถูกต้อง
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตอาการปวดของผู้สูงอายุขณะยกของหรือขณะพัก เช่น สีหน้าไม่ยิ้มแย้มแจ่มใสหรือหน้านิ่วคิ้วขมวด เพื่อประเมินระดับความเจ็บปวด
วัดสัญญาณชีพเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย โดยให้อยู่ในค่าปกติ คือ PR= 80-100 bpm, RR=12-20 bpm, T=36.5-37.4 ํC, BP=120/80-90/60 mmHg
ประเมินระดับความเจ็บปวด (VAS) เพื่อให้การพยาบาลและดูแลได้อย่างเหมาะสม
จากผลการวิจัย เรื่อง ประสบการณ์ความปวดและพฤติกรรมการดูแลตนเองในการจัดการกับความปวดของผู้สูงอายุการประคบด้วยความร้อนเป็นวิธีการบรรเทาความปวดได้ในระดับกลาง การประคบด้วยความร้อนเป็นวิธีการบรรเทาความปวดได้ในระดับกลาง (อ้างอิง: นุสรา, สาวิตรีและสุกัญญา, 2563) ที่บริเวณข้อหัวไหล่ที่ปวด เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวและหลังการประคบ ดูแลและแนะนำให้ผู้ป่วยได้มีการบริหารกล้ามเนื้อและข้อหัวไหล่ สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ ไม่ควรประคบด้วยความร้อนที่มากเกินไป เพราะจะทำให้รู้สึกแสบร้อนบริเวณที่ประคบ ไม่ควรประคบนานหรือถี่เกินไป และต้องไม่ประคบร้อนในบริเวณที่มีบาดแผลเปิดหรือมีเลือดออก เพราะจะยิ่งทำให้มีการอักเสบเพิ่มมากขึ้น จะประคบร้อนได้ก็ต่อเมื่อการอักเสบน้อยลงแล้ว ซึ่งสังเกตได้จากไม่มีอาการบวม แดง ร้อน
พักการใช้งาน เป็นการรักษาขั้นพื้นฐาน คือ ลดการใช้งานแขนข้างที่มีอาการ เพื่อให้เส้นเอ็นกล้ามเนื้อได้มีการฟื้นฟู
เทคนิคการบรรเทาความปวดแบบไม่ใช้ยา ดังนี้
6.1 การบริหารหัวไหล่
ท่าที่ 1 ท่าไต่กำแพงด้านหน้า ทำได้โดย ยืนหันหน้าเข้ากำแพง ยกแขนข้างมีอาการปวด แขนเหยียดตรงใช้มือไต่กำแพงขึ้น ให้รู้สึกว่าตึงหัวไหล่ ไม่เจ็บเกินไป
ท่าที่ 2 ท่าไต่กำแพงด้านข้าง ทำได้โดยค้างไว้ 10-15วินาที แล้วค่อยๆลดมือลงมาอยู่ในท่าเตรียม
ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง เช้า-เย็น
ท่าที่ 3 ท่ายืดหัวไหล่ ทำได้โดย มือสองข้างผสานกันที่ด้านหลัง แขนเหยียดตรง ค่อยๆยกแขนขึ้น ให้รู้สึกตึงหัวไหล่ ไม่เจ็บมากเกินไป ค้างไว้ 10 – 15 วินาทีค่อยๆลดแขนลงกลับมาอยู่ในท่าเตรียม ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง เช้า-เย็น
ท่าที่ 4 ใช้มือข้างที่มีอาการปวดหัวไหล่ จับหัวไหล่ฝั่งตรงข้าม มืออีกข้างจับข้อศอก ค่อยๆดันข้อศอกเข้าหาลำตัว ให้รู้สึกว่าตึงไหล่ ไม่เจ็บมากเกินไป ค้างไว้ 10 -15 วินาที ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง เช้า-เย็น
ข้อควรระวัง ในการทำท่าบริหาร คือ หากยังมีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน หรือทำท่าบริหารแล้วมีอาการปวดมากขึ้น ให้หยุดทำท่าบริหาร และ ให้ประคบเย็นบริเวณที่มีอาการปวด แต่ถ้าไม่มีมีอาการ บวมแดงร้อน สามารถประคบร้อนบริเวณที่มีอาการปวดได้
6.2 การเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น ฟังเพลง นั่งสมาธิ ออกกำลังกาย ดูทีวี การทำกิจวัตรประจำวัน เป็นต้น
6.3 การบรรเทาอาการปวดด้วยการนวด โดยการนวดคลึงเบา ๆ บริเวณที่ไม่มีแผล เป็นต้น โดยอาจนวดร่วมกับการใช้ยานวด เพื่อลดการใช้ยาและลดผลข้างเคียงจากการใช้ยา จะช่วยยับยั้งการส่งกระแสประสาทของความปวด ทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ คลายความเครียด ลดความกังวล ผู้ป่วยจึงรู้สึกผ่อนคลาย และช่วยให้หลับสบาย
6.4 การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 6-8 ชั่วโมง โดยการเปิดไฟสลัวๆ ลดเสียงรบกวนการนอน เช่น เสียงพูดคุยหรือการดูรายการที่มีความตื่นเต้นก่อนนอน เป็นต้นเพื่อให้ร่างกายได้มีการพักและซ่อมแซมส่วนที่สึกหลอ
บรรเทาอาการปวดด้วยยา เป็นวิธีการบรรเทาปวดที่ดีที่สุดในผู้สูงอายุและภมีประสิทธิภาพที่ดี (อ้างอิง: นุสรา, สาวิตรี และสุกัญญา, 2563) โดยการใช้ยาต้องระวังผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น Paracetamol 1 เม็ด ทุก 8 ชั่วโมง ผลข้างเคียงคือ ท้องเสีย เหงื่อออกมากผิดปกติ เบื่ออาหาร คลื่นไส้หรืออาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง มีอาการปวดบวม ที่บริเวณหน้าท้องส่วนบน หรือบริเวณช่องท้อง เป็นต้น
จัดสิ่งแวดล้อมในสุขสบาย เช่น ลดเสียงรบกวน บริเวณที่นอนสะอาด ลดเสียงจากภายนอกอาคารเรือนนอน เป็นต้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้พักผ่อนและลดความเจ็บปวดได้ดีขึ้น กิจกรรมของผู้สูงอายุ
กิจกรรมของผู้สูงอายุ
สังเกตอาการปวดของตนเอง เช่น สีหน้าไม่ยิ้มแย้มแจ่มใสหรือหน้านิ่วคิ้วขมวด เพื่อสามารถประเมินระดับความเจ็บปวดของตนเองได้
สังเกตผลข้างเคียงจากการรับประทานยาเพื่อบรรเทาปวดได้ เช่น ท้องเสีย เหงื่อออกมากผิดปกติ เบื่ออาหาร คลื่นไส้หรืออาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง มีอาการปวดบวม ที่บริเวณหน้าท้องส่วนบน หรือบริเวณช่องท้อง เป็นต้น
ร่วมกันบริหารหัวไหล่ เพื่อลดอาการปวด และป้องกันไหล่ติด
นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนและซ่อมแซมส่วนที่สึกหลอ
กิจกรรมของผู้ดูแล
สังเกตอาการปวดของผู้สูงอายุ เช่น สีหน้าไม่ยิ้มแย้มแจ่มใสหรือหน้านิ่วคิ้วขมวด เพื่อสามารถประเมินระดับความเจ็บปวดของตนเองได้
สังเกตผลข้างเคียงจากการรับประทานยาเพื่อบรรเทาปวดของผุ้สูงอายุ เช่น ท้องเสีย เหงื่อออกมากผิดปกติ เบื่ออาหาร คลื่นไส้หรืออาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง มีอาการปวดบวม ที่บริเวณหน้าท้องส่วนบน หรือบริเวณช่องท้อง เป็นต้น
แนะนำให้ผู้ดูแลร่วมกันออกกำลังกายเพื่อสามารถสอนและดูแลผู้สูงอายุเมื่อมีความปวดได้ดี4. จัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพักผ่อน เช่น เปิดไฟสลัวๆ หรือเปิดเพลงเพื่อการผ่อนคลาย ทำให้ผู้สูงอายุนอนหลับได้ดีขึ้น
แนะนำให้ผู้ดูแลนวดอย่างถูกวิธี เพื่อลดอาการปวดและไม่เกิดความเสี่ยงจากการนวดผิดจุด
ประเมินผล
วันที่ 8 มีนาคม 2564
ผู้สูงอายุมีความเจ็บปวดเล็กน้อย มีบ่นปวดบางครั้ง
สัญญาณชีพ PR= 88 bpm, RR=16 bpm, T=36.7 ํC, BP=140/80 mmHg
VAS อยู่ในระดับ 3 คือ ไม่ปวด ใบหน้ามีความสุข
ไม่สามารถบอกวิธีการประคบร้อนได้
ผู้สูงอายุสามารถบอกและปฏิบัติการบริหารข้อศอกได้ 2 ข้อ
ไม่สามารถบอกการเบี่ยงเบนความสนใจจากความเจ็บปวดได้
วันที่ 9 มีนาคม 2564 1. ผู้สูงอายุไม่มีสีหน้าแสดงความเจ็บปวด แต่มีบ่นปวดบางครั้ง
สัญญาณชีพ PR= 80 bpm, RR=16 bpm, T=36.5 ํC, BP=138/87 mmHg
VAS อยู่ในระดับ 2 คือ ปวดเล็กน้อย ใบหน้ามีความสุขเล็กน้อย
สามารถบอกวิธีการประคบร้อนได้
ผู้สูงอายุสามารถบอกและปฏิบัติการบริหารข้อศอกได้ 4 ข้อ
สามารถบอกการเบี่ยงเบนความสนใจจากความเจ็บปวดได้
วันที่ 10 มีนาคม 2564
ผู้สูงอายุไม่มีสีหน้าความเจ็บปวด ไม่มีบ่นปวด สีหน้าสดชื่น
สัญญาณชีพ PR= 86 bpm, RR=16 bpm, T=36.7 ํC, BP=140/80 mmHg
VAS อยู่ในระดับ 1 คือ ไม่ปวด ใบหน้ามีความสุข
สามารถบอกวิธีการประคบร้อนได้
ผู้สูงอายุสามารถบอกและปฏิบัติการบริหารข้อศอกได้ครบทุกข้อ
ผู้สูงอายุสามารถบอกการเบี่ยงเบนความสนใจจากความเจ็บปวดได้
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงเนื่องจากมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพไม่เหมาะสม
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้สูงอายุบอกว่า “ชอบกินกาแฟกับขนมปังในตอนเช้า กาแฟต้องกินวันละ 4 แก้ว”S: ผู้สูงอายุบอกว่า “ไม่ชอบกินผลไม้ ผักก็กินบางครั้ง”
S: ผู้สูงอายุบอกว่า “รับประทานรสจัด เติมเครื่องปรุง”
S: ผู้สูงอายุบอกว่า “สูบบุหรี่วันละ 2 มวน แต่ก่อนสูบวันละ 2 ซอง ตอนนี้ลดแล้วเหลือวันละ 2 มวน”
S: ผู้สูงอายุบอกว่า “ตอนเครียดก็นั่งนิ่งๆ ไม่ได้ทำอะไร”
O: มีประวัติโรคความดันโลหิตสูงและระดับไขมันในเลือดสูง
O: ได้รับยา Hydrochlorothiazide 25 มก., Hydralazine 25 มก.และ Aspirin 81 มก.
O: จากการวัดสัญญาณชีพพบว่า PR= 98 bpm , RR= 18 bpm, T=37.5 ํC และ BP=154/80 mmHg
O: BMI = 24.22 Kg/m2
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
โรคความดันโลหิตสูง หมายถึง ภาวะที่ความดันโลหิตในขณะที่หัวใจบีบตัว (Systolic blood pressure: SBP) มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 140 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ความดันโลหิตในขณะที่หัวใจคลายตัว (Diastolic blood pressure: DBP) มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 90 มิลลิเมตรปรอท โดยมี
1) ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ดังนี้
1.1 อายุ อายุมากขึ้นมีอัตราการเกิดความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น
1.2 เพศชายมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าเพศหญิง
2) ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้ ดังนี้
2.1 ภาวะเครียด ทำให้เพิ่มความต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลาย เพิ่มปริมาณเลือดที่ส่งออกต่อนาที และกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
2.2 ภาวะอ้วนหรือมีไขมันสะสมอยู่บริเวณเอวหรือเหนือเอว จะสัมพันธ์กับการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
2.3อาหารและการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมมากมีความเกี่ยวพันกับการเกิดความดัน โลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ อาหารที่มีเกลือสูงจะกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมน natriuretic ซึ่งมีผลเพิ่มความดันโลหิต นอกจากนี้การ ได้รับโซเดียมมากจะไปกระตุ้นกลไกการหดตัวของหลอดเลือดของระบบประสาทส่วนกลางด้วย ปริมาณของเกลือโซเดียมที่สูงขึ้นมีผลทำให้ความดันโลหิตสูงมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความไวของการตอบสนองของแต่ละคน ซึ่งผู้สูงอายุที่เป็นความดันโลหิตสูงอยู่แล้วจะไวต่อเกลือโซเดียมมากกว่าผู้สูงอายุที่ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
2.4การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นปัจจัยเสี่ยงของความดันโลหิตสูง สารนิโคตินในบุหรี่จะเป็นตัวกระตุ้นการหลั่งแคทีโคลามีน ซึ่งมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัวมากขึ้น จากการศึกษาพบว่า บุหรี่ 1 มวน มีผลทำให้หลอดเลือดตีบตัวอย่างน้อย 1 ชั่วโมง และคนที่สูบบุหรี่จะมีระดับของคาร์บอนมอนนอกไซด์ในเลือดสูง ซึ่งจะไปจับกับเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจน ทำให้เนื้อเยื่อขาดออกซิเจนมากยิ่งขึ้น และผู้ที่สูบบุหรี่ จัด (20 มวน/วัน) เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงถึง 6.5 เท่า
กลไกการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เกิดจากการเพิ่มขึ้นของปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาที(cardiacoutput) ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาทีได้แก่ ปริมาตรเลือดที่เพิ่มขึ้น และการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจที่เพิ่มขึ้นซึ่งการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุนั้นแตกต่างจากในผู้ใหญ่ เนื่องจากมีปัจจัยที่เพิ่มขึ้นจากความสูงวัย คือ จากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเมื่ออายุมากขึ้น ได้แก่ การที่หลอดเลือดแดงตีบแข็งเนื่องจากมีไขมันอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุเมื่ออายุมากขึ้น โดยผนังหลอดเลือดแดงจะหนาตัวขึ้น ทำให้มีความแข็งมากขึ้น ความยืดหยุ่นลดลง และการตึงตัวของกล้ามเนื้อเรียบมากขึ้น โดยมักเกิดร่วมกับการสะสมของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและไขมันในผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดมีความแข็งตัวมากขึ้น ประกอบกับผนังหลอดเลือดมีการตอบสนองต่อระบบประสาทซิมพาเทติคและพาราซิมพาเทติค (sympatheticandparasympatheticnervous system) ลดลง ทำให้ความสามารถในการหดตัวและคลายตัวลดลง และสูญเสียความสามารถในการหดตัวกลับ เมื่อได้รับแรงดันเลือดจากหัวใจ หลอดเลือดจึงมีความต้านทานส่วนปลายมากขึ้น ทำให้หัวใจทำงานมากกว่าปกติในการที่จะส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย
ทฤษฎีเชื่อมตามขวาง (Cross-Linking Theory) สารที่มีการเชื่อมตามขวางเกาะ DNA ทำให้เซลล์ทำหน้าที่ผิดปกติ และ Collagen เปลี่ยนแปลง เนื้อเยื่อขาดความยืดหยุ่น และความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวร่างกาย
ผลการซักประวัติและตรวจร่างกายพบว่า ผู้สูงอายุมีปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่น อายุ เพศ เป็นต้น และที่เปลี่ยนได้ เช่น น้ำหนักเกิน การสูบบุหรี่ เป็นต้น รวมทั้งมีประวัติโรคความดันโลหิตสูงและระดับไขมันในเลือดสูง
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน จากโรคความดันโลหิตสูง
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีอาการของความดันโลหิตสูง เช่น เวียนศีรษะ มึนงง ชาตามปลายมือและปลายเท้า เลือดกำเดาไหลหรือเจ็บแน่นหน้าอก อ่อนเพลียไม่มีสาเหตุและมีการเปลี่ยนแปลงที่จอรับภาพของตา เป็นต้น
2.ไม่มีอาการแสดงของโรคจากภาวะแทรกซ้อนโรคของความดันโลหิตสูง ดังนี้
2.1 หัวใจเลือดขาด เช่น อาการเจ็บแน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อแตก ใจสั่น หน้ามืด เป็นต้น
2.2 หัวใจวาย เช่น แน่นหน้าอก นานกว่าครั้งก่อนๆ นานกว่า 20 นาที เหงื่อออก ตัวเย็นคลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด เป็นลม แน่นหน้าอก เป็นต้น
2.3 โรคสมองขาดเลือด เช่น แขนขาชาและอ่อนแรงครึ่งซีก การมองเห็นผิดปกติ พูดไม่ชัด พูดไม่รู้เรื่อง ปวดศีรษะ มึนงง หรือบางรายอาจหมดสติ เป็นต้น
2.4 ไตวาย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ผิวแห้ง คัน กล้ามเนื้อเป็นตะคริวตอนกลางคืน ปัสสาวะลดลง ตัวบวม ตาบวม น้ำท่วมปอด หายใจไม่ถนัด นอนราบไม่ได้ เป็นต้น
V/S อยู่ในระดับปกติ ดังนี้ PR= 80-100 bpm, RR=12-20 bpm, T=36.5-37.4 ํC, BP=120/80-90/60 mmHg
ค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 18.5-22.9 Kg/m2
เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับสภาพความต้องการของร่างกาย และครบ 5 หมู่ ดังนี้
5.1 โปรตีน ควรรับประทานน้อยกว่า 6 ส่วนต่อวัน โดยรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน
5.2 คาร์โบไฮเดรต ควรรับประทาน 6-8 ส่วนต่อวัน จำพวก ข้าวกล้อง ½ ถ้วยตวง เมนูอาหาร เช่น บะหมี่ ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น
5.3 ไขมัน ควรรับประทาน 2-3 ส่วนต่อวัน เช่น น้ำมันพืช 1 ช้อนชา เป็นต้น
5.4 ผักผลไม้ ควรรับประทาน 4-5 ส่วนต่อวัน เช่น มะเขือเทศ แครอท ผักกาด เป็นต้น
5.5 วิตามิน ผลไม้ ควรรับประทานวันละ 4-5 ส่วนต่อวัน เช่นเดียวกัน เช่น กล้วยขนาดกลาง 1 ลูก ส้ม 2 ผล เงาะ 5 ผล น้ำผักสด 180 มิลลิลิตร เป็นต้น
สามารถบอกคำแนะนำในการปฏิบัติตัวได้ 3 ถึง 5 ข้อ
สามารถบอกอาหารที่เหมาะสำหรับโรคความดันโลหิตสูงได้ 3 ถึง 5 ข้อ
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตและประเมินอาการของโรคความดันโลหิตสูง เช่น เวียนศีรษะ มึนงง ชาตามปลายมือและปลายเท้า เลือดกำเดาไหลหรือเจ็บแน่นหน้าอก อ่อนเพลียไม่มีสาเหตุและมีการเปลี่ยนแปลงที่จอรับภาพของตา เป็นต้น
1.1 ประเมินความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตที่ผู้สูงอายุเข้าใจ เพื่อวางแผนการให้ความรู้และป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง
1.2 บอกเหตุผลของการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง คือ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน โรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากโรคความดันโลหิตสูง
สังเกตอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง ดังนี้
2.1 หัวใจเลือดขาด เช่น อาการเจ็บแน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อแตก ใจสั่น หน้ามืด เป็นต้น
2.2 หัวใจวาย เช่น แน่นหน้าอก นานกว่าครั้งก่อนๆ นานกว่า 20 นาที เหงื่อออก ตัวเย็นคลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด เป็นลม แน่นหน้าอก เป็นต้น
2.3โรคสมองขาดเลือด เช่น แขนขาชาและอ่อนแรงครึ่งซีก การมองเห็นผิดปกติ พูดไม่ชัด พูดไม่รู้เรื่อง ปวดศีรษะ มึนงง หรือบางรายอาจหมดสติ เป็นต้น
2.4 ไตวาย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ผิวแห้ง คัน กล้ามเนื้อเป็นตะคริวตอนกลางคืน ปัสสาวะลดลง ตัวบวม ตาบวม น้ำท่วมปอด หายใจไม่ถนัด นอนราบไม่ได้ เป็นต้น
ประเมินสัญญาณชีพให้อยู่ในระดับปกติ คือ PR= 80-100 bpm, RR=12-20 bpm, T=36.5-37.4 ํC, BP=120/80-90/60 mmHg ควรวัดระดับความดันโลหิตเปรียบเทียบท่านอนและนั่ง วัดแขนทั้ง 2 ข้าง เพื่อดูระดับความดันโลหิตของแขนทั้ง 2 ข้าง
การรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารเป็นการปฏิบัติตนที่สำคัญในการควบคุมความดัน โลหิต ควรเป็นอาหารเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง คืออาหารที่มี โปตัสเซียมและแคลเซียมสูง แต่ไขมันและโซเดียมต่ำ ในการควบคุมอาหารที่มีโซเดียม โดยการจำกัดเกลือไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา (เท่ากับโซเดียม 2.4 กรัม) ถ้าควบคุมอาหารที่มีโซเดียมได้ สามารถลดความดันซิสโตลิกได้ประมาณ 2 - 8 มิลลิเมตรปรอท และดูแลให้ได้รับอาหารที่เป็นประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ ตามหลัก DASH ของโรคความดันโลหิตสูง ดังนี้
3.1 โปรตีน ควรรับประทานน้อยกว่า 6 ส่วนต่อวัน โดยรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน เช่น เนื้ออกไก่ไม่เกิน 12 ช้อนโต๊ะ นมพร่องมันเนย 240 มิลลิลิตรหรือ 1 กล่องเล็กหรือนมถั่วเหลืองและน้ำเต้าหู้ที่มีน้ำตาลน้อย โดยอาจใส่น้ำตาลน้อยกว่าปกติ เป็นต้น
3.2 คาร์โบไฮเดรต ควรรับประทาน 6-8 ส่วนต่อวัน จำพวก ข้าวกล้อง ½ ถ้วยตวง เมนูอาหาร เช่น บะหมี่ ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น
3.3 ไขมัน ควรรับประทาน 2-3 ส่วนต่อวัน เช่น น้ำมันพืช 1 ช้อนชา เป็นต้น หรือของหวาน 5 ส่วนต่อวัน เช่น น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ
3.4 ผักผลไม้ ควรรับประทาน 4-5 ส่วนต่อวัน เช่น มะเขือเทศ แครอท ผักกาด เป็นต้น
3.5 วิตามิน ผลไม้ ควรรับประทานวันละ 4-5 ส่วนต่อวัน เช่นเดียวกัน เช่น กล้วยขนาดกลาง 1 ลูก ส้ม 2 ผล เงาะ 5 ผล น้ำผักสด 180 มิลลิลิตร เป็นต้น
3.6. ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ดังนี้3.6.1 การควบคุมอาหารเค็ม อาหารไขมัน และอาหารที่ให้พลังงานสูง ดังนี้
3.6.1.1 แนะนำให้ผู้ป่วยลดหรืองดรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว ไข่เค็ม ของหมักดอง อาหารรสเค็มต่าง ๆ ซึ่งมักจะมีส่วนผสมของโซเดียม หลีกเลี่ยงการใช้สารอาหารและยาที่มีโซเดียมสูง
3.6.1.2 ควบคุมอาหารไขมัน โดยใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น แต่ไม่ควรใช้น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์มเพราะให้พลังงานสูง ไม่ควรใช้น้ำมันจากสัตว์ เพราะเป็นไขมันชนิดอิ่มตัวซึ่งจะทำให้หลอดเลือดอุดตัน
3.6.1.3ควบคุมอาหารที่มีพลังงานสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำจากกะทิ หอยนางรม ไข่แดง อาหารที่มันมาก เช่น ข้าวขาหมู หนังเป็ด หนังไก่ มันกุ้ง มันปู เป็นต้น
จากผลการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในชมรมผู้สูงอายุตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงครามพบว่า การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารทอด อาหารที่มีกะทิ ทำให้มีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูง (อ้างอิง: โชฐิรสและเสน่ห์, 2563)
รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแผนการรักษาของแพทย์ ไม่ควรหยุดยาหรือซื้อยารับประทานเองและควรตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ โดยอธิบายให้ผู้สูงอายุรับทราบว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด จำเป็นต้องรับประทานยาต่อเนื่องและสม่ำเสมอซึ่งจะช่วยควบคุมความดันโลหิต ไม่ให้รุนแรงมากขึ้น และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนให้เกิดช้าที่สุด รวมทั้งควรอธิบายถึงผลข้างเคียงของการรับประทานยาลดความดันโลหิต ดังนี้ 4.1 Hydrochlorothiazide 25 มก.: ยาขับปัสสาวะใช้รักษาความดันโลหิตสูง 1 เม็ด หลังอาหารเช้า ข้อควรระวัง เช่น ผื่นคัน หายใจลำบาก มีอาการบวมที่ใบหน้า ริมฝีปากหรือลำคอ เป็นต้น
แนะนำให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอให้เหมาะสมกับอายุ ควรเป็นการออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 4 - 5 ครั้งต่อสัปดาห์ นานครั้งละ 30 - 45 นาที จะช่วยส่งเสริมสมรรถนะการทำงานของหัวใจและปอด วิธีการออกกำลังกายที่มีส่วนช่วยในการลดระดับความดันโลหิต มีดังนี้ จากผลการทบทวนวรรณกรรม เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง โดยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ควรการออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 - 5 ครั้ง แต่ละครั้ง มีระยะเวลานานอย่างน้อย 30 นาที ชนิดการ ออกกำลังกายต้องให้เหมาะสมกับวัยและความ สามารถของแต่ละบุคคล โดยมีท่าการออกกำลังกาย ดังนี้
ท่าที่ 1 Swing Arm คือ ยกแขนขึ้นหายใจเข้า ลดแขนลงหายใจออก
ท่าที่ 2 Open Arm กางแขนออกหายใจเข้า หุบแขนเข้าหายใจออก
ท่าที่ 3 Reach side to side คือ เหยียดแขนขึ้นหายใจเข้า เหยียดแขนลงหายใจออก
ท่าที่ 4 Eight คือ การกางมือแล้วหมุนเป็นเลขแปดในแนวนอน
หลักการออกกำลังกาย ใช้หลักการ FITT ดังนี้
1) F= Frequency คือการออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
2) I= Intensity คือการออกกำลังกายระดับปานกลางให้มีระยะเวลาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้หัวใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) T=Time คือระยะเวลาหรือความนานของการออกกำลังกาย ควรออกอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
4) T=Type คือ ประเภทของการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอดและหัวใจ
กิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง คือ กิจกรรมที่ต้องใช้แรงเบ่งหรือออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป เช่น การออกกำลังกายที่ต้องมีการยก ผลัก ดึง แบก เข็น หรือมีการแข่งขันเพราะจะทำให้เกิดความเครียดและความดันโลหิตสูงขึ้นได้
ผ่อนคลายความเครียดและพักผ่อนอย่างเพียงพอ กิจกรรมผ่อนคลายที่อาจจะเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ เช่น การฝึกจิตใจให้แจ่มใส ฝึกสมาธิ สวดมนต์ ไหว้พระ หรืออ่านหนังสือธรรมะหรือหนังสือที่ผู้สูงอายุชอบอ่าน เป็นต้น
สำหรับการนอนพักผ่อนควรพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่ควรหลับในเวลากลางวันนานเกินไป สามารถงีบหลับได้ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาการนอนไม่หลับตอนกลางคืน แล้วทำให้ผู้สูงอายุเกิดปัญหานอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาความโลหิตสูงตามมาได้
ลดสิ่งกระตุ้นการทำงานของหัวใจ แนะนำให้ผู้สูงอายุ งดสูบบุรี่ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การสูบบุหรี่จะมีผลต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงเนื่องจากนิโคตินในบุรี่ทำให้หัวใจเต้นเร็วและหลอดเลือดส่วนปลายหดตัว
การวัดความดันโลหิตครั้งแรกสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง ควรวัดความดันโลหิตในท่านอน เปรียบเทียบกับท่านั่ง หรือท่ายืนและควรต้องวัดทั้งที่แขนและที่ขา
โดยก่อนวัดความดันโลหิต 30 นาที ไม่ควรดื่มกาแฟหรือสูบบุหรี่
กิจกรรมของผู้สูงอายุ
สังเกตอาการแสดงของโรคความดันโลหิตสูงได้ เช่น เช่น เวียนศีรษะ มึนงง ชาตามปลายมือและปลายเท้า เลือดกำเดาไหลหรือเจ็บแน่นหน้าอก อ่อนเพลียไม่มีสาเหตุและมีการเปลี่ยนแปลงที่จอรับภาพของตา เป็นต้น
สังเกตอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนี้
หัวใจเลือดขาด เช่น อาการเจ็บแน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อแตก ใจสั่น หน้ามืด เป็นต้น
หัวใจวาย เช่น แน่นหน้าอก นานกว่าครั้งก่อนๆ นานกว่า 20 นาที เหงื่อออก ตัวเย็นคลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด เป็นลม แน่นหน้าอก เป็นต้น
โรคสมองขาดเลือด เช่น แขนขาชาและอ่อนแรงครึ่งซีก การมองเห็นผิดปกติ พูดไม่ชัด พูดไม่รู้เรื่อง ปวดศีรษะ มึนงง หรือบางรายอาจหมดสติ เป็นต้น
ไตวาย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ผิวแห้ง คัน กล้ามเนื้อเป็นตะคริวตอนกลางคืน ปัสสาวะลดลง ตัวบวม ตาบวม น้ำท่วมปอด หายใจไม่ถนัด นอนราบไม่ได้ เป็นต้น
ควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ไม่รับประทานอาหารรสเค็มไขมันสูงและอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นต้น
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 3-4 วันต่อสัปดาห์ เช่น การบริหารร่างกายเพื่อลดระดับความดันโลหิต เป็นต้น
รับประทานยาลดระดับความดันโลหิตอยู่
อย่างสม่ำเสมอ ไปตรวจสุขภาพตามแพทย์นัด ไม่หยุดยาหรือปรับยาเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นจากระดับความดันโลหิตในเลือดสูง
กิจกรรมของผู้ดูแล
สังเกตอาการแสดงของโรคความดันโลหิตสูงได้ เช่น เช่น เวียนศีรษะ มึนงง ชาตามปลายมือและปลายเท้า เลือดกำเดาไหลหรือเจ็บแน่นหน้าอก อ่อนเพลียไม่มีสาเหตุและมีการเปลี่ยนแปลงที่จอรับภาพของตา เป็นต้น
สังเกตอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนี้
หัวใจเลือดขาด เช่น อาการเจ็บแน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อแตก ใจสั่น หน้ามืด เป็นต้น
หัวใจวาย เช่น แน่นหน้าอก นานกว่าครั้งก่อนๆ นานกว่า 20 นาที เหงื่อออก ตัวเย็นคลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด เป็นลม แน่นหน้าอก เป็นต้น
โรคสมองขาดเลือด เช่น แขนขาชาและอ่อนแรงครึ่งซีก การมองเห็นผิดปกติ พูดไม่ชัด พูดไม่รู้เรื่อง ปวดศีรษะ มึนงง หรือบางรายอาจหมดสติ เป็นต้น
ไตวาย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ผิวแห้ง คัน กล้ามเนื้อเป็นตะคริวตอนกลางคืน ปัสสาวะลดลง ตัวบวม ตาบวม น้ำท่วมปอด หายใจไม่ถนัด นอนราบไม่ได้ เป็นต้น
ดูแลเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ที่ลดระดับความดันโลหิตสูง เช่น การลดโซเดียม ควบคุมอาหารที่มีรสเค็ม ลดไขมัน เพื่อควบคุมและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงที่รุนแรงมากขึ้น
ดูแลเกี่ยวกับความสุขสบาย เช่น การอาบน้ำ การลุกขึ้นยืน ไม่ควรให้ผู้สูงอายุลุกเร็วจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า
ดูแลเกี่ยวกับการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ไม่ควรให้ผู้สูง อายุออกกำลังกายมากเกินไป เพราะจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นและระดับความดันโลหิตสูงขึ้น
ประเมินผล
วันที่ 8 มีนาคม 2564
ผู้สูงอายุไม่มีอาการของภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูง เช่น แน่นหน้าอก กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก เลือดกำเดาไหล หรือปัสสาวะน้อย เป็นต้น
สัญญาณชีพ PR= 80 bpm, RR=16 bpm, T=36.5 ํC, BP=138/87 mmHg
ค่าดัชนีมวลกาย 24.22 Kg/m2
ผู้สูงอายุสามารับประทานอาหารได้ครบ 5 หมู่ แต่ยังรับประทานขนมปังและกาแฟทุกเช้า
ไม่สามารถบอกคำแนะนำในการปฏิบัติตัวได้
สามารถบอกอาหารที่เหมาะสำหรับโรคความดันโลหิตสูงได้ 2 ข้อ
วันที่ 9 มีนาคม 2564
ผู้สูงอายุไม่มีอาการของภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูง เช่น แน่นหน้าอก กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก เลือดกำเดาไหล หรือปัสสาวะน้อย เป็นต้น
สัญญาณชีพ PR= 86 bpm, RR=16 bpm, T=36.7 ํC, BP=140/80 mmHg
ค่าดัชนีมวลกาย 24.22 Kg/m2
ผู้สูงอายุสามารับประทานอาหารได้ครบ 5 หมู่ แต่ยังรับประทานขนมปังและกาแฟบางมื้อของมื้อเช้า
สามารถบอกคำแนะนำในการปฏิบัติตัวได้
สามารถบอกอาหารที่เหมาะสำหรับโรคความดันโลหิตสูงได้ 4 ข้อ
วันที่ 10 มีนาคม 2564
ผู้สูงอายุไม่มีอาการของภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูง เช่น แน่นหน้าอก กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก เลือดกำเดาไหล หรือปัสสาวะน้อย เป็นต้น
สัญญาณชีพ PR= 86 bpm, RR=16 bpm, T=36.7 ํC, BP=140/80 mmHg
ค่าดัชนีมวลกาย 24.22 Kg/m2
ผู้สูงอายุสามารับประทานอาหารได้ครบ 5 หมู่ แต่ยังรับประทานขนมปังและกาแฟบางมื้อของมื้อเช้า
สามารถบอกคำแนะนำในการปฏิบัติตัวได้
สามารถบอกอาหารที่เหมาะสำหรับโรคความดันโลหิตสูงได้ 5 ข้อ
คุณภาพการนอนหลับไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีเสียงรบกวน
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้สูงอายุบอกว่า “มีเสียงรบกวนทำให้ใช้เวลาเข้านอนนาน และเสียงของผู้สูงอายุคนอื่น”
S: ผู้สูงอายุบอกว่า “กินกาแฟ วันละ 4 แก้ว”
O: จากการสอบถาม สิ่งแวดล้อมภายในเรือนนอน พบว่า มีกลิ่นเหม็นปัสสาวะบริเวณเรือนนอน
O: จากการวัดสัญญาณชีพพบว่า PR= 98 bpm , RR= 18 bpm, T=37.5 ํC และ BP=154/80 mmHg
O: ผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับ (PSQI) = 11 คะแนน
วิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยา่บาล
อาการนอนไม่หลับ (insomnia) หมายถึง ความยากลำบากในการเริ่มเข้านอนหรือการนอนหลับได้ช่วงระยะเวลาหนึ่งมีคุณภาพการนอนไม่ดีทำให้เมื่อตื่นในตอนเช้าจะรู้สึกไม่ได้พักเต็มที่ซึ่งเกิดขึ้นร่วมกับอาการแสดงในตอนกลางวันเช่นเหนื่อยล้า อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ง่วงนอนในตอนกลางวัน และวิตกกังวลเกี่ยวกับการนอนหลับ (รังสิมันต์, 2560) โดยเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงตามวัยที่เกี่ยวกับวัฏจักรชีพประจำวัน ซึ่งมีปัจจัยภายนอก เช่น จิตใจ อารมณ์ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น และปัจจัยภายใน เช่น ความสามารถในการทำงานของร่างกาย สารเคมีในร่างกาย คือ เมลาโทนิน (Melatonin) การมีอายุมากขึ้นทำให้การหลั่งของเมลาโทนินลดลง ส่งผลให้ผู้สูงอายุวัฏจักรชีพประจำวันมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้มีผลต่อการนอนหลับและการตื่น กล่าวคือผู้สูงอายุจะเข้านอนเร็ว ใช้เวลานานอยู่บนเตียงจึงหลับ ระยะการหลับลึกลดลง หรือมีการตื่นช่วงเวลากลางคืนและตื่นเช้า (ศศิธร, 2562) ความผิดปกติทางสรีรวิทยาอาการนอนไม่หลับแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะได้แก่
1) ภาวะสิ่งเร้าสูง (hyperarousal) ในระบบประสาทซิมพาเทติก
2) การทำงานของกลุ่มฮอร์โมน The Hypothalamic - Pituitary–Adrenalaxis (HPA axis) เพิ่มขึ้น ภาวะสิ่งเร้าสูงเกิดจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนcorticotropinreleasingfactor (CRF) โดยผ่านทางกรรมพันธุ์, ความเครียดหรือเป็นความผิดปกติของกลไกการทำงานของฮอร์โมน corticotropin releasing factor จากพยาธิสภาพของโรคซึมเศร้าหรืออัตราการเผาผลาญและอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ส่วนการทำงานของ HPA axis เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับเช่นกันเนื่องจากฮอร์โมน cortisol หรือ adrenocorticotropic (ACTH) ที่เพิ่มขึ้นจะยังไปลดระยะrapideyemovement (REM) หรือฮอร์โมน corticotropin releasing factor (CRF) ที่เพิ่มขึ้นทำให้คลื่นการนอนหลับลดช้าลงส่งผลต่อการนอนหลับลดลง อาการนอนไม่หลับจึงเพิ่มขึ้น (รังสิมันต์, 2560)
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and Tear Theory) การบาดเจ็บสะสมจากการใช้งานเป็นเวลาต่อเนื่องของอวัยวะในร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้นจึงเกิดการตายของเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ และระบบต่างๆ ของร่างกายจะทำงานเสื่อมลง จนในที่สุดไม่สามารถทำงานๆ ได้
ผลการซักประวัติและการตรวจร่างกาย คือ ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดีจากการมีเสียงรบกวน สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวนแก่การพักผ่อน เช่น มีเสียงผู้สูงอายุรบกวนและเรือนนอนมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ และผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับ (PSQI) เท่ากับ 11 คะแนน ดังนั้น ทฤษฎีความเสื่อมโทรม โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการปฏิบัติตน เช่น การดื่มกาแฟ เป็นต้น และการซักประวัติที่เกี่ยวกับการนอนหลับ คือ สิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการนอนหลับ เช่น เสียงรบกวน เป็นต้น และผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับ ส่งผลให้เกิดคุณภาพการนอนหลับลดลง
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล เพื่อส่งเสริมคุณภาพนอนหลับให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้สูงอายุไม่มีอาการที่แสดงถึงภาวะนอนหลับไม่เพียงพอ เช่น ง่วง หาวนอน มีสีหน้าไม่สดชื่น ใต้ตาคล้ำ เป็นต้น
สัญญาณชีพอยู่ในระดับปกติ ดังนี้ PR= 80-100 bpm, RR=12-20 bpm, T=36.5-37.4 ํC, BP=120/80-90/60 mmHg
มีการนอนหลับพักผ่อนเพียงพอ 6-8 ชั่วโมง รวมทั้งการงีบหลับได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง
ผู้สูงอายุไม่มีอาการตื่นตอนกลางคืน
ไม่มีเสียงรบกวนขณะพักผ่อน
แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับได้คะแนนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5
ผู้สูงอายุสามารถบอกคำแนะนำได้มากกว่า 3 ข้อ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินคุณภาพการนอนหลับ โดยการสังเกตอาการแสดงของผู้สูงอายุ เช่น ง่วง หาวนอน มีสีหน้าไม่สดชื่น ใต้ตาคล้ำ เป็นต้น เพื่อพิจารณาวางแผนการดูแลให้เหมาะสม
วัดสัญญาณชีพให้อยู่ในระดับปกติ คือ PR= 80-100 bpm, RR=12-20 bpm, T=36.5-37.4 ํC, BP=120/80-90/60 mmHg
ประเมินคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุโดยใช้แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อวางแผนการให้การดูแล
แนะนำให้ผู้สูงอายุเข้านอน ตื่นนอนให้ตรงเวลา ไม่ควรงีบหลับโดยเฉพาะหลังเวลา 15.00 น. หากแต่ง่วงมากหลับกลางวันได้ไม่เกิน 60 นาที
จัดสภาพแวดล้อม ห้องนอนให้ถูกสุขลักษณะ ให้เงียบสงบ สบาย สะอาด อากาศถ่ายเท แสงสว่างไม่มากเกินไป แสงสว่างควรสลัว จัดอุปกรณ์การนอนให้สะอาด และสามารถรองรับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างพอเหมาะ สวมเสื้อผ้าที่สบายไม่กับหรือรัดแน่น
แนะนำให้ผู้สูงอายุทำความสะอาดร่างกาย ปากและฟันก่อนเข้านอน
แนะนำให้ผู้สูงอายุทำจิตใจให้สบายก่อนเข้านอน เช่น การสวดมนต์หรือทำสมาธิให้จิตใจสงบ ปราศจากเรื่องกังวล ฟังดนตรี จะทำให้หลับสบายไม่ฝันร้ายและคุณภาพของการนอนดีขึ้น
จากวิจัยการศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการผ่อนคลายโดยการฟังดนตรีธรรมะร่วมกับสุวคนธบำบัดต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ โดยได้รับโปรแกรมส่งเสริมการผ่อนคลายโดยการฟังดนตรีธรรมะร่วมกับสุวคนธบำบัดต่อคุณภาพการนอนหลับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น พบว่าผู้สูงอายุที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการผ่อนคลายมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพการนอนหลับหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยคุณภาพการนอนหลับสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (อัญชลี, จันทนา และชษาพิมพ์, 2560)
ดูแลความสุขสบาย ลดอาการปวด วิตกกังวล หลีกเสี่ยงการดูโทรทัศน์ที่ตื่นเต้นก่อนนอน
แนะนำให้ผู้สูงอายุดื่มเครื่องดื่มจำพวกนม โอวัลติน เพราะมีสาร L-tryptophan ช่วยในการทำงานของสมองเกี่ยวกับการนอนหลับและการตื่นให้ทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยให้หลับง่าย การดื่มเครื่องดื่มก่อนนอนควรดื่มอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนนอน เพื่อป้องกันการปัสสาวะตอนกลางคืน
แนะนำให้ผู้สูงอายุงดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม เป็นต้น เพื่อลดปัจจัยกระตุ้นให้นอนไม่หลับ
แนะนำให้ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ก่อนนอน เพราะสารนิโคตินมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทที่ทำให้ร่างกายมีการทำงานเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับ
แนะนำให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารที่ให้แคลอรี่อย่างเพียงพอแก่ร่างกาย จะช่วยให้หลับได้ง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น แตงโต แอปเปิล หัวหอมใหญ่ ต้นหอม กระเทียม เป็นต้น เพราะจะทำให้เกิดความไม่สุขสบายแน่นท้อง และทำให้นอนไม่หลับ
แนะนำให้ผู้สูงอายุอาบน้ำอุ่นภายใน 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
แนะนำผู้สูงอายุไม่ควรใช้เวลาในที่นอนมากเกินไป คือ มากกว่า 20 นาที ในการพยายามนอนให้หลับ ถ้านอนไม่หลับควรลุกจากที่นอนทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เมื่อเริ่มง่วงจึงเข้านอนใหม่
งดอาหารที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ช็อกโกแลต อย่างน้อย 4 ชั่วโมง เพราะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และคาเฟอีนกระตุ้นระบบประสาท
ดูแลและแนะนำผู้สูงอายุไม่ให้ดื่มน้ำมากในตอนเย็นและค่ำ หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และคาเฟอีน เนื่องจากจะทำให้กระตุ้นระบบประสาท
จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สงบ ไม่มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ หรือเสียงรบกวนการนอน รวมทั้งไม่ควรให้ผู้สูงอายุดูรายการทีวีที่ตื่นเต้นมากเกินไป เนื่องจากจะทำให้ผู้สูงอายุนอนหลับไม่เพียงพอ
18.กรณีปฏิบัติตามข้อปฏิบัติข้างต้น แต่ผู้สูงอายุยังนอนไม่หลับ หรือการนอนไม่หลับมีผลต่อสุขภาพ แนะนำให้ผู้สูงอายุพบแพทย์ และรับประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์
กิจกรรมของผู้สูงอายุ
สังเกตอาการที่แสดงถึงการนอนหลับไม่เพียงพอ เช่น ง่วงเหงา หาวนอน สีหน้าไม่สดชื่น ใต้ต้าคล้ำ เพื่อสามารถดูแลได้ถูกต้องและเหมาะสม
เข้านอน และตื่นนอนให้ตรงเวลา ไม่ควรงีบหลับในตอนกลางวันเกิน 60 นาที
ทำความสะอาดร่างกาย ปากฟันก่อนเข้านอน
นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูและซ่อมแวมส่วนที่สึกหลอ
ทำจิตใจให้สงบ โดยการนั่งสมาธิก่อนนอน หรือการฟังดนตรีก่อนนอน
กิจกรรมของผู้ดูแล
สังเกตอาการที่แสดงถึงการนอนหลับไม่เพียงพอ เช่น ง่วงเหงา หาวนอน สีหน้าไม่สดชื่น ใต้ต้าคล้ำ เพื่อสามารถดูแลได้ถูกต้องและเหมาะสม
ดูแลจัดหาอาหารหรือเครื่องดื่มให้ผู้สูงอายุก่อนเข้านอน 2 ชั่วโมง
ดูแลให้ผู้สุงอายุเข้านอน ตื่นนอนให้ตรงเวลา ไม่ควรงีบหลับโดยเฉพาะหลังเวลา 15.00 น. หากแต่ง่วงมากหลับกลางวันได้ไม่เกิน 60 นาที
วางแผนการนอนหลับของผู้สุงอายุ ให้นอนและตื่นตรงเวลา
ดูแลให้สิ่งแวดล้อมสะอาด อากาศถ่ายเท แสงสว่างไม่มากเกินไป และลดเสียงรบกวนขณะการนอนหลับพักผ่อน เช่น เสียงพูดคุย เสียงจากภายนอกอาคารเรือนนอน เป็นต้น เพื่อให้ผู้สูงอายุนอนหลับได้ดีขึ้น
ดูแลเรื่องความสุขสบายของผู้สูงอายุ หลีกเลี่ยงให้ผู้สูงอายุการดูโทรทัศน์ที่ตื่นเต้นก่อนนอน
วันที่ 8 มีนาคม 2564
ผู้สูงอายุไม่มีอาการที่แสดงถึงภาวะนอนหลับไม่เพียงพอ เช่น ง่วง หาวนอน มีสีหน้าไม่สดชื่น
สัญญาณชีพ PR= 80 bpm, RR=16 bpm, T=36.5 ํC, BP=138/87 mmHg
นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ 6-8 ชั่วโมง ไม่นอนกลางวันหรืองีบในตอนกลางวัน
ไม่มีเสียงรบกวนขณะพักผ่อน
แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับได้คะแนนเท่ากับ 7
ผู้สูงอายุสามารถบอกคำแนะนำได้ 3 ข้อ
วันที่ 9 มีนาคม 2564
ผู้สูงอายุไม่มีอาการที่แสดงถึงภาวะนอนหลับไม่เพียงพอ เช่น ง่วง หาวนอน มีสีหน้าไม่สดชื่น
สัญญาณชีพ PR= 86 bpm, RR=16 bpm, T=36.7 ํC, BP=140/80 mmHg
นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ 6-8 ชั่วโมง ไม่นอนกลางวันหรืองีบในตอนกลางวัน
ไม่มีเสียงรบกวนขณะพักผ่อน
แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับได้คะแนนเท่ากับ 5
ผู้สูงอายุสามารถบอกคำแนะนำได้ 4 ข้อ
วันที่ 10 มีนาคม 2564
ผู้สูงอายุไม่มีอาการที่แสดงถึงภาวะนอนหลับไม่เพียงพอ เช่น ง่วง หาวนอน มีสีหน้าไม่สดชื่น
สัญญาณชีพ PR= 86 bpm, RR=16 bpm, T=36.7 ํC, BP=140/80 mmHg
นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ 6-8 ชั่วโมง ไม่นอนกลางวันหรืองีบในตอนกลางวัน
ไม่มีเสียงรบกวนขณะพักผ่อน
แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับได้คะแนนเท่ากับ 4
ผู้สูงอายุสามารถบอกคำแนะนำได้ 5 ข้อ
เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มซ้ำเนื่องจากกล้ามเนื้อแขนขาด้านซ้ายอ่อนแรง
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้สูงอายุบอกว่า “เคยล้มตอนปี 2552, 2556”
S: ผู้สูงอายุบอกว่า “เคยล้มจนกลายเป็นอัมพาตครึ่งซีก”
S: ผู้สูงอายุบอกว่า “สายตา 425 สายตายาว 425 ใส่แว่นแล้วสามารถมองเห็นตัวหนังสือในระยะ 1 ฟุตได้”
O: จากการสำรวจสิ่งแวดล้อม พบว่าบริเวณพื้นห้องน้ำมีน้ำขัง พื้นไม่แห้ง
O: จากการตรวจสายตา พบว่า การวัดสายตาทั้ง 2 ข้างมองเห็นในแถว 3/12 ขณะใส่แว่นตามองเห็นแถว 6/12
O: จากการตรวจ Reflex พบว่า Biceps Jerk, Triceps Jerk, Brachioradialis Reflex, Knee Jerk, Ankle Jerk และ Plantar Reflex ข้างขวาได้ 2+ ข้างซ้ายได้ 0
O: จากการตรวจ motor power พบว่า กล้ามเนื้อขาและแขนข้างขวา motor power เท่ากับ 5 คะแนน กล้ามเนื้อขาและแขนข้างซ้าย motor power เท่ากับ 0 คะแนน
O: ได้รับยา Hydrochlorothiazide
O: V/S: PR=98 bpm, RR= 18 bpm, T=37.5 ํC, BP= 154/90 mmHg
O: ผลการประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน เท่ากับ 4 คะแนน
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การพลัดตกหกล้ม เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีทันใดหรือเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ร่างกายบางส่วนสัมผัสพื้นโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยส่วนใหญ่ไม่นับรวมกับการหกล้มที่มีสาเหตุจากอุบัติเหตุจราจร หรือความรุนแรงภายนอกต่างๆ เช่น การถูกทำร้ายร่างกาย เป็นต้น โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงตามวัย อายุมากทำให้เกิดการหกล้มได้ง่ายขึ้น
โรคหลอดเลือด หรือโรคประจำตัวต่าง ๆ เช่น การมองเห็นผิดปกติ โรคหลอดเลือดสมอง โรคแขนขาอ่อนแรง เป็นต้น
การได้รับยา เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดระดับความดันโลหิต มีผลทำให้หกล้มได้ง่ายขึ้น (นัยนา, 2562)
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and Tear Theory) การบาดเจ็บสะสมจากการใช้งานเป็นเวลาต่อเนื่องของอวัยวะในร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้นจึงเกิดการตายของเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ และระบบต่างๆ ของร่างกายจะทำงานเสื่อมลง จนในที่สุดไม่สามารถทำงานๆ ได้ เกิดความชราและเสียชีวิต เช่น เซลล์ประสาทหรือเซลล์กล้ามเนื้อเสื่อมและตายลง เป็นต้น จากการซักประวัติและการตรวจร่างกายพบว่า ผู้สูงอายุมีประวัติการหกล้มเมื่อ 2552 และ 2556 ทำให้เกิดอัมพาตครึ่งซีก และจากการตรวจร่างกายพบความผิดปกติเกี่ยวกับ Reflex บริเวณซักซ้ายของผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็น Motor power, การประเมินการหกล้มในผู้สูงอายุ ล้วนเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดการหกล้มซ้ำ ดังนั้นจากผลการซักประวัติและการตรวจร่างกายพบปัจจัยไม่ว่าเป็น การได้รับยา ผลการประเมินการหกล้มในผู้สูงอายุ โรคหลอดเลือดและการเปลี่ยนแปลงตามวัย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงตามวัยที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีเชื่อมตามขวาง ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นส่งเสริมให้เกิดการหกล้มเพิ่มมากขึ้น
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล ผู้สูงอายุไม่เกิดการหกล้มซ้ำ
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาพร่ามัว เป็นลม อ่อนเพลีย
ไม่มีอาการหกล้มภายใน 6 เดือน
ไม่มีบาดแผลจากการหกล้ม
V/S อยู่ในระดับปกติ ดังนี้ PR= 80-100 bpm, RR=12-20 bpm, T=36.5-37.4 ํC, BP=120/80-90/60 mmHg
ผลการประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนอยู่ในระดับปกติ คือ 0-3 คะแนน
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตอาการและอาการแสดง เช่น วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาพร่ามัว เป็นลม อ่อนเพลีย เป็นต้น
ประเมินภาวะเสี่ยง ดังนี้
2.1 ประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน (Thai FRAT) เพื่อวางแผนการพยาบาล
2.2 ประเมินการตรวจวัดสายตาของผู้สูงอายุ
การลดปัจจัยเสี่ยงภายในตัวผู้สูงอายุ ดังนี้
3.1 ตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อหาความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในวัยผู้สูงอายุ หรือหากมีอาการผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา
3.2 หากผู้สูงอายุมีปัญหาการมองเห็นไม่ชัดเจน ควรไปพบจักษุแพทย์ รวมถึงการตรวจสอบว่าแว่นตาว่าเหมาะสมกับสภาพการมองเห็นของผู้สูงอายุหรือไม่
3.3 ป้องกัน บรรเทา หรือชะลอการเกิดภาวะกระดูกพรุนที่เป็นสาเหตุของการเกิดกระดูกหักได้ง่าย โดยปฏิบัติดังนี้
3.3.1 รับประทานอาหารที่มีธาตุแคลเซียมสูงเช่น นม น้ำถั่ว เหลือง เต้าหู้ ผักต่าง ๆ ปลาเล็กปลาน้อย หรืออาจรับประทานแคลเซียมเสริม
3.3.2 หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
3.4 ควรเปลี่ยนอิริยาบถอย่างช้า ๆ และถูกวิธีด้วยความมั่นใจ ไม่รีบร้อน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะโลหิตต่ำทันที จากการเปลี่ยนอิริยาบถที่เร็วเกินไป ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุมีอาการหน้ามืด เป็นลม และหกล้มได้ ทั้งนี้ พยาบาลอาจแนะนำให้ผู้สูงอายุใช้สมุดจดบันทึกการนัดหมายหรือกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละวัน จะช่วยให้สามารถวางแผนจัดกิจวัตรประจำวันของตนเองให้เป็นไปตามลำดับ เพื่อลดความกังวลใจและเพิ่มความมั่นใจแก่ผู้สูงอายุทำให้ไม่เกิดความรีบร้อน เนื่องจากการหลงลืม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการหกล้มได้
3.5 ควรประเมินภาวะสุขภาพของตนเองอยู่ตลอดเวลาเข้าใจความสามารถและภาพของตนเองอยู่ทุกขณะ ว่าขณะนี้ร้อนไป หนาวไปรู้สึกเหนื่อย ต้องการเนื่องจากการที่ร่างกายอ่อนเพดีย อาจทำให้เกิดการหกล้มได้ง่ายกว่าปกติ
3.6 ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบไทจี๋กงหรือการรำมวยจีน เพื่อส่งเสริมการก้าวเดินและการทรงตัว ความยืดหยุ่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความสมบูรณ์โดยรวมของร่างกายให้ดีขึ้น สามารถป้องกันการหกล้มได้
จากวิจัยเรื่อง ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มต่ออัตราการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ พบว่า การออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อและข้อมีความแข็งแรง ร่วมกับมีการเน้นย้ำ อาการและอาการผิดปกติที่ควรหยุดการออกกำลังกายทันที และมีการตั้งเป้าหมายร่วมกันเกี่ยวกับการออกกำลังกายอย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ (อ้างอิง: ฐิติมาและกรรณิการ์, 2560 )
3.7 สวมใส่เสื้อผ้าที่ขนาดพอดี ไม่คับหรือหลวมเกินไป ไม่ยาวรุ่มร่ามสายยาวรุงรัง แต่งตัวแล้วมีความมั่นใจ มีความอบอุ่นพอดีกับอากาศ ไม่ร้อนอึดอัด ซึ่งอาจเป็นเหตุของความกังวล และการเคลื่อนไหวผิดปกติ
3.8 สวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม ดังนี้
3.8.1 รองเท้าควรมีขนาดพอดีกับเท้า ไม่คับหรือหลวมเกินไป และควรเป็นแบบส้นแข็ง เรียบ มีความสูงไม่เกิน 1 นิ้ว พื้นรองเท้าไม่สึก
3.8.2 เมื่อไปเลือกซื้อรองเท้าคู่ใหม่ ควรไปซื้อในเวลาบ่ายหรือเย็นเนื่องจากเท้า จะมีอาการบวมและมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย และควรเลือกรองเท้าแบบหุ้มข้อจะดีที่สุด
3.8.3 ควรหลีกเสี่ยงการเดินเท้าเปล่า หรือใส่รองเท้าแตะหลวม ๆ
3.8.4 หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าแบบส้นนิ่ม ๆ เช่น รองเท้านักกีฬาบางชนิด เนื่องจากทำให้เกิดอาการเซและเสียการทรงตัวได้ง่าย
3.9 เมื่อมีความจำเป็น ควรใช้ไม้เท้าหรือเครื่องช่วยเดินอย่างเหมาะสม ดังนี้3.9.1 การใช้ไม้เท้าช่วยเดินไม้เท้าช่วยเดิน มีประโยชน์ในการช่วยพยุงร่างกาย และช่วยให้การทรงตัวของร่างกายดีขึ้น ทำให้หลีกเลี่ยงการหกล้มได้ โดยไม้เท้าช่วยเดินสามารถช่วยรับน้ำหนักตัว
การลดปัจจัยเสี่ยงภายนอกตัวผู้สูงอายุ ดังนี้
4.1 ควรระมัดระวังในการใช้ยา ดังนี้
4.1.1 ยาลดความดันโลหิตและยารักษาโรคหัวใจ อาจทำให้เกิดอาการเวียงเวียน ภาวะโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า ควรนั่งพักหลังรับประทานยาประมาณ 1 ชั่วโมง และเปลี่ยนอิริยาบถช้า ๆ เพื่อป้องกันการหกล้มที่อาจเกิดขึ้น
4.1.2 ยาขับปัสสาวะ อาจทำให้เกิดการเสียสมดุลของน้ำและเกลือแร่ภายในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงและดื่มน้ำอย่างเพียงพอ และเปลี่ยนอิริยาบถช้า ๆ รับประทานยาตามที่หมอสั่ง ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองหรือรับยาจากผู้อื่นมากรับประทาน
จากทบทวนวรรณกรรมเรื่อง การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน: บทบาทพยาบาลกับการดูแลสุขภาพที่บ้าน มีวิธีการป้องกันเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ดังนี้
5.1 แสงสว่าง: ควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ แสงไฟที่ใช้ไม่ควรเป็นแสงจ้าเกินไป ควรเป็นแสงนวลสบายตา มองเห็นชัดเจน โดยเฉพาะบริเวณทางเดิน บันได และในห้องน้ำควรมีสวิตซ์ปิด-เปิดไฟอยู่ในที่ๆ ใช้งานได้สะดวก ผู้สูงอายุเปิด-ปิดได้ง่าย
5.2 พื้น: พื้นทางเดินควรเป็นพื้นเรียบไม่ลื่น ไม่ลงน้ำมันหรือขัดเงา เพราะจะทำให้ลื่นง่าย ควรทำ เครื่องหมายแสดงให้ชัดเจนบริเวณที่มีพื้นต่างระดับ เช่น ติดเทปกาว ดูแลจัดไม่ให้มีสิ่งกีดขวางทางเดินเพราะอาจทำให้เกิดการสะดุดล้ม ควรดูแลพื้นให้แห้งเสมอ ไม่มีน้ำ หรือของเหลวหก กระเบื้องปูพื้น พรม ควรใช้สีที่เหมาะสมและไม่มีลวดลายจนทำ ให้ลายตา ทำ ให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อหกล้มได้
5.3 ห้องน้ำ : เป็นบริเวณที่ผู้สูงอายุเกิดการหกล้มได้มากที่สุด พื้นห้องน้ำควรมีการปูพื้นกันลื่น มีการติดตั้งราวจับไว้สำหรับจับบริเวณที่นั่งขับถ่ายหรือที่อาบน้ำ ใช้โถส้วมแบบชักโครก ห้องอาบน้ำมีที่นั่งขณะอาบน้ำ และเปลี่ยนเสื้อผ้า จัดวางของใช้ให้หยิบจับง่ายในระดับข้อศอก ที่นั่งขับถ่าย ประตูห้องน้ำควรเป็นแบบเปิดออกด้านนอก และที่ล็อคควรเปิดออกจากภายนอกได้เพื่อเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินสามารถช่วยเหลือได้ทันที
5.4 ห้องนอน/ห้องนั่งเล่น: จัดของใช้ให้เป็นระเบียบ หยิบใช้ได้ง่าย ไม่วางของเกะกะตามพื้นห้อง โดยเฉพาะสายไฟ สายโทรศัพท์ ควรใช้โทรศัพท์ชนิดไร้สาย การเคลื่อนไหวหรือลุกจากเตียงควรทำ อย่างช้าๆ ควรประเมินตนเองว่ามีอาการเวียนศีรษะหรือหน้ามืดก่อนจะลุกนั่งหรือไม่ โดยไม่ลุกขึ้นขณะมีอาการดังกล่าว ควรขอความช่วยเหลือ
5.5 เครื่องเรือน: เลือกใช้เครื่องเรือนที่เหมาะสมเช่น ขนาดเก้าอี้มีความสูงขนาดวางเท้าลงกับพื้นได้พอดี ความกว้างของเก้าอี้มีขนาดพอที่ผู้สูงอายุนั่งได้สบาย เบาะนั่งไม่ยุบยวบตัวลงไป มีฐานเก้าอี้มั่นคง ไม่ควรเป็นเก้าอี้แบบล้อเลื่อน เตียงนอนควรมีความสูงระดับที่ผู้สูงอายุขึ้นเตียงหรือลุกออกจากเตียงได้สะดวก ที่นอนควรมีความแข็งระดับพอดีไม่ยุบตัวเกินไป ตู้เก็บของ/ชั้นวางของควรมีความสูงระดับที่ผู้สูงอายุสามารถหยิบจับสิ่ง ของเครื่องใช้ต่างๆ ได้สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน
5.6 บันได: เป็นอีกบริเวณหนึ่งที่ผู้สูงอายุมีการหกล้มได้บ่อย ผู้สูงอายุควรเลี่ยงการใช้บันได ถ้าจำเป็นต้องใช้บันได บันไดต้องมีความมั่นคง มีความกว้างพอดี มีราวบันได งดอ่านหนังสือหรือใช้โทรศัพท์ทุกครั้งขณะขึ้น หรือลงบันได และไม่รีบขึ้นหรือลงบันได
หากผู้สูงอายุมีปัญหาด้านการมองเห็นไม่ชัดเจน ควรท่าสีติดไว้ที่บริเวณที่ต่างระดับเพื่อทำให้ผู้สูงอายุสามารถมองเห็นความแตกต่างของระดับได้ชัดเจน
กิจกรมมของผู้สูงอายุ
สังเกตอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาพร่ามัว เป็นลม อ่อนเพลียและควรประเมินภาวะสุขภาพของตนเองอยู่ตลอดเวลาเข้าใจความสามารถและภาพของตนเองอยู่ทุกขณะ ว่าขณะนี้ร้อนไป หนาวไปรู้สึกเหนื่อย ต้องการเนื่องจากการที่ร่างกายอ่อนเพดีย อาจทำให้เกิดการหกล้มได้ง่ายกว่าปกติ
ตรวจสุขภาพประจำปีทุกครั้ง โดยตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อหาความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในวัยผู้สูงอายุ หรือหากมีอาการผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา
ควบคุมและรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเช่น นม น้ำถั่ว เหลือง เต้าหู้ ผักต่าง ๆ ปลาเล็กปลาน้อย หรืออาจรับประทานแคลเซียมเสริม เป็นต้น
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา
เปลี่ยนอิริยาบถช้า ๆ และถูกวิธีด้วยความมั่นใจ ไม่รีบร้อน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะโลหิตต่ำทันที จากการเปลี่ยนอิริยาบถที่เร็วเกินไป ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุมีอาการหน้ามืด เป็นลม และหกล้มได้
กิจกรรมของผู้ดูแล
สังเกตอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาพร่ามัว เป็นลม อ่อนเพลีย
ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับปัญหาการหกล้ม และร่วมกันหาสาเหตุและช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้ม
ให้ความสนใจในการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ และดูแลอาหารที่ส่งเสริมแคลเซียม เช่น นม น้ำถั่ว เหลือง เต้าหู้ ผักต่าง ๆ ปลาเล็กปลาน้อย หรืออาจรับประทานแคลเซียมเสริม เป็นต้น
จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นแก่ผู้สูงอายุ ในการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม เช่น ตรวจสอบความสว่างภายในบ้าน และติดตั้งหลอดไฟเพิ่มหากมีความจำเป็น เป็นต้น
6.ให้การสนับสนุนผู้สูงอายุ ในการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันการ หกล้ม เช่น ร่วมมือช่วยเหลือดูแลสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน ให้มีความเหมาะสมปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุ ช่วยเตรียมสถานที่สำหรับการออกกำลังกายของผู้สูงอายุที่บ้าน หรือช่วยพาผู้สูงอายุไปร่วมกิจกรรเพื่อป้องกันการหกล้ม เป็นต้น
ชักชวนผู้สูงอายุ พูดคุย และให้คำแนะนำในการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม เพื่อให้ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีกำลังใจ รู้สึกมีคุณค่าต่อตนเองและครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญ และสามารถพัฒนาให้มีพฤติกรรมในการป้องกันการหกล้มได้ประสบผลสำเร็จ
ให้คำชมเชย กำลังใจ และคำแนะนำแก่ผู้สูงอายุในการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม
วันที่ 8 มีนาคม 2564
ไม่มีอาการวิงเวียนหน้ามืด ตาพร่ามัว เป็นลม อ่อนเพลีย
ไม่มีอาการหกล้มภายใน 6 เดือน
ไม่มีบาดแผลจากการหกล้ม
สัญญาณชีพอยู่ในระดับปกติ ดังนี้PR= 80 bpm, RR=16 bpm, T=36.5 ํC, BP=138/87 mmHg
ผลการประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนอยู่ในระดับปกติ คือ 4 คะแนน
วันที่ 9 มีนาคม 2564
ไม่มีอาการวิงเวียนหน้ามืด ตาพร่ามัว เป็นลม อ่อนเพลีย
ไม่มีอาการหกล้มภายใน 6 เดือน
ไม่มีบาดแผลจากการหกล้ม
สัญญาณชีพอยู่ในระดับปกติ ดังนี้PR= 86 bpm, RR=16 bpm, T=36.7 ํC, BP=140/80 mmHg
ผลการประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนอยู่ในระดับปกติ คือ 3 คะแนน
วันที่ 10 มีนาคม 2564
ไม่มีอาการวิงเวียนหน้ามืด ตาพร่ามัว เป็นลม อ่อนเพลีย
ไม่มีอาการหกล้มภายใน 6 เดือน
ไม่มีบาดแผลจากการหกล้ม
สัญญาณชีพอยู่ในระดับปกติ ดังนี้ PR= 86 bpm, RR=16 bpm, T=36.7 ํC, BP=140/80 mmHg
ผลการประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนอยู่ในระดับปกติ คือ 3 คะแนน
เอกสารอ้างอิง
error
นุสรา ประเสริฐศรี, สาวิตรี วงศ์ศรีและสุกัญญา สระแสง. (2560). ประสบการณ์ความปวดและพฤติกรรมการดูแลตนเองในการจัดการกับความปวดของผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2564. จาก:
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JRIHS/article/view/171118/122951
. (งานวิจัย)
นฤมล โชว์สูงเนิน. (2560). การสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนวัยทำงานเพื่อป้องกัน โรคความ
ดันโลหิตสูง. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2564. จาก:
https://www.google.com/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=&ved=2ahUKEwjn1v2VKTvAhVCWysKHZJWBFwQFjAHegQIDBAD&url=https%3A%2F%2Fthaidj.org%2Findex.php%2FPHCD%2Farticle%2Fview%2F2648%2F2386&usg=AOvVaw2pcPmnto2NYUF_zPHA4rmz
.
เบญจวรรณ วงศ์ปราชญ์. (2557). ภาวะปวดหลอน : ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม
จาก:
https://www.google.com/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=&ved=2ahUKEwiZwbu5gaLvAhWJb30KHTaxA00QFjACegQIAhAD&url=https%3A%2F%2Fhe01.tcithaijo.org%2Findex.php%2FJRTAN%2Farticle%2Fdownload%2F25166%2F21427%2F&usg=AOvVaw1z0JrfsyHtlhPF7gdQYSWn
วนิดา แสวงผล. (ม.ป.ป.). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564. จาก:
http://203.157.71.139/group_sr/allfile/1418714222.pdf
.
อัญชลี ชุ่มบัวทอง, จันทนา ยิ้มน้อยและชษาพิมพ์ สัมมา. (2560). ดนตรีบำบัด. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม
จาก:
https://www.google.com/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=&ved=2ahUKEwj0paWG36LvAhV64jgGHfymBI4FBAWMAh6BAgGEAM&url=http%3A%2F%2Fscijournal
.