Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5.5 การพยาบาลบุคคลที่มีกลุ่มโรควิตกกังวล - Coggle Diagram
5.5 การพยาบาลบุคคลที่มีกลุ่มโรควิตกกังวล
❖ความหมาย❖
ความวิตกกังวล (Anxiety) หมายถึง ความรู้สึกไม่สบายใจ หวาดหวั่น ไม่มั่นใจต่อสภาพการณ์ในอนาคตเกรงว่าจะเกิดอันตรายหรือความเสียหาย เนื่องจากมีสิ่งคุกคามความมั่นคงของบุคคล ขณะเดียวกันจะมีความไม่สุขสบายทางร่างกายร่วมด้วย หากมีความวิตกกังวลมากหรือเป็นเวลานานๆ จะมีผลเสียต่อสุขภาพได้
ความวิตกกังวลแตกต่างกับความกลัว โดยความกลัวมีสาเหตุที่แน่ชัดสามารถบอกได้ว่ากลัวอะไร ความกลัวเกี่ยวกับการคิดประเมินสิ่งที่คุกคาม ความวิตกกังวลเป็นอารมณ์ที่ตอบสนองต่อความคิดนั้น ความกลัวทาให้เกิดความวิตกกังวล
❖อุบัติการณ์(Epidemiology) ❖ ในสหรัฐอเมริกาพบว่า ประชากรประมาณร้อยละ 20 เป็นโรควิตกกังวลชนิดใดชนิดหนึ่ง ได้แก่ Obsessive Compulsive Disorders, Social phobia (Fortinash, 2008) และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย (Varcarolis and Halter, 2010) โดยทั่วไปการเกิดโรควิตกกังวล มักเริ่มต้นในระยะวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น พบได้น้อย ที่เริ่มมีอาการในวัยเด็กและผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ขึ้นไป แต่ Post-Traumatic Stress Disorders สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัย
❖สาเหตุ (Etiology)❖
ปัจจัยทางชีววิทยา (Biological factors)
1.1 กรรมพันธุ์ (genetic) จากการศึกษาครอบครัวและฝาแฝด พบว่า พันธุกรรมมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรควิตกกังวล (Keltner et al, 2007) โรค panic disorder ฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน ถ้ามีฝาแฝดคน
หนึ่งป่วยเป็นโรค panic disorder ฝาแฝดอีกคนมีโอกาสป่วยเป็นโรค panic disorder ได้ร้อยละ 30 และมีความเสี่ยงสูงในเครือญาติที่ใกล้ชิด มีโอกาสเกิดโรค panic disorder ร้อยละ 10-20
1.2 กายวิภาคของระบบประสาท (neuroanatomical) มีการศึกษาพบว่าภาวะของอารมณ์อยู่ที่ limbic system ,diencephalon (thalamus และ hypothalamus) และ reticular formation ถ้ามีความผิดปกติของสมองส่วนนี้ทาให้เกิด Anxiety ได้ และผู้ป่วย panic disorder มีความผิดปกติของ temporal lobes โดยเฉพาะ hippocampus
1.3 สารชีวเคมี (biochemical) การมี blood lactate สูงผิดปกติทาให้ผู้ป่วยมีอาการ panic disorder หรือบุคคลมีความผิดปกติของ thyroid hormone ทาให้เกิดความวิตกกังวลได้
1.4 สารสื่อประสาท (neurochemical) จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่า สารสื่อประสาท โดยเฉพาะ serotonin และGABA มีส่วนทาให้เป็นโรคนี้(สมภพ เรืองตระกูล, 2542)
1.5 ภาวะการเจ็บป่วยทางกาย (medical condition) เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน น้าตาลในเลือดต่า caffeine intoxication, substance intoxication ทาให้เกิดโรค panic disorder และ generalized anxiety disorder
ปัจจัยทางจิตวิทยา (Psychological factors)
2.1 ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychodynamic theory) Freud กล่าวว่า Ego เป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพ ไม่สามารถจัดการ conflict ที่เกิดขึ้นกับ Id และ Superego ความวิตกกังวลเป็นการที่ ego อยู่ในอันตรายจากภาวะคุกคามทั้งจากภายในและภายนอกตัวบุคคล และอาการทางจิตประสาทจะเกิดขึ้น เพื่อต่อสู้กับความวิตกกังวลนั้นซึ่งรวมทั้งอาการทางกาย พฤติกรรมย้าคิดย้าทา และกลัวสุดขีด
2.2 ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ซัลลิแวน เชื่อว่าความวิตกกังวลเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับปัญหาทางอารมณ์ที่เกิดจากการไม่ได้รับการยอมรับจากคนรอบข้างในช่วงต้นของชีวิต แล้วจะมาเป็นตัวแบบของการเกิดความวิตกกังวลเมื่อพบกับเหตุการณ์ร้ายๆในชีวิตต่อๆมา
2.3 ทฤษฎีการเรียนรู้ (cognitive behavior theory) มีแนวคิดว่าความวิตกกังวลเป็นปฏิกิริยาการเรียนรู้ที่มีต่อสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งที่คุกคามเข้ามาทาให้หวาดหวั่น เมื่อเผชิญกับสิ่งเร้าในลักษณะเดียวกันก็จะเกิดความรู้สึกหวาดหวั่นวิตกกังวล นอกจากนี้ยังเชื่อว่าความวิตกกังวลเกิดได้จากการเรียนรู้ผ่านตัวแทนของสังคม เช่น พ่อ แม่ เพื่อน หรือคนอื่นๆเช่น ลูกที่เคยเห็นแม่กลัวความมืดแล้วรับเอาพฤติกรรมการกลัวความมืดของแม่เมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่ หรือเกิดจากการเรียนรู้แบบ classical conditioning อธิบายได้ว่าการย้าคิด (obsessions) เกิดจากการที่ผู้ป่วยถูกวางเงื่อนไขว่า เมื่อพบสิ่งกระตุ้นบางสิ่งแล้ว ทาให้เกิดการย้าคิด ส่วนการย้าทา (compulsions) เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยเรียนรู้ว่า การย้าทาของเขาทาให้ความวิตกกังวลที่เกิดจากการย้าคิดลดลง ความวิตกกังวลที่ลดลงเป็นแรงเสริม (reinforcement) ทาให้เกืดการย้าทาต่อไป
ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social and environmental factors)
การศึกษาทางวัฒนธรรม ถึงแม้ว่าจะพบข้อมูลที่เชื่อถือได้บ่งชี้ว่า ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับการเกิดโรควิตกกังวลน้อย แต่อาการของโรควิตกกังวลจะเป็นไปตามสังคมวัฒนธรรมของบุคคล เช่นภาวะ Panic attack ของคนละตินอเมริกันหรือคนยุโรปทางเหนือ จะมีอาการ หายใจขัด หายใจไม่เต็มปอด เจ็บแน่นหน้าอก กลัวตาย ในขณะที่กลุ่มวัฒนธรรมอื่นจะรู้สึกหวาดกลัวเหมือนโดนเวทย์มนต์คาถา (Varcarolis and Halter, 2010) และในผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นและเกาหลีที่กลัวทางสังคม (Social phobia) ก็จะมาจากวัฒนธรรมที่เชื่อว่าการประสานสายตา หน้าแดง และมีกลิ่นตัว จะเป็นที่รังเกียจของผู้อื่น
❖ลักษณะอาการของความวิตกกังวล❖
อาการตอบสนองต่อร่างกายและจิตใจต่อความวิตกกังวล แม้ว่าจะเกิดความวิตกกังวลขึ้นในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน แต่เราจะมีอาการที่แสดงว่าเกิดความวิตกกังวลคล้ายกัน ลักษณะของผู้ที่มีความวิตกกังวล ได้แก่อาการตึงเครียดของระบบประสาทอัตโนมัติและกล้ามเนื้อเช่นปวดศีรษะตึงต้นคอหายใจไม่ออกอึดอัดจุกแน่นลาคอเจ็บหน้าอกใจสั่นตกใจง่ายมือเท้าเย็นเหงื่อออกวูบวาบตามลาตัวเสียวแปลบๆ จากศีรษะถึงเท้าหงุดหงิดอ่อนเพลียง่ายนอนไม่หลับไม่มีสมาธิ
แบ่งอาการและอาการแสดงของความวิตกกังวล ดังนี้
อาการทางร่างกาย คือ กล้ามเนื้อตึงเครียด เหนื่อย กระสับกระส่าย ปากแห้ง หนาว มือและเท้าเย็น ต้องการปัสสาวะ ตาพร่า กล้ามเนื้อสั่นกระตุก หน้าแดง เสียงสั่น กระสับกระส่ายและอาเจียน หายใจลึกและถี่ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
อาการแสดงด้านจิตใจและอารมณ์ ผู้ที่มีอาการวิตกกังวลอาจแสดงออกอาการทางอารมณ์ที่มีความแตกต่างกันไปลักษณะอารมณ์ที่พบ ได้แก่ มีอาการกระสับกระส่าย หงุดหงิด ซึมเศร้าร้องไห้ โกรธ รู้สึกไม่มีสมาธิ
อาการแสดงด้านพฤติกรรม ได้แก่ เดินไปเดินมา ลุกลี้ลุกลน นั่งไม่ติดที่ เอามือม้วนเส้นผม ระมัดระวังตัวมากเป็นพิเศษ
อาการแสดงด้านความคิด ความจา ได้แก่ สนใจสิ่งแวดล้อมลดลง ไม่มีสมาธิ ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นรอบตัว ทาให้วิตกกังวล หลงลืม สนใจสิ่งที่ผ่านมามากกว่าเรื่องที่กาลังจะเกิดขึ้น มีอาการครุ่นคิด
❖ระดับของความวิตกกังวล❖ความวิตกกังวลสามารถเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง แต่ระดับความรุนแรงย่อมมีความแตกต่างกันไป ความวิตกกังวลในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางส่งผลให้บุคคล มีการตื่นตัว มีความรู้สึกกระตือรื้อร้นซึ่งส่งผลให้บุคคลเกิดการพัฒนาตนเองเพื่อแก้ไขปัญหาซึ่งการจาแนกระดับความวิตกกังวล จะจาแนกตั้งแต่ระดับปกติ จนถึงระดับวิตกกังวลแบบหวาดกลัวรุนแรง (Panic) การจาแนกระดับความวิตกกังวลระดับความวิตกกัวลแบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่
วิตกกังวลระดับปกติ (Normal) เป็นความรู้สึกของบุคคลที่แสดงออกมาให้บุคคลรับรู้ว่า มีความไม่สบายใจ มีความรู้สึกหวาดหวั่น ซึ่งเป็นระดับที่บุคคลจะรู้สึกต้องเตรียมพร้อมในการป้องกันตนเองจากสิ่งที่คุกคาม (Shives, 2012)
วิตกกังวลระดับน้อย (Mild anxiety) ความวิตกกังวลในระดับน้อยสามารถเกิดได้ในชีวิตประจาวัน จะมีลักษณะตื่นตัวดี กระตือรือร้น สามารถสังเกตการณ์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆได้ดี เรียนรู้ได้ดี มีความคิดริเริ่ม สามารถมองเห็นความเกี่ยวเนื่องของเหตุการณ์และอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ให้คนอื่นทราบได้อย่างชัดเจน ในระยะนี้บุคคลจะมีความสามารถในการรับรู้ความจริง จะเห็น จะได้ยิน และรับรู้ข้อมูลได้มาก ความวิตกกังวลในระดับนี้บุคคลจะเรียนรู้ที่จะหาวิธีในการแก้ไขปัญหา และอาจมีการแก้ไขปัญหาได้ดี (Varcarolis, 2013) ซึ่งแต่ละบุคคลจะมีลักษณะจาเพาะที่สามารถผ่อนคลายได้มากหรือน้อยต่างกันไป บางคนไม่สามารถลดระดับความวิตกกังวลได้เลย จนกว่างานหรือภาระกิจจะเสร็จสิ้น (Shives, 2012)
วิตกกังวลระดับปานกลาง (Moderate anxiety) จะมีการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆทั้งการมองเห็นการฟังมีประสิทธิภาพลดลง ความสนใจและสมาธิลดลง การรับรู้แคบลง (Varcarolis, 2013; Shives, 2012) บุคคลจะมีอาการพูดเสียงสั่นๆ พูดเร็วขึ้น เริ่มมีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ยังมีความสามารถแก้ไขปัญหาได้แต่ต้องใช้สมาธิมากขึ้น (Shives, 2012) ความสามารถในการมองสถานการณ์และการแปลความหมายต่าง ๆน้อยลงและจากัด มีความรู้สึกท้าทายต้องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ได้ มีความตื่นตัวมากขึ้นแต่ยังรับรู้ เข้าใจความเกี่ยวเนื่องของเหตุการณ์อยู่
วิตกกังวลระดับสูง (Severe anxiety) บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับสูงจะรับรู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้น้อยลง ความสนใจจดจ่ออยู่กับแค่บางสิ่งบางอย่าง ไม่สามารถอธิบายสิ่งที่ต้องการพูดได้ พูดจาไม่รู้เรื่อง กระบวนการคิดไม่ดี สับสน อาจจะเกิดช่วงก่อนที่บุคคลจะมองหาความช่วยเหลือ (Shives, 2012)บุคคลที่อยู่ในสภาวะนี้มีการรับรู้ลดลง เลือกสนใจสิ่งกระตุ้น มีพลังมากขึ้น กระสับกระส่าย ลุกลี้ลุกลน แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้น้อย ไม่รับรู้และไม่เข้าใจเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง บางคนมีอาการทางกาย เช่น เบื่ออาหาร ความดันโลหิตสูงขึ้น ปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องเดิน เป็นต้น เริ่มมีพฤติกรรมที่แสดงถึงความผิดปกติทางจิตใจ เช่น ซึมเศร้า แยกตัว
วิตกกังวลระดับรุนแรง (Panic state) บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับหวาดกลัวรุนแรงความสามารถในการรับรู้จะหยุดชะงัก พูดไม่รู้เรื่อง ไม่สามารถสื่อสารกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีความสามารถในการทาสิ่งต่างๆ ความรู้สึกตัว อารมณ์ผิดปกติ การรับรู้ผิดไปจากความเป็นจริง (Shives, 2012) จะไม่สามารถควบคุมดูแลตนเองได้ ระบบการทางานของร่างกายเพิ่มขึ้น มีความอดทนต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆได้น้อย ไม่สามารถรับรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือถ้ารับรู้ก็รับผิดพลาด ความคิดเป็นเหตุเป็นผลลดลง แก้ปัญหาไม่ได้ มีความรู้สึกโกรธ ขาดที่พึ่ง เศร้าหดหู่ หมดอาลัยตายอยากในชีวิต แยกตัวเอง พูดเสียงดังเร็ว ไม่ประติดประต่อเป็นประโยค หน้านิ่วคิ้วขมวด
❖ลักษณะของความวิตกกังวล❖
ลักษณะของความวิตกกังวลมี 2 ลักษณะ ดังนี้
Trait – anxiety or A –trait (ความวิตกกังวลประจาตัว) คือ ลักษณะประจาตัวของแต่ละบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้และการประเมินสิ่งเร้า โดยมีแนวโน้มที่จะรับรู้และประเมินหรือคาดคะเนสิ่งเร้าว่าน่าจะเกิดอันตรายหรืออาจคุกคามตนเองทาให้มีความวิตกกังวลเกิดขึ้น มักจะเกิดขึ้นกับบุคคลในสถานการณ์ทั่วๆไป โดยทั่วไปแล้วทุกคนจะมีความวิตกกังวลประเภทนี้ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และความวิตกกังวลประจาตัวนี้เป็นตัวเสริมความวิตกกังวลขณะปัจจุบัน ความวิตกกังวลแบบนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงได้ค่อนข้างช้า
State- anxiety or A- state (ความวิตกกังวลในขณะปัจจุบัน) คือความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกับบุคคลในสถานการณ์เฉพาะหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ทาให้เกิดความไม่พึงพอใจหรือจะเกิดอันตรายต่อบุคคล และจะแสดงพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้ในช่วงที่อยู่ในสถานการณ์นั้น ความวิตกกังวลในขณะปัจจุบันนี้ทาให้บุคคลเกิดความตึงเครียด หวาดหวั่น กระวนกระวาย ระบบอัตโนมัติตื่นตัวสูงขึ้น ความรุนแรงและระยะเวลาที่เกิดความวิตกกังวลในขณะปัจจุบันจะแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความวิตกกังวลเฉพาะตัวและประสบการณ์ในอดีตของแต่ละบุคคล
❖ การบาบัดรักษา❖
การรักษาด้วยยายาต้านอาการวิตกกังวลเป็นยาที่นิยมใช้รักษาผู้ที่มีความผิดปกติด้านความวิตกกังวลทุกรูปแบบ ยาเหล่านี้ได้แก่ Ativan, Xanax, buspar เป็นยาที่นิยมใช้ แต่ยาเหล่านี้มีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์หลายอย่าง เช่น หลังจากใช้จะมีผลทาให้ง่วงนอน ไม่สดชื่น ทาให้ติดยาต้องเพิ่มปริมาณยาที่ใช้ และต้องเพิ่มปริมาณยาขึ้นเรื่อยๆ เมื่อใช้เป็นเวลานานในปริมาณสูงๆ การหยุดยาทันทีทาให้เกิดอาการชักได้
การรักษาทางจิตสังคมการทาจิตบาบัดเป็นวิธีการรักษาต้นเหตุของอาการความวิตกกังวล วิธีการของจิตบาบัดมีหลายวิธี เช่น จิตบาบัดโดยจิตวิเคราะห์ จิตบาบัดโดยทฤษฎีมนุษย์นิยม ซึ่งทุกรูปแบบให้ประโยชน์แก่ผู้ป่วยทั้งสิ้น การจะเลือกใช้รูปแบบการบาบัดใด ผู้บาบัดจะพิจารณาจากปัญหา และลักษณะของผู้ป่วย อย่างไรก็ตามการบาบัดทางจิตสังคมผู้บาบัดไม่สามารถแยกใช้วิธีการบาบัดอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะใช้หลายๆวิธีร่วมกันไป
การบาบัดทางเลือก (Alternative therapy) เพื่อลดความวิตกกังวล การให้ผู้มีปัญหาการเรียนรู้อาการของความวิตกกังวลและการจัดการกับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น โดยวิธีนี้ผู้มีปัญหาจะสามารถควบคุมความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นและได้ประสบการณ์ใหม่ที่จะเอาชนะความวิตกกังวลนั้น นอกจากนี้จะได้เรียนรู้สาเหตุที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมปัญหาถ้าหากได้ใช้วิธีการทาจิตวิเคราะห์ร่วมด้วย
❖ชนิดของโรคในกลุ่มของโรควิตกกังวล❖
Anxiety Disorders
1.1 Panic Disorder
1.2 Phobia Disorders
1.3 Generalized Anxiety Disorder
Obsessive-Compulsive and Related Disorders
2.1 Obsessive-Compulsive Disorders (OCD)
Trauma-and Stress-Related Disorders
3.1 Posttraumatic Stress Disorder (PTSD)
3.2 Acute Stress Disorder
3.3 Adjustment Disorders
Somatic Symptom and Related Disorders
กลุ่มของโรควิตกกังวล ที่จะนาเสนอในที่นี้ได้แก่
Generalized Anxiety Disorders
Panic disorder
Phobia disorder
Obsessive Compulsive Disorders
Generalized Anxiety Disorders (GAD) โรควิตกกังวลทั่วไป
ความหมาย
ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลมากผิดปกติต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต ได้แก่ การกลัวเกิดเหตุการณ์ร้าย ๆ กับบุคคลที่ใกล้ชิด เช่น การกลัวสามีถูกทาร้าย การกลัวบุตรจะประสบอุบัติเหตุ
ความวิตกกังวลมากผิดปกติจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป จะเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทางาน การเรียนหนังสือ
ผู้ป่วยพบว่า ยากที่จะควบคุมความกังวล
ความกังวลจะเกี่ยวข้องกับอาการอย่างน้อย 3 อาการจากทั้งหมด 6 อาการและอย่างน้อยอาการที่เกิดขึ้นได้เกิดมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
3.1 กระสับกระส่าย
3.2 อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
3.3 มีปัญหาด้านสมาธิ หรือใจลอย
3.4 หงุดหงิดง่าย
3.5 ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตึงเครียดตามกล้ามเนื้อ
3.6 มีปัญหาการนอน (หลับยาก นอนหลับตลอดเวลา หลับ ๆ ตื่น ๆ นอนหลับไม่สนิท)
ความวิตกกังวล หรืออาการทางกายเป็นสาเหตุให้มีอาการทางคลินิก หรือบกพร่องในการเข้าสังคม การประกอบอาชีพ หรือการทาหน้าที่ที่สาคัญอื่น ๆ ในชีวิต
การรักษา
จิตบาบัด เช่น วิธี Cognitive behavior therapy (CBT) โดยแก้ไขให้ผู้ป่วยกลับมามองโลกอย่างเหมาะสม ร่วมกับการใช้วิธี Relaxation technique เพื่อลดอาการต่าง ๆ ทางกาย
การรักษาด้วยยา Benzodiazepine เช่น Diazepam ช่วยลดอาการวิตกกังวล และอาการทางกายได้ดียากลุ่ม SSRI เช่น Sertraline, Paroxetine Propanolol ใช้เพื่อลดอาการใจสั่น มือสั่น แต่ต้องระวังผลข้างเคียง เช่น Depression, Bradycardia, Nausea
การพยาบาล
การประเมินผู้ป่วย
1.1 ด้านร่างกาย มีอาการ เช่น หายใจไม่เต็มอิ่ม ใจสั่น ปวดศรีษะ นอนไม่หลับ
1.2 ด้านอารมณ์ มีความวิตกกังวล ทุกข์ใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ในชีวิตหลายๆเรื่อง กระสับกระส่าย
1.3 ด้านความคิด ผู้ป่วยอาจจะมีความคิดฆ่าตัวตายเพราะต้องการหนีความทุกข์ใจ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลวิตกกังวล เนื่องจากการใช้วิธีเผชิญความเครียด ไม่มีประสิทธิภาพ
ข้อมูลสนับสนุน : ผู้ป่วยบอกหายใจไม่เต็มอิ่ม นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ
การปฏิบัติการพยาบาล
3.1 การพยาบาลเพื่อช่วยลดระดับความวิตกกังวล
3.1.2 พูดคุยกับผู้ป่วยด้วยน้าเสียงและท่าทีที่สงบ ใช้คาพูดที่เข้าใจง่ายๆ สั้นๆ ชัดเจน
3.1.1 จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ ลดสิ่งกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวล
3.1.3 ให้ผู้ป่วยสารวจความรู้สึก ค้นหาสาเหตุ ตระหนักรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับตน
3.1.4 สนับสนุนให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกไม่สบายใจ
3.1.5 อยู่กับผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยร้องไห้ให้นั่งเงียบๆ ซึ่งเป็นการยอมรับการแสดงอารมณ์ตึงเครียดที่สามารถทาได้
3.1.6 ประเมินความคิดที่จะทาอันตรายต่อตนเอง โดยใส่ใจกับคาพูด การกระทาที่แสดงถึงความรู้สึกหมดหนทางและความรู้สึกหมดหวัง เพราะผู้ป่วยต้องการหนีความทุกข์ใจและผู้ป่วยไม่เชื่อว่าเขาจะรู้สึกดีขึ้น
3.1.7 เฝ้าระวังการทาร้ายตนเอง หลังจากความวิตกกังวลลดลง พยาบาลช่วยให้ผู้ป่วยแก้ไขพฤติกรรมและใช้วิธีแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมต่อไป
3.2 การพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยแก้ไขปัญหา
3.2.1 พูดคุยกับผู้ป่วย ถึงปัญหาและความขัดแย้งที่มีอยู่ เพื่อช่วยให้ประเมินความรุนแรงของปัญหา และผลที่เกิดขึ้นจากการปรับตัวในทางลบของผู้ป่วย
3.2.2 ช่วยผู้ป่วยสารวจทางเลือกในการแก้ไขปัญหา และการแสดงพฤติกรรม เพื่อเพิ่มวิธีการปรับตัวที่เหมาะสม
3.2.3 สอนและให้การปรึกษาเกี่ยวกับ หลักการบาบัดด้านความคิด เพิ่มการตระหนักรู้ ถึงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกไม่สบายใจและอาการทางกายหรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้น
3.2.4 สอนเทคนิควิธีการผ่อนคลาย (relaxation exercise) เพื่อลดระดับความวิตกกังวลด้วยตนเอง
3.2.5 ส่งเสริมให้ทางานอดิเรก และทากิจกรรมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อช่วยผู้ป่วยจัดการกับความรู้สึกเครียด และความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นประจาวัน
Panic disorder
อาการ Panic attack ตาม DSM 5 (2013, pp. 119-120) กล่าวว่า เป็น ความรู้สึกกลัว หรือไม่สบายใจอย่างรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นในระยะเวลารวดเร็วภายในไม่กี่นาที และถึงระดับสูงสุดในระยะเวลา 10นาที จะต้องมี อาการแสดงเกิดขึ้นอย่างน้อย 4 อาการ ดังนี้
1.2 เหงื่อออกมาก
1.3 สั่นทั้งตัว
1.4 หายใจเร็วถี่
1.1 ใจสั่น หัวใจเต้นแรง หรืออัตราเต้นของหัวใจเร็ว
1.5 รู้สึกอยากอาเจียน
1.6 เจ็บแน่นหน้าอก
1.7 คลื่นไส้ ปั่นป่วนในท้อง
1.8 รู้สึกวิงเวียน สมองตื้อ โคลงเคลง หรือจะเป็นลม
1.9 ร้อน ๆ หนาว ๆ ตามตัว
1.10 รู้สึกตัวชา หรือรู้สึกซู่ซ่ารู้สึกเหมือนไม่อยู่กับความจริง (Derealization) หรือ ไม่ใช่ตัวของตัวเอง (Depersonalization)
1.11 กลัวควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือเหมือนจะเป็นบ้า
1.12 กลัวตาย
อาการที่เกิดอย่างน้อยครั้งหนึ่ง จะต้องมีอาการอยู่เป็นเวลาตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป โดยเกิดอาการใดอาการหนึ่ง หรือทั้ง 2 อาการ ได้แก่2.1 กังวลตลอดเวลาว่าจะเกิดมีอาการขึ้นอีก เช่น การสูญเสียการควบคุม หัวใจ หยุดเต้น อาการคล้ายจะเป็นบ้า
2.2 การแสดงพฤติกรรมการปรับตัวที่ไม่มีประสิทธิภาพจะเกี่ยวข้องกับการเกิด อาการ ได้แก่ การแสดงพฤติกรรมในการหลีกเลี่ยงการเกิดความกลัวอย่างรุนแรง (Panic attack) เช่น การหลีกเลี่ยงการออกกาลังกาย หรือสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
อาการที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นผลต่อร่างกายจากการใช้สารต่าง ๆ เช่น การใช้ยาเสพติด ยารักษาโรค หรืออาการของโรค เช่น Hyperthyroidism, Cardiopulmonary disorders
อาการ panic attack ไม่ได้เกิดจากโรคจิตเวชอื่นๆ เช่น social phobia, specific phobia, obsessive compulsive disorder หรือ posttraumatic stress disorder
Phobia disorderเป็นความกลัวอย่างรุนแรง ไม่มีเหตุผล กลัวเกินเหตุ และเกิดขึ้นบ่อย โดยไม่สามารถระงับหรือหักห้ามความกลัวนั้นได้
อาการเด่น คือ กลัว วิตกกังวล ตั้งแต่ 2 สถานการณ์จาก 5 สถานการณ์ ดังนี้
1.1 การใช้ขนส่งมวลชน เช่น รถยนต์โดยสาร รถโดยสารประจาทาง รถไฟ เรือ เครื่องบิน
1.2 ที่โล่งกว้าง เช่น ลานจอดรถ ตลาด สะพาน
1.3 สถานที่ที่มีผู้คนมาก เช่น ร้านค้า โรงภาพยนตร์ โรงละคร
1.4 การเข้าคิวในแถว หรือสถานที่ที่มีคนหนาแน่น
1.5 การอยู่นอกบ้านคนเดียวตามลาพัง
บุคคลกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์เหล่านี้เพราะมีความคิดว่าเป็นการยากที่จะหนี หรืออาจจะไม่ช่วยให้มีความพร้อมต่อเหตุการณ์ซึ่งอาจกลายเป็นอาการกลัวอย่างรุนแรง หรือการสูญเสียความสามารถ หรือการทาให้อับอาย เช่น กลัวการหกล้มในผู้สูงอายุ กลัวการควบคุมการถ่ายปัสสาวะไม่ได้
สถานการณ์กลัวอยู่ในที่โล่ง หรือที่ชุมชน จะกระตุ้นทาให้เกิดความกลัว หรือความวิตกกังวล
สถานการณ์กลัวอยู่ในที่โล่ง หรือที่ชุมชน ผู้ป่วยจะมีการหลีกเลี่ยงที่รวดเร็ว หรือ ต้องอดทนกับความกลัว หรือความวิตกกังวลอย่างมาก
ความกลัว หรือความวิตกกังวล ไม่ใช่เป็นอันตรายที่แท้จริง จากสถานการณ์โรคกลัวอยู่ในที่โล่ง หรือที่ชุมชน และต่อบทบาททางสังคมวัฒนธรรม
ความกลัว ความวิตกกังวล หรือการหลีกเลี่ยงต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป
ความกลัว หรือความวิตกกังวลหรือการหลีกเลี่ยง เป็นสาเหตุการเจ็บปวดทางคลินิก หรือความบกพร่องในการใช้ชีวิตในสังคม การประกอบอาชีพ หรือการปฏิบัติหน้าที่ที่สาคัญอื่นๆ ในชีวิต ควรวินิจฉัยแยกโรคจากความเจ็บป่วยอื่น เช่น โรคลาไส้อักเสบ โรคพาร์กินสัน
Obsessive Compulsive Disorders (OCD)
เป็นการคิดหรือทาเรื่องหนึ่งเรื่องใดซ้าๆ โดยไม่สามารถหยุดยั้งได้ ทั้งๆที่รู้ว่าสิ่งที่คิดหรือทานั้นไม่สมเหตุสมผล ผู้ป่วยจะแสดงอาการย้าคิด เช่น ความปลอดภัย ความสะอาด ความเป็นระเบียบ หรือ ย้าทา เช่น การล้างมือ การตรวจตราการล็อคกลอนประตูซ้า ๆ โดยไม่มีเหตุผล ไม่สามารถขัดขืนได้ ทาให้รบกวนการดาเนินชีวิตประจาวัน ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกเครียด วิตกกังวล บางเวลาจะมีอารมณ์เศร้าร่วมด้วย
ย้าคิด (Obsessions) หมายถึง อาการทั้งข้อ 1.1 และ 1.2
1.1 มีความหมกมุ่น โดยเกิดขึ้นซ้า ๆ มากระตุ้น หรือมโนภาพจากประสบการณ์ในบางเวลาระหว่างที่มีอาการ ซึ่งเป็นสิ่งที่มารบกวนและไม่ต้องการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสาเหตุให้เกิดความกังวล และมีความทุกข์ทรมานใจอย่างมาก
1.2 ผู้ป่วยพยายามที่จะเพิกเฉย หรือหยุดยั้งความคิด การกระตุ้น หรือมโนภาพหรือต่อต้านด้วยความคิด หรือการกระทา
ย้าทา (Compulsive) หมายถึง อาการทั้งข้อ 1.1 และ 1.2
1.1 พฤติกรรมที่ทาซ้า ๆ เช่น การล้างมือ การออกคาสั่ง การตรวจตราสิ่งของ หรือการแสดงออกด้านจิตใจ เช่น การสวดมนต์ การนับ การพูดคาซ้า ๆ อย่างเงียบ ๆ ซึ่งบุคคลจะรู้สึกมีแรงขับที่ปฏิบัติในการตอบสนองต่อการย้าคิด หรือการทาตามกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด
1.2 พฤติกรรม หรือการแสดงออกด้านจิตใจเพื่อที่จะป้องกัน หรือลดความกังวลหรือความทุกข์ทรมานใจมาก หรือป้องกันเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่น่ากลัว
การพยาบาล
การประเมินผู้ป่วย
1.1 ทางร่างกาย อาจจะมีผิวหนังแห้งเนื่องจากทาความสะอาดบ่อยหรือนาน นอนไม่หลับ ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากผู้ป่วยใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการย้าคิดและการย้าทา
1.2 ทางอารมณ์ ผู้ป่วยบอกว่ารู้สึกกังวลมากที่มีอาการย้าคิดทั้งๆ ที่ไม่ต้องการจะคิดผู้ป่วยอาจมีอารมณ์เศร้า
1.3 ทางความคิด มีอาการย้าคิด ผู้ป่วยบอกว่าพยายามจะหยุดคิดแต่ยิ่งทาให้ตึงเครียดมากขึ้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลการทาหน้าที่ที่รับผิดชอบตามบทบาทที่มีอยู่ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีพฤติกรรมกระทาซ้า
ข้อมูลสนับสนุน : ผู้ป่วยไม่สามารถทาหน้าที่ที่รับผิดชอบได้ตามปกติ
การปฏิบัติการพยาบาล
3.1 สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบาบัด ให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกไว้วางใจ เพื่อให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกไม่สบายใจ
3.2 ช่วยให้ผู้ป่วยลดการทาพฤติกรรมซ้า ดังนี้
1) ระยะแรกของการบาบัด ควรจัดตารางกิจกรรม และให้เวลาในการทากิจกรรมซ้าๆ ไม่บังคับให้ผู้ป่วยหยุดการทากิจกรรมที่ใช้เวลานาน
2) เมื่อสัมพัธภาพดีขึ้นเริ่มจากัดเวลาในการทากิจกรรมที่ทาซ้าๆ หรือใช้เวลานาน พร้อมทั้งอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ ลดเวลาอาบน้านาน 60 นาที เป็น 45 นาที และ 30 นาที อย่างค่อยเป็นค่อยไป
3) ให้แรงเสริมทางด้านบวกเมื่อผู้ป่วยทาได้สาเร็จ เพื่อเพิ่มความภาคภูมิใจและความมีคุณค่าของผู้ป่วย
4) แสดงความเห็นใจผู้ป่วยและตระหนักถึงความจาเป็นของการกระทาซ้า หรือใช้เวลานาน
3.3 ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่น อาหาร การพักผ่อน และการแต่งตัว เพราะผู้ป่วยหมกมุ่นอยู่กับการย้าคิดย้าทา
3.4 สอนและการปรึกษาเกี่ยวกับ
ความรู้เพื่อการดูแลตนเอง เช่น ความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมที่แสดงออกมากับความรู้สึกวิตกกังวลเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจอาการของตนเอง
2) เทคนิควิธีการผ่อนคลายความเครียด และการออกกาลังกาย เพื่อลดระดับความวิตกกังวลด้วยตนเอง ช่วยลดการตอบสนองที่ผิดปกติได้
3) การจัดกิจกรรม หรืองานให้ผู้ป่วยทา เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยหมกมุ่นกับการย้าคิด ทาให้เกิดการย้าทา