Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช…
บทที่ 5
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคบุคลิกภาพผิดปกติที่พบบ่อย
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดง
ของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
1.1 ความหมาย
ของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
โรคบุคลิกภาพผิดปกติ (personality disorder) เป็นประสบการณ์ พฤติกรรมและการดำเนินชีวิตที่ เบี่ยงเบนหรือแตกต่างไปจากบรรทัดฐานและความคาดหวังของสังคม รวมทั้งวัฒนธรรมที่บุคคลนั้นๆ อยู่ โดย บุคลิกภาพที่ผิดปกตินจะเริ่มปราฎในช่วงวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนตัน แล้วดำเนินต่อไปจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่โดยมีพฤติกรรม ที่ไม่มีความยืดหยุ่น ปรับตัวยาก มีปัญหาในเรื่องของกระบวนการคิด การแสดงออกทางอารมณ์ การมีสัมพันธภาพกับ บุคคล หรือการควบคุมตนเอง อันเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ หรือมีชีวิตที่เข้ากับสังคมไม่ได้ บุคลิกภาพที่ผิดปกตินี้ไม่ได้ อาการผิดปกติจากโรคจิตเวชอื่นๆและไม่ได้เกิดจากการเจ็บป่วยทางกาย การใช้ยาหรือสารเสพติด
โรคบุคลิกภาพผิดปกติ สามารถแบ่งออกตามความเหมือนหรือความคล้ายกันของอาการ (symptomology) โดยที่มีการเรียงลำดับของความรุนแรงในเรื่องของการปรับตัวและการพยากรณ์โรคออกป็น 3 กลุ่ม (cluster) ได้แก่
กลุ่ม A มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีพฤติกรรมประหลาด พิสดาร (odd or eccentricity) เป็น กลุ่มที่มีการปรับตัวได้ยากในระดับที่มีความรุนแรงมากที่สุดและยากที่จะรักษาหายได้ ได้แก่ บุคลิกภาพผิดปกติแบบ หวาดระแวง เก็บตัว และจิตเภท (paranoid, schizoid and
personality disorders)
กลุ่ม B มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ผิดปกติ หรือคาดเดาไม่ได้ (dramatic, emotional, or erratic) เป็นกลุ่มที่มีการปรับตัวยากในระดับที่มีความรุนแรงปานกลางและได้บ้างไม่ได้ บ้าง ได้แก่ บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม ก้ำกึ่ง ฮีสที่เรีย และ หลงตัว (antisocial, borderline, histrionic, and narcissistic personality disorders)
กลุ่ม c มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีความหวาดกลัวหรือวิตกกังวลอย่างสูง (anxious or fearful) เป็นกลุ่มที่มีการปรับตัวยากในระดับที่มีความรุนแรงน้อยที่สุดและสามารถรักษาได้ ได้แก่ บุคลิกภาพผิดปกติแบบ หลีกเลี่ยง พึ่งพา และย้ำคิดย้ำทำ (avoidant, dependent and obsessive-compulsive personality disorders) โรคบุคลิกภาพผิดปกติประกอบด้วยบุคลิกภาพที่ผิดปกติแบบต่าง ๆหลายแบบ แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึง
เฉพาะบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม ก้ำกึ่ง และพึ่งพา (antisocial, borderline, and dependent personality disorders)
1.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงของโรคบุคลิกภาพผิดปกติที่พบบ่อย
อาการและอาการแสดง
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (antisocial personality disorders)
จะต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปี โดยจะมีลักษณะของการไม่สนใจใยดีถึงกฎเกณฑ์ความถูกต้องหรือ กระทำการที่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ซึ่งบ่งชี้ว่ามีความประพฤติเกเร (conduct disorder) ตั้งแต่อายุ 15 ปี อาการแสดงที่ เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงที่มีอาการแสดงของโรคจิตเภทหรือโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว โดยมีอาการแสดงออก อย่างน้อย 3 จาก 7 อาการดังต่อไปนี้
1) ไม่ปฏบัตตามกฎระเบียบหรือมาตรฐานของสังคม
2) หลอกลวง ซึ่งเห็นได้จากการพูดโกหกช้ำแล้วซำอีก ใช้การตบตาหรือหลอกลวงหาผลประโยชน์จากผู้อื่น
3) หุนหันวู่วาม
4) หงุดหงิด
5) ไม่ใส่ใจถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
6) ขาดความรับผิดชอบอยู่เป็นประจำ ทำงานอยู่ไม่ได้นาน ไม่ชื่อสัตย์ทางการเงิน
7) ไม่รู้สึกสำนึกผิดหรือเสียใจต่อความผิดที่ได้กระทำลงไป มีท่าที่เฉยๆ หรืออ้างเหตุผลที่ทำไม่ดี ทำร้ายร่างกาย หรือขโมยของผู้อื่น
บุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคมมีลักษณะที่แตกต่างจากพวกที่มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม (antisocial act) ตรงที่บุคลิกภาพแปรปรวนแบบต่อต้านสังคมจะมีพฤติกรรมบ้าปิ่น รุนแรง โดยปราศจากความสำนึกผิดและมโน ธรรม ปราศจากการมีสัมพันธภาพทางสังคมกับผู้อื่น และขาดความรับผิดชอบต่อสังคม ในขณะที่พวกทีพฤติกรรม ต่อต้านสังคมไม่มีพฤติกรรมเหล่านี้
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อก้ำกึ่ง (borderline personality disorders)
จะมีลักษณะของการขาดความมั่นคงแน่นอนในการที่จะมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น การมอง ภาพลักษณ์ของตนเองและการควบคุมอารมณ์ รวมทั้งมีการแสดงออกแบบหุนหันวู่วาม ควบคุมตนเองไม่ได้ (impulsivity) เริ่มแสดงอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและจะแสดงออกให้เห็นชัดเจนเมื่อเผชิญกับปัญหาหรือสถานการณ์ ต่าง ๆ โดยมีอาการแสดงออกอย่างน้อย 5 จาก 9 อาการ
ดังต่อไปนี้
1) พยายามอย่างคนเสียสติที่จะหนีความเป็นจริงหรือหนีจากการถูกทอดทิ้ง
2) สัมพันภาพกับผู้อื่นมีลักษณะที่ไม่แน่นอนระหว่างดีสุดๆ และชั่วร้ายสุดๆ
3) สับสนในความเป็นตัวของตัวเอง การมองภาพลักษณ์ของตนเองหรือความรู้สึกที่มีต่อตนเอง
4) แสดงพฤติกรรมหุนหันวู่วามซึ่งส่งผลร้ายหรือทำลายตนเองอย่างน้อย 2 อย่าง ได้แก่ สำส่อน
ทางเพศ ใช้สารสพติต ขับรถประมาท ดื่มจัด
5) มีพฤติกรรม ท่าทาง หรือพยายามที่จะทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตายบ่อยๆ
6) มีอารมณ์ไม่สม่ำเสมอ ไม่คงที่เปลี่ยนแปลงง่าย
7) มีความรู้สึกเหงาหว้าเหว่เรื้อรัง
8) มีการแสดงออกของอารมณ์โกรธรุนแรงไม่เหมาะสม ควบคุมอารมณ์โกรธไม่ได้ ระเบิด อารมณ์รุนแรงได้ง่าย หรือทำร้ายร่างกาย
9) เมื่อมีความเครียด จะเกิดความหวาดระแวงหรือแสดงอาการแสดงเกี่ยวกับภาวะความจำ การรับรู้เกี่ยวกับตนเองสูญเสียไป (dissociative symptoms)
บุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งอาจมีความคล้ยคลึงกับบุคลิกภาพแบบฮีสทีเรียในเรื่องของการแสดงออกทาง อารมณ์ แต่บุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งมีความแตกต่างจากบุคลิกภาพแบบฮีทีเรียตรงที่ บุคลิกภาพแบบฮีทีเรียจะมีลักษณะ เรียกร้องความสนใจ เจ้ากี้เจ้าการและอารมณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ในขณะที่บุคลิกภาพบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งจะมี พฤติกรรมของการทำร้ายตนเอง มีความพยายามในการฆ่าตัวตาย (suicidal attempt) สูงกว่า โกรธรุนแรง และมี ความรู้สึกเหงาหว้าเหว่เรื้อรังกว่า ยังพบว่าบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งอาจมีความคลัายคลึงกับบุคลิกภาพแบบจิตเภทใน เรื่องของความคิดหวาดระแวง (paranoid idea) หรือแปลสิ่งที่รับรู้ผิดไปจากความเป็นจริง แต่มีความแตกต่างกัน ตรงที่ บุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งจะมีความคิดหวาดระแวงหรือแปลสิ่งที่รับรู้ผิดไปจากความเป็นจริง ที่เกิดขึ้นได้น้อยกว่า และแสดงอาการเพียงชั่วคราวเท่านั้น นอกจากนี้บุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งยังมีพฤติกรรมที่คล้ายกับบุคลิกภาพแบบ ต่อต้านสังคมในเรื่องของการมีพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการด้วย แต่มีความต่างกันตรงที่ผู้ที่มีบุคลิกภา พแบบก้ำกึ่งจะมี พฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการที่มุ่งไปที่ต้องการได้รับความสนใจจากผู้ดูแล ในขณะที่ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคมจะมี พฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการได้รับอำนาจและผลประโยชน์
บุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา (dependent personality disorders)
จะมีลักษณะของการชอบพึ่งผู้อื่น ยอมตาม และขึ้นอยู่กับผู้อื่นแทบทุกเรื่อง ไม่กล้าตัดสินใจด้วย ตนเองและกลัวการถูกทอดทิ้ง อาการแสดงมักเริ่มในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและจะแสดงอาการออกให้เห็นชัดเจนเมื่อเผชิญ กับปัญหาหรือสถานการณ์ต่าง ๆ โดยมีอาการแสดงออกอย่างน้อย 5 จาก 8 อาการ
ดังต่อไปนี้
1) ไม่กล้าที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง ต้องอาศัยคำแนะนำ และการให้กำลังใจจากผู้อื่น
2) ต้องการให้คนอื่นเข้ามารับผิดชอบเรื่องสำคัญๆ ในชีวิตให้ตน
3) รู้สึกยากที่จะแสดงความคิดเห็นคด หรือไม่ช่วยเหลืออีกต่อไป
คา้ น หรือไม่เห็นด้วยกับคนอื่น เพราะกลัวเขาจะไม่ยอมรับ
4) ไม่สามารถที่จะคิดริเริ่มกิจกรรมหรือโครงการใหม่ๆ และทำอะไรด้วยตนเองไม่ค่อยได้ ซึ่งเป็น เพราะขาดความสามารถหรือขาดความเชื่อมั่นในการตัดสินใจ มากกว่าขาดพลังหรือแรงจูงใจที่จะคิดที่จะทำ
สบาย
5) ทำทุกอย่างที่จะให้ได้รับการช่วยเหลือเกื้อหนุนจากผู้อื่น ยอมแม้แต่ที่จะอาสาทำในสิ่งที่ไม่สุข
6) รู้สึกไม่สบายใจหรือหมดหนทางช่วยเหลือ เมื่อต้องอยู่คนเดียว เพราะกลัวว่าจะไม่มี
ความสามารถพอที่จะทำอะไรได้ด้วยตัวเอง
7) เมื่อคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดต้องมีอันจากไปหรือสัมพันธภาพต้องยุติลง จะรีบหา
สัมพันธภาพใหม่ทันที
8) ครุ่นคิดแต่ในเรื่องที่จะถูกทอดทิ้งให้ต้องดูแลตนเอง
บุคลิกภาพแบบพึ่งพาจะยึดติดอยู่กับคนใดคนหนึ่ง เช่น คู่ชีวิตสามีหรือภรรยา พ่อแม่ เป็น ระยะเวลานาน โดยไม่แสดงพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการต่อบุคคลเหล่านั้นอย่างกับผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบฮีสทีเรียและ บุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง พบว่าผู้ที่มีโรคที่มีความกลัวที่โล่งหรือกลัวที่ชุมชน (agoraphobia) อาจมีพฤติกรรมการพึ่งพา ผู้อื่นหมือนกันแต่มีความต่างกันตรงที่ผู้ที่มีความกลัวที่โล่งหรือกลัวที่ชุมชน จะมีพฤติกรรมการพึ่งพาเมื่อตกอยู่ในภาวะ วิตกกังวล (anxiety) หรือวิตกกังวลอย่างรุนแรง (panic) เท่านั้น ดังนั้น พฤติกรรมการพึ่งพาในผู้ที่มีความกลัวที่โล่ง หรือกลัวที่ชุมชนจึงไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลาเหมือนในบุคลิกภาพแบบพึ่งพา
สาเหตุ การบำบัดรกษาโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
2.1 สาเหตุของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดถึงสาเหตุการเกิดโรคบุคลิกภาพผิดปกติที่แท้จริง แต่พบว่าปัจจัยที่อาจเป็น สาเหตุได้แก่ ปัจจัยทางชีวภาพ ปัจจัยทางจิตวิทยา และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ
พันธุกรรม (genetic) พันธุกรรมคือลักษณะที่ติดตัวบุคคลผู้นั้นมาตั้งแต่เกิด เช่น ลักษณะ ประจำตัวเด็กแต่ละคนหรือการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ซึ่งนักจิตวิทยาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะที่เป็นพื้นทาง อารมณ์ของเด็ก (temperament) พบว่า ลักษณะอารมณ์ที่ติดตัวเด็กเป็นการถ่ายทอดมากับพันธุกรรมร่วมกับการ เลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีอิทธิพลต่อลักษณะทางอารมณ์ของเด็กและส่งผลต่อบุคลิกภาพเมื่อเด็กเติบโตขึ้น ซึ่งพบว่ามี ความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพที่ผิดปกติ
ประสาทชีววิทยา (neurobiology) การเจ็บป้วยด้วยโรคทางสมอง หรือความผิดปกติในหน้าที่ ของสมอง เช่น โรคลมชัก, การอักเสบของสมอง arteriosclerotic brain disease, senile dementia และ alcoholism อาจทำให้บุคลิกภาพของบุคคลเปลี่ยนแปลงได้ บุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดในขณะหรือหลังจาก การเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าว
2) ปัจจัยทางจิตวิทยา
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory) อธิบายถึงสาเหตุของบุคลิกภาพที่ผิดปกติ ตาม ทฤษฎีของ ฟรอยด์ (Freud's psychosexual stages of development) ว่า 2 สาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติมา จาก
1) มีการติดขัดในขั้นของพัฒนาการ กล่าวคือ เด็กไม่สามารถที่จะเติบโตตามขั้นของ พัฒนาการที่ควรจะเป็นได้ หรือการมีปม (fixation) เกิดขึ้นในขั้นของพัฒนาการบางขั้น เช่น Oedipus complex จึง ทำให้เด็กไม่สามารถที่จะพัฒนาบุคลิกภาพได้เหมาะสมเมื่อเติบโตขึ้น เช่น การยึดติดกับการพัฒนาทางบุคลิกภาพใน
ระยะปาก เมื่อโตขึ้นก็เป็นคนรับประทานจุกจิก ปากจัด ชอบวิจรณ์ หรือติดสุราและยาเสพติดหรือแม้แต่การเข้มงวด กวดขันเกี่ยวกับการขับถ่ายในวัย 1-3 ขวบซึ่งเป็นวัยที่ความสุขของเด็กอยู่ที่ทวารหนักอาจทำให้เด็กคนนั้นกลายเป็น คนพิถีพิถัน เจ้าระเบียบ เคร่งครัดในคุณธรรม หรือกังวลเรื่องความสะอาดมากเกินไป เป็นต้น
2) โครงสร้างทางจิต (psychic structure; id, ego, superego) บกพร่อง กล่าวคือ ego ไม่ สามารถที่จะทำหน้าที่ประสานความต้องการของ id และ superego ได้ ทำให้กลไกปกป้องทางจิต (defense mechanism) ถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาทางจิตใจ ซึ่งเมื่อใช้ในระยะเวลายาวนานก็ก่อให้เกิดปัญหาทางบุคลิกภาพได้ อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของนักจิตวิทยรุ่นใหม่ การอธิบายบุคลิกภาพที่ผิดปกติด้วยทฤษฎีนี้ยังขาดหลักฐานเชิง ประจักษ์ที่น่าเชื่อถือในการนำไปใช้ในการอ้างอิง
ทฤษฎีการเรียนรู้ (leaning theory) อธิบายว่า บุคคลมีบุคลิกภาพที่ผิดปกติเพราะมีการ เรียนรู้ที่ผิดปกติมาตั้งแต่ช่วงต้นของชีวิต ดังนั้น เด็กจึงพัฒนาพฤติกรมการแสดงออกที่ผิดปกติโดยการเลียนแบบหรือ ได้รับแรงเสริม (reinforcement) จากบุคคลที่มีความสำคัญในชีวิตของเขา เช่น เมื่อทำไม่ดีแล้วได้รับรางวัล เช่น เมื่อ เด็กต้องการอะไรซึ่งพ่อแม่ไม่ต้องการให้เด็กจะร้องเสียงดังลงดิ้นกับพื้น หรือกระแทกศีรษะก้บฝาผนัง ทำให้พ่อแม่ จำเป็นต้องยอมให้สิ่งที่เด็กต้องการ ทำให้เด็กเรียนรู้ว่าเมื่อทำพฤติกรรมเช่นนี้แล้วจะได้สิ่งที่ต้องการ เมื่อเหตุการณ์ เกิดขึ้นซ้ำๆ จะทำให้เด็กลายเป็นคนที่มีนิสัยเอาแต่ใจตน และแสดงอารมณ์รุนแรงเมื่อถูกขัดใจ เป็นต้น
ทฤษฎีทางจิตสังคม (psychosocial theory) อธิบายว่า บุคคลมีบุคลิกภาพที่ผิดปกติเพราะมี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลสำคัญในแต่ละช่วงวัยของพัฒนาการไม่เหมาะสมซึ่งปฏิสัมพันธ์ทางสังคมนี้เป็นรากฐาน สำคัญของการพัฒทางบุคลิภาพ การอบรมเลี้ยงดูอย่างขาดความอบอุ่นในวัยทารก ซึ่งเป็นขั้นของพัฒนการของกา รสร้งความไว้วางใจ (trust/mistrust) อาจทำให้ทารกนั้นกลายเป็นผู้ใหญ่ซึ่งขาดความไว้วางใจบุคคลอื่นหรือ สิ่งแวดล้อมต่อไปได้
3) ปัจจยด้านสิ่งแวดล้อม
ที่มีผลต่อบุคลิกภาพที่ผิดปกตินั้นมีทั้งปัจัยสิ่งแวดล้อมภายในและนอกครอบครัว ได้แก่
ความส้มพันธ์พ่อแม่ลูกไม่ดี การเลี้ยงดูของพ่อแม่เป็นประสบการณ์ในวัยเด็กที่อาจส่งเสริม พฤติกรรมและบุคลิภาพที่ผิดปกติ เช่น ปล่อยตามใจ ทอดทิ้ง ทารุณกรรม เข้มงวด ลงโทษ เป็นตัน
การที่พ่อแม่เคร่งครัดไม่ผ่อนปรนและขาดเหตุผลต่อเด็ก เมื่อเด็กประพฤติผิดไปจากสิ่งที่พ่อแม่ กะเกณฑ์ไว้ก็จะตำหนิหรือลงโทษเด็กโดยไม่ยอมรับฟังเหตุผลจากเด็ก อาจทำให้เด็กเป็นผู้มีพฤติกรรมก้าวร้าวและ ประพฤติตรงกันข้ามกบที่พ่อแม่ต้องการ
การที่พ่อแมหรือบุคคลที่มีอำนาจในครอบครัวมีบุคลิกภาพผิดปกติ เด็กอาจลอกเลียนลักษณะ
ที่ผิดปกติเหล่านั้นได
ความยากจนและการขาดที่พึ่ง มีการศึกษาในบุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบอันธพาล พบว่า บุคคล
เหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ อาศัยอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรม และมีภูมิลำเนาอยู่ใน เมือง บิดามารดามักทะเลาะกันเป็นประจำหรืแยกทางกัน ติดสุราหรือยาเสพติด หรือมีบุคลิกภาพแบบอันธพาล ปัจจัย เหล่านี้จึงอาจมีสาเหตุของบุคลิกภาพผิดปกติได้เช่นกัน
2.2 การบำบัดรักษาโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
การผสมผสานการรักษาหลากหลายวิธีย่อมดีกว่าการใช้วิธีเดียว ดังนี้
1) การบำบัดทางจิตสังคม (psychosocial therapy) มีด้วยกันหลายวิธี ได้แก่
จิตบำบัด (psychotherapy) เป็นการรักษาทางด้านจิตใจ โดยช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหา รู้ถึงความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น หาวิธีการที่จะปรับตัวให้เหมาะสมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เผชิญอยู่ โดย จิตบำบัดที่ใช้อยู่ทำได้ใน 2 สักษณะ ได้แก่
1) จิตบำบัตรายบุคคล (individual therapy) 2) จิตบำบัดแบบกลุ่ม (group therapy)
จิตบำบัดเดี่ยวและจิตบำบัดกลุ่มจะเน้นหลักการแก้ปัญหา (problem-solving oriented) ให้ผู้ป่วย พิจาณาและค้นหาพฤติกรมที่เหมาะสม การรักษาจะมุ่งเฉพาะพฤติกรรมที่ผิดปกติมากกว่าจะมุ่งที่ความขัดแย้งภายใน จิต โดยเฉพาะในจิตบำบัตกลุ่ม สมาชิกในกลุ่มจะช่วยให้ผู้ปวยเข้าใจถึงผลของพฤติกรรมของเขาที่มีต่อสมาชิกในกลุ่ม ทำให้เขาสามารถนำกลับไปใช้ในการปรับตัวกับคนอื่นๆ ในชีวิตประจำวันได้ ในปัจจุบันการบำบัดการรู้คิดและ พฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) เป็นจิตบำบัดที่ใช้ได้ผลดีเป็นในการบำบัดบุคลิกภาพผิดปกติ โดยมี เทคนิคต่างๆในการปรับเปลี่ยนวิธีคิดของผู้ป่วยที่มีต่อตนเองและผู้อื่น เช่น หยุดการคิดลบและให้พูดกับตนเองใน ทางบวก เป็นต้น นอกจากนี้รูปแบบของจิตบำบัดอื่นๆ ยังได้ถูกออกแบบมาให้มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้กับ ผู้ป่วยแต่ละประเภทอีกด้วย เช่น dialectical behavior therapy (DBT) ที่ใช้ได้ผลดีในการบำบัดกลุ่มบุคลิกภาพ แบบก้ำกึ่ง
2) การรักษาด้วยยา (pharmacotherapy)
เป็นการรักษาตามอาการที่จำเป็นต้องควบคุม เช่น การให้ยาคลายกังวล เพื่อลตความวิตกกังวล การให้ยาลดอารมณ์เศร้าในกรณีที่ผู้ป่วยมีอารมณ์ซึมเศร้า และการให้ยาต้านโรคจิตเพื่อลดอาการรุนแรงและชวยให้ ผู้ป่วยสามารถควบคุมตนเองได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้ยาในผู้ป่วยแต่ละรายต้องอาศัยความระมัดระวังสูงและ พิจารณาเป็นรายบุคคล ดังนั้น ยาจึงไม่ใช่ตัวเลือกแรกและไม่ใช่ตัวเลือกหลักของการบำบัดรักษผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพ ผิดปกติ
การพยาบาลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ
1) การประเมินสภาพ (assessment)
สามารถทำได้โดยใช้ทักษะการสังเกตอาการทางคลินิก (clinical observation) ร่วมกับการ สัมภาษณ์ประสบการณ์ชีวิต (life experience intervention) จากผู้ป่วยตั้งแต่วัยเด็กจนถึงปัญหาปัจจุบัน เช่น การ เลี้ยงดูในวัยเด็ก ประวัติการใช้ความรุนแรงในครอบครัว เหตุการณ์วิกฤตในชีวิต ความสำเร็จ ความล้มเหลว
สัมพันธภาพระหว่างบุคคล การแสดงออกทางอารมณ์และพฤตกรรม การเผชิญปัญหาและการตัดสิใจแก้ไขปัญหา การ
ใช้กลไกป้องกันตนเองทางจิต นอกจากควรรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกในครอบครัว เพื่อน ครู บุคคลสำคัญในชีวิต รวมทั้งการใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยา เนื่องจากบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกตินั้นมักไม่เข้าใจว่าสิ่งที่ตนเป็นหรือ แสดงออกนั้นป็นสิ่งที่ผิดปกติ ทำให้ข้อมูลที่ได้อาจเป็นไปตามทัศคตของตนเอง ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลจากที่มาหลาย แหล่ง จะช่วยให้การวินิจฉัยปัญหาและวางแผนการพยาบาลเป็นไปอย่างเหมาะสม โดยควรรวบรวมข้อมูลประเด็น สำคัญต่าง ๆ ดังนี้
พันธภาพทางสังคม (social relationships) จะทำให้ทราบถึงสัมพันธภาพในครอบครัว ที่ ทำงาน เพื่อน ความแน่นแฟ้นของสัมพันธภาพ และความยากง่ายในการคบเพื่อน
ลักษณะเฉพาะ (character) อุปนิสัย เช่น บุคลิกภาพลักษณะเคร่งครัดหรือเถรตรง (strict or rigid) การขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ความไวต่อการรับรู้ (sensitive) ขี้สงสัยหรือความริษยา (suspicious or jealous) เป็นตัน
อารมณ์ทั่วไป (habitual mood) ความคงทนของอารมณ์ การแสดงออกทางอารมณ์และ สภาพอารมณ์ในขณะนี้ เช่น กลัว กังวล เบื่อหน่าย ซึมเศร้า เฉยชา โกรธ เป็นต้น
การเลี้ยงดูในวัยด็ก ประวัติการใช้ความรุนแรงในครอบครัว และเหตุการณ์วิกฤตในชีวิต
การจัดการแก้ไขปัญหาและการใช้กลไกป้องกันตนเองทางจิต เช่น การโทษตนเอง โทษผู้อื่น การ เก็บกด การอ้างเหตุผล การแยกตัว เป็นต้น
เจตคติและมาตรฐาน (attitudes and standards) การซักถามถึงความเชื่อทางศาสนา มาตรฐานศีลธรรม เจตคติที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพหรือความเจ็บปวย
การใช้เวลาว่าง (use of leisure) จะช่วยบอกถึงการชอบอยู่คนเดียวหรือชอบเข้าสังคม
การกระทำเป็นนิสัย (habits) ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และการใช้สารเสพติด
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis) การวิเคราะห์ข้อมูลของบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติจะทำให้พยาบาลทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา
หรือมีปัจจัยที่ทำให้ปัญหามีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ปัญหาที่พบอาจมีได้ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและ พฤติกรรม
ตัวอย่างการวินิจฉัยการพยาบาลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม และก้ำกึ่ง
(antisocial, borderline personality disorders) มีดังนี้
เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง/ฆ่าตัวตายเนื่องจากรู้สึกไม่มีคุณค่า/สูญเสีย/ล้มเหลว/มีภาวะ
ซึมเศร้า
เสี่ยงต่อการทำร้ายผู้อื่นด้วยวิธีรุนแรงเนื่องจากขาดความยับยั้งชั่งใจ/ความอดทนต่อความคับ
การผู้อื่น คุณค่าในตนเองต่ำ
การเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากขาดทักษะในการแก้ไขปัญหา
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่องเนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมมีพฤติกรรมบง
สูญเสียพลังอำนาจเนื่องจากความต้องการของตนเองไม่ได้รับการตอบสนอง/รับรู้ความมี
ตัวอย่างการวินิจฉัยการพยาบาลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา (dependent personality disorders)
วิตกกังวลเนื่องจากกลัวการอยู่ตามลำพัง/ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ที่ตนเองเผชิญอยู่ได้
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่องมีพฤติกรรมแยกตัวเนื่องจากกลัวการถูกปฏิเสธ/กลัวถูก
วิพากษ์วิจารณ์ ตนเอง
ความคิดซ้ำ ๆ
การเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากขาดทักษะในการแก้ไขปัญหา/ขาดความเชื่อมั่นใน
ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เนื่องจากการรับรู้คุณค่าในตนเองต่ำ
การทำหน้าที่รับผิดชอบตามบทบาทที่ไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีพฤติกรรมและ/หรือ
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
บุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติเป็น 3 แบบดังนี้
ดังนี้
1) บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคมและแบบก้ำกึ่ง และพึ่งพา (antisocial, and borderline personality disorders)
มีลักษณะของบุคลิกภาพที่ผิดปกติแบบนี้จะมีแสดงออกทางอารมณ์มากเกินปกติอารมณ์ปลี่ยน แปลงง่าย มักแสดงอำนาจเหนือผู้อื่น โดยมุ่งที่ประโยชน์ตนเองเป็นสำคัญ ขาดความยับยั้งชั่งใจ มีความสัมพันธ์แบบผิว
เผินและไม่ยั่งยืน การพยาบาลของบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติในกลุ่มนมีดังนี้
สร้างสัมพันธภาพกับบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติดวยความชัดเจน มุ่งเน้นสัมพันธภาพเพื่อการ บำบัดและตอบสนองความต้องการอย่างเหมาะสม รักษาไว้ซึ่งกฎกติกาและความยุติธรรม เพื่อให้บุคคลที่มีบุคลิกภาพ ผิดปกติปรับเปลี่ยนการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสัมพันรกาพและกฎเกณฑ์ทางสังคมได้เหมาะสม
ให้บุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติได้พูตระบายความรู้สึก พยาบาลควรให้การยอมรับ เข้าใจ ความรู้สึก และการแสดงออก มุ่งเน้นลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น บงการผู้อื่น ก้าวร้าวรุแรง เป็นต้น
ให้ความช่วยหลือและเฝ้าระวังพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทำ ร้ายตนเองและผู้อื่นหรือฆาตัวตาย เป็นต้น
จัดสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัย จำกดสิ่งของเครื่องใช้ที่อาจนำมาใช้เป็นอาวุธในการทำ
ร้ายผู้อื่นหรือตัวองได้ หากบุคคลที่มบุคลิกภาพผิดปกติมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ต้องจำกัดพฤติกรรมด้วยการผูกยืด
หรือใช้ห้องแยกในการจำกัดพฤติกรรมผู้ป่วย เมอ การจำกัดพฤติกรรม
ผู้ป่วยมีอาการสงบลงควรอธิบายชี้แจงให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงเหตุผลของ
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา ประเมินประสิทธิผลของยา และตด
ตามผลข้างเคย
งจากยา
ช่วยให้บุคคลที่มีบุคลิภาพผิดปกติมีความเข้าใจ ไวต่อความรู้สึก และอารมณ์ของตนเอง
ฝึกทักษะการจัดการและควบคุมพฤติกรรมทางอารมณ์ที่มากเกินไปหรือพฤติกรรมด้านลบ เช่น ความโกรธ ความรู้สึกหุนหันพลันแล่น หรือพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นต้น โดยอาจจะใช้วิธีเดินออกจากห้องเมื่อมี ความรู้สึกขัดแย้งเกิดขึ้น หรือเลือกไปอยู่ในสถานที่สงบเงียบจนกระทั่งความรู้สึกหุนหันพลันแล่นที่เป็นอันตรายหายไป
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกลุ่มทำกิจกรรมการสร้างสรรค์กับผู้อนื่
สนับสนุนการรับผิดชอบต่อหน้าที่และปฏิบัติตมกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
บุคคลที่มีบุคลิภาพแบบต่อต้านสังคม ควรให้การเสริมแรงทางบวกมากกว่าการลงโทษ เพราะ จะเป็นการส่งเสริมการรับรู้คุณค่าในตัวเองและคงไว้ซึ่งพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์และควรระมัดระวังการเสริมแรง ที่ทำ ให้บุคคลที่มีพฤติกรรมเจ้ากเี้ จ้าการหรือพฤติกรรมพึ่งพาผู้อื่นนั้นมีพฤติกรรมดังกล่าวคงอยู่
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเลือกวิธีการคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเอง โดยพยาบาลเป็นผู้ให้ข้อมูล และแนะนำเทคนิคการผ่อนคลายความครียดต่าง ๆ ให้ เช่น การออกกำลังกาย การหายใจอย่างถูกวิธี การผ่อนคลาย กล้ามเนื้อ เป็นตัน
เปิดโอกาสให้ครอบครัวระบายความคิดและความรู้สึกต่อการดูแลบุคคลที่มีบุคลิภาพผิดปกต
ให้ความรู้เรื่องโรค การบำบัดรักษา และการดูแลรวมทั้งให้ความรู้ครอบครัวในการประเมินพฤติกรรมของบค บุคลิกภาพผิดปกติ เมื่อสังกตว่ามีพฤติกรรมที่จะเป็นอันตรายให้รีบนำส่งโรงพยาบาล
คลที่มี
ส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกดิเพื่อเตรียมพร้อมในกร ดูแลเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน
แนะนำให้ครอบครัวเข้าใจและให้กำลังใจผู้ป่วย
2) บุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา (dependent personality disorders)
มีลักษณะของบุคลิกภาพที่ผิดปกติแบบนี้จะมีความวิตกกังวลหรือความกลัวเป็นพื้นฐาน เช่น
กลัวการถูกวิพากษ์วิจารณ์ กลัวถูกปฏิเสธ ยืดมั่นในระเบียบแบบแผนที่ตนเชื่อ ไม่ยืดหยุ่น การพยาบาลท่ีสำคญ บุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติแบบนี้มีดังนี้
ของ
ที่จะทำ
ให้ผู้ป่วยพูดระบายความรู้สึกก่อนและหลังการกระทำในสิ่งที่บุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติกลัว
สอนการปรับเปลี่ยนวิธีคิดที่มีผลต่อความวิตกกังวล การคิดเชิงบวก เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วย
สามารถเผชิญกับความกลัวหรือความวิตกกังวลของตนเอง
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น โดยเริ่มจากคนจำนวนน้อยก่อน เมื่อบุคคลที่มี บุคลิกภาพผิดปกติเริ่มมีความมั่นใจจึงค่อย ๆ เพิ่มจำนวนขึ้น
บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับรุนแรง มีภาวะตื่นตระหนก ต้องจัดให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ ปลอดภัย เงียบสงบ เพื่อลดสิ่งกระตุ้นและลดความวิตกกังวลที่มีของผู้ป่วย
สอนและให้บุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติฝึกทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ เช่น ทักษะทางสังคม การ สื่อสาร การปฏิเสธ การกล้าแสดงออก การบริหารเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการแสดงออกและสามารถปฏิบัติตัว ได้อย่างเหมาะสม
ให้บุคคลที่บุคลิกภาพผิดปกติเลือกวิธีการคลายครียดที่เหมาะสมกับตนเองโดยพยาบาลเป็น ผู้ให้ข้อมูลและแนะนำเทคนิคการคลายเครียดต่าง ๆ ให้ เช่น การออกกำลังกาย การหายใจอย่างถูกวิธี การผ่อนคลาย กล้ามเนื้อ เป็นต้น
ให้การเสริมแรงทางบวก เมื่อบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติสามารถทำตามเป้าหมายระยะสั้นที่ กำหดไว้ได้ เพื่อส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา ประเมินประสิทธิผลของยา และติดตามผลข้างเคียงจากยา
เปิดโอกาสให้ครอบครัวระบายความคิดและความรู้สึกในการดูแลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ
ให้ความรู้เรื่องครอบครัวเกี่ยวกับโรค การบำบัดรักษา และการดูแล ส่งเสริมให้ครอบครวมี ส่วนร่วมในการดูแล เพื่อเตรียมพร้มในการดูแลเมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่ที่บ้าน และแนะนำให้ครอบครัวเข้าใจและให้ กำลังใจบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ
4) การประเมินผลทางการพยาบาล (evaluation) การพยาบาลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติต้องอาศัยระยะเวลา ค่อยเป็นค่อยไปเนื่องจาก
พฤติกรรมของบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกตินี้ มีมาเป็นระยะเวลายาวนานและมักมีปัญหาเกี่ยวกับภาพพจน์ของตนเอง และสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น การประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติกลุ่มนี้ ควรประเมิน เกี่ยวกับความเข้าใจในปัญหา วิธีการเผชิญกับปัญหา การแสดงพฤติกรรมการปรับตัวที่มีประสิทธิภาพ และความ ร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วย ซึ่งข้อบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่าการพยาบาลได้ผลทางบวกได้แก่
ไม่มีความคิดฆ่าตัวตาย
ไม่มีการทำร้ายบุคคลอื่น
ไม่มีการทำลายสิ่งของ
ไม่รู้สึกว่าตนเองด้อยค่า
มีสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้
ไม่มีความเชื่อที่มาจากอาการหลงผิด ควบคุมพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นได้
เลือกใช้วิธีการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม