Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเคร…
บทที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดง การตอบสนองของความวิตกกังวลและความเครียด
1.1 ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดง การตอบสนองของความวิตกกังวล
1) การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด จะมีภาวะหัวใจเต้นเร็ว ผิดจังหวะ เจ็บหน้าอก ใจสั่นความดันโลหิตสูง หน้าแดง ถ้ามีความวิตกกังวลในระดับรุนแรง จะพบว่ามีน้ำตาลในเลือดสูงเลือด เลือดไประบบย่อยอาหาร น้อย และจะเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมากขึ้นเพื่อเตรียมตัวที่จะสู้ หรือหนี แต่ถ้ามีความวิตกกังวลระดับรุนแรงสุดขีดจะ ทำให้เกิดอาการเป็นลมหน้ามืด ความดันโลหิตลดต่ำลง ผิวซีด
ระบบทางเดินหายใจ จะมีอาการสะอึก หายใจเร็ว หายใจลำบาก
ระบบทางเดินอาหาร จะมีอาการกลืนลำบาก ปากแห้ง ท้องอืด ท้องเฟ้อ อด คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องเดินอัดแน่นท้อง
ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ จะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด มีการ เปลี่ยนแปลงในรอบเดือน ความรู้สึกทางเพศลดลงมือสั่น รูม่านตาขยาย
ระบบประสาท จะมีอาการปวดศีรษะจากความเครยด ตาพราหูอื้อ ปากแห้ง เหงื่อออก
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ จะมีอาการเกรง็ ของกล้ามเนื้อ ปวดเมอย อ่อนเพลีย มือสั่น
2) การเบลี่ยนแปลงด้านจิตใจและอารมณ์ บุคคลจะมีความรู้สึกหวาดหวั่น กลัว ขาดความ เชื่อมั่นในตนเอง มองตนเองไร้ค่า สับสน กระวนกระวาย ตกใจง่าย หงุดหงิด เจ้ากี้เจ้าการ โกรธง่าย ก้าวร้าว เศร้า
เสียใจง่าย ร้องไห้ง่ายเมอเกิดเรื่องเพียงเล็กน้อย สงสัยบ่อย ซักถามมากขึ้น
3) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม บุคคลจะขาดความสนใจ ขาดความคิดริเริ่ม รู้สึกว่าช่วยเหลือ ตนเองไม่ได้ มีปัญหาเรื่องสัมพันธภาพกับผู้อื่น มีพฤติกรรมเรียกร้องมากเกินไป พึ่งพาผู้อื่นหรือแยกตัว
4) การเปลี่ยนแปลงด้านสติปัญญา ความคิด ความจำลดลง คิดไม่ออก ครุ่นคิด หมกมุ่น ไม่ค่อย มีสมาธิ การพูดติดขัด เปลี่ยนเรื่องพูดบ่อยหรือไม่พูดเลย การรับรู้และการตัดสินใจผิดพลาด มีความคิดและการกระทำ ซ้ำๆ
1) มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการต่อสู้ (acting out behavior) โดยความวิตกกังวลจะ เปลี่ยนไปเป็นความโกรธ โต้เถียง ข่มขู่ ต่อต้าน ก้าวร้าว ทำลายข้าวของ พฤติกรรมรุนแรง เจ้ากี้เจ้าการ เป็นต้น
2) มีพฤติกรรมชะงักงันหรือถดถอย (paralysis and retreating behavior) บุคคลจะ หลีกเลี่ยงการแกัปัญหา แยกตัว เก็บตัว หลับ ซึมเศร้า หลีกเลี่ยงการพูดถึงเรื่องตัวเอง
3) มีการเจ็บป่วยทางกาย (somatizing) เช่น เครียดแล้วมีอาการปวดศีรษะ หายใจลำบาก ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ ปวดท้อง มีการเปลี่ยนแปลงของรอบเดือน เป็นต้น
4) มีพฤติกรรมเผชิญความวิตกกังวลในเชิงสร้างสรรค์ (constructive behavior) เช่น การ แก้ปัญหาโดยกระบวนการแก้ปัญหา (problem solving) โดยการที่ค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาสาเหตุและ วิธีการแก้ไขปัญหา ตัดสินใจเลือกวิธีที่ดีทีสุด ลงมือกระทำ และประเมินผลการกระทำนั้น
1.2 ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดง การตอบสนองของความเครียด
1) การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย ได้แก่ มึนงง ปวดศีรษะ หูอื้อ มีเสียงด้งในหู ปวดตามกล้ามเนื้อ อ่อนแรงไม่อยากทำอะไร มีปัญหาเรื่องการนอน กัดฟัน อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่อิ่ม มือเย็น แน่นจุกท้องเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ท้องผูก เป็นตัน
2) การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ สังคม ได้แก่ วิตกกังวล โกรธง่าย หงุดหงิด ซึมเศร้า ท้อแท้ การ ตัดสินใจไม่ดี สมาธิสั้น ขี้ลืม ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มองโลกในแง่ร้าย แยกตัว มีปัญหาด้านสัมพันธภาพ หรือไม่มีความสุขกับชีวิต เป็นต้น
3) การเปลี่ยนแปลงดานพฤตกรม ได้แก่ ร้องไห้ กัดเล็บ ดึงผมตัวเอง รับประทานอาหารเกง่ ติดบุหรี่สุรา ก้าวร้าว เปลี่ยนงานบ่อย หรืออาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะทำงานได้ เป็นต้น
ชนิด ระดับของความวิตกกังวลและความเครียด
2.1 ชนิดของความวิตกกังวล
1) ความวิตกกังวลปกติ (normal anxiety) เป็นความวิตกกังวลที่พบได้ทั่วไปเป็นแรงผลักดันให้ชีวิต ประสบความสำเร็จ มีผลให้บุคคลตื่นตัว กระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหา การรับรู้ว่องไวและถูกต้อง ความจำและสมาธิดีอารมณ์และการกระทำไม่เปลี่ยนไปจากปกติมากนัก
2) ความวิตกกังวลเฉียบพลัน (acute anxiety) เป็นความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีเหตุการณ์ เข้ามากระทบหรือคุกคาม ทำให้บุคคลเกิดความวิตกกังวล อาจเรียกว่า ภาวะวิตกกังวล (anxiety stage) ซึ่งภาวะ อารมณ์นี้จะไปกระตุ้นการทำงานประสาทซิมพาเธติค (sympathetic) ของระบบประสาทอัตโนมัติและต่อมไร้ท่อ เรียกว่า ปฏิกิริยา "สู้หรือหนี" เพื่อปรับตัวต่อความตึงเครียดหวาดหวั่นนั้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย อารมณ์และพฤติกรรม ซึ่งระดับความรุนแรงและระยะเวลาของความวิตกกังวลในแต่ละครั้งที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเพศ วัย วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิต และบุคลิกภาพพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม การ ถูกกระตุ้นที่ต่อเนื่องยาวนานและ /หรือรุนแรง จะมีโอกาสทำให้ลักษณะหรือโครงสร้างของอวัยวะต่าง ๆ ชำรุด เสียหายอย่างถาวร ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ทางกาย และส่งผลย้อนกลับไปสร้างปัญหาทางจิตเพิ่มมากขึ้น เช่น ความวิตก กังวลต่อผลการตรวจเลือด ความวิตกกังวลต่อการต้องนำเสนอรายงานต่อหน้าคนจำนวนมาก เป็นต้น
3) ความวิตกกังวลเรื้อรัง (chronic anxiety) เป็นความรู้สึกหวาดหวั่นไม่เป็นสุขขาดความมั่นคง ปลอดภัยที่แฝงอยู่ในตัวของบุคคลตลอดเวลา จึงอาจเรียกว่าอุปนิสัยวิตกกังวล (trait anxiety) ซึ่งนักจิตวิเคราะห์ อธิบายว่าเกิดจากการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวตั้งแต่เด็ก มีการเลี้ยงดูที่ไม่หมาะสม ขาดความรัก ความเอาใจใส่นอกจากนี้ลักษณะบุคลิกภาพของบิดามารดาแบบหวาดวิตกจะถูกถ่ายทอดมายงั เด็ก เด็กจะมีความวิตกกังวลแอบแฝง อยู่ในจิตใจ มีความหวาดหวั่นหรือไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้เมื่อต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อมหรือสถานการณ์ ที่เข้ามาคุกคาม ส่วนในวัยผู้ใหญ่จะมีอาการอ่อนเพลียง่าย นอนไม่หลับ หวาดหวั่น สมาธิสั้น และรู้สึกไม่เป็นสุข เมื่อ ต้องมีสัมพันธภาพทางสังคม มีผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ความวิตกกังวลประเภทนี้ จะไม่ปรากฏออกมา ในลักษณะของพฤติกรรมโดยตรง แต่จะเพิ่มความรุนแรงของความวิตกกังวลขณะเผชิญกับสถานการณ์ที่เข้ามาคุกคาม บุคคลที่มีความวิตกกังวลแฝงสูงจะรับรู้ แปลความ และประเมินสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวลได้เร็วกว่าผู้ที่มี ความวิตกกังวลแฝงต่ำ
2.2 ระดับของความวิตกกังวล (level of anxiety)
1) ความวิตกกังวลต่ำ (mild anxiety) +1เป็นความวิตกกังวลระดับเล็กน้อย ที่เกิดขึ้นเป็นปกติในบุคคลทั่วไป จะช่วยกระตุ้นให้บุคคล ตื่นตัว และพยายามแก้ปัญหาในการทำกิจกรรมต่งๆ ได้สำเร็จ บุคคลจะมีสติสัปชัญญะเพิ่มขึ้น การรับรู้กว้างขึ้น การ เรียนรู้ดีขึ้น มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถควบคุมตนเองได้มากขึ้น หาวิธีแก้ปัญหาและบรรเทาความวิตกกังวลได้ มี การเปลี่ยนแปลงของร่างกายเล็กน้อย เช่น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น การหายใจเร็วขึ้น กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าต้นคอตึงตัว หรือหลังมือเท้าเย็น เป็นต้น
2) ความวิตกกังวลปานกลาง (moderate anxiety) +2 เมื่อมีเหตุการณ์มากระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวล บุคคลจะมีความตื่นตัวมากขึ้น พยายามควบคมุตนเองมากขึ้น และใช้ความพยายามในการแก้ปัญหาสูงขึ้น สติสัปชัญญะยังคงมีอยู่แต่มีคลื่อนไหวมากขึ้นจนเกือบจะ ลุกลี้ลุกลน การรับรู้แคบลง ทำความเข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของปัญหาต่างๆ ลดลง ความสนใจมีจำกัด จะ เลือกสนใจเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับปัญหา หรือที่จะช่วยให้ตนสบายใจขึ้น ยังคงใช้กระบวนการแก้ปัญหาได้แต่ต้อง ควบคุมสมาธิมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายมากขึ้น
3) ความวิตกกังวลรุนแรง (severe anxiety) +3บุคคลจะมีระดับสติสัมปชัญญะลดลง สมาธิในการรับฟังปัญหาและข้อมูลต่าง ๆลดลง หมกมุ่น ครุ่นคิดในรายละเอียดปลีกย่อย จนไม่สามารถติดตามเนื้อหาของเรื่องราวได้อยางกว้างขวาง มึนงง กระสับกระส่าย ไม่อยู่กับที่ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม การคิดการมองสิ่งต่างๆ แปรปรวนไปจากสภาพความเป็นจริง เกิดความกลัวต่อบคคลสถานที่ หรือสิ่งของ มีอาการย้ำคิดย้ำทำ นอนหลับพักผ่อนได้น้อย ความเชื่อมั่นในตนเองลดลง อาจจะพูดมากและเร็ว กระสับกระส่าย ความจำ และสมาธิไม่ดี มีความบกพร่องของการทำบทบาทหน้าที่ในสังคม
4) ความวิตกกังวลท่วมท้น (panic anxiety) +4 เมื่อความวิตกกังวลที่มีไม่ได้รับการระบายออกหรือแก้ไขให้ลดลง จะมีการสะสมความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนบุคคลไม่สามารถจะทนต่อไปได้
2.3 ชนิดของความเครียดเมื่อบุคคลต้องประสบกับเหตุการณ์ที่มากระตุ้นให้เกิดความเครียด บุคคลจะตอบสนองต่อเหตุการณ์ ที่มากระตุ้นนั้นๆ แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการให้คุณค่า ความหมายของเหตุการณ์นั้นๆ ของแต่ละบุคคล หาก บุคคลเห็นเหตุการณ์นั้นว่ามีคุณค่าและมีความหมายต่อตนเองมาก ก็จะเกิดความเครียดได้มากกว่า นอกจากนี้ ระยะเวลาในการเผชิญกับเหตุการณ์ที่มากระตุ้น หากบุคคลเผชิญมาเป็นระยะเวลานานๆ ก็จะทำให้มีความเครียด สะสม และระดับความครียดจะมีสูงขึ้นได้ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน เช่น การสูญเสียบุคคลใกล้ชิดอย่าง ทันทีทันใดโดยไม่ทันได้เตรียมตัวเตรียมใจก็ยิ่งจะทำให้บุคคลต้องปรับตัวต่อการสูญเสียนั้นมากขึ้นและทำให้มรี ะดับ ความเครียดสูงขึ้นได้ นอกจากนี้ความไม่ชัดเจนในสาเหตุของความเครียด การมีปัญหาทางสุขภาพ สิ่งแวดล้อมทาง กายภาพ ระดับความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง หรือประสบการณ์ที่บุคคลนั้นๆ เคยผ่านหรือเผชิญความเครียด ก็จะ ส่งผลต่อระดับความรุนแรงของความเครียดได้เช่นกัน ทั้งนี้สามารถจำแนกความเครียดได้เป็น 2 ชนิดได้เก่
1) ความเครียดฉับพลัน (acute stress) ความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อ
ความเครียดนั้นทันที่ โดยมีกรหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไปร่างกายก็จะกลับสู่ภาวะปกติ ฮอร์โมน ก็จะกลับสู่ปกติ ความครียดฉับพลันมักเกิดจาก เสียง อากาศเย็นหรือร้อน ชุมชนที่คนมากๆ ความกลัว ตกใจ อันตราย
2) ความเครียดเรื้อรัง (chronic stress) ความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อความครียดนั้น ซึ่งบุคคลมักมีความเครียดโดยที่ไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง กล่าวคือเมื่อมีเหตุการณ์หรือสิ่งกระตุ้นให้เกิดความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่า cortisol และ adrenaline ซึ่งจะทำให้ความตัน โลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็ว เพื่อเตรียมพร้อมให้ร่างกายแข็งแรงมีพลังงานพอที่จะตอบสนองต่อเหตุการณ์นั้น ๆ
2.4 ระดบของความเครียด แบ่งเป็น 4 ระดับดงั นี้
1) ความเครียดระดับตำ (mild stress) เป็นความเครียดในระดับน้อยและหายไปได้ในระยะเวลาสั้น ไม่คุกคามต่อการดำเนินชีวิต เกิดขึ้นไดในชีวิตประจำวันและสามารถปรับตัวกบสถานการณต่างได้อยางเหมาะสม อาจมีความรู้สึกเพียงแค่เบื่อหน่าย ขาดแรงกระตุ้น และมีพฤติกรรมที่เชื่องช้าลง ความเครียดในระดับนี้ถือว่ามประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เป็นแรงจูงใจในที่นำไปสู่ความสำเร็จในชีวิตได้ (แบบประเมิน ST 20 ระดับคะแนน 0 - 23คะแนน)
2) ความเครียดระดับปานกลาง (moderate stress) เป็นความเครียดในระดับปกติเกิดขึ้นได้ใน ชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีสิ่งคุกคามหรือเหตุการณ์ที่ทำให้เครียด อาจรู้สึกวิตกกังวลหรือกลัวแต่ ไม่แสดงออกถึงความเครียดที่ชัดเจน ความเครียดระดับนี้ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกตไิ ม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือเป็นผลเสียตอการดำเนินชีวิตส่วนใหญ่ จะสามารถปรับตัวกลับสู่ภาวะปกติได้เองจากการได้ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ ซึ่งช่วยคลายเครียด เช่น ออก กำลังกาย ฟังเพลง อ่านหนังสือ ทำงานอดิเรก หรือพูดคุยระบายความไม่สบายใจกับบุคคลที่ไว้วางใจ (แบบประเมิน ST 20 ระดับคะแนน 24 - 41 คะแนน)
3) ความเครียดระดับสูง (high stress) เป็นความเครียดที่เกิดจากเหตุการณ์รุนแรง สิ่งต่าง ๆสถานการณ์หรือเหตุการณ์รอบตัวที่แก้ไขจัดการปัญหานั้นไม่ได้ รู้สึกขัดแย้ง ปรับความรู้สึกด้วยความลำบากส่งผลต่อ การใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดความผิดปกติตามมาทางร่างกาย อารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม เช่น ปวดศรีษะ ปวดท้อง อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย หงุดหงิด พฤติกรรมการนอนและการรับประทานอาหารเปลี่ยนไป วิธีที่ทำได้งายแต่ ได้ผลดีในการคลายเครียดระดับนี้คือ การฝึกหายใจ คลายเครียด พูดคุยระบายความเครียดกับผู้ไว้วางใจ หาสาเหตุ หรือปัญหาที่ทำให้เครียดและหาวิธีแก้ไข หากไม่สามารถจัดการคลายเครียดด้วยตนเองได้ ควรปรึษากับผู้ให้การปรึกษาในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อระบายความรู้สึกและรับคำแนะนำจากหน่วยงานต่าง ๆ (แบบประเมิน ST 20 ระดับ คะแนน 42 - 61 คะแนน)
4) ความเครียดระดับรุนแรง (severe stress) เป็นความเครียดระดับสูงและเรื้อรังต่อเนื่องหรือกำลัง เผชิญกับวิกฤตของชีวิต เช่น เจ็บป่วยรุนแรง เรื้อรังมีความพิการ สูญเสียคนรัก ทรัพย์สินหรือสิ่งที่รักจนทำให้บุคคลนนั้มีความล้มเหลวในการปรับตัว ชีวิตไม่มีความสุข ความคิดฟุ้งซ่าน การตัดสินใจไม่ดี ยับยั้งอารมณ์ไม่ได้ก่อให้เกิดความ ผิดปกติทางกายและเกิดโรคทางสุขภาพจิตต่างๆที่รุนแรงขึ้นมาได้ เช่น อารมณ์แปรปรวน มีอาการทางจิต มีความ บกพร่องในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจมีอาการนานเป็นสัปดาห์ เดือน หรือปี ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ (แบบประเมิน ST 20 ระดับคะแนน 62 คะแนนขึ้นไป)
สาเหตุของบุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด
3.1 สาเหตุของบุคคลที่มความวิตกกังวล สามารถอธิบายได้ดงั นี้
1) สาเหตุทางด้านชีวภาพ
ด้านกายภาพของระบบประสาท (neuroanatomical factors) บุคคลที่มีลักษณะทางกายภาพของระบบประสาทบกพร่องมาแต่กำเนิดส่งผลให้การสื่อสารทางชีวเคมีบางอย่างแตกต่างกับผู้อื่นจึงกระตุ้นให้ตื่น ตระหนกได้ง่าย
ด้านชีวเคมี (biochemical factors) บุคคลที่ไวต่อสารบางอย่าง เช่น caffeine lactate ที่มีใน เลือดสูงจะกระตุ้นให้เกิดอาการตื่นตระหนก (panic disorder) ได้ง่าย ความผิดปกติของ thyroid hormone อาจเกิด ได้จาก hyperthyroidism หรือ thyrotoxicosis หรืออาจเป็นผลจากยาบางอย่าง เช่น L-dopa, corticosteroid ใน ปริมาณสูงและสารเสพติดพวก LSD เป็นต้น
ด้านการเจ็บป่วย (medical factors) พบได้ในผู้ป่วยที่มีการเจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคหัวใจแบบ เฉียบพลันหรือการเจ็บป่วยรุนแรงอื่น ๆ
2) สาเหตุทางด้านจิตสังคม
ด้านจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory) แนวคิดของฟรอยด์ ได้อธิบายความขัดแย้งกันของ id และ superego ในระดับจิตใต้สำนึก (unconscious) ซึ่ง ego ของบุคคลที่ไม่สามารถควบคุมหรือจัดการกับความ ขัดแย้งนั้นได้ทำให้เกิดเป็นความวิตกกังวลแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลและเป็นสาเหตุให้บุคคลใช้กลไกการป้องกันตนเอง (defense mechanism) เพื่อลดความวิตกกังวลนั่นเอง
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด (cognitive-behavioral theory) อธิบายถึงความวิตกกังวลว่า เป็น ผลมาจากการเรียนรู้ต่อสิ่งอันตราย (noxious stimulus) ของมนุษย์ที่มีการเรียนรู้และปรับตัวตามสิ่งที่เรียนรู้ตลอด ชีวิต เพื่อที่จะได้ปรับตัวได้เหมาะสมกับสถานการณ์และเรียนรู้วิธีการเผชิญกับสิ่งที่เข้ามาคุกคามว่าจะสู้หรือจะหนีและหากวิธีการเผชิญนั้นช่วยทำให้บุคคลรู้สึกว่าตนเองปลอดภัย บุคคลก็จะเลือกใช้วิธีการเ ผชิญแบบนั้นซ้ำๆ ซึ่ง นอกจากการเรียนรู้นี้บุคคลยังจะต้องมีศักยภาพด้านสติปัญญาในการประมวลความคิดจำแนก แยกแยะ พิจารณา ทางเลือกที่จะต้องเผชิญกับสิ่งที่รู้สึกว่าเป็นอันตราย บางคนที่มีความคิดความเชื่อไม่สมเหตุสมผลก็จะเลือกใช้วิธีเผชิญ ปัญหาที่ไม่เหมาะสม และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง บางคนไม่มั่นใจวิธีการเผชิญปัญหาที่ตนเองเลือกใช้ว่า จะช่วยแก้ไขปัญหาหรือช่วยให้ตนเองปลอดภัยได้จริงหรือไม่ จึงยิ่งส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3) สาเหตุทางด้านสังคม ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เชื่อว่าความวิตกกังวลเกิดจากสัมพันธภาพ ระหว่างบุคคลไม่ดี ในระยะ 2 ปีแรกของชีวิตเป็นสัมพันธ์ภาพระหว่างแม่กับลูก การยอมรับ หรือการปฏิเสธของแม่ เป็นพื้นฐานในการพัฒนาระดับความมีคุณค่าในตนเอง (self-esteem) ของบุคคล ซึ่งจะมีการพัฒนามาในระดับที่ แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ระดับความมีคุณค่าในตนเองนี้มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวล บุคคลที่มีความวิตกกังวลได้ง่าย มักจะเป็นบุคคลที่ถูกคุกคามทางอารมณ์ได้ง่าย
3.2 สาเหตุของบุคคลที่มความเครียด สามารถอธิบายได้ดัง นี้
1) สาเหตุจากภายนอก ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น สภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ การย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วยของบุคคลอันเป็นที่รัก การหย่าร้าง ภาวะว่างงาน ปัญหาความสัมพันธ์กับครอบครัวและบุคคลอื่น ๆ การขาดเพื่อน การขาดแคลนปัจจัย 4 ในการดำเนินชีวิต เป็นต้น
2) สาเหตุภายในตัวบุคคล ได้แก่ ภาวะสุขภาพของตนเอง เช่น ภาวะเจ็บป่วยที่เผชิญอยู่ ความพิการหรือความผิดปกติของสรีระร่างกายที่มีมาแต่กำเนิด
การพยาบาลบุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด
4.1 การพยาบาลบุคคลที่มีความวิตกกังวล
1) การประเมินสภาวะความวิตกกังวล
การประเมินความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เมื่อมีกงั วลเกด
การประเมินระดับความรุนแรงของความวิตกกังวลขึ้น
การประเมินสาเหตุของความวิตกกังวลและวิธีการเผชิญกับภาวะวิตกกังวล จากการซักประวัติจาก ผู้ป่วยและบุคคลใกล้ชิด รวมทั้งการสังเกตพฤติกรรมในขณะนั้น
ประเมินสมรรถภาพและองค์ประกอบในด้านอื่น ๆของผู้ป่วย เช่น รูปแบบในการแก้ปัญหาในอดีต การศึกษา ฐานะทางเศษฐกิจ แหล่งสนับสนุนทางสังคม เป็นต้น
2) การวินิจฉัยการพยาบาล
เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยให้กลับเป็นปกติ เป้าหมายระยะยาว
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รู้และเข้าใจถึงเหตุและผลของความวิตกกังวล
เพื่อให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้วิธีลความวิตกกังวลที่สร้างสรรค์
เพื่อลดความถี่ของการเกิดความวิตกกังวล
เพื่อปรับบุคลิกภาพและการใช้กลไกทางจิตให้เหมาะสม
เพื่อขจัดความขัดแย้งและบรรเทาประสบการณ์ที่เจ็บปวดให้กับผู้ป่วย ตัวอย่างการเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีความวิตกังวลระดับรุนแรงเนื่องจากคิดว่าตนเองไม่สามารถควบคุมหรือแก้ไขปัญหาได้
การเผชิญปัญหาไม่เหมาะสมเป็นผลมาจากมีความวิตกกังวลระดับรุนแรง
มีความผิดปกติด้านการคิดเนื่องจากวิตกกังวลในระดับรุนแรง
มีความวิตกังวลระดับปานกลางเนื่องจากรู้สึกว่าชีวิตถูกคุกคามและถูกบีบคั้นทางจิตวิญญาณ
3) กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วย เพื่อปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความไม่สบายใจความทุกข์ใจและ ปัญหาต่าง ๆ ออกมาโดยที่พยาบาลรับฟังอย่างตั้งใจ ด้วยท่าทีที่สงบ เข้าใจ และยอมรับพฤติกรรมของผู้ป่วยไม่กล่าวตำหนิผู้ป่วย
ใช้คำพูดง่าย ๆ ข้อความสั้น ๆ กะทัดรัดได้ใจความตรงไปตรงมา น้ำเสียงที่พูดต้องชัดเจน นุ่มนวล ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วย แม้ผู้ป่วยจะสื่อสารได้ไม่ชัดเจนก็ตาม เพราะผู้ป่วยอยู่ในภาวะสับสน และไม่มีสมาธิ
ให้กำลังใจโดยอาจสัมผัสผู้ป่วยเบา ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจที่มีคนอยู่เป็นเพื่อน การ อยู่คนเดียวเพียงลำพังจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหวาดหวั่นโดดเดี่ยวเหมือนถูกทอดทิ้งมากขึ้น
นำผู้ป่วยออกจากสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวล ซึ่งผู้ป่วยไม่อาจทนหรือควบคุมตนเองได้
จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบลดสิ่งกระตุ้นผู้ป่วย เช่น ผู้คนที่พลุกพล่น การเคลื่อนย้ายสิ่งของ เสียงวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น
ดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยที่มีอาการทางกาย เช่น ชีพจรเร็ว หายใจขัด คลื่นไส้ ท้องเดิน ปวดศีรษะ แต่ หลีกเสี่ยงการสนับสนุนให้ผู้ป่วยหมกมุ่นกับอาการของตนเอง และ ควรอธิบายให้ผู้ป่วยรับรู้ว่าอาการทางกายที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากความวิตกกังวลของตนเอง
ดูแลป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยและบุคคลอื่น อันเนื่องมาจากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุม ตนเองได้ มีอารมณ์พฤติกรรมก้าวร้าวและรุนแรง หรือผู้ป่วยอยู่ในระดับไม่รู้สึกตัว
ให้ความช่วยเหลือดูแลและกระตุ้นให้ผู้ป่วยสนใจเรื่องสุขภาพอนามัยของตนเอง เช่น เรื่องอาหาร การขับถ่าย ความสะอาดของร่างกาย
ผู้ป่วยที่ไม่มีสมาธิ ลังเล ตัดสินใจไม่ได้ ควรพยายามให้ผู้ป่วยใช้ความคิด และการตัดสินใจง่าย ๆ
ส่งเสริมให้ร่วมกิจกรรมที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ใช้เวลาสั้น เพื่อให้โอกาสผู้ป่วยพบความสำเร็จและเกิด ความอบอุ่นใจ มั่นใจในความสามารถของตัวเองมากขึ้น เมื่อจิตใจสบายขึ้น ภาวะสุขภาพดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้สมาธิ และการรับรู้ต่อสิ่งแวดล้อมดีขึ้น สามารถคิดได้อย่างต่อเนื่อง และมีเหตุผลมากขึ้น และยังเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของ ผู้ป่วยจากปัญหาของตนเองชั่วขณะโดยกระตุ้นให้ผู้ป่วยไปสนใจกับกิจกรรมอื่น ๆแทน
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้ในเรื่องสาเหตุของความวิตกกังวล ความสัมพันธ์ของความวิตกกังวลและกลไกการเกิดพฤติกรรมหรืออาการต่างๆ ของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้ตระหนักถึงการลดความวิตกกังวล และ กระตุ้นให้ผู้ป่วยเผชิญปัญหาต่างๆ ที่มาคุกคาม และทำให้เกิดความวิตกกังวล โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของตนเอง อย่างสร้างสรรค์ รวมถึงการชี้นำให้เห็นถึงการใช้กลไกทางจิตที่ไม่เหมาะสม เช่น การก้าวร้าว ทำลาย ให้เปลี่ยนมาเป็น พฤติกรรมที่สร้างสรรค์แทน เช่น ออกกำลังกาย ทำงานบ้าน เป็นต้น
รายงานแพทย์เพื่อให้ได้รับยาลดความวิตกกังวล ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยได้นอนหลับพักผ่อนมากขึ้น จิตใจสบายขึ้น และคอยสังเกตอาการข้างเคียงของยาที่อาจเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยได้
ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งบันทึกรายงานอาการ และพฤติกรรมของผู้ป่วยโดยละเอียด เพื่อ ตรวจสอบดูความก้าวหน้าของการรักษาพยาบาล
4) การประเมินผลทางการพยาบาล จะประเมินตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ซึ่งสามารถประเมินได้จากการบอกกล่าวของผู้ป่วยหรือ
ญาตของผู้ป่วยและจากการสังเกตของพยาบาลโดยมข้อบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่าการพยาบาลได้ผลในทางบวก ดังนี้
ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายได้มากขึ้น
ผู้ป่วยสามารถแยกแยะและประเมินระดับความวิตกกังวลของตนเองได้
ผู้ป่วยสามารถบอกถึงความรู้สึกวิตกกงั วลที่มต่อตนเองและผู้อนได
ผู้ป่วยสามารถอธิบายเชื่อมโยงผลของความวิตกงั วลที่มต่อตนเองและผู้อื่นไดสร้างสรรค์มากขึ้น
ผู้ป่วยสามารถบอกวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ไขความวิตกกังวลได้
ผู้ป่วยสามารถแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมเพื่อลดความวิตกให้กับตนเองได้อย่าง
4.2 การพยาบาลบุคคลที่มีความเครียด
1) การประเมินสภาวะความเครียด
ความเครียดทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งดานร่างกายและจิตใจ และมีระดับความรุนแรงมากน้อย ขึ้นอยู่กับการรับของบุคคลที่มีต่อความเครียด และการใช้กลไกการปรับตัว ดังนั้น พยาบาลจึงควรประเมินระดับความ รุนแรงของความเครียดของบุคคลก่อนเป็นลำดับแรก โดยประเมินดังนี้
ประเมินอาการแสดงทางร่างกายที่เป็นผลมาจากความเครียดหรืออาการทางกายที่มีอยู่เดิมกำเริบเช่น แบบแผนการนอนหลับพักผ่อน การรับประทานอาหาร ระบบการย่อยอาหาร อาการปวดศีรษะ มึนงง ปวดตาม กล้ามเนื้อ ไม่อยากทำอะไร อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่อิ่ม มือเย็น แน่นจุกท้อง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ท้องผูก อาการเหล่านี้อาจนำไปสู่การวินิจฉัยโรคทางกายอื่นๆ ที่เป็นผลมาจากความครียดได้ เช่น โรคทางเดนิ อาหาร โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ หรือโรคมะเร็ง เป็นต้น
ประเมินอาการแสดงทางจิตใจ เช่น ด้านอารมณ์บุคคลอาจมีความวิตกกังวล มีความโกรธ ก้าวรา้ ว หรือความกลัว อาจมีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ เช่น สูญเสียสมาธิ ความสามารถในการจำลดลง มีการเปลี่ยนแปลงด้านการรู้คิดและสติปัญญา รวมถึงพฤติกรรมการใช้กลไกทางจิตที่ไม่เหมาะสม และอาจเป็นสาเหตุนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า และการฆ่าตัวตายได้อีกด้วยการประเมินนอกจากจะใช้การซักประวัติจากผู้ป่วย อาจสอบถามได้จากญาติของผู้ป่วยและอาจให้ผู้ป่วยทำแบบประเมินความเครียดด้วยตนเองด้วย เช่น แบบคัดกรองความเครียด (ST5) แบบประเมินระดับ ความเครียด (ST20) เป็นต้น และในการประเมินควรประเมินถึงสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดความเครียด การปรับตัวของ ผู้ป่วยรวมถึงประสบการณ์ของการเผชิญความเครียดที่ผ่านมาของผู้ป่วยด้วย
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เพื่อลดความเครียดของผู้ป่วยให้กลับสู่ภาวะปกติ
เพื่อให้การบำบัดรักษาอาการทางกายที่มีอยู่ในตอนนั้น เป้าหมายระยะยาว
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รู้และเข้าใจกลวิธีในการปรับตัวต่อเหตุกรณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดของตนเอง
เพื่อให้ผู้ป่วยได้จัดการความเครียดที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้นและไม่ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา
เพื่อลดความถี่ของการเกิดความเครียด
เพื่อปรับบุคลิภาพและการใช้กลไกทางจิตให้เหมาะสมมากขึ้น ตัวอย่างการเขียนข้อวินิฉัยทางการพยบาล
ความดันโลหิตสูงกว่าปกติเนื่องจากมีการปรับตัวต่อภาวะเครียด
มีภาวะเครียดในระดับสูงเนื่องจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
แบบแผนการนอนหลับพักผ่อนเปลี่ยนแปลงเนื่องจากมีภาวะเครียด
3) กิจกรรมการพยาบาล เน้นที่การพยาบาลตามแผนการบำบัดรักษาอาการทางกายของแพทย์ก่อนเป็นลำดับแรกในกรณีที่
ผู้ป่วยมาด้วยอาการทางกาย และเมื่ออาการทางกายทุเลาแล้ว พยาบาลจะให้การพยาบาล ดังนี้
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รู้และเข้าใจตนเองถึงสาเหตุที่ทำให้เกิด ความเครียดและการเชื่อมโยงถึงอาการทางกายของผู้ป่วย
ส่งเสริมและให้กำลังในการฝึกและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้และเลือกกลวิธีในการจัดการ ความเครียดที่สร้างสรรค์ที่ผู้ป่วยสนใจเหมาะสมกับบริบทในชีวิตของผู้ป่วย ไปใช้ในการจัดการความเครียด
สอนและแนะนำให้ประเมินระดับความเครียดด้วยตนเอง เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่เข้ามากระตุ้นให้เกิดความเครียต โดยอาจใช้การสังเกตอาการและอาการแสดงทางกายของตนเองหรือใช้แบบประเมิน ความเครียดด้วยตนเอง
กระตุ้นและให้กำลังใจผู้ป่วยวางแผนการเปลี่ยนแปลงตนเอง ในการใช้ชีวิตเพื่อผ่อนคลาย ความเครียด เช่น การหากิจกรรมที่ชอบและเหมาะสมกับตนเองทำยามว่างด้วยการออกกำลังกาย การวิปัสสนา เล่นดนตรี ฟังเพลง เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกครุ่นคิดกับเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความครียด หรืออาจพูดคุยระบายกับบุคคลที่ ไว้วางใจ หรือแนะนำสถานบริการที่ช่วยในการให้คำปรึกษาเรื่องความเครียดในกรณีที่ไม่ไว้วางใจใคร
ฝึกทักษะการคิดเชิงบวก เพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองต่อสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดนอกจากนี้ยังควรฝึกให้ผู้ป่วยรับรู้ และยอมรับสถานการณ์ที่ไม่ปรารถที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตให้ได้ตามความเป็นจริง อย่างเข้มแข็ง
ให้ความช่วยเหลือดูแลให้ผู้ป่วยได้รับวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่เพียงพอเช่น รับประทาน ผักให้มากขึ้นเพราะจะทำให้สมองสร้าง serotonin เพิ่มช่วยลดความเครียด
ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำตารางเวลาของชีวิต (body clock) ในการออกกำลังกายหรือ กิจกรรมผ่อนคลายอื่นๆ อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้นอนหลับพักผ่อนผู้ป่วยจะสดชื่นขึ้นและช่วยลดความเครียดได้เพราะเมื่อภาวะที่เครียดมาก ๆ จะทำให้ความสามารถในการกำหนดเวลาของชีวิตเสียไป ทำให้เกิดปัญหานอนไม่หลับ หรือตื่นง่าย และหากผู้ป่วยเป็นคนที่ชอบทำงานควรให้ผู้ป่วยลดเวลาการทำงานหรือกิจกรรมตึงเครียดอื่นๆ ลงเหลือไม่ เกิน 40 ช.มต่อสัปดาห์- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์
4) การประเมินผลทางการพยาบาล
อาการทางกายทุเลาหรือกลับสู่ภาวะปกติ
ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ระดับความเครียดลดลง
ผู้ป่วยสามารถเชื่อมโยงอาการ และอาการแสดงที่สัมพันธ์กับความเครียดของตนเองได
ผู้ป่วยสามารถประเมินระดับความเครียดด้วยตนเองได้
ผู้ป่วยสามารถบอกวิธีการจัดการความเครียดที่เหมาะสมกับตนเองได้
ผู้ป่วยสามารถแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคม เพื่อลดความเครียดให้กับตนเองไดมากขึ้น