Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต - Coggle Diagram
บทที่ 2
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ความหมายของภาวะวิกฤต
ภาวะวิกฤต (crisis) หรือภาวะวิกฤตทางอารมณ์ (emotional crisis) หมายถึง ภาวะชั่วคราวที่เกิดขึ้น เมื่อ บุคคลเผชิญกับเหตุการณ์ที่ตนประเมินและรับรู้ว่ามีความคุกคาม ที่อาจทำให้เกิดความสูญเสียหรือความเปลี่ยนแปลง ต่อตนเอง ภาพพจน์ หรือเป้าหมายในชีวิต โดยบุคคลไม่สามารถหนี หรือใช้วิธีการแก้ไขปัญหามาใช้ลดความตึงเครียด นั้นในลักษณะเดิม ๆ ที่เคยใช้ได้ผลมาก่อน ทำให้บุคคลเสียความสมดุลของชีวิตไป เกิดความตึงเครียด คับข้องใจอย่าง มาก และมีความวิตกกังวลสูง เป็นเหตุให้ความสามารถทางสติปัญญาลดลง มีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อครอบครัวและสังคม
ภาวะวิกฤตทางอารมณ์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด
ได้แก่
1) สถานการณ์วิกฤต (situational crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดไม่สามารถ คาดการณ์ล่วงหน้าได้ แล้วส่งผลให้ภาวะทางอารมณ์ทางจิตใจเสียภาวะสมดุล เช่น การเสียคนรักจากอุบัติเหตุ การ ตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ การสอบตก การถูกให้ออกจากงาน เป็นต้น
2) พัฒนาการวิกฤตหรือวัยวิกฤต (maturation Crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามช่วงวัยต่าง ๆ ตามกระบวนการเจริญเติบโต (life cycle change) เช่น การที่เด็กต้องพลัดพรากจากผู้ปกครองไปเข้าโรงเรียน, การ ต้องออกจากครอบครัวของบิดามารดาไปสร้างครอบครัวของตนเอง, การเกษียณอายุ เป็นต้น หากบุคคลได้เตรียมการ และรับมือล่วงหน้า หรือได้รับการเลี้ยงดูที่ช่วยให้มีพัฒนาการชีวิตเป็นไปอย่างเหมาะสมมีการเจริญตามวุฒิ บุคคลนั้นก็ จะสามารถเผชิญและผ่านพ้นกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ด้วยดีไม่เกิดปัญหาถึงขั้นภาวะวิกฤตขึ้น
3) ภาวะวิกฤตที่เกิดจากภัยพิบัติ (disaster crisis) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด อาจเกิด จากธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมาเอง ส่งผลให้เกิดความเสียหาย สูญเสีย ทำลายล้าง และเกิดความตึงเครียดอย่าง รุนแรงต่อตัวบุคคลหรือชุมชนที่ได้รับผลจากเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งบุคคลหรือชุมชนนั้นจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือ อย่างทันท่วงที เช่น ไฟไหม้บ้าน อุทกภัย แผ่นดินไหว ซึนามิ การเกิดสงคราม เป็นต้น
ลักษณะอาการและอาการแสดงของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
แม้ว่าจะมีเหตุการณ์มาคุกคามหรือมีปัญหาเกิดขึ้นกับบุคคล บุคคลก็ยังจะคงอยู่ในภาวะสมดุลหากเขา ยัง คงไว้ซึ่งความสามารถในการแก้ปัญหานั้น ๆได้ผลด้วยการใช้เทคนิคในการเผชิญปัญหา (coping problem technique), ทักษะในการแก้ปัญหา (problem solving skills) ที่ตนเองถนัดและสามารถดำรงตนอยู่กับสิ่งแวดล้อม ของเขาได้ตามปกติหรือเรียกระยะนี้ของบุคคลว่า “ระยะก่อนเกิดภาวะวิกฤตทางอารมณ์ (pre – crisis stage)” ในทางกลับกันหากมีเหตุการณ์มาคุกคามหรือมีปัญหาเกิดขึ้นกับบุคคล บุคคลมีการรับรู้ได้ว่าเหตุการณ์หรือปัญหานนๆ เป็นสิ่งคุกคาม (threat) ต่อตนเองทั้งด้านภาพพจน์ (self-image) หรือต่อเป้าหมายในชีวิต (life goals) และมีการรับรู้ ว่าตนไม่สามารถใช้เทคนิคในการเผชิญปัญหา (coping problem technique), ทักษะในการแก้ปัญหา (problem solving skills) ที่ตนเองถนัดในการจัดการแก้ไขเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือมีปัญหาเกิดขึ้นปัญหาอย่างได้ผล บุคคลก็ จะเข้าสู่ “ระยะวิกฤต (crisis stage)”
ซึ่งแบ่งย่อยๆได้เป็น 4 ระยะดังนี้
ได้แก่
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่บุคคลที่อยู่ในระยะวิกฤต (crisis stage) มีความเครียด (stress) ความวิตกกังวล (anxiety) มากขึ้นจากการที่ตนเองใช้วิธีการจัดแก้ไขเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้ผล มีปฏิกิริยา ตอบสนองโดยอาจมีอาการและอาการแสดงในลักษณะ
สับสน สมาธิลดลง การตัดสินใจเสีย
มีอาการทางกาย เช่น เจ็บหน้าอก ปากแห้ง หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก วิงเวียน
รู้สึกผิดและละอาย (guilt and shame) ที่ไม่สามารถจัดการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้ บุคคลจะ ขาดความภาคภูมิใจในตนเอง รู้สึกอับจนหนทาง ซึมเศร้า และคิดว่าตนเองไร้ค่า
รู้สึกโกรธ (anger) ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ง่ายจากการมีอารมณ์ไม่คงที่ มักแสดงออกด้วยการมีอารมณ์ที่ ฉุนเฉียว โมโหร้าย ก้าวร้าว ไม่เป็นมิตร อาจทำอะไรที่รุนแรงไม่สมเหตุสมผลกับเหตุการณ์ที่มากระตุ้นต่อบุคคลอื่นหรอื หันความโกรธเข้าหาตนเอง หากอารมณ์โกรธมีความรุนแรงอาจทำร้ายผู้อื่นและตนเองได้
ระยะที่ 2 ระยะฉุกเฉิน เป็นระยะที่บุคคลยังคงใช้ความพยายามที่จะจัดการแก้ไขเหตุการณ์ที่มาคุกคาม หรือปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้ทักษะการแก้ไขปัญหาในภาวะฉุกเฉิน เช่น การลองผิดลองถูก ( trial and error attempts) หากทักษะที่เขาใช้ในการแก้ไขปัญหาในภาวะฉุกเฉินนั้นยังคงไม่ได้ผล บุคคลจะมีภาวะที่อ่อนไหว (vulnerable state) มีปฏิกิริยาตอบสนองโดยอาจมีอาการและอาการแสดงในลักษณะ
รู้สึกขาดที่พึ่งและหมดหนทาง (helplessness) ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าและหากมีภาวะซึมเศร้ามี มากในระดับสูงความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า หมดหวังของบุคคลก็จะยิ่งมีสูงขึ้น ส่งผลให้บุคคลขาดสมาธิ อารมณ์ไม่คงที่ ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจประจำวันได้ จนอาจถึงขั้นพยายามฆ่าตัวตายในที่สุด
รู้สึกลังเล (ambivalence) สับสนไม่แน่ใจในตนเองว่าจะสามารถแก้ไขปัญหา หรือช่วยเหลือ ตนเองได้หรือไม่หรือต้องการให้บุคคลอื่นช่วยเหลือ จากความพยายามที่ตนเองควบคุมความรู้สึกและพฤติกรรมและ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเองแต่ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ บุคคลจึงต้องมีบุคคลอื่นให้กำลังใจและให้ความช่วยเหลือ
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่บุคคลซึ่งอยู่ในภาวะที่อ่อนไหว (vulnerable state) นั้นได้รับการกระตุ้นจาก ปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งมักเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้น บุคคลจะมีความตึงเครียดวิตกกงั วล (final stress and anxiety) มากขึ้น มีอาการและอาการแสดงที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อภาวะวิกฤตในลักษณะ ต่างๆที่รุนแรงขึ้น
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่บุคคลไม่สามารถรับความตึงเครียดวิตกกังวล (stress and anxiety) ที่มากขึ้นอีก ต่อไป (intolerable level) นับเป็นจุดแตกหัก (breaking point) ทำให้บุคคลนั้นสูญเสียความสามารถในการกำหนด ตัวปัญหา ประเมิน และแยกแยะปัญหาบนพื้นฐานของความเป็นจริงในการแก้ไขปัญหาไป
โดย
โดยธรรมชาติแล้วภาวะวิกฤตจะสงบลงและสามารถกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลภายใน 4 – 6 สัปดาห์ หลังจาก
บุคคลประสบภาวะวิกฤต เมื่อบุคคลที่ประสบภาวะวิกฤตสามารถปรับตัวกับเหตุการณ์ที่มาคกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้น
ด้วยการไปพบผู้รักษา (therapist) เพื่อขอความช่วยเหลือให้ตนเองมีความสามารถในการจัดการปัญหาได้เท่ากับช่วง ก่อนเกิดภาวะวิกฤต/ดีขึ้นกว่าช่วงก่อนเกิดภาวะวิกฤต หรือบุคคลที่ประสบภาวะวิกฤตสามารถหาวิธีการจัดการกับ เหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้นให้ได้ด้วยตนเองได้สำเร็จอย่างถูกวิธีจนระดับความกังวลและความเครียด ลดลงเรียกระยะนี้ว่า “ระยะหลังเกิดวิกฤต (post – crisis stage)”
แต่หากบุคคลที่ประสบภาวะวิกฤตไม่สามารถปรับตัวและใช้วิธีการจัดการแก้ไขเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือ ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างผิดวิธี หลังประสบภาวะวิกฤต 4 – 6 สัปดาห์จะส่งผลให้บุคคลนั้นมีความสามารถในการทำงาน เชิงสังคมที่ลดลง มีทักษะในการแก้ไขปัญหาที่แย่ลง ซึ่งอาจก่อให้เกิดพยาธิสภาพทางจิตเวชได้
สาเหตุการเกิดภาวะวิกฤตของบุคคล
มีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบต่างๆที่เป็นสาเหตุทำให้บุคคลเกิด ภาวะวิกฤตได้ดังนี้
2) การรับรู้ต่อเหตุการณ์วิกฤต หากบุคคลเห็นว่าเหตุการณ์วิกฤตนั้นเป็น สิ่งคุกคาม (threat) ทำให้เกิด ความสูญเสีย ความปวดร้าว หรือความสิ้นหวัง จะทำให้บุคคลนั้นเกิดความกังวลและความตึงเครียด ตอบสนองต่อ เหตุการณ์วิกฤตอย่างไม่ถูกวิธีไม่สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ หากเห็นว่าเหตุการณ์วิกฤตนั้นเป็น สิ่งท้าทาย (challenge) จะมีความกังวลเกิดขึ้นอย่างเหมาะสมซึ่งจะเป็นแรงให้เกิดการจัดการกับปัญหา
3) การแก้ไขปัญหา
หากบุคคลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ อาจนำมาซึ่งอาการต่าง ๆทางจิตเวช เช่น ภาวะ ซึมเศร้า การมีลักษณะถดถอย ความสามารถในการทำหน้าที่ในเชิงสังคมลดลง แต่หากบุคคลนั้นจัดการแก้ไขปัญหา อย่างถูกวิธีนอกจากจะทำให้บุคคลสามารถแก้ไขปัญหาได้สำเร็จแล้ว ยังทำให้บุคคลนั้นพัฒนาทักษะในการจัดการกับ ปัญหาที่มีลักษณะเดียวกันได้ดีขึ้นในภายภาคหน้าได้อีกด้วย โดยทั่วไปการแก้ปัญหาของบุคคลจะลักษณะ 2 แบบ ด้วยกัน คือ แบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา (problem focus coping) และแบบมุ่งเน้นอารมณ์ (emotion focus coping) เพื่อการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ บุคคลควรใช้การแก้ปัญหาทั้งสองลักษณะควบคู่กันไปอย่างเหมาะสม
การแก้ปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา (problem focus coping) เป็นวิธีการที่บุคคลพยายามแก้ไข ปัญหาให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยพยายามแก้ไขที่ตัวปัญหา มีการวางแผนตั้งเป้าหมาย กระทำตามเป้าหมายที่ตั้ง
ไว้ด้วยการมุ่งแก้ไขที่ตนเองหรือปรับสิ่งแวดล้อม วิธีการนี้มีความใกล้เคียงกับวิธีทางวิทยาศาสตร์ เช่น การหาขอ เพิ่มเติม นำประสบการณ์ในอดีตที่ใช้ได้ผลมาร่วมแก้ปัญหา
มูล
การแก้ปัญหาแบบมุ่งเน้นอารมณ์ (emotion focus coping) เป็นวิธีการที่บุคคลพยายามจัดการ อารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากปัญหา โดยใช้กระบวนการทางความคิด เช่น การใช้กลไกป้องกันทางจิต แบบ ปฏิเสธ หลีกหนีหรือพยายามไม่คิดลืมสิ่งที่เกิดขึ้น นอกจากนี้บุคคลยังอาจใช้การระบายอารมณ์ในรูปของการโกรธ การร้องไห้ การใช้เหล้ายาสารเสพติด รวมถึงการพยายามควบคุมปฏิกิริยาตอบสนองทางอารมณ์ต่อปัญหาด้วยการใช้ วิธีการผ่อนคลายเพื่อลดความวิตกกังวล การพยายามปรับเปลี่ยนความหมายต่อเหตุการณ์ เช่น มองสิ่งที่เป็นปัญหาใน แง่ดีหรือเปรียบเทียบปัญหาของตนกับปัญหาผู้อื่นที่หนักกว่า
1) เหตุการณ์วิกฤต (negative events) เป็นเหตุการณ์หรือราวที่เป็นปัญหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะวิกฤต สำหรับบุคคล ซึ่งเหตุการณ์วิกฤตในบุคคลหนึ่งอาจไม่เป็นปัญหาสำหรับอีกบุคคลหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการรับรู้ต่อ เหตุการณ์นั้นว่ามีความสำคัญต่อเขาอย่างไร
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
การพยาบาล
1) การประเมินภาวะสุขภาพ เพื่อรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติสุขภาพ ข้อมูลที่ควรให้ความสำคัญ คือ
ระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีภาวะวิกฤต โดย สอบถามถึงความรู้สึกและหรือผลกระทบทางลบของเหตุการณ์ที่คุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้น ที่มีต่อเขาว่าเป็นอย่างไร หรือมีมากน้อยเพียงใด เช่น ความเครียดต่อเหตุการณ์ที่คุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้นมีมากน้อยแค่ไหน เหตุการณ์ที่คุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้นกระทบต่อการดำเนินชีวิตปกติหรือไม่ บุคคลที่ประสบกับเหตุการณ์ที่คุกคาม หรือปัญหาที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายหรือไม่ เป็นต้น
ระดับความรุนแรงของอาการทางกายที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อภาวะวิกฤติ เช่น การเคลื่อนไหว การหลับนอน การรับประทานอาหาร เป็นต้น รวมถึงการกำเริบและระดับความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นของโรคทางกายอื่น ๆ ของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
กลวิธีหรือกลไกทางจิตที่บุคคลที่มีภาวะวิกฤต ใช้ในการเผชิญปัญหาว่ามีความเหมาะสมหรือส่งผลเสีย ต่อการดำเนินชีวิตหรือไม่ โดยอาจสอบถามว่าเขาเคยประสบเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อนหรือไม่ และเคยทำอย่างไรเพื่อ แก้ไขปัญหานั้น ๆ
บุคลิกภาพเดิม ระดับความอดทน และความเข้มแข็งของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต ต่อเหตุการณ์ที่มา คุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้น
แหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต โดยอาจสอบถามถึงบุคคลใกล้ชิดที่ สำคัญที่เขาสามารถขอคำปรึกษาหรือพึ่งพิงได้ว่ามีใครบ้าง เขารู้สึกอย่างไรต่อบุคคลนั้น หรือเวลาเขามีปัญหาได้ใช้ แหล่งสนับสนุนจากที่ใดอย่างไร เพื่อดูว่าบุคคลที่มีภาวะวิกฤตมีระบบการช่วยเหลือที่เหมาะสมและเพียงพอหรือไม่ ครอบครัว และสังคมของบุคคลที่มีภาวะวิกฤตมีความพร้อมเพียงพอสำหรับการช่วยเหลือเขามากน้อยเพียงใด
สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ ปรัชญาของชีวิต หรือหลักศาสนาที่ยึดถือในการเผชิญปัญหา โดยอาจ สอบถามบุคคลที่มีภาวะวิกฤตว่า เขามีสิ่งยึดเหนี่ยวหรือศรัทธาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่นำมาเป็นหลักยึดในการช่วยเหลือ ตนเองเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้นปัญหาของชีวิตหรือไม่
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล เพื่อลดความเครียด ความวิตกกังวล อาการและอาการแสดงที่เป็นปฏิกริ ยา
ตอบสนองต่อภาวะวิกฤต หรือผลกระทบจากภาวะวิกฤติของบุคคล และการช่วยให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตมีพฤติกรรม การปรับตัวที่เหมาะสม สามารถกลับมาดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลสำหรับบุคคลที่มีภาวะวิกฤติ
การเผชิญปัญหาไร้ประสิทธิภาพ
เสี่ยงต่อการกระทำรุนแรงต่อตนเองและผู้อื่น
แบบแผนการพักผ่อนนอนหลับเปลี่ยนแปลง
บกพร่องในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 3) การวางแผนการพยาบาล วัตถุประสงค์การพยาบาลระยะสั้น
เพื่อลดความเครียดหรือความวิตกกังวลที่มีต่อภาวะวิกฤติ
เพื่อลดอาการและอาการแสดงทางกายที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ๆให้กลับสู่ภาวะปกติ วัตถุประสงค์การพยาบาลระยะยาว
เพื่อฝึกทักษะการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต
เพื่อส่งเสริมการแสวงหาและเตรียมความพร้อมแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสม เพียงพอเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต
4) การปฏิบัติการพยาบาล เพื่อให้การพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล และวัตถุประสงค์การ พยาบาล โดย
การลดความเครียดหรือความวิตกกังวลที่มีต่อภาวะวิกฤติ ควรปฏิบัติการพยาบาลดังนี้
สร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและบุคคลที่มีภาวะวิกฤต แบบหนึ่งต่อหนึ่งตามแบบแผนการสร้าง สัมพันธภาพ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล
เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตได้ระบายเรื่องราวความทุกข์ใจต่าง ๆ โดยใช้คำถามปลายเปิด เพื่อ กระตุ้นให้ระบายความรู้สึกออกมา จากนั้นพยาบาลจึงสะท้อนความรู้สึกของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต เพื่อให้เขาเกิดการ ตระหนักรู้ในตนเองและเชื่อมโยงถึงผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกเหล่านั้นของผู้ป่วยด้วย
ส่งเสริมให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตเข้าใจและยอมรับสถานการณ์ปัญหาวิกฤติของชีวิต ที่เกิดขึ้นตาม
ความเป็นจริง
ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต ด้วยการนำบุคคลที่มีภาวะวิกฤตออกมาจาก
สภาพแวดล้อมเดิม เพื่อลดความวิตกกังวลที่มีต่อภาวะวิกฤติ เช่น หากบุคคลที่มีภาวะวิกฤตมีความเครียดจากงานอาจ ต้องให้หยุดพักงานก่อน บุคคลที่มีภาวะวิกฤตจากการสูญสียบุคคลที่รักและหมกหมุนกับเรื่องราวและสิ่งของของ บุคคลอันเป็นรักจมปลักอยู่คนเดียว อาจนำเขามาอยู่กับบุคคลที่เขาไว้วางใจหรือครอบครัวของเขา เพื่อแยกบุคคลที่มี ภาวะวิกฤตนั้นออกมาจากสภาพแวดล้อมนั้น
ดูแลช่วยเหลือเรื่องทั่ว ๆไป เช่น กิจวัตรประจำวันหรือเรื่องอื่น ๆ เพื่อไม่ให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตมี ความเครียดและวิตกกังวลต่อภาวะวิกฤตมากขึ้น
ส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤต ด้วยการดูแลช่วยเหลือให้กำลังใจอยู่เคียง ข้างเป็นเพื่อน คอยรับฟัง แสดงความเข้าใจ ยอมรับในตัวเขา หรือจัดให้มีญาติหรือบุคคลคอยดูแลช่วยเหลืออยาง ใกล้ชิด เพื่อช่วยลดความรู้สึกโดดเดี่ยวของบุคคลที่มีภาวะวิกฤตที่เหมือนกับต้องต่อสู้ชีวิตอยู่ตามลำพัง ทำให้เขาเกิด ความรู้สึกอบอุ่นมีกำลังใจมากขึ้นและมีความหวังในการดำเนินชีวิตอยู่ต่อไป
การลดหรือป้องกันอาการและอาการแสดงทางกายที่เป็นผลมาภาวะวิกฤติ ควรปฏิบัติการพยาบาลดังนี้
ประเมินอาการและอาการแสดงทางกายที่เพิ่มขึ้นและมีความสัมพันธ์กับภาวะวิกฤติ
รายงานแพทย์อาการและอาการแสดงทางกายที่มีความสัมพันธ์กับภาวะวิกฤติ เพื่อให้บุคคลที่มีภาวะ วิกฤตได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ดูแลให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตได้รับการรักษาพยาบาลอาการและอาการแสดงทางกายที่มีความสัมพันธ์ กับภาวะวิกฤติตามแผนการรักษา
การฝึกทักษะการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต ควรปฏิบัติการพยาบาล
ดังนี้
เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตพูดถึงกลวิธีการเผชิญปัญหาที่เคยใช้มาก่อน เพื่อประเมินรูปแบบ
การเผชิญปัญหาที่เขาเคยใช้ว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมเพียงใด และสนับสนุนให้เขาเห็นและเข้าใจถึงความเชื่อมโยง กันของผลที่ตามมาทั้งทางบวกและทางลบ จากการที่เขาใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาเหล่านั้น
ส่งเสริมให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตเรียนรู้การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้กลไกการเผชิญปัญหา และฝึกการ ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้กลไกการเผชิญปัญหาแบบเดิมให้เป็นในทางที่สร้างสรรค์แทน อาจทำเป็นรายบุคคล ด้วยการให้ บุคคลที่มีภาวะวิกฤตแสดงบทบาทสมมติ หรือให้เข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัดกับเพื่อนที่มีภาวะวิกฤตอื่น เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกันถึงวิธีการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์มากกว่าที่เคยใช้อยู่เดิม
แสดงการยอมรับ ชื่นชม และให้กำลังใจบุคคลที่มีภาวะวิกฤตอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเขาใช้กลไกการ เผชิญปัญหาที่เหมาะสมและมีพฤติกรรมที่พึงปรารถนาเพิ่มขึ้น
การส่งเสริมการแสวงหาและเตรียมความพร้อมแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสมเพียงพอเมื่อ ต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต ควรปฏิบัติการพยาบาลดังนี้
เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตพูดถึงศักยภาพของตนเองในการเผชิญกับปัญหาชีวิตที่ผ่านมา เพื่อ ประเมินว่าบุคคลที่มีภาวะวิกฤตมองเห็นศักยภาพของตนของตนเองในการเผชิญกับปัญหาชีวิตมากน้อยเพียงใด และมี การแสวงหาการสนับสนุนช่วยเหลือในการเผชิญกับปัญหาชีวิตได้อย่างเหมาะสมกับศักยภาพของตนเองหรือไม่
ส่งเสริมสนับสนุนและวางแผนร่วมกันกับบุคคลที่มีภาวะวิกฤต ในการแสวงหาความช่วยเหลือในการ เผชิญกับปัญหาชีวิตที่เหมาะสมจากครอบครัว ญาติ บุคคลสำคัญที่บุคคลที่มีภาวะวิกฤตไว้วางใจและสามารถพึ่งพิงได้ หรือแหล่งสนับสนุนทางสังคมอื่น ๆ หากในอนาคตบุคคลที่มีภาวะวิกฤตต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต
ประเมินความพร้อมและติดต่อประสานกับครอบครัว ญาติ บุคคลสำคัญที่บุคคลที่มีภาวะวิกฤต ไว้วางใจและสามารถพึ่งพิงได้ หรือแหล่งสนับสนุนทางสังคมอื่น ๆที่บุคคลที่มีภาวะวิกฤตต้องการ ในการเข้ามามีส่วน ร่วมช่วยเหลือบุคคลที่มีภาวะวิกฤตในการเผชิญกับปัญหาชีวิตในปัจุบัน และในอนาคตหากบุคคลที่มีภาวะวิกฤตต้อง เผชิญกับปัญหาชีวิต เพื่อให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือที่เหมาะสม ต่อไป
5) การประเมินผลการพยาบาล เพื่อประเมินผลลัพธ์การปฏิบัติการพยาบาล ตามข้อวินิจฉัยทางการ พยาบาล และวัตถุประสงค์การพยาบาลที่ตั้งไว้ โดยประเมินได้จากการบอกกล่าวของบุคคลที่มีภาวะวิกฤตผู้เอง ครอบครัวของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต หรือจากการสังเกตจากข้อบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์ทางการพยาบาลได้ผลเช่น ไรด้วยตัวของพยาบาลเอง
ตัวอย่างผลลัพธ์ทางการพยาบาลสำหรับบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
บุคคลที่มภ
าวะวิกฤติมีความเครย
ดหรือความวิตกกังวลลดลง
ลดลง
บุคคลที่มภ
บุคคลที่มภ
บุคคลที่มภ
าวะวิกฤติมีอาการและอาการแสตงทางกายที่เป็นผลมาจากสถานการณ์วิกฤตของชีวิต
าวะวิกฤติมีวิธีการเผชิญปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น าวะวิกฤติสามารถบอกถึงขั้นตอนหรือวิธีการในการไปขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้ตาม
ความจำเป็นและเหมาะสมเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาชีวิตในอนาคต
บุคคลที่มภาวะวิกฤติสามารถแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสมกับบรบทชีวิต
ของตนเองได้ หากต้องต้องเผชิญกับปัญหาชีวิตในอนาคต
สรุป
การดูแลช่วยเหลือบุคคลที่มีภาวะวิกฤติ เป็นการช่วยเหลือปัญหาในปัจจุบันขณะ (here and now) ภายใน ช่วงระยะเวลาสั้นๆ 4-6 สัปดาห์หลังบุคคลต้องประสบกับภาวะวิกฤติ โดยมุ่งเน้นให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤติ สามารถ ปรับตัวหรือจัดการกับเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้นและกลับคืนสู่ภาวะสมดุลได้โดยเร็ว ด้วยการส่งเสริม ให้เขามีการรับรู้เหตุการณ์ตามความเป็นจริง การให้ได้รับการช่วยเหลือจากแหล่งสนับสนุนทางสังคมที่เพียงพอ และมี กลวิธีหรือกลไกทางจิตในการเผชิญปัญหาที่ความเหมาะสม ดังนั้นพยาบาลจึงควรต้องรู้และเข้าใจถึงภาวะวิกฤติของ บุคคล เพื่อจะสามารถวินิจฉัยปัญหาและบำบัดช่วยเหลือร่วมกับทีมสหวิชาชีพให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤติอย่างถูกต้อง เหมาะสมรวดเร็วทันห่วงที