Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน - Coggle Diagram
บทที่ 6
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดง
1.1 ความหมายของภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
ที่พบบ่อย
จิตเวชฉุกเฉิน (emergency psychiatry) เป็นภาวะที่บุคคลมีความแปรปรวนทางดานความคด อารมณ์
ความสัมพันธ์ทางสังคม หรือ พฤติกรรมอย่างเฉียบพลันหรือรุนแรง จนอาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือเกดความ
เสียหายต่อทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น จำเป็นต้องได้รับการบำบัด ช่วยเหลืออย่างถูกต้องเหมาะสมโดยเร่งด่วน เพื่อ ช่วยลดอันตรายหรือความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยหรือบุคคลรอบข้างรวมทั้งทรัพย์สิน และเมื่อผู้ป่วยมี อาการสงบลง ปลอดภัยจะพิจารณาส่งต่อให้ได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่องที่เหมาะสมต่อไป
1.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
ที่พบบ่อย
1) พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior)
เป็นพฤติกรรมในความพยายามหรือลงมือกระทำการทำร้าย ทำลาย ทั้งร่างกาย จิตใจ ตนเองผู้อืน และสิ่งของ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้บุคคลหรือสิ่งของที่ถูกกระทำได้รับความเจ็บปวด การบาดเจ็บ หรือเสียหาย เป็น พฤติกรรมที่พบบ่อยในหน่วยงานฉุกเฉินทางจิตเวช และมักเป็นอาการสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยถูกส่งตัวมารับการรักษาใน โรงพยาบาล โดยลักษณะที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมรุนแรง มีดังนี้
ลักษณะทั่วไป: มีท่าทางตึงเครียด หน้านิ่งคิ้วขมวด ตาจ้องขมึงไปรอบ ๆ เพื่อหาบุคคลหรือ สิ่งของที่เป็นเป้าหมายการทำร้าย ทำลาย มีการคลื่อนไหวเดินไปมาตลอดเหมือนมีความระวนกระวาย ขู่ว่าจะฆ่าหรือ ทำร้ายผู้อื่น ทำลาย หรือมีท่าทางหวาดกลัว
อารมณ์: แสดงความโกรธอย่างรุนแรง ขาดการควบคุมอามณ์ เช่น ใช้คำพูดรุนแรง เสียงดัง หน้าแดง ฉุนเฉียว อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายหรือแสดงอารมณ์ไม่สอคล้องกับเหตุการณ์
การรู้สติ (level of consciousness): อาจมีภาวะสับสนมีการรับรู้เวลา สถานที่ บุคคล ไม่ ถูกต้อง (disorientation) หรือมีอาการหลงผิดระแวงว่าถูกปองร้าย มีความคิดทำร้าย ฆ่า หรือแก้แค้นผู้อื่น
เคยมีประวัติมีพฤติกรรมรุนแรง: ทะเลาะวิวาทรุนแรงกับผู้อื่น ทำร้ายผู้อื่น ทำลายทรัพย์สินมา ไม่นาน หรือมีร่องรอยของการทะเลาะวิวาท เช่น มีรอยแผล, มีรอยซ้ำ
2) พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย (suicide behavior) มีหลายรูปแบบ ตั้งแต่การอยากฆ่าตัวตายที่วางแผน ล่วงหน้าเป็นเดือนเป็นปี หรือเป็นการฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตนเองที่เกิดจากอารมณ์ชั่ววูบ หรือเป็นการกระทำที่ เป็นผลมาจากอาการโรคจิต (psychosis) เช่น ประสาทหลอน เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดพยาบาลควรให้ ความสำคัญในทุกกรณีเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการประเมินและการบำบัดดูแลซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ คำที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตนเองที่ควรรู้มีก็ดังต่อไปนี้
suicidal intention ความต้องการที่จะฆ่าตัวตาย
suicide committed suicide การฆ่าตัวตายสำเร็จ
suicidal ideation ความคิดอยากฆ่าตัวตาย ซึ่งระดับความรุนแรงจะแตกต่างกันไปตาม ความรุนแรงของ suicidal intention
suicidal attempt การพยายามฆ่าตัวตาย
self-injurious or self-harm behavior พฤติกรรมที่ตั้งใจทำร้ายตนเองให้บาดเจ็บ เจ็บปวดหรือส่งผลทำลายร่างกายโดยไม่มี suicidal intention
โดยลักษณะที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มมีพฤติกรรมฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตนเอง มีดังนี้
ลักษณะทั่วไป: สีหน้าเศร้าหมอง ร้องไห้ ไม่สบตา ตามองพื้น คอตก ไหล่ห่อ ไม่ค่อย สนใจดูแลสุขอานามัยตนเอง คิดช้า พูดช้า เคลื่อนไหวช้า ตอบคำถามแบบถามคำตอบคำ หรือบางคนจะมีท่าที กระวนกระวาน อยู่นิ่งไม่ได้
ลักษณะอารมณ์: คนที่คิดฆ่าตัวตายมีหลายอารมณ์ อาจเศร้า โกรธ คับแค้นใจ แต่ ส่วนมากจะตกอยู่ในภาวะเศร้ารู้สึกทุกข์ทรมานใจ หดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวัง เบื่อชีวิต หรือบางรายจะรู้สึกหงุดหงิด พลุ่งพล่าน โกรธ อยากแก้แค้น อยากให้ผู้อื่นรู้สึกเสียใจและรู้สึกผิด
ความคิด: อาจโทษตนเองคิดว่าตนเองเป็นคนไม่ดีไม่มีคุณค่า เป็นภาระกับคนอื่น การมี ชีวิตอยู่ต่อไปไร้ความหมาย ไม่มีใครต้องการ คิดว่าตนเองมีความผิดบาป ไม่อยากทุกข์ทรมานต่อไป จะได้หมด ทุกข์ พ้นความทรมานใจ บางคนหมกมุ่นกับการคิดฆ่าตัวตาย วางแผนฆ่าตัวตาย และหรือมีความตั้งใจที่จะทำ ร้ายตนเอง
การรับรู้: ผู้มีอาการทางจิตอาจมีอาการประสาทหลอนสั่งให้ทำร้ายตนเอง (command hallucinations for self-harm)
พฤติกรรม: คนที่คิดฆ่าตัวตายอาจจะมีการพยายามทำร้ายตนเองหรือมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ จะทำร้ายตนเองก่อนมาโรงพยาบาล มีประวัติเคยพยายามทำร้ายตนเอง โดยที่การพยายามฆ่าตัวตายหรือทำ ร้ายตนเองส่วนหนึ่งนั้นอาจจะมีการแสดงเจตนาว่าจะฆ่าตัวตายด้วยคำพูด โทรศัพท์ บอกคนใกล้ชิด หรือเขียน จดหมายลาตาย เนื่องจากบางครั้งการพยายามฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตนเองนั้นยังอาจมีความลังเลใจ ระหว่าง การอยากตายและการมีชีวิตอยู่ ไม่ได้ต้องการจะตายตลอดเวลายังต้องการคนเข้าใจจึงทิ้งร่องรอยขอความ ช่วยเหลือไว้ ซึ่งหากถ้าคนใกล้ชิดมีความไวพอและให้การช่วยเหลือที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันพฤติกรรม การฆ่าตัวตายได้ ในขณะที่บางคนการพยายามฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตนเองไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าแต่การ ตัดสินใจทำร้ายตนเองนั้นมีลักษณะหุนหันจากขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง เมื่อเผชิญกับ สถานการณ์ที่คุกคามสูญเสีย ผิดหวัง รู้สึกไร้ค่า โดยใช้วิธีที่รุนแรงในการเผชิญกับสถานการณ์ที่คุกคามนั้นซึ่ง อาจมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง
3) ภาวะสับสนเพ้อคลั่ง (delirium) เป็นกลุ่มอาการทางสมองเฉียบพลัน (acute brain syndrome) ผู้ป่วยจะเสียการรู้คิด (cognition) ทั้งหมดและมีอาการทาง neuropsychiatric syndrome ต่างๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ ภายใน 2-3 ชั่วโมง หรือ 2-3 วัน ซึ่งประกอบด้วย อาการสับสนเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่ บุคคล (disorientation) กระวนกระวาย มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว (fluctuation of consciousness) มีควมผิดปกติของการ หลับนอน เช่น หลับตอนกลางวันและตื่นหรือทำพฤติกรมวุ่นวายในเวลากลาคืน ความจำระยะสั้นเสีย การรู้สภาพ ตนเองและตัดสินใจเสีย และจะมีอาการทางจิตรุนแรง มีอาการประสาทหลอน (hallucination) หรือแปลส่ิงเร้าผิด (illusion) ทำให้เกิดความกลัว เกิดอาการวุ่นวาย ก้าวร้าวรุนแรงทำร้ายผู้อื่นเพราะหวาดระแวง หรือทำร้ายตนเองหนี ภาวะประสาทหลอน ดังนั้น จึงพบว่ญาติส่วนหนึ่งนำผู้ปวยที่มีอาการสับสนเพ้อคลั่งจากการเจ็บป่วยทางกายเข้ามารับ การรักษาในแผนกจิตเวชฉุกเฉิน โดยลักษณะที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะมีภาวะสับสนเพ้อคลั่ง มีดังนี้
อายุที่เริ่มมีความผิดปกติทางจิตครงั้ แรกมากกว่า 45 ปี
อาการเริ่มต้นเป็นอยางเฉยบพลัน
ปวดศษ
มีประวัตโรคทางกายรื้อรัง เช่น เบาหวาน ตบวาย ไตวาย หรืออาการป่วยทางกายนำ เช่น มีไข้ ะ ชีพจรเร็ว ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน
-มีประวัติใช้สารเสพติด
-มีประสาทหลอนทางตาหรือทางผิหนงั มากกว่าอาการประสาทหลอนทางหู
-มีประวัติอาการทาระบบประสาท หมดสติ ชัก อุบัติเหตุทางสมอง
การสูญเสียความชำนาญในการจัตวางภาพ (constructional apraxia) เช่น การไม่สามารถ
วาดรูปหน้าปัดนาฬิกาได้อย่างถูกต้อง
4) กลุ่มอาการหายใจถี่ (hyperventilation syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่มีการหายใจเร็วอย่างมาก ส่งผลให้เกิดภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดต่ำ (hypocapnia) และเกิดภาวะด่างจากการหายใจ (respiratory
alkalosis) ส่งผลให้เกิดอาการชารอบปากมือ เท้า เกร็ง กระสับกระส่าย ทายใจไม่อิ่ม วิงเวียน อาจหมดสติได้ โดย ลักษณะที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยจะอยู่ในกลุ่มอาการหายใจถี่ มีดังนี้
การมีอาการขึ้นมาทันทีทันใด
หายใจลึกและเร็วเป็นเวลาหลายนาทีโดยที่ไม่รู้ตัว จากนั้นจะเริ่มมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม วิงเวียน ใจสั่น นิ้วมือจีบยืดเกร็ง (carpopedal spasm)
ชาบริเวณริมฝีปาก นิ้วมือ นิ้วเท้า ผู้ป่วยอาจอ่อนแรงและสุดท้ายอาจหมดสติได้
ผู้ป่วยอาจจะบอกว่า รู้สึกเหมือนสำลัก หายใจไม่ออก (suffocation) ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยมักจะมีความเครียดทางอารมณ์เป็นปัจจัยกระตุ้น
5) อาการแพนิค (panic attack disorders) ผู้ป่วยจะมีอาการกลัวอย่างรุนแรง พร้อมกับมีอาการทาง กายหลายอย่างร่วมด้วย อาการเกิดทันทีและเป็นมากอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะมีความกลัวอย่างรุนแรง และความรู้สึก เหมือนกำลังจะตาย ควบคุมตนเองไม่ได้ คิดว่าตนเองเป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ และมีอาการทางกายร่วมด้วย เช่น ใจสั่น เหงื่อออกมาก มือสั่น ตัวสั่น หอบ หายใจไม่ออก เจ็บแน่นหน้าอก คลื่นไส้แน่นท้อง เวียนศรีษะเป็นลม กลัว ตาย ชาเจ็บตามผิวหนัง รู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ ตามตัว โดยที่อาการแพนิคอาจเกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้กลัว อย่างชัดเจน เช่น เห็นสุนัขแล้วกลัวเพราะเคยถูกสุนัขกัดมาก่อน หรือบางรายอาการแพนิคเกิดขึ้นมาเองโดยไม่ สามารถระบุสถานการณ์กระตุ้นได้ ลักษณะที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยอยู่ในอาการแพนิค มีดังนี้
ผู้ป่วยมความกลัวอยางรุนแรง
อาการเกิดทันทีและเป็นมากถึงระดับสูงสุดภายใน 10 นาที ร่วมกับอาการทางกายดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 อาการ ได้แก่ ใจสั่น เหงื่อออกมาก มือสั่น ตัวสั่น หอบ หายใจไม่ออก เจ็บแน่นหน้าอก คลื่นไส้แน่นท้อง เวียนศรีษะเป็นลม กลัวตาย ชาเจ็บตามผิวหนัง รู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ ตามตัว
อาจมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 1 อย่างเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ได้แก่กลัวจะเป็นอีก, กลัว จะควบคุมตนเองไม่ได้, กล้วเป็นโรคห้วใจหรือกลัวเสียสติ, มีพฤติกรรมผิดปกติ เช่น ขาดงาน หรือขาดโรงเรียน, อาการ ที่มีไม่ได้เป็นมาจากภาวะความเจ็บป่วยทางกาย
6) อาการพิษจากสารเสพติดและอาการขาดสาร (substance intoxication and withdrawal) ที่นำ
ผู้ป่วยเข้ามารับรักษาในแผนกฉุกเฉนที่พบบ่อยในประทศไทย ได้แก่ อาการที่เกิดจากพิษและอาการขาดสุรา แอมเฟตา
มีน และฝิ่น โดยลักษณะที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีอาการพิษและอาการขาดสารเสพติดแต่ละประเภท มีดังนี้
พบบ่อย
1) สุรา (alcohol) เป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์กดระบบประสาท
อาการพิษสุรา (alcohol intoxication) จะมีความผิดปกติของพฤติกรรมหรือจิตใจ ขณะที่มีอาการมึนเมา เช่น พฤติกรรมก้าวร้าว การตัดสินใจเสีย และมีอาการทางกายร่วมด้วย เช่น พูดไม่ชัด กาทรงตัวเสีย เดินไม่มั่นคง ตากระตุก สมาธิหรือความจำเสีย ถ้าอาการรุนแรงมากอาจทำให้หมดสติและศูนย์ ควบคุมการหายใจถูกกด
อาการขาดสุรา (alcohol withdrawal) เกิดขึ้นเนื่องจากดื่มสุราจัดเป็นเวลานานแล้วหยุดหรอื
ลดปริมาณการดื่มลง อาการขาดสุราจะเกิดภายใน 4 - 12 ชั่วโมง แต่บางรายอาจมีอาการหล้งหยด 2-3 วัน อาการมัก
เป็นรุนแรงในวันที่ 2 จะเกิดกลุ่มอาการเหงื่อออกมาก ชีพจรเร็ว มือสั่น นอนไม่หลับ คลื่นไอเจียน และอาการที่นำ ผู้ป่วยมารับบริการอฉุกเฉินทางจิตเวช คือ ผู้ปวยจะมีอาการประสาทหลอนหรือแปลสิ่งเร้าผิด และมีอาการมือสั่นและ
เพ้อ (alcohol withdrawal delirium or delirium tremens) ผู้ปวยกลุ่มนี้มักมีปัญหาสุขภาพกายร่วมด้วย เช่น ขาดวิตามินบี1 ขาดสารอาหาร ระดับน้ำตาลนเลือดต่ำ ภาวะไม่สมดุลของ electrolytes และมักมีโรคทางกายร่วม ด้วย เช่น ตับวาย ปอดบวม เลือดออกในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
2) แอมเฟตามีน (amphetamine) เป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท (stimulants)
อาการพิษของแอมเฟตามีน (amphetamine intoxication) อาการสำคัญ คือ รู้สึกสบาย ผิดปกติ ร่วมกับอารมณ์รื่นเริงสนุกสนาน จนถึงขั้นความรู้สึกตื่นตัวสูง กระวนกระวายหงุดหงิด โกรธง่าย การตัดสินใจ
เสีย เกิดปัญหาทะเละกับคนอื่น มีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง และอาจมีอาการรุนแรงถึงชั้นหูแว่วหรือหลงผิดคดว่ามคน
ปองร้าย มีความรู้สึกว่ารูปร่างตัวเองผิดส่วนและเห็นใบหน้าผู้คนผิดไปจากความป็นจริง อาจมีประสาทหลอนทาง สัมผัสว่ามีแมลงไต่ตามตวและอาการทางกายร่วมด้วย เช่น หัวใจเต้นเร็วหรือช้า ม่านตาขยาย ความดันโลหิตสูงหรือตำ่ เหงื่อออกมาก สับสน กล้ามเนื้อตึงแข็ง ชัก และไม่รู้สึกตัว (coma) ได้
อาการขาดแอมเฟตามีน (amphetamine withdrawal) เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยขาดแอมเฟตา มีนภายใน 2-3 ชั่วโมงจนถึงหลายวัน หลังหยุดเสพหรือลดปริมาณลงจะเกิดอาการรู้สึกไม่สบาย อ่อนเพลีย ฝันร้าย นอนไม่หลับ หรือหลับมาก พลุ่งพล่าน กระวนกระวาย อยากเสพยาอย่างรุนแรง สำหรับผู้ที่เสพยาขนาดสูงเป็นระยะ เวลานาน เมื่อหยุดเสพอาจมีอาการเศร้ารุนแรงเป็นเวลาหลายๆ วัน และอาจมีความคิดอยากตายได้
3) ฝิ่น (opioid) เป็นสารเสพติดประกอบด้วยฝื่นธรรมชาติ (มอร์ฟีน) กึ่งสังเคราะห์ (เฮโรอีน) และ สารสังเคราะห์ เช่น โคเดอีน เพธิดีน
อาการพิษจากฝิ่น (opioid intoxication) อาการสำคัญ คือ อารมณ์ร่าเริงในระยะแรกแล้ว เปลี่ยนเป็นรู้สึกไม่สุขสบาย พลุ่งพล่าน กระวนกระวายหรือเชื่องช้า และมีอาการทางกาย เช่น ม่านตาหด พูดไม่ชัด สมาธิและความจำเสีย อาการพิษอย่างรุนแรงอาจไม่รู้สึกตัว (coma) การหายใจช้า ม่านตาขยาย และอาจเสียชีวิต
อาการขาดฝิ่น (opioid withdrawal) เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยหยดเสพหรือลดปริมาณลง ฝิ่นซึ่ง
มีฤทธิ์สั้นอาการขาดสารจะเกิดภายใน 6-24 ชัวโมง โดยจะเกิดอาการวิตกกังวล กระวนกระวาย อยากเสพฝิ่น รู้สึกไม่ สบาย อ่อนเพลีย ฝันร้าย นอนไม่หลับ หรือหลับมาก หงุดหงิด อยากเสพยาอย่างรุนแรง ชวนทะเลาะหรือก้าวร้าวต่อ คนอื่นง่าย มีอาการทางกาย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ น้ำมูกน้ำตาไหล ม่านตาขยาย ขนลุก เหงื่อออกมาก ท้องเสีย หาว มีไข้ นอนไม่หลับ
2.1 สาเหตุของของภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
ที่พบบ่อย
ปัญหา
1) พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior)
สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้บุคคลมีพฤติกรรมรุนแรง ได้แก่
พฤติกรรมรุนแรงที่มีสาเหตุจากโรคทางจิต (functional causes) เช่น โรคจิตเภทชนิด หวาดระแวง โรคไบโพล่าร์ที่มีอาการแมเนียจนควบคุมตนเองไม่ได้ โรคจิตเนื่องจากภาวะเครียด ( brief reactive psychosis) ที่มีอาการประสาทหลอนหูแว่วสั่งให้ฆ่า การมีอาการหลงผิดกลัวคนจะมาทำร้ายอาจจะมีพฤติกรรม ก้าวร้าวรุนแรงได้ หรือการมีบุคลิกภาพแปรปรวนในลักษณะต่อต้านสังคมหุนหันพลันแล่นจะมีปฏิกิริยามากเกินไปต่อ ความเครียดจนควบคุมตนเองไม่ได้
พฤติกรรมรุนแรงที่มีสาเหตุจากความผิดปกติทางกาย (organic causes) เช่น พิษจากยา สาร เสพติด อาการขาดสารเสพติด โรคลมชัก หรือสมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างแรงจากการมีพยาธิสภาพทาง สมองทำให้ขาดการควบคุมอารมณ์
2) พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย (suicide behavior) มีสาเหตุหรือปัจจัยในการเกิดพฤติกรรม ได้แก่
โรคทางจิตเนื่องจากการปรับตัว (adjustment disorder) เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาชีวิตเช่น ปัญหาเรื่องความรักและชีวิตสมรส มีปัญหาโรคเรื้อรัง การงาน เศรษฐกิจ แล้วแก้ไขไม่ได้ รู้สึกไม่สบายใจมากขึ้นและมี อารมณ์เศร้า รู้สึกผิดหวัง รู้สึกหมดหนทาง ซึ่งผู้ป่วยที่ต้องเผชิญกับปัญหาชีวิตแล้วปรับตัวไม่ได้จึงมีอาการเศร้าหรือคบั ข้องใจที่รุนแรง สงผลให้มีความเสี่ยงสูงต่อการคิดฆ่าตัวตาย
โรคซึมเศร้า (major depressive disorder) ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการเศร้ารุนแรงมีอาการ ไม่สบายต่าง ๆ อย่างมากจะมีความรู้สึกทรมานคิดอยากตาย ยิ่งเศร้ามากความรู้สึกทุกข์ทรมานจะมีมาก และความคิด อยากตายจะรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะถ้ามีอาการหลงผิด เช่น รู้สึกผิดคิดว่าสมควรตาย ร่วมด้วย
โรคจิตเภท (schizophrenia) เป็นการเจ็บป่วยเรื้อรังทำให้มีความสามารถในการทำกิจกรรม ต่าง ๆ ลดลงจึงเกิดความรู้สึกไร้ค่า เบื่อหน่ายชีวิต สิ้นหวัง หรือพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในโรคจิตเภทที่เกิดจากการมี อารมณ์ซึมเศร้า หูแว่วได้ยินเสียงบอกให้ฆ่าตัวตายซ้ำ ๆ และหลงผิดมีความคิดว่าตนผิดบาปจึงมีอาการเศร้าอย่างมาก ก็มีโอกาสคิดฆ่าตัวตายได้สูงเช่นกัน
ติดสุราหรือยาเสพติด (alcohol dependence or substance dependence) ที่มีอาการ ซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้าร่วมด้วยผู้ป่วยจึงมีความรู้สึกด้อยค่า (low self-esteem) คิดฆ่าตัวตายเพราะคิดว่าตนเองไร้ ประโยชน์หรือรู้สึกเป็นภาระต่อครอบครัว
บุคลิกภาพผิดปกติ ( personality disorder) เช่น ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ borderline personality disorder ซึ่งมีความคิดหรือพฤติกรรมที่แสดงว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ มักมีปัญหาในการ ปรับตัว อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย รู้สึกเงียบเหงาและกลัวการถูกทอดทิ้ง และมีการควบคุมตนเองได้ต่ำ จึงมีความเสี่ยง ต่อการฆ่าตัวตายได้เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดหรือรู้สึกสูญเสีย
3) ภาวะสับสนเพ้อคลั่ง (delirium) มีสาเหตุหรือปัจจัยในการเกิดภาวะสับสนเพ้อคลั่ง ได้แก่
central nervous system disorder ประสบอุบัติเหตุกระทบกระเทือนสมอง ชัก ภาวะเลือต ไปเลี้ยงสมองน้อยผิดปกติ เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ภาวะช็อก หัวใจวาย ระบหายใจล้มเหลว ภาวะติดเชื้อ เนื้อสมองมีการอักเสบ และเยื้อหุ้มสมองอักเสบ
metabolic disorder เช่น โรคตับวาย ไตวาย ขาดวิตามีนบี การเสียสมดุลของเกลือแร่หรือ สมดุลกรด-ด่าง และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
endocrinopathy เช่น ภาวะฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ พาราไทรอยด์ต่ำหรือสูงกว่าปกติ ภาวะฮอร์โมนของต่อมใต้สมองต่ำกว่าปกติ
systemic lines อาการพิษจากการดื่มสุราและสารเสพตด การติดเชื้อ ระบบควบคุมอุณหภูมิผิดปกติ
และอาการขาดสุราและสารเสพตด
ยาที่เป็นสาเหตุของการเกิดอาการสับสนเพ้อคลั่ง เช่น antihistamine, atropine, thiazine, clozapine, tricyclic antidepressant, barbiturates, benzodiazepine
4) กลุ่มอาการหายใจถี่ (hyperventilation syndrome)
มีสาเหตุหรือปัจจัยในการเกิดกลุ่มอาการหายใจถี่ แม้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแต่ผู้ป่วยมักจะเริ่ม ตันมีการหายใจที่ผิดปกติ เมื่อถูกกระตุ้นโดยความเครียดและอารมณ์ท่วมท้น โดยสารสื่อประสาทชนิดกระตุ้น (excitatory neurotransmitter) จะส่งผลให้ระบบการหายใจใช้กล้ามเนื้อส่วนอกมากกว่ากระบังลม ผลคือทำให้ลม ค้างในปอดปริมาณมาก ทำให้ไม่สามารถหายใจได้ในปริมาตรของการหายใจปกติ ปริมาตรการหายใจในหนึ่งนาทีมี มากเกินไปและเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดต่ำ เมื่อหายใจต่อไปจึงรู้สึกหายใจไม่อิ่ม (dyspnea) รวมทั้งระบบการ รับรู้ตำแหน่งการเคลื่อนไหว (proprioceptors) ในปอดและผนังทรวงอก จะส่งสัญญาณไปที่สมองทำให้เกิดสัญญาณ เตือนเมื่อหายใจไม่ออก (suffocation alarm) ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทชนิดกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดอาการสั่น (tremor) ใจสั่น (palpitation) กังวล และเหงื่อออก (sweating) นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัย เสี่ยงของผู้ป่วยที่มีอาการhyperventilation syndrome นั้นมีแนวโน้มว่าในวัยเด็กพ่อแม่มักจะเลี้ยงดูแบบปกป้อง มากเกินไป (overprotection) มีบุคลิกภาพที่ทนต่อความเครียดได้น้อย เมื่อความเครียดเกิดขึ้นทันทีทันใดในตอนโตก็ จะเริ่มแสดงอาการ และผู้ป่วยมักมีแนวโน้มจะเพ่งความสนใจไปที่อาการทางกายที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทาง สรีรวิทยา ทำให้เกิดภาวะ hyperventilation syndrome ขึ้น
5) อาการแพนิค (panic attack disorders) มีสาเหตุหรือปัจจัยในการเกิดอาการแพนิค ได้แก่
พันธุกรรม พบว่า ญาติสนิทของผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงกว่าคนทั่วไป
ปัจจัยทางจิตใจ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 80 มีเหตุการณ์สำคัญในชีวิต เช่น การสูญเสีย การพรากจากบุคคลอันเป็นที่รักหรือการมีภาระรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ก่อนที่จะมีอาการนี้ครั้งแรก
การมีจุดอ่อนทางชีวภาพแฝงอยู่ จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาคลายกังวล (alprazolam) และยารักษาอาการซึมเศร้า (imipramine) สามารถลดความรุนแรงของอาการ แพนิคได้
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะจตเวชฉุกเฉิน
บทบาทของพยาบาลในการให้พยาบาลบุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน มีลักษณะตามการดำเนินงานในการ ดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้
1) การจำแนกผู้ป่วย (triage) เป็นกระบวนการประเมินและคัดกรองภาวะสุขภาพแบบองค์รวมอย่าง รวดเร็ว จากการสังเกตพฤติกรรมและอาการผิดปกติ สัมภาษณ์อาการสำคัญ สาเหตุที่นำมาหน่วยฉุกเฉิน ประวัติการ เจ็บป่วยในปัจจุบัน ในอดีต ประวัติทางกฎหมาย และปัจจัยกระตุ้นที่ก่อให้เกิดอาการในครั้งนี้ โดยข้อมูลอาจมาจาก ผู้ป่วย ญาติ หรือ ผู้นำส่ง เช่น เพื่อนบ้าน ตำรวจ และวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญๆที่สัมพันธ์กับอาการทางจิตที่นำผู้ป่วย มาโรงพยาบาลในเวลาสั้น ๆ ร่วมกับการตรวจสภาพจิต ตรวจร่างกาย และการตรวจพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อ ระบุประเภทและระดับความรุนแรงของปัญหาของผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะจิตเวชฉุกเฉินซึ่งสามารถแบ่งระดับความรุนแรง ของปัญหาได้ 5 ระดับ คือ ภาวะที่ต้องได้รับการบำบัดดูแลทันทีทันใด (immediate) ภาวะฉุกเฉิน (emergency) ภาวะรีบด่วน (urgent) ภาวะกึ่งรีบด่วน (semi-urgent) และภาวะไม่รีบด่วน (non-urgent) รวมถึงการระบุว่าความ ผิดปกติทางจิตเวชในปัจจุบันนั้นมีสาเหตุจากความผิดปกติทางกาย (organic causes) หรือทางจิต (functional causes) หรือมีสาเหตุจากปัญหาทางจิตสังคม เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจให้การช่วยเหลือตามสภาพปัญหา สาเหตุ และวางแผนการส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาอย่างต่อเนื่องที่ถูกต้องต่อไป
2) ให้การพยาบาลบำบัดดูแลระยะแรก (initial intervention) ตามความรุนแรงของปัญหาที่ประเมิน ได้เพื่อจัดการให้ผู้ป่วยปลอดภัยและอาการสงบลง (stabilize patient) โดยการช่วยเหลือด้านร่างกายให้พันขีด อันตรายก่อนเป็นอันดับแรกในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาทางกายร่วมด้วย ปกป้องชีวิตโดยการป้องกันการทำร้ายตนองและ ผู้อื่น ช่วยให้พฤติกรรมแปรปรวน เช่น พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงสงบลง ซึ่งรูปแบบการบำบัดดูแลตามลำดับความ รุนแรงของปัญหามีดังนี้
การช่วยเหลือผู้ป่วยทันทีทันใด (immediate) ผู้ป่วยที่ถูกประเมินว่าอยู่ในภาวะคุกคามชีวิต เป็น อันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น เช่น ผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตายมีอาการทางกาย พยายามทำร้ายตนเองหรือ ผู้อื่นมีอาวุธขณะเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน
หลักในการจัดการดูแลผู้ปวยกลุ่มนี้ คือ ให้การช่วยเหลือภาวะฉุกเฉินทางร่างกายให้พ้นขีด อันตรายก่อน โดยให้การรักษาที่จำเพาะตามอาการและสาเหตุ (ถ้าทราบ) สังเกตและให้การดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ตลอดเวลา เฝ้าระวังและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงทั้งอาการทางกายและอาการทางจิต โดยเฉพาะสัญญาณชีพ (vital signs) ระดับการรู้สติ (level of consciousness) ภาวะการรับรู้สิ่งแวดล้อม (orientation) ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ ปลอดภัยทั้งผู้ป่วย บุคลากร และบุคคลอื่น ถ้าจำเป็นต้องจำกัดพฤติกรมผู้ป่วยต้องคำนึงถึงความเป็นบุคคล และเลือก วิธีการที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย คำนึงถึงความพร้อมของทีมช่วยเหลือ ทั้งทีมบำ บัดรักษา ทีมรักษาความ ปลอดภัย รวมทั้งขอความช่วยเหลือจากตำรวจถ้าจำเป็น
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน (emergency) ต้องให้การดูแลภายใน 10 นาทีการช่วยเหลือ ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งจากการสังเกตจะพบว่าผู้ป่วยมีพฤติกรรมวุ่นวาย กระสับกระส่ายระดับรุนแรง มีพฤติกรรมกาวร้าวทั้งทางด้านร่างกาย
และคำพูดไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจรักษา มี พฤติกรรมข่มขู่ที่จะทำร้ายผู้อื่น มีความคิดและตั้งใจที่จะทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นทั้งผู้ที่มีการวางแผนการและไม่มี แผนการ
หลักในการจัดการดูแลผู้ปวยกลุ่มนี้ คือ สังเกดและให้การดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ให้
การรักษาเพื่อให้อาการสงบ เฝ้าระวังและมีการประเมินภาวะสุขภาพจิตและระดับความรุนแรงซ้ำ ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ ปลอดภัย จำกัดพฤติกรรมผู้ป่วย โดยคำนึงถึงความเป็นบุคคล และเลือกวิธีการผูกยึดมือจำเป็นเท่านั้น สังเกตอาการ อย่างใกล้ชิดคำนึงถึงความพร้อมทีมช่วยเหลือ ทีมบำบัดรักษา และที่มรักษาความปลอดภัย
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะรีบด่วน (urgent) ต้องให้การดูแลภายใน 30 นาที การช่วยเหลือผู้ป่วยที่ มีโอกาสหรือมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
ซึ่งจากการสังเกตจะพบว่าพบผู้ป่วยมีพฤติกรรม วุ่นวาย กระสับกระส่าย สับสน มีอาการทางจิต เช่น หูแว่ว หลงผิด มีความคิดหวาตระแวง หรือมีพฤติกรรมแปลกๆ
มี ความผิดปกติทางอารมณ์ มีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลรุนแรง อารมณ์รื่นเริงหรือหงุดหงิดมากผิดปกติ ลังเลใจที่จะ เข้ารับการบำบัดรักษา มีประวัติเคยมีความคิดฆ่าตัวตาย
หลักในการจัดการดูแลผู้ปวยกลุ่มนี้ คือ สังเกตและให้การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย ๆ ทุก 10 นาที เฝ้าระวังและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงสภาพจิต ให้การบำบัดเพื่อให้อาการสงบ หากประเมินระดับ ความรุนแรงซ้ำพบว่าผู้ป่วยมีพฤติกรรมผิดปกติเพิ่มขึ้น เช่น กระสับกระสำย วุ่นวาย ก้าวร้าว และมีความเครียด
เพิ่มขึ้น มีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลที่รุนแรงขึ้น มีอารมณ์รนเรงิ ผิดปกติไม่สามารถควบคุมตนเองมีแนวโน้มเสี่ยงตอ
การเป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่นเพิ่มขึ้น ก็ต้องเพิ่มระดับการดูแลเป็นระดับฉุกเฉินต่อไป
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะกึ่งรีบด่วน (semi-urgent) ให้การดูแลภายใน 60 นาที ผู้ปวยอยู่ในภาวะ เครียดไม่สุขสบาย (distress) หงุดหงิดง่ายแต่ไม่ก้าวร้าว ให้ความร่วมมือในการตรวจรักษา สามารถพูดหรือสื่อสารได้ ขัดเจน มีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลแต่ไม่มีความคิดฆ่าตัวตาย
หลักในการจัดการดูแลผู้ปวยกลุ่มนี้ คือ สังเกตและให้การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยทุก ๆ 30 นาทีให้การบำบัดเพื่อให้อาการสงบ ประเมินระดับความรุนแรงซ้ำ ถ้าพบว่าผู้ป่วยมีพฤติกรรมหงุดหงิด กระสับกระส่าย ไม่สบายใจ หรือหงุดหงิดเพิ่มมากขึ้น ก็ให้พิจารณาให้การพยาบาลที่เหมาะสมตามลำดับความรุนแรง ที่เพิ่มขึ้นต่อไป
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะไม่รีบด่วน (non-urgent) ให้การดูแลภายใน 120 นาที ผู้ป่วยอยู่ใน ภาวะเครียดหรือไม่สุขสบายเรื้อรั้ง(distress) มีประวัติโรคทางจิตเวชเรื้อรัง มีประวัติการเจ็บป่วยแน่ซัดแต่ไม่เป็น อันตรายต่อตนเองและผู้อื่นหรือมีปัญหาทางจิตสังคม เช่น ปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ปัญหาทางสังคม ยัง สามารถสื่อสารได้ดี ให้ความร่วมมือในการประเมินรักษา
หลักในการจัดการดูแลผู้ปวยกลุ่มนี้ คือ สังเกตและให้การดูแลผู้ป่วยอย่างน้อยทุก ๆ 60 นาที ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการตรวจร่างกายและตรวจสภาพจิตที่สำคัญ ๆ เช่น การตรวจทางระบบประสาท สัญญาณชีพ การรู้คิด และระบบอื่น ๆที่เกี่ยวข้องกับความไม่สุขสบายของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการผิดพลาดในการวินิจฉัยโรคทางกาย หรือโรคทางจิตอื่นที่อาจมีร่วมด้วย เมื่อผู้ป่วยมีอาการงบ ควรให้การบำบัดทางจิตสังคม เพื่อประคับประคองอารมณ์
และส่งสริมการปรับตัวของผู้ป่วย และประสานงานเพื่อส่งผู้ป่วยไปยังแผนกผู้ป่วยนอก หรือแหล่งบริการสาธารณสุขที่ เหมาะใกล้บ้านต่อไป
3) การประเมินและบำบัดต่อเนื่อง (continue with evaluation and intervention) เมื่อผู้ป่วย อาการสงบ พ้นภาวะที่จะเป็นอันตรายต่อตนองและผู้อื่น พ้นขีดอันตราย ควบคุมตนเองได้มากขึ้น และให้ความร่วมมือ ในการตรวจรักษา หรือถ้าผู้ป่วยยังไม่ให้ความร่วมมือ อาจประเมินข้อมูลต่าง ๆ จากญาติใกลัชิดที่นำผู้ป่วยมาส่ง โรงพยาบาล ซึ่งการประเมินผู้ป่วยซ้ำนี้ควรมีความครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เพื่อการวินิจฉัยแยก
โรค ระบุโรคที่เป็น สาเหตุหรือปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการครั้งนี้ รวมทั้งความพร้อมและแหล่งสนับสนุนท่ีผู้ปวยมีอย
แหล่งบริการสุขภาพและแหล่งเอื้อประโยชน์ในชุมชน เพื่อวางแผนการรักษาพยาบาลที่ต่อเนื่องและป้องกันการ กลับมามีอาการรุนแรงซ้ำ รวมทั้งส่งเสริมความสามารถในการปรับตัวต่อปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตปัจจุบัน ซึ่งขั้นตอนของ การประเมินเพื่อวินิจฉัยปัญหามีดังนี้
การสัมภาษณ์ โดยเฉพาะการสัมภาษณ์เพื่อการวินิจฉัยแยกโรคทางกายที่มีปัญหาพฤติกรรมออก จากโรคทางจิตเวช ควรสัมภาษณ์ประวัติการเจ็บป่วยทางกาย ทางจิตทั้งในปัจจุบันและอดีต ปัจจัยที่ก่อให้เกิด ความเครียดหรือความไม่สุขสบายในปัจจุบันที่อาจเป็นสาเหตุนำผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในครั้งนี้ การประเมินแรงจูงใจ และความร่วมมือในการรักษา แหล่งช่วยเหลือหรือระบบช่วยเหลือในปัจจุบัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสำคัญใน การวางแผนการดูแลผู้ป่วยต่อไป
การตรวจร่างกายซ้ำ โดยเฉพาะระบบที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมที่ผิดปกติใน ปัจจุบัน การตรวจสัญญาณชีพ การตรวจระบบประสาท (neurological examination) เช่น การตรวจสอบปฏิกริยา ตอบสนองของเอ็นกล้ามเนื้อ (tendon reflex) การตรวจลักษณะคอแข็ง (stiff neck) รวมทั้งการตรวจสอบทาง ห้องปฏิบัติการพื้นฐานเกี่ยวกับความผิดปกติของสารต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาทางจิตเวช เข่น การเสียสมดุล electrolytes, blood glucose level, calcium level, lithium level, alcohol level หร ื อตรวจสอบ drug intoxication ต่าง ๆ
การตรวจสภาพจิตทั่วไป จากการสังเกตและสื่อสารกับผู้ป่วยรวมทั้งการบำบัดในระยะฉุกเฉินและ เร่งด่วนที่ผ่านมา ทำให้ทราบความคิด พฤติกรรม อารมณ์และความสามารถในการสื่อสารของผู้ป่วยพอสมควร อาจ ต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติมในเรื่องการรับรู้และการรู้คิด (sensorium and cognition) ในผู้ป่วยทุกรายเพื่อเป็น ข้อมูลพื้นฐานในการแยกโรคทางจิตกับโรคทางกาย (functional vs organic) หรือผู้ป่วยจิตเวชที่มีโรคทางกายร่วม ด้วย
การวินิจฉัยและการวางแผนการบำบัด ผลจากการตรวจร่างกาย รวมทั้งการซักประวัติต่าง ๆ ช่วย
ในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้ เช่น ผู้ป่วยมีอาการทางจิตครั้งนี้เป็นครั้งแรก ไม่เคยมีประวัติเจ็บปวยทางจิตมาก่อน อายุ เกิน 45 ปีและความผิดปกติทางจิตเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดแสดงว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะมีอาาการทางจิตเนื่องจากโรค ทางกาย เป็นต้น นอกจากต้องแยกภาวะของโรคทางกายและโรคทางจิตเวชแล้ว ยังต้องสามารถระบุภาวะโรคทางจิต เวชหรือสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาฉุกเฉินทางจิตเวชให้ได้ เช่น ผู้ป่วยที่เข้ารักษาเนื่องจากพยายามฆ่าตัวตาย แต่สาเหตุ ของการฆ่าตัวตายต่างกัน บางรายเกิดจากเมื่อประสบเหตุการณ์ที่ที่ทำให้คับข้องใจแล้วมีพฤติกรรมพลันแล่น (impulsive) บางรายมีสาเหตุจากโรคซึมเศร้ารู้สึกผิดรู้สึกหมดหวัง หรือเป็นโรคจิตเภทที่มีเสียงแว่วหรือประสาท หลอนสั่งให้ทำร้ายตนเอง หรือมีความทุกข์ใจจากปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต ซึ่งสาเหตุของปัญหาที่ต่างกันนี้จะมีผลให้
รูปแบบการบำบัดรักษาต่างกันตามโรคที่เป็น หรือตามปัจจัยสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหานั้น ๆ ดังนั้นหลังจากผู้ป่วย อาการสงบลงจึงต้องมีการประเมินผู้ป่วยอย่างครอบคลุมอีกครั้งหนึ่งโดยเพาะปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการที่นำผู้ป่วยมา โรงพยาบาล เพื่อวางแผนบำบัดดูแลผู้ปวยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป
4) การจำหน่ายหรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังหน่วยบำบัดอื่น (discharge or refer patient) เมื่อผู้ป่วยอาการ ดีขึ้นและมีการประเมินซ้ำแล้ว อาจพิจารณาให้ผู้ปวยกลับบ้านหรือส่งต่อไปรักษาที่หน่วยอื่น เช่น ส่งไปรักษาที่แผนก ผู้ป่วยนอกต่อไป หรือส่งปรึกษาแผนกอายุรศาสตร์ถ้าสงสัยหรือประเมินได้ว่าผู้ป่วยมีอาการทางจิตเนื่องจากภาวะ ผิดปกติทางกาย หรือถ้าผู้ป่วยยังมีอาการไม่คงที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น ยังต้องการการดูแล อย่างใกล้ชิดก็ส่งต่อเข้ารักษาแผนกผู้ป่วยใน โดยจะต้องมีการรายงานถึงสิ่งทีประเมินหรือตรวพบ การวินิจฉัยโรค ข้อ วินิจฉัยปัญหา การบัดรักษาที่ให้ไปแล้ว และสภาวะผู้ป่วยก่อนการส่งต่อ
2.2 การบำบัดรักษาของภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
ที่พบบ่อย
1) พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior) การบำบัดช่วยเหลือ ได้แก่
สิ่งที่ควรคำนึงอันดับแรก คือ ความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยอื่น ญาติ และบุคลากรทุกคน โดยประเมินความเสี่ยงเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจากประวัติอาการสำคัญที่นำผู้ป่วยมาโรงพยาบาล การสังเกตสีหน้า ท่าทาง การแสดงออก กระวนกระวายฉุนเฉียว ควบคุมตนเองไม่ได้มีแนวโน้มแสดงพฤติกรรมรุนแรง การประเมิน ระดับความรุนแรงและให้การบำบัดดูแลตามลำดับ ดังนี้
การป้องกันการเกิดพฤติกรรมรุนแรง (violence precautions) โดยพยาบาลต้องสร้าง สัมพันธภาพกับผู้ป่วยแสดงท่าที่เป็นมิตร สงบ พร้อมที่จะช่วยเหลือ ไม่คุกคามผู้ป่วย อยู่ในระยะห่างที่พอเหมาะคือ อย่างน้อยประมาณ 3 ฟุต หรือ 1 ช่วงแขน เพื่อไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัดที่ต้องอยู่ใกล้ชิดเกินไป และพยาบาลสามารถ หลบหลีกได้ทันทีถ้าผู้ป่วยจะทำร้าย การจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสิ่งกระตุ้นน้อยที่สุดและปลอดภัยเปิดโอกาส ให้ผู้ป่วยระบายอารมณ์ความรู้สึกและใช้คำพูดแสดงการรับรู้และเข้าใจในปัญหาหรือสถานการณ์ของผู้ป่วย เสนอการ ช่วยเหลือ ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย เช่น อหาร น้ำ และการขับถ่ายปัสสาวะ เป็นต้น พร้อมทั้งให้ข้อมูลที่เป็น จริงในการจำกัดพฤติกรรม (limit setting) ว่าผู้ป่วยต้องควบคุมตนเองให้มากขึ้น ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตนเองได้ พยาบาลจำเป็นต้องจำกัดหรือควบคุมพฤติกรรมผู้ป่วยเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและผู้อื่น และขอตรวจรางกาย
และสิ่งของส่วนตัวของผู้ป่วยที่อาจนำมาใช้เป็นอาวุธได้ โดยทีมเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญในการป้องกันและควบคุม พฤติกรรมรุนแรง หรืออาจต้องพึ่งตำรวจถ้าผู้ป่วยมีอาวุธร้ายแรง เช่น ปืน รวมทั้งการให้ยาตามแผนการรักษาเพื่อให้ อาการสงบลง
การควบคุมพฤติกรรมรุนแรง (violence control) ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตนเองได้มีท่าที
ที่จะต่อสู้หรือจะทำร้ายร่างกายผู้อื่น พยาบาลต้องแจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่าจำเปนต้องควบคุมพฤติกรรมของผู้ป่วยโดยการ
ย้ายผู้ป่วยไว้ในห้องแยก จับและผูกยึด และให้ยาเพื่อสงบอาการตามคำสั่งการรักษา ในการควบคุมพฤติกรรมผู้ป่วย ต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบเหตุผลที่ต้องปฏิบัติและวิธีการปฏิบัติ ขณะควบคุมพฤติกรรมต้องสังเกตและ
ประเมินสัญญาณชีพเป็นระยะ ๆ ดูแลเรื่องความต้องการพื้นฐานด้านร่างกายและดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรกษา ซึ่งวิธีการปฏิบัติเพื่อควบคุมพฤติกรรมรุนแรงมีดังนี้
1) การแยกหรือจำกัดบริเวณ (seclusion) เพื่อลดการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมทำให้อาการ
สงบลงและป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยทำร้ายผู้อื่นด้วยการจำกัดบริวณ ต้องดูแลความเรียบร้อยจัดเตรียมให้ผู้ป่วยไดอยู่ในห้อง
หรือส่วนหนึ่งของห้องที่สงบปลอดภัย มีอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ทีจำเป็น ไม่มีอุปกรณ์ที่สามารถนำมาทำร้ายผู้อื่นได้
2) การผูกมัด (physical restraints) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีพฤติกรรมรุนแรงมากมีแนวโน้มที่จะ ทำร้ายผู้อื่นและตนเองจะต้องมีการตรียมบุคลากรที่เพียงพออย่างน้อย 5-6 คน ในการจับยึดและผูกมัด แบ่งเป็นจับ แขน 2 คน จับขา 2 คน และประคองศรีษะและไหล่ 1 คน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุบริเวณศีรษะและดูแลการหายใจ ควร ผูกยืดผู้ป่วยในสถานที่ที่มีความเป็นส่วนตัวแยกจากผู้ป่วยอื่น ควรให้ปมผูกมัดอยู่ห่างจากการเอื้อมของผู้ป่วย ดูแล สภาพผิวหนังบริเวณที่ผูกยึดมีการคลายปมเป็นระยะ ๆ และต้องแก้การผูกยึดทันทีที่ประเมินแล้วว่าผู้ป่วยอาการสงบ ลง รับรู้และควบคุมตนเองได้
3) การใช้ยาควบคุมอาการ (medication) ก่อนการให้ยา ต้องมีการประเมินผู้ป่วยทุกครั้งว่า เป็นอาการทางจิตหรือไม่ เพราะผู้ที่อาละวาดมีพฤติกรรมรุนแรงอาจไม่ใช่ผู้ป่วยจิตเวชก็ได้ เช่น อันธพาลหรือคนที่ไม่มี วุฒิภาวะทางอารมณ์ หุนหันพลันแล่น โกรธง่าย แก้ปัญหาโดยทำร้ายคน ทำลายข้าวของ ซึ่งอาจต้องใช้วิธีควบคุม พฤติกรรมและส่งให้ตำรวจดูแลต่อไป ถ้าเป็นผู้ป่วยจิตเวชก็ต้องประเมินว่ามีสาเหตุทางจิตใจ ( functional causes) หรือโรคที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของกาย (organic cause) ซึ่งการทราบถึงสาเหตุหรือโรคที่นำมาสู่พฤติกรรม ก้าวร้าวก็จะมีผลต่อการเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับ สาเหตุ อาการ
การประเมินและวางแผนการดูแลต่อเนื่อง ภายหลังการควบคุมพฤติกรรมของผู้ป่วยได้แล้ว ถ้า ผู้ป่วยยังมีอาการทางจิตรุนแรง และต้องควบคุมอาการในเวลาเร่งด่วน (rapid method)แพทย์จะให้ antipsychotic
drugในกลุ่ม high potency สำหรับฉีดเข้ากล้ม ทุก ๆ 30-60 นาที่จนกว่าจะประเมินว่าผู้ป่วยอาการสงบลงจะหยดยา
ฉีดและให้เป็นชนิดรับประทานแทน แต่ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาป่วยทางกาย มีอาการเพ้อ หรือสูงอายุ แพทย์อาจให้ diazepam ฉีดเข้ากล้ามหรือเข้าหลอดเลือดแทน ภายหลังการให้ยาต้องตรวจสอบอาการผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ ตรวจ สัญญาณชีพ และภาวะไม่สุขสบาย หรืออาการผิดปกติทางกายต่าง ๆที่อาจเกิดจากฤทธิ์ข้างเคียงของยารักษาโรคทาง จิตเวช เช่น ผู้ป่วยมีอาการกระวนกระวายมากขึ้น กล้ามเนื้อเกร็ง ปัสสาวะคั่ง ความดันโลหิตต่ำในลักษณะ postural hypotension ต้องให้การบำบัดดูแลเพื่อลดความไม่สุขสบายป้องกันอันตรายที่เกิดจากอาการของเคียง รวมทั้ง
อุบัติเหตุที่อาจเกิดจากอาการงน
งงและภาวะความดน
โลหิตต่ำ ต้องดูแลความตอ
งการพื้นฐานทางกาย เช่น การรักษาส
ดุลของน้ำและเกลือแร่ และให้การบำบัดดูแลถ้ามีโรคทางกายร่วมด้วย เมื่อประเมินพบว่าผู้ป่วยมีปัจจัยที่ก่อให้เกิด
ความเครียดซึ่งกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงก็ต้องให้จิตบำบัดแบบประคับประคองเพื่อลดปัญหาทางอารมณ์ และ ส่งเสริมวิธีการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์แทนพฤติกรรมก้าวร้าวทำลายสิ่งของหรือทำร้ายผู้อื่น และเมื่อจัดการภาวะ ฉุกเฉินหรือเร่งด่วนแล้ว แพทย์จะประเมินเพื่อวินิจฉัยแยกโรคว่าผู้ป่วยป่วยเป็นโรคอะไร เพื่อสามารถให้การบำบัดด้วย ยาและวางแผนการรักษาระยะยาวได้เหมาะสมกับภาวะโรค รวมทั้งการนัดติดตามแบบผู้ป่วยนอก และเตรียมญาติใน การดูแลผู้ป่วยที่บ้านต่อไป แต่ถ้าประเมินแล้วพบว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรงขึ้นอีก ต้องการปรับยาหรือให้ ยาในปริมาณที่สูงต่อไป ก็อาจพิจารณารับผู้ป่วยเข้ารักษาแบบผู้ป่วยในต่อไป
2) พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย (suicide behavior) การบำบัดช่วยเหลือ ได้แก่
การรักษาทางกายเป็นอันดับแรก (management of medical surgical consequences of suicide attempt) สำหรับผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตายมาก่อนเข้ารับการรักษา เช่น ถ้ากินยาหรือสารเคมีมาให้การล้าง ท้อง ให้ยาแก้พิษ รวมทั้งการบำบัดดูแลภาวะแทรกซ้อนจากยาหรือสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองหรือ อักเสบในระบบทางเดินอาหาร กดศูนย์ควบคุมการหายใจ เป็นต้น หรือส่งไปบำบัดรักษาทางศลยกรรมถ้าเกิดบาดแผล และเสียเลือดมาก
การป้องกันและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายซ้ำ (suicide precautions) พยาบาลต้องพยายามไมใ่ ห้ ผู้ป่วยฆ่าตัวตายซ้ำขณะรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลทั้งในห้องฉุกเฉินและ/หรือในหอผู้ป่วยใน โดยจัดที่พักให้มีความ ปลอดภัย ระวังวัสดุอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยสามารถใช้เพื่อทำร้ายตนเอง เช่น ขวดแก้ว ผ้าหรือเครื่องมือผูกยึด และตู้ยาไม่ให้ อยู่ใกล้ผู้ป่วย ไม่ควรให้ผู้ป่วยนอนใกล้หน้าต่าง จัดให้มีบุคลากรหรือญาติสังเกตอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง
การประเมินและวางแผนการดูแลต่อเนื่อง การประเมินสาเหตุของการฆ่าตัวตายและประเมิน ความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายซ้ำ จะต้องประเมินว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยมีความคิดฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัว ตายเพราะหตุใด เช่น เกิดจากโรคซึมเศร้าทำให้รู้สึกทุกข์ทรมานจากอาการของโรค โรคจิตเภทที่มีรู้สึกผิดบาปมี ความคิดว่าตนสมควรตาย หรือเกิดจากภาวะปรับตัวผิดปกติมีอาการซึมเศร้าเนื่องจากสูญเสียบุคคลสำคัญ หย่าร้าง ตกงาน มีปัญหาการเงิน รู้สึกขาดที่พึ่ง หมดหนทาง การทราบปัจจัยนำจะมีประโยชน์ในการวางแผนการบำบัดที่
เหมาะสมต่อไป เช่น หากผู้ป่วยเป็นโรคทางจิตเวชจำเป็นตองรักษาดวยยาทางจิตเวช ผู้ป่วยที่ฆ่าตัวตายเนื่องจากภาวะ
ปรับตัวผิดปกติจำเป็นต้องได้รับการบำบัดทางจิตสังคมอาจต้องให้การบำบัดภาวะวิกฤติ (crisis intervention) โดย พยาบาลต้องมีทัศนคติที่เป็นกลาง เข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย ให้โอกาสผู้ป่วยได้ระบายความทุกข์หรือความคับแค้นใจ ประคับประคองอารมณ์ ประเมินปัญหาหรือความต้องการในปัจจุบันทั้งทางร่างกาย จิตใจและสังคม เพื่อให้การ ตอบสนองช่วยเหลือที่ตรงกับความต้องการ ถ้าผู้ป่วยรู้สึกหมดหวัง ให้ค้นหาสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เช่น ลูก ครอบครัว ศาสนา เพื่อเป็นกำลังใจส่งเสริมให้คุณค่าตนเอง และให้การปรึกษา ให้ข้อมูล คำแนะนำ เพื่อให้ผู้ป่วยเห็นช่องทางใน
การแก้ปัญหา ใช้วิธีการเผชิญปัญหาที่เหมาะสมตอสถานการณ์ขณะนั้น หรือเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับปัญหาใหม่ ยอมรับ
สถานการณ์ที่เป็นปัญหาได้มากขึ้น มีความหวังมากขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยมีภาวะอารมณ์ที่สมดุลขึ้น เมื่อผู้ป่วยอาการสงบ สามารถกลับไปบ้านได้ต้องส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับบริการต่อเนื่องที่แผนกผู้ป่วยนอกหรือได้รับบริการเยี่ยมบ้านเพื่อ ติดตามประเมินผู้ป่วยเป็นระยะ ๆอย่างน้อย 6-12 เตือน เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายซ้ำและให้การบำบัดทางจิตสังคม
ต่อเนื่อง ถ้าผู้ป่วยยังคงมีความเครียดหรืออาการซึมเศร้าสูงไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสรมให้
ครอบครัวมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ป่วย รวมทั้งหาแหล่งช่วยเหลือหรือสนับสนุนหางสังคมที่จำเป็น แต่เน่ืองจาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีปัญหาทั้งทางด้านจิตสังคมและจิตเวชจึงต้องได้รับการบำบัดทั้งทางยาและจิตสังคมบำบัดร่วมกัน
และในการตัดสินใจว่าจะให้ผู้ป่วยกลับบ้านรักษาแบบผู้ป่วยนอกหรือรักษาแบบผู้ป่วยใน ต้องคำนึงถึงการป้องกัน ความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะฆ่าตัวตายซ้ำ ความจำเป็นต้องบำบัดด้วยยาหรือรักษาด้วยไฟฟ้า ปัญหาสุขภาพกายรุนแรงที่ต้อง
รักษาทางอายุรศาสตร์หรือศัลยศาสตร์ต่อ ความต้องการสังเกตอาการเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถวินิจฉัยโรคได้ถกต้อง
ความต้องการปรับขนาดและชนิดของยา และการไม่สามารถดูแลสุขภาพและสุขอนามัยส่วนตัวได้ ในกรณีที่ผู้ปวยได้ก ลับไปรักษาตัวที่บ้าน ผู้บำบัดควรสนทนากับผู้ป่วยเพื่อเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาและป้องกันการฆ่าตัวตาย ซ้ำ โดยผู้ป่วยและญาติต้องบอกได้ถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยคิดฆาตัวตายหรือพยายามฆตัวตาย วิธีการแก้ไขปัญหา นั้น ๆ วิธีการลดวามเครียดและความคิดฆ่าตัวตาย การรับประทานยาตามแผนการรักษา การแก้ไขอาการไม่พึง ประสงค์ของยา แนะนำญาติในการจัดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย ลดโอกาสทำร้ายตนเอง รวมทั้งวิธีสังเกตความ เปลี่ยนแปลงและภาวะเสี่ยงต่อการคิดฆ่าตัวตายซ้ำ บอกถึงแหล่งบริการและวิธีติดต่อกับบุคลากรสุขภาพในกรณีที่มีห ตุฉุกเฉิน และให้ความสำคัญของการมาตรจตามนัดและการมติดตามการรักษา
3) ภาวะสับสนเพ้อคลั่ง (delirium) การบำบัดช่วยเหลือ ได้แก่ เนื่องจากผู้ป่วยที่มีอาการสับสนและหวาดกลัวจากอาการประสาทหลอน อันอาจเป็นอันตรายต่อ
ตนเองและผู้อื่นได้ หลักสำคัญในการช่วยเหลือ คือ กรป้องกันอันตราย หรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้
การบำบัดรักษาด้วยยา ที่นิยมใช้ antipsychotics drug ได้แก่ haloperidol ในการรักษาผู้ป่วย delirium ที่มีอาการวุ่นวาย และนิยมใช้ benzodiazepine แทน antipsychotic drug ในการรักษาอาการ delirium จาก alcohol withdrawal
การบำบัดด้านสิ่งแวดล้อม
1) การผูกยึด (restrain) เนื่องจากผู้ป่วย delirium มักมีอาการสับสนวุ่นวายเกิดขึ้นเป็น ช่วงๆโดยที่ไม่สามารถทำนายได้ ผู้ป่วยอาจทำรา้ ยตัวเองและผู้อื่น อาจไต้รับบาตเจ็บจากการตกเตียง ดึงสายน้ำเกลือ จึงจำเป็นต้องผูกผู้ป่วยไว้กับเตียง อย่างไรก็ตามถ้าผู้ป่วยอาการตีขึ้นควรหยุดใช้วิธีผูกยึด
2) การส่งเสริมการรับรู้สิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง (orientation) ควรบอกให้ผู้ป่วยทราบวัน เวลา
และสถานที่เป็นระยะๆ
3) ควรให้ผู้ป่วยอยู่ในที่ ที่มแ
สงสว่างอย่างเพียงพอ มีเสียงบ้างพอสมควร
4) เมื่อผู้ป่วยหายจากอาการแล้ว ควรอธิบายให้ผู้ปวยเข้าใจถึงพฤติกรรมแปลกๆวาเกด อย่างไร และอาการดงั กล่าวสามารถรักษาให้หายได้
ขึ้นได
5) อธิบายถึงภาวะ delirium ให้สมาชิกในครอบครัวทราบว่าภาวะนี้เป็นอย่างไรเพื่อลด ความกังวลของสมาชิกในครอบครัว
การประเมินและวางแผนการดูแลต่อเนื่อง เนื่องจากสาเหตุของการเกิดอาการสับสนเพ้อคลัง มีหลายสาเหตุ ดังนั้นจึงควรมีการซักประวัติและตรวจร่างกาย เช่น ตรวจ vital sign ตรวจร่างกายระบบต่างๆ โดยเฉพาะทางระบบประสาท มีการตรวจสภาพจิตซ้ำเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัวในช่วงเวลา ต่างๆ ของวัน (orientation) ความจำระยะสั้น กรับรู้ทางการมองเห็น กลิ่น รส สัมผัส สภาวะอารมณ์มีการ เปลี่ยนแปลงง่ายหรือไม่เชาวน์ปัญญาบกพร่องไปจากเดิมหรือไม่ ร่วมกับการตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น ประเมินภาวะสมดุล ของสารน้ำ เกลือแร่ และสารต่างๆที่มีผลต่ออาการทางจิตเวชและระบบประสาท (neuropsychiatric symptoms)
เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ว่าภาวะสับสนเพ้อคลัง เกิดจากความผิดปกติระบบใดและจะได้ให้การรก หรือส่งต่อไปรักษายังแผนกต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วต่อไป
ษาตรงสาหต
4) กลุ่มอาการหายใจถี่ (hyperventilation syndrome) การบำบัดช่วยเหลือ ไดแก่
ให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วย (reassurance) ว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีอันตรายถึงชั้นเสียชีวิตเพื่อ ลดระดับความกังวลและกลัวของผู้ป่วย
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าอาการและความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเกิดจากการหายใจเร็วกว่า ปกติหรือหายใจถี่ โดยให้ผู้ป่วยลองหายใจเร็วขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้กลไกการเกิดอาการว่าหากหายใจเร็วขึ้น แล้วจะพบว่าจะเกิดอาการขึ้น ความเข้าใจในอาการและเกิดความร่วมมือในการบำบัดรักษาของผู้ป่วยซึ่งจะทำให้การ บำบัดรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
ช่วยให้ผู้ป่วยสงบและผ่อนคลาย ด้วยการจำกัดปัจจัยกระตุ้น ใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจเมื่อ เกิดอาการ สนับสนุนให้ผู้ป่วยเกิดการควบคุมตนเอง (self-control) ช่วงที่เกิดอาการ hyperventilation syndrome
ช่วยลดอาการหายใจไม่อิ่มของผู้ป่วยให้ดีขึ้นโดย
1) อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าอาการหอบเกิดจากการหายใจเร็วกว่าปกติ ทำให้ระดับ คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดลดต่ำลง การกลั้นหายใจ การให้ผู้ป่วยหายใจในถุงกระดาษเจาะรูขนาด 0.5 -1.0 เซนติเมตร หรือครอบ mask แต่ไม่เปิดให้ออกซิเจน จะช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้นเพราะทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซดใ์ น เลือดกลับมาปกติ ซึ่งจะช่วยลดภาวะเลือดเป็นด่างอาการหอบจะลดลงภายใน 10-15 นาที แต่ก็อาจจะทำให้เกิดภาวะ hypoxemia และผลแทรกซ้อนตามมาได้ ดังนั้นหากจะใช้วิธีนี้จะต้องแน่ใจก่อนว่าผู้ป่วยไม่เคยมีปัญหา hypoxia
2) สอนให้ผู้ป่วยหายใจในอัตราที่ปกติ (breathing exercise) โดยเน้นให้ผู้ป่วยตระหนักถึง รูปแบบการหายใจและวิธีการหายใจให้กลับมาปกติเมื่อมีอาการ วิธีการคือให้ผู้ป่วยหายใจโดยใช้กระบังลมมากกว่า การหายใจโดยใช้ทรวงอก การหายใจโดยใช้กระบังลมจะช่วยลดอัตราการหายใจ ทำให้อาการหายใจไม่อิ่มดีขึ้นในที่สุด แต่ถ้าผู้ป่วยทำไม่สำเร็จอาจดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาช่วยรักษาตามแผนการรักษา
กรณีที่อาการหายใจไม่อิ่มของผู้ป่วยไม่ดีขึ้นภายใน 15-30 นาที แพทย์อาจพิจารณาให้ยา คลายกังวลรับประทาน หรือฉีด(ถ้ารับประทานไม่ได้) เช่น diazepam 10 มิลลิกรัมเข้าเส้นเสือดดำช้า ๆ หรือหากผู้ที่ มีอาการชักเกร็ง แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาโดยให้ 10% calcium gluconate 10 ซีซี (1 กรัม) ฉีดเข้าหลอด เลือดดำช้า ๆ ซึ่งอาการมือจีบจะหายไป
กรณีผู้ป่วยมีความเครียดซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นของอาการหายใจไม่อิ่ม แพทย์อาจพิจารณาให้ยา benzodiazepine ขนาดต่ำ ๆ เช่น diazepam 2-5 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อลดความเครียดซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นและช่วย ปรับการตอบสนองของระบบประสาทส่วนกลางต่อ panicogens (สารที่กระตุ้นทำให้เกิดอาการ panic)
กรณีผู้ป่วยมีความถี่และความรุนแรงของอาการหายใจไม่อิ่ม แพทย์อาจพิจารณาให้ยากลุ่ม
selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) เพื่อช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการ
สอนการผ่อนคลายด้วยวิธีต่าง ๆ (relaxation techniques) เช่น การคลายกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ทีละส่วน (progressive muscle relaxation), การทำสมาธิ (meditation), การฝึกสติ (mindfulness practices) และการฝึกคุมจิต (autogenic training)
ให้ความรู้และการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยหรือทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติ ในการ แก้ไขสาเหตุของความตึงเครียดซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการ เช่น การฝึกทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและการ จัดการกับความเครียด ถ้าอาการเป็นๆ หายๆ ควรส่งผู้ป่วยไปปรึกษาจิตแพทย์
ควรส่งต่อจิตแพทย์ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะทางจิตเวชร่วมด้วยหรือรักษาตามมาตรฐานแล้ว อาการไม่ดีขึ้น อาการคงอยู่เป็น ๆ หาย ๆ
5) อาการแพนิค (panic attack disorders) การบำบัดช่วยเหลือ ได้แก่
สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้ป่วย เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความคิดและความรู้สึก ซัก ประวัติเพื่อรวบรวมข้อมูลด้านภาวะสุขภาพจิต สาเหตุ ปัจจัยส่งเสริม ตลอดจนการรักษาที่เคยได้รับ
ใช้หลัn therapeutic communication ให้กำลังใจและประคับประคองจิตใจ แสดงความใส่ ใจสัมผัสร่างกายผู้ป่วยตามความเหมาะสม เพื่อทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย
แยกผู้ป่วยออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดอาการ โดยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปอยู่ที่สงบ
ให้ยาตามแผนการรักษา ถ้ามีอาการกังวลมากผู้ป่วยจะได้รับยาคลายความวิตกกังวล หรือยา พวก antidepressant แต่ถ้ามีอาการหวาดระแวงหรืออาการอื่นของโรคจิต ก็ผู้ป่วยจะได้รับยาต้านอาการทางจิต
ให้ความรู้และการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติ แก้ไขสาเหตุ ความตึงเครียด เช่น การฝึกทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ และการจัดการกับความเครียด ถ้าอาการเป็นๆหายๆ บ่อยๆควรส่งผู้ป่วยพบจิตแพทย์
6) อาการพิษจากสารเสพตด บำบัดช่วยเหลือ ได้แก่
และอาการขาดสาร (substance intoxication and withdrawal) การ
วัดและบันทึกสัญญาณชีพ (vital signs) สัญญาณประสาท (neuro signs) จนกว่าผู้ป่วยจะดี ขึ้น หมดภาวะพิษจากสารเสพติดและอาการขาตสารเสพติด
ตรวจสอบทางเดินหายใจ (clear airway) อาจต้องให้ออกซิเจนและใช้เครื่องช่วยหายใจเมื่อ หมดสติ หรือมีปัญหาระบบทางเดินหายใจและระวังการสำลักซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการปอดบวมได้
เฝ้าระวังอันตรายจากพฤติกรรมรุนแรง แอะอะ ก้าวร้าว เพ้อ หรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยอาจได้รับ antipsychotic drug และ/หรือ antianxiety drug เพื่อให้อาการทางจิตสงบลง
ให้การรักษาทางกาย เช่น ให้สารน้ำ เกลือแร่ กลูโคส วิตามิน โดยเฉพาะวิตามินบี 1 ในผู้ป่วย ดื่มแอลกอฮอล์เรื้อรังทางหลอดเลือดดำ เมื่อพบว่าขาดน้ำ สารอาหาร และการเสียสมดุลของเกลือแร่
ใช้ยา antidote เช่น narcane (narloxone) ในรายที่ได้สารพวกฝิ่นหรืออนุพันธ์ของฝิ่น
(เฮโรอีน) เกินขนาด
กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการชัก ผู้ป่วยจะได้รับยาแก้ชัก เช่น ให้ valium ฉีดเข้าหลอดเลือดดำช้าๆ
และอาจให้ยาซ้ำได้ ถ้าจำเป็นผู้ป่วยอาจได้รับยากันชักฉีดเข้ากล้ามหรือชนิดรับประทานต่อไป
กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการท้องเสียมาก ผู้ป่วยจะได้รับยาแก้ท้องเสียและให้การบำบัดดูแลอาการ ทางกายอื่นๆ เซ่น เหงื่อออก คลื่นไส้ อาเจียน
ให้การปรึกษาเพื่อประคับประคองผู้ป่วยในการปรับตัวกับปัญหาในปัจจุบัน
ส่งปรึกษาจิตแพทยเ์ พื่อรักษาภาวะตด
สารเสพตด
และอาการทางจิตเนื่องจากการใช้สารเสพตด
และ/หรือปรึกษาแพทย์ทางอายุรศาสตร์เพื่อรักษาโรคแทรกซ้อนทางกาย ช่น โรคตับ โรคกระเพาะ โรคในระบบ หายใจและหัวใจ เนื่องจากการใช้สุราและสารเสพติดเป็นเวลานานและปริมาณมาก ก่อให้กิตความสียหายในระบบ ต่างๆ ดังกล่าวได้
สรุป
ผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดในแผนกจิตเวชฉุกเฉิน คือ ผู้ป่วยที่มีความแปรปรวนด้านความคิด อารมณ์แปรปรวน และพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันและรุนแรง จนอาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือเกิดความเสียหาย ต่อทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่นได้ ซึ่งอาการและอาการแสดงที่มักนำให้ผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาในหน่วยจิตเวช ฉุกเฉินที่พบบ่อย ได้แก่ พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior) พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย (suicide behavior) ภาวะ สับสนเพ้อคลั่ง (delirium) กลุ่มอาการหายใจถี่ (hyperventilation syndrome) อาการแพนิค (panic attack disorders) และอาการพิษจากสารเสพติดและอาการขาดสาร (substance intoxication and withdrawal) ซึ่งหาก ไม่สามารถแก้ไขหรือควบคุม อาการและอาการแสดงเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นพยาบาลจึงต้องมี ความรู้และความเข้าใจในการประเมิน ระบุ และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และตัดสินใจในการบำบัดช่วยเหลือ ได้อย่างรวดเร็วเหมาะสมทั้งปัญหาทางกาย ปัญหาทางจิต และพฤติกรรม เพื่อให้อาการสงบหรือควบคุมอาการได้เพื่อ การดูแลต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพ เตรียมความพร้อมในการจำหน่ายหรือส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดดูแลที่เหมาะสม ต่อไป