Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิต ภาวะออทิซึมสเปกตรั…
บทที่ 4
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิต
ภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดง
ความหมาย
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การสื่อสารร่วมกับความผิดปกติของพฤติกรรม และความสนใจหมกหมุ่นในบางเรื่อง มี พฤติกรรมซ้ำๆ ซึ่งแสดงอาการในระยะต้นของพัฒนาการ
1.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะออทิซึมสเปกตรัม ลักษณะภายนอกของเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมนั้นจะมีลักษณะเหมือนกับเด็กปกติทั่วไป แต่เด็กจะ
มีพฤติกรรมที่แตกต่างจากเด็กปกติทั่วไป โดยจะแสดงอาการต่างๆ ก่อนอายุ 36 เดือนแต่จะไม่ชัดเจน และจะค่อยๆ ปรากฏอาการให้เห็นในระยะต้นๆ ของการพัฒนาการในวัยเด็กตอนต้น ทำให้มีความบกพร่องในการทำหน้าที่ใน
ชีวิตประจำวัน ความบกพร่องทางสังคม การทำงาน หรือการทำหน้าที่อื่นๆ โดยอาการดังกล่าวไม่ใช่เกิดจากภาวะ บกพร่องทางสติปัญญาหรือพัฒนาการล่าช้าทั้งหมด โดยจะพบอาการดังนี้
1) มีความบกพร่องด้านการสื่อสารและด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม หลายบริบทได้แก่
มีความผิดปกติทางอารมณ์และทางสังคม เช่น ไม่สามารถตอบสนองปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับ บุคคลอื่นได้, ไม่มีการสบสายตา, ไม่มีการแสดงออกทางสีหน้ากิริยาท่าทางที่ประกอบการเข้าสังคม, ไม่สามารถแสดง ความสนใจมีอารมณ์หรือแสดงความรู้สึกร่วมกับผู้อื่น, แสดงพฤติกรรมไม่รู้ร้อนรู้หนาวและไม่รู้จักหลีกเลี่ยงอันตราย ต่างๆ
มีความบกพร่องด้านการสื่อสาร เช่น ไม่สามารถผสมผสานระหว่างการสื่อสารแบบวัจนภาษา กับอวัจนภาษาหรือมีความบกพร่องในการเข้าใจภาษาและการใช้ภาษากายในการสื่อสาร, ไม่มีการแสดงออกทางสี หน้าท่าทางหรือการใช้น้ำเสียง, ไม่มีการสบสายตา, ไม่ชี้บอก, ไม่หันตามเสียงเรียกจากบุคคลอื่น รวมทั้งมีความ ผิดปกติในการเปล่งออกเสียงพูด, การใช้คำพูดหรือการใช้ภาษาที่ไม่มีบุคคลอื่นสามารถเข้าใจได้ ร้อยละ 50 ของเด็กที่ มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมจะมีพัฒนาการพูดช้า, ไม่มีพัฒนาการด้านการพูดหรือพัฒนาการพูดหยุดชะงัก ในรายที่พูดได้ ก็ไม่สามารถเริ่มพูดหรือชักชวนสนทนาโต้ตอบกับบุคคลอื่นได้ก่อน
มีความบกพร่องในการสร้าง รักษา และเข้าใจในสัมพันธภาพ เช่น ไมีความผิดปกติในการเข้า หาหรือเริ่มต้นมีปฏิสัมพันธ์บุคคลอื่น, ไม่สามารถเลียนแบบการกระทำของผู้อื่นได้, ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับ เพื่อนหรือการมีกลุ่มเพื่อน, มีความยากลำบากในการเล่นตามจินตนาการหรือการเล่นบทบาทสมมติ เล่นไม่เป็น ชอบ เล่นคนเดียว, ไม่สามารถปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมที่หลากหลาย
2) มีแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัดซ้ำๆ (stereotyped) ที่ไม่มีประโยชน์และ ไม่สามารถหยุดหรือยืดหยุ่นพฤติกรรมดังกล่าวได้อย่างน้อย 2 ข้อ ดังนี้
มีการแสดงกิริยาบางอย่างซ้ำ (mannerism) เช่น การสะบัดมือ การหมุนตัว การหมุนต้นคอ การโยกตัว ใช้วัตถุให้มีการเคลื่อนไหวซ้ำๆ หรือใช้คำพูดซ้ำๆ
ยึดติดกับสิ่งเดิม กิจวัตรประจำวันเดิม หรือแบบแผนการสื่อสารเดิมๆ ซ้ำๆ ไม่มีความยืดหยุ่น
มีความสนใจที่จำกัดในขอบเขตที่จำกัดหรือเฉพาะเจาะจง เช่น หมกหมุ่นกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือ เพียงบางส่วนของวัตถุมากเกิน
มีการตอบสนองต่อการรับสัมผัสสิ่งเร้าที่เข้ามากระตุ้น (เช่น แสง สี เสียง สัมผัส เป็นต้น) มาก หรือน้อยกว่าบุคคลทั่วไป
1.1 ความหมายของภาวะออทิซึมสเปกตรัม กลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาท ที่มีความบกพร่องของพัฒนาการด้าน
สาเหตุ การบำบัดรักษา
2.1 สาเหตุของของภาวะออทิซึมสเปกตรัม ยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่สามารถสรุปได้ดังนี้
1) ปัจจัยทางพันธุกรรม พบว่า ในคู่ฝาแฝดแท้ (ไข่ใบเดียวกัน) ที่มีคนหนึ่งมีภาวะออทิซึมสเปกตรัมแล้ว แฝดอีกคนมีโอกาสเกิดภาวะออทิซึมสเปกตรัมเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 95 แต่สำหรับในคู่ฝาแฝดเทียม (ไข่คนละใบ) จะมี โอกาสเกิดภาวะออทิซึมสเปกตรัมลดลง ร้อยละ 30
2) ปัจจัยทางสมอง ทั้งในลักษณะโครงสร้างและการทำหน้าที่ของสมอง
มีช่องว่างในสมอง (ventricle) มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ขนาดเซลล์สมองที่มีขนาดเล็ก หรือใหญ่กว่า ปกติ มีความไม่สมดุลของการทำงานของสมองส่วนต่างๆ พบว่า ร้อยละ 32 ของเด็กภาวะออทิซึมสเปกตรัมเป็นโรค ลมชักแบบ grandmal seizure และมีความผิดปกติของคลื่นสมองจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองถึง ร้อยละ 10 – 80 โดยไม่มีรูปแบบของความผิดปกติของคลื่นสมองที่เฉพาะเจาะจง
มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง เช่น ความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทประเภทซีโรโทนิน
(serotonin)
3) ปัจจัยในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด ที่มีผลให้เด็กมีความเสี่ยงสูงในการเป็น
ภาวะออทิซึมสเปกตรัม
อายุพ่อแม่ที่มีอายุมาก
เด็กที่คลอดก่อนกำหนด
อายุครรภ์น้อยกว่า 33 สัปดาห์
น้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์มาตราฐาน
ภาวะที่ไม่เข้ากันของภูมิคุ้มกันระหว่างมารดาและทารก (immunological incompatibility) ทำ เซลล์ประสาทของทารกเกิดความบกพร่อง
เลือดออกในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
ติดเชื้อหัดเยอรมัน
ได้รับสารตะกั่ว
2.2 การบำบัดรักษาภาวะออทิซึมสเปกตรัม
มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ “เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านสังคม และด้านการสื่อสารที่ดีขึ้น และลด พฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์” โดยการรักษาประกอบด้วยการบำบัดด้วยรักษายาและไม่ใช้ยา มีดังนี้
1) การรักษาทางยา ไม่ได้มีเป้าหมาย เพื่อการรักษาให้หายขาดจากภาวะออทิซึมสปกตรัมโดยตรง แต่
เป็นการนำยามาใช้บรรเทาอาการบางอย่างทีเกิดร่วมกับภาวะออทิซึมสเปกตรัม ดังนั้น การใช้ยาไม่จำเป็นในเด็กที่มี ภาวะออทิซึมสเปกตรัมทุกราย และเมื่อรับประทานยาจนอาการบ้างประการดีขึ้นจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นจะพิจารณา ลด หรือหยุดยา ยาที่มักมาใช้บรรเทาอาการที่เกิดร่วมบ่อยๆ ได้แก่
ยา methylphenidate ใช้บรรเทาอาการขาดสมาธิ พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง วิ่งไปมา
ยา haloperidol กับ risperidone ที่ใช้บรรเทาอาการหงุดหงิด พฤติกรรมวุ่นวาย ก้าวร้าว พฤติกรรมทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
ยา fluoxetine ใช้บรรเทาอาการซึมเศร้า ลดพฤติกรรมซ้ำๆ
ยา lorazepam ใช้บรรเทาอาการวิตกกังวล
2) พัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร ด้วยการทำอรรถบำบัด (speech therapy) ซึ่งถือว่าเป็นการส่งเสริม พัฒนาการด้านการสื่อสารเป็นสำคัญ ให้เด็กที่มีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าให้มีพัฒนาการกลับมาใกล้เคียงกับเด็กที่
มีพัฒนาการปกติมากที่สุด และลดรูปแบบการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม ในกรณีที่เด็กไม่สามารถสื่อสารด้วยคำพูดได้ นักอรรถบำบัดจะหาวิธีการสื่อสารแบบอื่นมาทดแทนการพูดกับเด็กที่มีความบกพร่องด้านการพูดอย่างรุนแรง เช่น
กลวิธีการรับรู้ผ่านการมองเห็น (visual strategies) ด้วยการกระตุ้นการสื่อสารในเด็กผ่านโปรแกรมการแลกเปลี่ยน ภาพเพื่อการสื่อสาร (picture exchange communication system: PECS) เป็นต้น
สิ่งสำคัญเพื่อการบำบัดทางด้านภาษาอย่างต่อเนื่อง ผู้ปกครองของเด็กจะมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้ เด็กฝึกการสื่อสารผ่านกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะ ผ่านการเล่นและผ่านการทำกิจวัตรประจำวันร่วมกัน
3) พัฒนาด้านทักษะทางสังคม (social skills) โดยฝึกเด็กให้ใช้ภาษาทางกายให้เหมาะสม สบสายตา
บุคคลอื่นเวลาต้องการสื่อสาร กระตุ้นความเข้าใจในอารมณ์ทั้งของตนเองและผู้อื่น สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่าง เหมาะสมโดยผ่านการฝึกแบบสถานการณ์จำลองทางสังคมในบริบทต่างๆ เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะซ้ำๆ จะเกิดความ ชำนาญในทักษะ และสามารถจดจำรูปแบบมาใช้โดยตรง
4) พฤติกรรมบำบัด (behavioral therapy) มีเป้าหมาย คือ “การส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสม การ
หยุดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา และการสร้างพฤติกรรมใหม่ที่ต้องการ” ซึ่งมีแนวคิดจากทฤษฎีการเรียนรู้ โดยมีเทคนิค ทางพฤติกรรมบำบัดทั้งการให้แรงเสริมทางบวก การให้แรงเสริมทางลบ การให้รางวัล และการลงโทษ เพื่อให้เด็กที่มี ภาวะออทิซึมสเปกตรัมเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ซึ่งการปรับพฤติกรรมเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งในเด็กที่มีภาวะออทิซึม สเปกตรัม เนื่องจากจะช่วยให้เด็กสามารถควบคุมกับพฤติกรรมตนเองได้ในอนาคตแล้ว ยังช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมการ แสดงออกได้อย่างเหมาะสม
5) การบำบัดทางความคิด และพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy: CBT) มีเป้าหมายหลัก คือ “เพื่อลดความวิตกกังวลซึ่งมักเป็นโรคร่วมในเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม” ซึ่งความวิตกกังวลเป็นต้นเหตุของ
ปัญหาอีหลากประเด็น เช่น อารมณ์หงุดหงิดที่มีเพิ่มขึ้น, การขาดสมาธิ, ความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ลดลง เป็นต้น การศึกษาที่ผ่านมา พบว่า การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมจะช่วยส่งเสริมการแสดงอารมณ์, ส่งเสริม
ทักษะทางสังคมและการรับรู้อารมณ์ที่แสดงออกทางสีหน้าซึ่งเป็นประโยชน์ในการบำบัดผู้ใหญ่ที่มีความบกพร่องการ แสดงและการรับรู้อารมณ์ที่มีภาวะออทิซึมเสปกตรัม
6) ศิลปะบำบัด (art therapy) ที่นำมาใช้การบำบัดควบคู่ทางการแพทย์นั้น เพื่อช่วยส่งเสริมการ พัฒนาการด้านอารมณ์ และทักษะด้านอื่นๆ โดยศิลปะจะช่วยพัฒนาด้านจิตใจ เสริมสร้างสมาธิ สร้างจินตนาการ และ
การสื่อสารผ่านงานศิลปะ จากการศึกษา พบว่า ในสถานพยาบาลของเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลของประเทศไทย มี การนำกิจกรรมทางศิลปะมาใช้บำบัดเด็กที่มีภาวะออทิซึมสปกตรัม เพื่อส่งเสริมจินตนาการในเด็ก แต่พบว่ามีปัญหา
เรื่อง การขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ด้านศิลปะบำบัดโดยตรงและรูปแบบการดำเนินกิจกรรมศิลปะบำบด ความต่อเนื่อง
ยังขาด
7) ดนตรีบำบัด (music therapy) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นนการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ฝึกการ แสงออกทางด้านอารมณ์ทางสังคม ส่งเสริมการสื่อสารโดยการใช้ภาษาทั้งวัจนภาษา และอวัจนภาษาให้ดียิ่งขึ้นด้วย
อีกทั้งดนตรีช่วยเสริมทักษะการปรับตัวทางสังคมเพิ่มขึ้น และส่งเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลอื่นและเด็ก นอกจากนี้ดนตรีบำบัดยังสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้ด้วย
8) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการศึกษา (educational rehabilitation) ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความ ต้องการของเด็ก โดยการจัดโปรแกรมการศึกษาแบบรายบุคคล ( individualization education program) จำเป็นต้องออกแบบให้เหมาะสมกับความสามารถ ความบกพร่อง และความสนใจของเด็กแต่ละคน ทั้งนี้เพ่ือให้เกิด
การเรียนรู้ และสามารถนำความรู้ไปใช้ทั้งในและนอกห้องเรียนได้ด้วย การจัดการเรียนการสอนที่มีหลากหลาย ทางเลือก เช่น การศึกษาพิเศษเฉพาะทาง, การเรียนร่วม, ห้องเรียนคู่ขนานกับห้องเรียนปกติ, การศึกษาระบบนอก โรงเรียน และการศึกษาแบบอัธยาศัย
9) การให้คำแนะนำครอบครัว ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมพัฒนาการด้าน
ต่างๆ ให้เด็ก ดังนั้น การเสริมพลังอำนาจให้กับครอบครัวเด็กออทิซึมสเปกตรัม ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับภาวะ ออทิซึมสเปกตรัมที่ถูกต้อง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากช่วยให้แนวทางการดูแลเด็กไปในทิศทางเดียวกันกับ บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลอย่างถูกต้อง
10) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ (vocational rehabilitation) ไม่เพียงมีประโยชน์ในการฝึกทักษะ
พื้นฐานเฉพาะทางอาชีพเท่านั้น ยังเป็นการเตรียมความพร้อมในทักษะที่จำเป็นในการทำงานในอนาคตให้เด็ก เช่น การตรงเวลา การปรับตัวให้เข้ากับบุคคลอื่นในที่ทำงาน และการประเมินความปลอดภัยในขณะทำงานควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมสามารถพึ่งพาตนเองได้มากที่สุด ลดภาระการดูแลของครอบครัวและสังคม ให้มากที่สุด
การพยาบาลเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
1) การประเมินสภาพ (assessment) เป็นการรวบรวมข้อมูล เพื่อประเมินปัญหาทางการพยาบาล โดยต้องอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ครอบครัว ผู้ดูแล ร่วมกับการสังเกตพฤติกรรมเด็ก พฤติกรรมของผู้ปกครอง
หรือผู้ดูแลเด็ก ร่วมกันกับการตรวจทางการแพทย์ ทางห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้เพื่อสามารถประเมินได้ครอบคลุมทั้งทาง ร่างกาย จิตสังคมและจิตวิญญาณของเด็กออทิซึมสเปกตรัม
การซักประวัติ เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาการสำคัญ ประวัติการเจ็บป่วยใน ปัจจุบัน ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ประวัติส่วนตัว ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว ประวัติการตั้งครรภ์ ประวัติการ
คลอด ประวัติการเจ็บป่วยของมารดาและครอบครัว ประวัติการเจ็บป่วยของเด็ก ประวัติการเจริญเติบโตและ พัฒนาการของเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงปัจจุบัน ประวัติเกี่ยวกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อ ด้านสังคม ด้านการใช้ภาษา พฤติกรรมการแยกตัว ความสนใจ ภาวะอารมณ์ และการได้รับวัคซีน
การประเมินทางร่างกาย
การตรวจร่างกาย เป็นการตรวจร่างกายตั้งแต่ศรี ษะจรดปลายเท้า เพื่อประเมินความ ผิดปกติ ได้แก่ ลักษณะทั่วไป ศีรษะและคอ การตรวจช่องปากและฟัน ระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบประสาท เป็นต้น
เป็นต้น
ผลการตรวจอื่นๆ เช่น ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการทดสอบทางจิตวิทยา
การประเมินพัฒนาการ การซักถามบิดามารดา ผู้เลี้ยงดู บุคคลใกล้ชิด เพื่อช่วยในการ
ประเมินความสามารถที่แท้จริงของเด็ก
การสังเกตพฤติกรรม โดยเฉพาะการเล่นของเด็ก
การใช้แบบคัดกรองพัฒนาการตามช่วงวัย ซึ่งแบบประเมินที่นิยมใช้ในประเทศไทย เช่น แบบคัดกรองโรคกลุ่มพัฒนาการผิดปกติรอบด้าน ( pervasive developmental disorders screening questionnaire: PDDSQ) ซึ่งเป็นแบบคัดกรองเบื้องต้น ในเด็กที่สงสัยว่ามีภาวะออทิซึมสเปกตรัมหรือโรคอื่นหรือไม่ ซึ่งแบบคัดกรองจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงอายุ ดังนี้
PDDSQ ที่ใช้คัดกรองเด็กที่มีอายุ 1-4 ปี
PDDSQ ที่ใช้คัดกรองเด็กที่มีอายุ 4-18 ปี โดยแต่ละฉบับจะมีข้อคำถามคัดกรองจำนวน 40 ข้อ ซึ่งในแต่ข้อคำถามชี้วัดความ
ผิดปกติ 3 ด้าน คือ พัฒนาการทางสังคมผิดปกติ พัฒนาการด้านสื่อความหมาย และด้านพฤติกรรมซ้ำๆ มีความสนใจ จำกัดและการปรับตัวยาก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการวินิจฉัย
การประเมินสภาพจิต ได้แก่ การตรวจลักษณะทั่วไป สีหน้าท่าทาง การแสดงออกอารมณ์ การรับรู้สิ่งแวดล้อม การพูดและการใช้ภาษา อารมณ์ ความคิดและการรับรู้ตนเอง ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การ
เคลื่อนไหว สติปัญญา ความจำ สมาธิ ความสนใจ ภาพลักษณ์ การตัดสินใจและการเข้าใจปัญหา เป็นต้น
การประเมินทางด้านจิตสังคม และด้านจิตวิญญาณ (psychosocial and spiritual
assessment)
สัมพันธภาพในครอบครัว เป็นการประเมินข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว
ลักษณะนิสัย และบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวแต่ละราย รวามถึงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น
รูปแบบการติดต่อสื่อสารของบุคคลในครอบครัว เช่น รูปแบบการสื่อสารที่คลุมเครือ การ สื่อสารที่การใช้ถ้อยคำรุนแรง เป็นต้น
เป็นต้น
รูปแบบการเลี้ยงดู เช่น รูปแบบการเลี้ยงดแ
บบเข้มงวดเคร่งครัด แบบปกป้อง แบบตามใจ
การเรียน ประเมินความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis) ควรมีครอบคลุมปัญหาทางการพยาบาลทั้ง เด็กและครอบครัว ซึ่งจะช่วยให้การวางแผนทางการพยาบาลมีความสอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการของเด็กและ
ครอบครัว
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีพฤติกรรมก้าวร้าวเนื่องจากขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง
มีความบกพร่องด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นเนื่องจากมีพฤติกรรมแยกตัว
เสี่ยงต่ออุบัติเหตุเนื่องจากมีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง
เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองเนื่องจากขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง
เสี่ยงต่อการขาดสารอาหารเนื่องจากมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารซ้ำซาก
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล
ภาวะออทิซึมสเปกตรัมนั้นเป็นความผิดปกติทางพัฒนาการหลายด้าน และเป็นความพิการตั้งแต่ กำเนิดที่รักษาให้หายขาดไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อเด็ก ครอบครัว และสังคม แต่การกระตุ้นพัฒนาการสามารถพัฒนา ศักยภาพของเด็กได้ ทั้งนี้ต้องร่วมทั้งสหสาขาวิชาชีพ ครอบครัว ซึ่งกิจกรรมทางการพยาบาลที่สำคัญแบ่งได้ 2 ด้าน
1) การพยาบาลช่วยเหลือด้านเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
เด็กที่มีภาวะออทิซึมสปกตรัม มีความบกพร่องของการรับรู้ การคิด การสื่อความหมายและ การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การช่วยเหลือฝึกเด็กให้มีการปรับตัวในชีวิตให้เร็วที่สุดตั้งแต่อายุน้อยจะให้ผลดี
การฝึกกิจวัตรประจำวัน ให้เด็กรู้จักทำกิจวัตรประจำวัน เช่น เมื่อตื่นนอนตอนเข้า ต้องไป เข้าห้องน้ำ อาบน้ำ แต่งตัว เก็บที่นอน ช่วยจัดโต๊ะรับประทานอาหาร ประทานอาหารร่วมกัน ฝึกการช่วยเหลือตนเอง
ตลอดจนการทำกิจกรรมอื่น ๆ พยาบาลสามารถฝึกเด็กขณะอยู่ในโรงพยาบาลและให้คำแนะนำพ่อแม่ในการฝึกเด็ก เมื่อเด็กอยู่ที่บ้าน เพื่อให้เด็กปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
ฝึกทักษะการสื่อความหมาย เด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม จะไม่สามารถสื่อความหมาย ที่เป็นภาษาพูด หรือการแสดงสีหน้าท่าทาง ยิ่งเด็กอายุมากขึ้นเท่าไรแล้วยังไม่พูดการฝึกก็จะยิ่งยากขึ้น การฝึกพูดเริ่ม
ด้วยการสร้างสัมพันธภาพร่วมกับเด็ก พูดกับเด็กตลอดเวลาทุกครั้งที่มีโอกาสในกิจกรรมที่สอดคล้องกับความเป็นอยู่ ของด็กด้วยการทำร่วมกับเด็ก ทำไปด้วยพูดสอนไปด้วย เช่น จัดกิจกรรมทำอาหาร ให้เด็กช่วยหยิบช้อน ส่งจาน ตีไข่ ล้างผัก เป็นต้น เมื่อเด็กสามารถทำตามคำสั่ง มีความสนใจในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้สอนแล้วจึงเริ่มสอนพูดตาม ขั้นตอน ซึ่งมี 4 ขั้นตอน คือ เลียนแบบกิริยาท่าทางต่าง ๆ, เลียนแบบการออกเสียง, รู้จักความหมายของเสียง และ
สามารถแยกความหมายของเสียง
ฝึกทักษะทางสังคม เด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม จะไม่มีการแสดงสีหน้า ความรู้สึกใด ๆ
ดังนั้นพยาบาล พ่อแม่ ควรจะสอนให้เด็กรู้จักแสดงความรู้สึกภายในใจออกมา รู้จักยิ้ม รู้จักแสดงสีหน้าต่าง ๆ กัน โดย แสดงสีหน้าให้เด็กดูหรือนำภาพสีหน้าต่าง ๆ ให้เด็กได้ฝึกเลียนแบบสีหน้าต่าง ๆ พร้อมกับดูหน้าตัวเองในกระจก เปรียบเทียบกับรูปภาพ การฝึกนี้ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน รู้จักทักทาย มารยาททางสังคม การเล่นกับผู้อื่น และ พาเด็กออกไปนอกบ้าน เช่น ไปสวนสาธารณะ งานสังสรรค์ เดินทางท่องเที่ยว เป็นต้น
แก้ไขพฤติกรรมที่ไม่หมาะสม ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่รุนแรง มักสามารถแก้ไขได้ด้วยการ ปรับพฤติกรรม โดยมีหลักสำคัญของการปรับพฤติกรรมและแนวทางการปรับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาที่พบบ่อยมดังนี้
หลักสำคัญของการปรับพฤติกรรม ดังนี้
เด็กทำพฤติกรรมใดแล้วได้ผลที่เด็กพอใจก็จะมีแนวโน้มที่เด็กจะกระทำ พฤติกรรมนั้นซ้ำอีก แต่ถ้าผลไม่เป็นที่พึงพอใเด็กก็จะหลีกเลี่ยงไม่ทำพฤติกรรมนั้น
เด็กเรียนรู้จากตัวอย่างหรือตัวแบบ เพราะฉะนั้นถ้าอยากให้เด็กมีพฤติกรรมใด ผู้ใหญ่ก็ควรแสดงพฤติกรรมนั้นเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดี
เด็กแต่ละคนจะเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีการแตกต่างกัน การเลือกวิธีการปรับ พฤติกรรมที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนก็มีความสำคัญ "แรงเสริม" จัดเป็นรางวัลที่ช่วยให้เด็กทำพฤติกรรมที่ตนพึง พอใจอย่างต่อเนื่อง โดยแรงเสริมอาจเป็นสิ่งต่าง ๆ เช่น การยิ้ม การสัมผัส การกอด การให้สิทธิพิเศษ เป็นต้น เมื่อเด็ก
ทำผิดหรือมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เด็กจะได้รับ "การลงโทษ" ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กไม่พึงพอใจเด็กก็จะไม่กระทำ
พฤติกรรมนั้นอีก แต่การลงโทษทั้งทางกายหรือวาจาอย่างรุนแรงก็อาจมีผลเสียเกิดขึ้นต่อจิตใจและพฤติกรรมอย่าง มากของเด็ก ดังนั้นหากมีความจำเป็นควรหาวิธีการอื่นแทนหลีกเลี่ยงวิธีการรุนแรง
การเพิกเฉยหรือทำเป็นไมใส่ใจกับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ซึ่งต้องใช้ความ อดทนและกระทำอย่างสม่ำเสมอ เช่น เมื่อเด็กอยากได้ของเล่นก็จะมีพฤติกรรมลงไปนอนดิ้นที่พื้น ถ้าพ่อแม่ตอบสนอง
ความต้องการของเด็กโดยการซื้อของเล่นให้ เด็กจะเกิดการเรียนรู้และจะกระทำพฤติกรรมนี้ซ้ำ ๆ เพื่อให้ได้ในส่ิงที่ ตนเองต้องการ ดังนั้น อาจต้องเพิกเฉยไม่ใส่ใจพฤติกรรมเด็ก เด็กก็จะค่อย ๆ เรียนรู้ว่าการกระทำเช่นนี้ไม่สามารถ ตอบสนองสิ่งที่ตนเองต้องการได้ก็จะไม่แสดงพฤติกรรมเหล่านี้อีก
การแยกให้อยู่ตามลำพังชั่วคราว (time out) หรือจำกัดการเคลื่อนไหว
บางอย่างเป็นการนำเด็กออกจากสถานการณ์ที่เด็กชอบชั่วคราว เช่น เมื่อเด็กทำร้ายผู้อื่นให้พาเด็กออกจากสถานที่นั้น ไปอยู่ในห้องที่ไม่มีสิ่งกระตุ้นและไม่น่ากลัว กำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน บอกเด็กว่าต้องอยู่ที่ในระยะเวลาที่กำหนด ระหว่างนั้น ไม่พูดกับเด็ก และไม่ตำหนิเด็ก เมื่อเด็กอยู่ได้จนครบกำหนดเวล าให้พาเด็กออกมา โดยไม่ต้องย้ำถึง พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กอีก
แนวทางการปรับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาที่พบบ่อยเด็กที่มภ
พฤติกรรมแยกตัว ไม่สนใจเล่นกับเด็กอื่น ๆ
าวะออทิซึมสเปกตรัมมีดังต่อไปนี้
พยายามพาเด็กไปเล่นกับเด็กอื่นหรือพาเด็กไปร่วมกิจกรรมกับกลุ่มเด็ กวัย
เดียวกันเมื่อมีโอกาส และสอนการเล่นกับเด็กอื่นให้ดูด้วยเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และมีพฤติกรรมเลียนแบบ เช่น จับมือ หยิบของเล่นแล้วยื่นให้เด็กอื่น แบ่งขนมให้เด็กอื่น
ให้แรงเสริมเสริมทางบวก เมื่อเด็กเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่น เดินเข้าไปหา เด็กอื่น จะต้องให้ทันทีเพื่อให้คงพฤติกรรมนั้นต่อไป
พฤติกรรมไม่สบตา
เรียกชื่อทุกครั้งเมื่อต้องการพูดคยกับเด็กหรือต้องการให้เด็กละสายตาจากการ
มองแบบไร้จุดหมาย หากเด็กไม่หันมาเมื่อเรียกชื่อ ให้จับหน้าเดกเบา ๆ ให้หันมาลสบตา
ฝึกให้เด็กสบตาคนอื่น โดยใช้กิจกรรมการเล่นในการฝึกทักษะ เช่น เล่นหูเล่น ตา กระพริบตา ทำตาโต หรี่ตา เพื่อให้เด็กสนใจมองสบตา
ให้แรงเสริมทางบวกทันที เช่น ชมเชยหรือให้รางวัลที่เด็กชอบเมื่อเด็กรู้จัก
สบตาแม้ทำได้เพียงชั่วครู่
พฤติกรรมซน อยู่ไม่นิ่ง
ฝึกให้เด็กนั่งเก้าอี้ในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น เล่นของเล่นกินข้าว ทำ
การบ้าน เป็นต้น และเพิ่มระยะเวลาการนั่งทำกิจกรรม
ถ้าเด็กยังนั่งไม่ครบตามเวลาที่กำหนดหรือทำกิจกรรมไม่เสร็จพยายามลุกเดิน ให้จับมือเด็กไว้เบา ๆ พร้อมบอกว่า "นั่งลง" เมื่อเด็กเริ่มทำได้ให้รางวัลเพื่อเป็นการเสริมแรง
พาเด็กไปทำกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อปลดปล่อยพลังงานในร่างกาย เช่น ปลูก ต้นไม้ ออกกำลังกาย เล่นกลางแจ้ง เป็นต้น
ลดสิ่งเร้าที่ทำให้เด็กไม่มีสมาธิ เช่น การดูโทรทัศน์ตามลำพังเนื่องจากภาพใน โทรทัศน์เป็นภาพที่เคลื่อนไหวเร็ว หากจำเป็นต้องมีผู้เลี้ยงดูคอยให้คำแนะนำหรือพูดคุยกับเด็กด้วย
สอนระเบียบวินัยให้กับเด็ก เช่น เก็บของเล่นเมื่อเล่นเสร็จ, นำเสื้อผ้าที่ใส่แล้ว ไปใส่ตะกร้า วางรองเท้าในที่เก็บ เป็นต้น
อารมณ์ฉุนเฉียว
เมื่อเด็กมีอารมณ์ฉุนเฉียวให้จับมือเด็กไว้เบา ๆ แสดงสีหน้าเรียบเฉย พร้อม บอกเด็กว่า "ลุกขึ้น" ออกแรงดึงเล็กน้อย ถ้าเด็กต้านไม่ควรดึงเด็กขึ้นมา แต่ยังจับมือเด็กไว้ และไม่ตำหนิพฤติกรรม ของเด็ก
ไม่ควรให้ของที่เด็กต้องการเมื่อเด็กแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว, ควรให้เมื่อเด็กมี อารมณ์สงบลงแล้ว และอาจให้แรงเสริมทางบวกร่วมด้วย
พฤติกรรมก้าวร้าว
เมื่อเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวให้จับมือเด็กไว้ด้วยสีหน้าเรียบเฉยเพื่อให้เด็กหยุด ทำพฤติกรรมแล้วพาเด็กไปอยู่ในมุมหรือห้องที่งียบสงบ ไม่มีของเล่น ของที่เด็กชอบ หรือของที่อาจเป็นอันตรายกับ เด็ก
ไม่ตำหนิ ดุด่า ประชดประชัน เนื่องจากเด็กอาจไม่เข้าใจสิ่งที่ต้องการให้เด็กทำ แต่ต้องบอกสิ่งที่เด็กควรทำ เช่น เด็กที่กำลังตบหน้าตัวเอง ให้จับมือเด็ก ด้วยสีหน้าสงบบอกเด็กว่า "เอามือลง"
ไม่ลงโทษรุนแรงเพื่อให้เด็กหยุด เพราะอาจทำให้เกิดความรุนแรง ถ้าเด็กไม่ได้
ตอบโต้อาจทำให้เด็กรู้สึกกดดัน เก็บกด เสียใจ ซึมเศร้า และเกิดเป็นพฤติกรรมรุนแรงต่อเนื่อง นอกจากนี้จะเป็นการ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้การแก้ปัญหาโดยใช้กำลัง
เมื่อเด็กมีพฤติกรรมรุนแรงเพื่อเรียกร้องหรือต่อรองให้ได้สิ่งที่ต้องการ อย่าให้ ในสิ่งที่เด็กต้องการ ควรหยุดพฤติกรรมโดยจับมือเด็กไว้ เมื่ออารมณ์สงบลงชักชวนให้เด็กทำกิจกรรมสร้างสรรค์อื่น ๆ
หากครั้งใดที่เด็กอารมณ์ดีหรือไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ควรรีบให้รางวัลเพื่อเป็น
สิ่งเสริมแรง
พฤติกรรมจำกัด ชอบโยกตว
สะบัดมือ
ไม่ด่าทอ ดด่า ตำหนิ ประชดประชัน หรือลงโทษรุนแรงต่อพฤติกรรมของเด็ก
เบี่ยงเบนพฤติกรรมโดยให้เด็กทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น ถ้าเด็กนั่งโยกตัวให้ พาไปเล่นชิงช้า ถ้าเด็กชอบสะบัดมือให้ร้อยลูกปัดหรือเล่นลูกบิด
ให้แรงเสริมทางบวกทันที เมื่อเด็กทำได้
พฤติกรรมการกินอาหารแบบเดิมซ้ำ ๆ มักเป็นปัญหาการกินที่พบบ่อยในอาหาร ซ้ำซากได้บ่อยในเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม จนอาจทำให้เกิดปัญหาขาดสารอาหารขึ้นได้
ให้เด็กลองกินอาหารชนิดอื่นก่อนที่จะกินอาหารที่ชอบกินซ้ำ ๆโดยบอกว่าวันนี้ มีอาหารให้เลือก 2 ชนิด โดยต้องกินอาหารชนิดใหม่ก่อนจึงจะกินอาหารที่ประจำได้ โดยอาหารชนิดใหม่ที่ให้เด็กลอง ควรมีรูปแบบใกล้คียงกับอาหารที่เด็กชอบ มีสีสันน่ารับประทาน
ควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวได้ด้วยตนเอง เช่น ระยะแรกปริมาณอาหารชนิดใหม่ที่ให้ลองควรมีปริมาณน้อย หรือประมาณ 1 ช้อนจากนั้นจึงค่อย ๆ เพิ่มปริมาณและ
ชนิดของอาหาร โดยลดสัดส่วนอาหารที่ชอบกินแบบเดิมซ้ำ ๆ ลง ควรทำอย่างสม่ำเสมอจริงจังร่วมกับการชมเชยและ ชี้ให้เห็นข้อดีของในการรับประทานอาหารที่หลากหลาย เช่น ช่วยให้เรียนเก่ง ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ถ้าได้รับ สารอาหารครบถ้วน
2) การพยาบาลช่วยเหลือครอบครัวเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
แสดงความเข้าใจยอมรับความรู้สึกของพ่อแมที่มีลูกที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ช่วยลดความรู้สึผิดหรือกล่าวโทษกันของพ่อแม่ ด้วยการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ให้พ่อแม่เห็น ความสำคัญของการร่วมมือกันในการดูแลลูก การมีอารมณ์ขัน และอดทน
ช่วยลดความวิตกกังวลของพ่อแม่ ด้วยการให้ความช่วยเหลือปัญหาที่พ่อแม่ต้องเผชิญ การให้คำแนะนำในการดูแลลูกซึ่งจะต้องสมารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีความชัดเจนและมีเหตุผล
4) การประเมินผลทางการพยาบาล
เป็นการประเมินผลหลังให้การพยาบาลตามตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้ในเกณฑ์การประเมินผล เพื่อ ตรวจสอบว่าภายหลังให้การพยาบาลเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม เป็นไปตามเป้าหมายที่วางแผนไว้และสามารถ แก้ไขปัญหาได้หรือไม่ ถ้ายังไม่สามารถแก้ไขปัญหได้ พยาบาลจะต้องนำผลที่ประเมินได้มาปรับแผนการพยาบาลหรือ ปรับกลยุทธ์ในการพยาบาลเพื่อแก้ไขปัญหาของเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมต่อไป
สรุป
ภาวะออทิซึสเปกตรัม เป็นกลุ่มโรคที่มีความบกพร่องของพัฒนาการทางสังคม การสื่อสาร และพฤติกรรมหรือ ความสนใจซ้ำ ๆ อย่างไม่เหมาะสม ถ้าเด็กได้รับการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมตั้งแต่ระยะแรก จะช่วยให้เด็ก สามารถดูแลตนเองได้และเป็นภาระต่อผู้ดูแลและสังคมน้อยที่สุด ดังนั้นพยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้ เด็กได้รับการคัดกรอง หรือประเมินความผิดปกติเพื่อช่วยให้เด็กที่มีภาวะออทิซึสเปกตรัมได้รับการช่วยเหลือที่ เหมาะสมเร็วที่สุด สามารถดูแลตนเองตามศักยภาพและอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างเหมาะสม