Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มี กลุ่มโรควิตกกังวล - Coggle Diagram
การพยาบาลบุคคลที่มี กลุ่มโรควิตกกังวล
ลักษณะอาการของความวิตกกังวล
กล้ามเนื้อตึงเครียด เหนื่อย กระสับกระส่าย ปากแห้ง หนาว มือและเท้าเย็น
มีอาการกระสับกระส่าย หงุดหงิด ซึมเศร้าร้องไห้ โกรธ รู้สึกไม่มีสมาธิ
เดินไปเดินมา ลุกลี้ลุกลน นั่งไม่ติดที่ เอามือม้วนเส้นผม
สนใจสิ่งแวดล้อมลดลง ไม่มีสมาธิ ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นรอบตัว
ระดับของความวิตกกังวล
วิตกกังวลระดับปกติ (Normal) - มีความไม่สบายใจ มีความรู้สึกหวาดหวั่น ซึ่งเป็นระดับที่บุคคลจะรู้สึกต้องเตรียมพร้อมในการป้องกันตนเองจากสิ่งที่คุกคาม
วิตกกังวลระดับน้อย (Mild anxiety) - ความวิตกกังวลในระดับน้อยสามารถเกิดได้ในชีวิตประจำวัน จะมีลักษณะตื่นตัวดี กระตือรือร้น สามารถสังเกตการณ์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆได้ดี
วิตกกังวลระดับปานกลาง (Moderate anxiety) - จะมีการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆทั้งการมองเห็นการฟังมีประสิทธิภาพลดลง ความสนใจและสมาธิลดลง การรับรู้แคบลง บุคคลจะมีอาการพูดเสียงสั่นๆ พูดเร็วขึ้น
วิตกกังวลระดับสูง (Severe anxiety) - รับรู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้น้อยลง ความสนใจจดจ่ออยู่กับแค่บางสิ่งบางอย่าง พูดจาไม่รู้เรื่อง
วิตกกังวลระดับรุนแรง (Panic state)
การรับรู้สิ่งต่าๆหยุดชะงัก พูดไม่รู้เรื่อง ไม่สามารถสื่อสารกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รับรู้ผิดแปลก
Generalized Anxiety Disorders (GAD) โรควิตกกังวลทั่วไป
ความวิตกกังวลมากผิดปกติจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ อย่างน้อย 6เดือนขึ้นไป
ผู้ป่วยพบว่า ยากที่จะควบคุมความกังวล
ความกังวลจะเกี่ยวข้องกับอาการอย่างน้อย 3อาการจากทั้งหมด 6อาการและอย่างน้อยอาการที่เกิดขึ้นได้เกิดมาแล้วไม่น้อยกว่า 6เดือน
กระสับกระส่าย
อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
มีปัญหาด้านสมาธิ หรือใจลอย
หงุดหงิดง่าย
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตึงเครียดตามกล้ามเนื้อ
มีปัญหาการนอน (หลับยาก นอนหลับตลอดเวลา หลับ ๆ ตื่น ๆ นอนหลับไม่สนิท)
Panic disorder ต้องเกิดอย่างน้อย 4 อาการ
ใจสั่น หัวใจเต้นแรง หรืออัตราเต้นของหัวใจเร็ว
เหงื่อออกมาก
สั่นทั้งตัว
หายใจเร็วถี่
รู้สึกอยากอาเจียน
เจ็บแน่นหน้าอก
คลื่นไส้ ปั่นป่ วนในท้อง
รู้สึกวิงเวียน สมองตื้อ โคลงเคลง หรือจะเป็นลม
ร้อน ๆ หนาว ๆ ตามตัว
รู้สึกตัวชา หรือรู้สึกซู่ซ่ารู้สึกเหมือนไม่อยู่กับความจริง (Derealization) หรือไม่ใช่ตัวของตัวเอง (Depersonalization)
กลัวควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือเหมือนจะเป็นบ้า
กลัวตาย
การบำบัดรักษาความวิตกกังวล
การรักษาด้วยยา - Ativan, Xanax, buspar เป็นยาที่นิยมใช้
การรักษาทางจิตสังคม - จิตบำบัดโดยจิตวิเคราะห์ จิตบำบัดโดยทฤษฎีมนุษย์นิยม ซึ่งทุกรูปแบบให้ประโยชน์แก่ผู้ป่วยทั้งสิ้น
สาเหตุการเกิดของโรคกลุ่มวิตกกังวล
ปัจจัยทางชีววิทยา (Biological factors)
กายวิภาคของระบบประสาท (neuroanatomical)
พันธุกรรม
สารชีวเคมี (biochemical)
สารสื่อประสาท (neurochemical)
ภาวะการเจ็บป่วยทางกาย (medical condition)
ปัจจัยทางจิตวิทยา (Psychological factors)
ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์(psychodynamic theory) Freud กล่าวว่า Ego อยู่ในอันตรายและกำลังต่อสู้กับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นร่ายกายเองก็ต่อสู้เช่นกันจึงเกิดพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำและกลัวสุดขีด
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ซัลลิแวน เชื่อว่า เกิดจากการไม่ถูกยอมรับโดยคนรอบข้าของตัวเองจึงทำให้เกิดความวิตกกังวลขึ้น
ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social and environmental factors)
ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับการเกิดโรควิตกกังวลน้อย แต่อาการของโรควิตกกังวลจะเป็นไปตามสังคมวัฒนธรรมของบุคคล