Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทท่ี 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจติเวชเวช 5.3…
บทท่ี 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจติเวชเวช
5.3 โรคบุคลิกภาพผิดปกติท่ีพบบ่อย
ความหมาย
โรคบุคลิกภาพผิดปกติ(personality disorder) เป็นประสบการณ์ พฤติกรรมและการดําเนินชีวิตที่เบี่ยงเบนหรือแตกต่างไปจากบรรทัดฐานและความคาดหวังของสังคม
โดยบุคลิกภาพที่ผิดปกตินี้จะเริ่มปราฎในช่วงวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
แล้วดําเนินต่อไปจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่โดยมีพฤติกรรม
ที่ไม่มีความยืดหยุ่น ปรับตัวยาก มีปัญหาในเรื่องของกระบวนการคิด การแสดงออกทางอารมณ์การมีสัมพันธภาพกับบุคคล หรือการควบคุมตนเอง
โรคบุคลิกภาพผิดปกติสามารถแบ่งออกตามความเหมือนหรือความคล้ายกันของอาการ(symptomology)
กลุ่ม A มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีพฤติกรรมประหลาด พิสดาร (odd or eccentricity)
เป็นกลุ่มที่มีการปรับตัวได้ยากในระดับที่มีความรุนแรงมากที่สุดและยากที่จะรักษาหายได้ ได้แก่ บุคลิกภาพผิดปกติแบบหวาดระแวง เก็บตัว และจิตเภท (paranoid, schizoid and personality disorders)
กลุ่ม B มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ผิดปกติ หรือคาดเดาไม่ได้ (dramatic, emotional, or erratic)
เป็นกลุ่มที่มีการปรับตัวยากในระดับที่มีความรุนแรงปานกลางและได้บ้างไม่ได้บ้าง ได้แก่ บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม ก้ํากึ่ง ฮีสที่เรีย และ หลงตัว (antisocial, borderline, histrionic, and narcissistic personality disorders)
กลุ่ม c มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีความหวาดกลัวหรือวิตกกังวลอย่างสูง (anxious or fearful)
เป็นกลุ่มที่มีการปรับตัวยากในระดับที่มีความรุนแรงน้อยที่สุดและสามารถรักษาได้ ได้แก่ บุคลิกภาพผิดปกติแบบ
หลีกเลี่ยง พึ่งพา และย้ําคิดย้ําทํา (avoidant, dependent and obsessive-compulsive personality disorders)
ลักษณะอาการและอาการแสดง
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (antisocial personality disorders)
จะต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปี โดยจะมีลักษณะของการไม่สนใจใยดีถึงกฎเกณฑ์ความถูกต้องหรือกระทําการที่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ซึ่งบ่งชี้ว่ามีความประพฤติเกเร (conduct disorder) ตั้งแต่อายุ 15 ปี โดยมีอาการแสดงออก
อย่างน้อย 3 จาก 7 อาการดังต่อไปนี้
ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือมาตรฐานของสังคม
หลอกลวง
หุนหันวู่วาม
หงุดหงิดและก้วร้าว
ไม่ใส่ใจถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
ขาดความรับผิดชอบอยู่เป็นประจํา
ไม่รู้สึกสํานึกผิดหรือเสียใจต่อความผิด
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อก้ำกึ่ง (borderline personality disorders)
จะมีลักษณะของการขาดความมั่นคงแน่นอนในการที่จะมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น การมองภาพลักษณ์ของตนเองและการควบคุมอารมณ์ รวมทั้งมีการแสดงออกแบบหุนหันวู่วาม ควบคุมตนเองไม่ได้(impulsivity)
เริ่มแสดงอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและจะแสดงออกให้เห็นชัดเจนเมื่อเผชิญกับปัญหาหรือสถานการณ์ต่าง ๆ โดยมีอาการแสดงออกอย่างน้อย 5 จาก 9 อาการดังต่อไปนี้
พยายามอย่างคนเสียสติที่จะหนีความเป็นจริงหรือหนีจากการถูกทอดทิ้ง
สัมพันภาพกับผู้อื่นมีลักษณะที่ไม่แน่นอนระหว่างดีสุดๆ และชั่วร้ายสุดๆ
สับสนในความเป็นตัวของตัวเอง
แสดงพฤติกรรมหุนหันวู่วาม
พฤติกรรม ท่าทาง หรือพยายามที่จะทําร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตายบ่อยๆ
อารมณ์ไม่สม่ำเสมอ
เหงาหว้าเหว่เรื้อรัง
มีการแสดงออกของอารมณ์โกรธรุนแร
เมื่อมีความเครียด จะเกิดความหวาดระแวง
บุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา (dependent personality disorders)
อาการแสดงมักเริ่มในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและจะแสดงอาการออกให้เห็นชัดเจนเมื่อเผชิญกับปัญหาหรือสถานการณ์ต่าง ๆ โดยมีอาการแสดงออกอย่างน้อย 5 จาก 8 อาการดังต่อไปนี้
ไม่กล้าที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง ต้องอาศัยคําแนะนํา และการให้กําลังใจจากผู้อื่น
ต้องการให้คนอื่นเข้ามารับผิดชอบเรื่องสําคัญๆ
ไม่สามารถที่จะคิดริเริ่มกิจกรรมหรือโครงการใหม่ๆ
รู้สึกยากที่จะแสดงความคิดเห็นคัดค้าน
ทําทุกอย่างที่จะให้ได้รับการช่วยเหลือเกื้อหนุนจากผู้อื่น
ยอมแม้แต่ที่จะอาสาทําในสิ่งที่ไม่สุขสบาย
รู้สึกไม่สบายใจหรือหมดหนทางช่วยเหลือ
เมื่อคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดต้องมีอันจากไปหรือสัมพันธภาพต้องยุติลง จะรีบหาสัมพันธภาพใหม่ทันที
ครุ่นคิดแต่ในเรื่องที่จะถูกทอดทิ้งให้ต้องดูแลตนเอง
สาเหตุ?
สาเหตุของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
ปัจจัยด้านชีวภาพ
พันธุกรรม (genetic) พันธุกรรมคือลักษณะที่ติดตัวบุคคลผู้นั้นมาตั้งแต่เกิด
ประสาทชีววิทยา (neurobiology) การเจ็บป้วยด้วยโรคทางสมอง หรือความผิดปกติในหน้าที่ของสมอง เช่น
โรคลมชัก, การอักเสบของสมอง arteriosclerotic brain disease, senile dementia และalcoholism
ปัจจัยทางจิตวิทยา
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory)อธิบายถึงสาเหตุของบุคลิกภาพที่ผิดปกติตามทฤษฎีของ ฟรอยด์ (Freud's psychosexual stages of development) ว่า 2 สาเหตุ
มีการติดขัดในขั้นของพัฒนาการ กล่าวคือ เด็กไม่สามารถที่จะเติบโตตามขั้นของพัฒนาการที่ควรจะเป็นได้ หรือการมีปม (fixation) เกิดขึ้นในขั้นของพัฒนาการบางขั้น
โครงสร้างทางจิต (psychic structure; id, ego, superego) บกพร่อง กล่าวคือ egoไม่สามารถที่จะทําหน้าที่ประสานความต้องการของ id และ superego ได้
ทฤษฎีการเรียนรู้ (leaning theory) อธิบายว่า บุคคลมีบุคลิกภาพที่ผิดปกติเพราะมีการเรียนรู้ที่ผิดปกติมาตั้งแต่ช่วงต้นของชีวิต
เด็กจึงพัฒนาพฤติกรมการแสดงออกที่ผิดปกติโดยการเลียนแบบหรือได้รับแรงเสริม (reinforcement) จากบุคคลที่มีความสําคัญในชีวิตของเขา
ทฤษฎีทางจิตสังคม (psychosocial theory) อธิบายว่า บุคคลมีบุคลิกภาพที่ผิดปกติเพราะมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลสําคัญในแต่ละช่วงวัยของพัฒนาการไม่เหมาะสมซึ่งปฏิสัมพันธ์ทางสังคมนี้เป็นรากฐานสําคัญของการพัฒทางบุคลิภาพ
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
ความส้มพันธ์พ่อแม่ลูกไม่ดี การเลี้ยงดูของพ่อแม่เป็นประสบการณ์ในวัยเด็กที่อาจส่งเสริมพฤติกรรมและบุคลิภาพที่ผิดปกติ
การที่พ่อแม่เคร่งครัดไม่ผ่อนปรนและขาดเหตุผลต่อเด็ก
การที่พ่อแม่หรือบุคคลที่มีอํานาจในครอบครัวมีบุคลิกภาพผิดปกติ
ความยากจนและการขาดที่พึ่ง
การบําบัดรักษาโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
การบําบัดทางจิตสังคม (psychosocial therapy)
จิตบําบัด (psychotherapy) เป็นการรักษาทางด้านจิตใจ โดยช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเองเข้าใจปัญหา รู้ถึงความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น
จิตบําบัตรายบุคคล (individual therapyจิตบําบัดแบบกลุ่ม (group therapy)
จิตบําบัดเดี่ยวและจิตบําบัดกลุ่มจะเน้นหลักการแก้ปัญหา (problem-solving oriented) ให้ผู้ป่วยพิจาณาและค้นหาพฤติกรมที่เหมาะสม
การรักษาด้วยยา (pharmacotherapy)
เป็นการรักษาตามอาการที่จําเป็นต้องควบคุม เช่น การให้ยาคลายกังวล เพื่อลตความวิตกกังวลการให้ยาลดอารมณ์เศร้าในกรณีที่ผู้ป่วยมีอารมณ์ซึมเศร้าและการให้ยาต้านโรคจิตเพื่อลดอาการรุนแรงและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมตนเองได้ดีขึ้น