Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรู้เท่าทัน, image, image, image, image, image,…
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรู้เท่าทัน
การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
การนำเสนอ
กานำเสนอข้อมูลที่ดีจะต้องมีการวางเค้าโครงที่เหมาะสม มีรายละเอียดชัดเจน ไม่คลุมเครือใช้ภาษาและสำนวนที่ถูกต้อง
การนำเสนอข้อมูลมาใช้ในการเรียน การทำงาน และ การตัดสินใจต่างๆ จะต้องพิจารณาความถูกต้องของข้อมูลที่นำมาจากหลายแหล่งข้อมูลโดยต้องเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ มีความถูกต้องสมบูรณ์ สอดคล้องตามความต้องการและทันสมัย
ความสัมพันธ์
การพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์จะต้องคำนึงถึงความสอดคล้องของข้อมูลกับสิ่งที่ต้องการ
วัตถุประสงค์
ข้อมูลที่จะนำมาใช้ต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนไม่ใช่ข้อมูลที่แสดงความคิดเห็นหรือ มีเจตนาแอบแฝง
วิธีการ
ข้อมูลที่นำมาใช้ เป็นข้อมูลที่มีการวางแผนการเก็บรวบรวมอย่างเป็นระเบียบ
แหล่งที่มา
ข้อมูลที่น่าเชื่อถือต้องบอกแหล่งที่มาอย่างชัดเจน และต้องเป็ฯแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
เวลา
ข้อมูลที่มีคุณภาพจะต้องเป็นข้อมูลของปัจจุบัน หรือมีความทันสมัย
เหตุผลวิบัติ
เป็นการโต้แย้งโดยให้เหตุผลที่คลาดเคลื่อนกับความเป็นจริง หรือมีความจริงเพียงบางส่วน จึงนำไปสู่ข้อสรุปที่มีความขัดแย้งกับข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง เช่น การโต้แย้งบนเว็บบอร์ดหรือเครือข่ายทางสังคม ที่มีการใช้ข้อความประชดประชัน การใช้ความรู้สึกส่วนตัว การใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง (hate speech)
กระบวนการเหล่านี้ อาจนำไปสู่การสรุปผลหรือตีความข้อสรุปจากการโต้แย้งที่ไม่ได้นำข้อเท็จจริงมาพิจารณา ทำให้ผู้รับสารได้รับข่าวสารที่คลาดเคลื่อน อีกทั้งผู้คนบางส่วนพยายามใช้ความเข้าใจหรือความเชื่อส่วนตัวที่อาจะไม่ถูกต้องมาเป็นเหตุผลในการสรุปประเด็นต่างๆ แม้ผลสรุปสุดท้ายจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม
มี2แบบ
เหตุผลวิบัติแบบเป็นทางการ เกิดจากการให้เหตุผลที่ใช้หลักตรรกะไม่ถูกต้อง แต่เขียนอยู่ในรูปแบบที่เป็นทางการทำให้ดูสมเหตุสมผล เช่น การที่ผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งหาเสียงว่าหากเป็นผู้ชนะในการเลือกตั้ง จะมีการพัฒนาหมู่บ้าน สร้างความเจริญ แต่ในความจริง แม้ชนะการเลือกตั้ง ผู้ชนะการเลือกตั้งก็อาจได้พัฒนาหมู่บ้านก็ได้
เหตุผลวิบัติแบบไม่เป็นทางการ เกิดจากการให้เหตุผลที่ไม่เกี่ยวข้องกับหลักตรรกะในการพิจารณา แต่เป็นการสันนิษฐานหรือเล่นสำนวน ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาชักนำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น การพูดกำกวม หรือการพูดมากเกินความจำเป็น
ตัวอย่างเหตุผลวิบัติแบบไม่เป็ฯทางการ
อ้างถึงลักษณะตัวบุคคล เช่น ผู้ใหญ่บางคนมักไม่สนใจข้อเสนอแนะของเด็กๆ เพราะความเป็นเด็กทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ แม้ความคิดเห็นนั้นจะมีเนื้อหาสาระ
อ้างถึงผู้พูดว่ามีพฤติกรรมขัดแย้งกับสิ่งที่พูด เช่น ผู้ใหญ่สอนเด็กๆ ว่าการสูบบุหรี่เป็นสิ่งไม่ดี แต่หากผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่เป็นคนพูด เด็กๆ ก็จะเห็นความขัดแย้งที่ผู้ใหญ่สอน
อ้างถึงความน่าสงสาร หรือความเห็นอกเห็นใจ เช่น ผู้หญิงขโมยนมในร้านสะดวกซื้อ เพื่อนำนมไปเลี้ยงลูก โดยอ้างว่าที่ทำไปเพราะยากจน
อ้างถึงคนส่วนใหญ่ปฏิบัติเหมือนกัน เช่น การฝ่าฝืนข้อปฏิบัติจราจร โดยอ้างว่าใครๆ ก็ฝ่าฝืนกัน
ให้เหตุผลโดยสร้างทางเลือกไว้ 2 ทาง แต่ความจริงอาจมีทางเลือกอื่นๆ เช่น นักเรียนถูกเพื่อนคนหนึ่งต่อต้าน เพราะชื่นชอบนักแสดงคนที่เพื่อนคนนั้นไม่ชอบ
ให้เหตุผลเกินกว่าความจริงไปมาก เช่น นักเรียนใส่หน้ากากอนามัยมาโรงเรียน แล้วเพื่อนพูดประชดว่าให้ใส่ชุดปลอดเชื้อมาโรงเรียน
เบี่ยงเบนประเด็นการโต้แย้งของผู้อื่นให้กลายเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แล้วโจมตีจากประเด็นที่ถูกบิดเบือนนั้น เช่น การใช้สมาร์ทโฟนเพื่อการศึกษา แต่ถูกมองว่าใช้เพื่อความบันเทิง และเล่นเกม
อ้างเหตุผลว่ามีสิ่งพิเศษที่ไม่เหมือนใคร ทั้งที่ประเด็นกล่าวอ้างไม่เกี่ยวกับสิ่งที่โต้แย้งอยู่เลย เช่น การใช้ตำแหน่งและหน้าที่ที่สูงผู้อื่น เพื่ออ้างถึงสิทธิพิเศษในการทำเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
ให้เหตุผลโดยเชื่อคนมีชื่อเสียง เช่น การเลือกซื้อสินค้าตามอย่างผู้มีชื่อเสียง แม้สินค้านั้นอาจจะไม่เหมาะสมกับผู้ซื้อก็ตาม
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย
การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศมีวัตถุประสงค์หลายอย่าง เช่น ใช้งานทั่วไป สนับสนุนการทำงาน ทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (electronic transaction) โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งาน
การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มี 2 รูปแบบ คือ
การทำธุรกรรมโดยตรงระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ – ทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายทางสังคมหรือผ่านเว็บไซต์ของผู้ขาย เช่น การจองที่พักโรงแรม, ซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ผู้ผลิตโดยตรง
การทำธุรกรรมโดยผ่านผู้ให้บริการ – ทำธุรกรรมผ่านผู้ให้บริการสนับสนุนการดำเนินการหรือตัวกลาง โดยผู้ให้บริการจะรวบรวมสินค้าและบริการต่างๆ ให้อยู่ในที่เดียว เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงและใช้บริการทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ผู้ให้บริการ (ตัวกลาง) คอยตรวจสอบผู้ขายและรับประกันในส่วนของสินค้าและบริการ เช่น ebay.com, lazada.co.th, shopee.co.th
สิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องคำนึงถึงในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คือ อาจถูกมิจฉาชีพฉ้อโกง โดยใช้กลยุทธ์เรื่องราคาและหลักจิตวิทยาในการล่อลวงให้เกิดความโลภ หรือเข้าใจผิด เช่น ขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าปกติมาก ขายสินค้าเลียนแบบโดยให้เข้าใจว่าเป็นสินค้าของแท้
ผู้ใช้บริการควรมีความระมัดระวังในการเลือกชำระค่าสินค้าหรือบริการ ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น
โอนค่าสินค้าผ่านธนาคาร แล้วส่งหลักฐานยืนยันให้ผู้ขายส่งสินค้าในภายหลัง
ชำระเงินภายหลังจากได้รับสินค้า (เก็บเงินปลายทาง)
ชำระผ่านบัตรเครดิตหรือบัญชีธนาคาร ซึ่งต้องใช้หมายเลขบัตร วันหมดอายุ รหัสยืนยันบัตร (Card Verification Value: CVV) การยืนยันรหัสการทำธุรกรรมโดยใช้รหัสผ่านครั้งเดียว (One Time Password: OTP)
ชำระผ่านตัวกลางชำระเงิน เช่น ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ รับชำระเงินโดยเติมเงินเข้ากับบัญชีที่ผูกเข้ากับหมายเลขโทรศัพท์ สามารถทำธุรกรรมได้เสมือนบัญชีธนาคาร
การรู้เท่าทันสื่อ
เป็นความสามารถในการป้องกันตนเองจากการถูกโน้มน้าวด้วยเนื้อหาที่เป็นเท็จและมีผลกระทบต่อผู้รับสื่อ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือทางการตลาดหรือผลประโยชน์ที่นำเสนอ การรู้เท่าทันสื่อ ผู้รับสารต้องสามารถตีความ วิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาสาระของสื่อ คิดก่อนนำไปเผยแพร่
การรู้เท่าทันสื่อสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่
ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกและจัดสรรเวลาในการใช้สื่อ
เรียนรู้ทักษะการรับสื่อแบบวิพากษ์ วิเคราะห์และตั้งคำถามว่าสื่อนั้นถูกสร้างขึ้นอย่างไร น่าเชื่อถือหรือไม่
วิเคราะห์สื่อในเชิงสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์
ข่าวลวงและผลกระทบ
ข่าวลวง (fake news) เป็นรูปแบบหนึ่งของการก่อกวน ซึ่งนำเสนอเรื่องราวเป็นเท็จ มีวัตถุประสงค์แอบแฝงที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อขายสินค้า ทำให้เข้าใจผิด สร้างความสับสน โดยข่าวลวงอาจแพร่ผ่านอีเมล์ หรือเครือข่ายทางสังคม ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง
ผู้รับข่าวสารต้องมีวิจารณญาณเพื่อป้องกันตนเองและผู้อื่น ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของข่าวลวง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อตนเองและสังคม
ลักษณะของข่าวลวง เช่น
สร้างเรื่องราวเพื่อเป็นจุดสนใจในสังคม
สร้างความหวาดกลัว
กระตุ้นความโลภ
สร้างความเกลียดชัง
กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
การออกข้อกำหนด ระเบียบ และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ประเทศไทยมีการออกพระราชบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และปรับปรุงมีความทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ โดยรายละเอียดสามารถศึกษาได้จาก พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ.2560, พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560
การใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม
ผู้ใดต้องการใช้ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ (copyright) ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงาน เพราะกฎหมายให้ความคุ้มครอง แต่ก็มีข้อยกเว้นให้ใช้งานได้บางอย่างโดยไม่ต้องขออนุญาต หรือที่เรียกว่า การใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (fair use) เช่น ใช้ในการเรียนการสอน การรายงานข่าว แต่ต้องไม่กระทบกับเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยมีหลักพิจารณาดังนี้
วัตถุประสงค์และลักษณะการใช้งาน (ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าหรือหากำไร ไม่มีเจตนาทุจริต ใช้เพื่อเป็นประโยชน์แก่สังคม)
ลักษณะงานอันมีลิขสิทธิ์ (พิจารณาจากความพยายามที่ใช้สร้างสรรค์ผลงาน หากผลงานใดที่ใช้ความพยายามสูงในการสร้างสรรค์ ไม่ควรนำผลงานนั้นไปใช้ เช่น นวนิยาย, การรายงานเหตุการณ์ที่เฉพาะ)
ปริมาณของการนำไปใช้ (นำผลงานไปใช้ในปริมาณมาก หรือแม้ใช้ปริมาณน้อยแต่เป็นจุดสำคัญ ถือเป็นการใช้งานที่ไม่เป็นธรรม)
ผลกระทบต่อตลาดหรือมูลค่าของงานอันมีลิขสิทธิ์ (ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโชน์ตามปกติของเจ้าของผลงาน เพราะอาจทำให้ผลงานนั้นขายไม่ได้)
ตัวอย่างการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม
การวิจัยหรือศึกษางาน โดยไม่แสวงหากำไร
ผู้สอนทำซ้ำ ดัดแปลงผลงาน เพื่อประกอบการสอน แจกจ่ายในจำนวนจำกัด เพื่อประโยชน์ในการสอน
นำงานลิขสิทธิ์มาใช้เพื่อสังคม โดยคัดลอก ปรับเปลี่ยน เพิ่มเติมสิ่งใหม่
คัดลอกคำกล่าวหรือบทความโดยย่อ
รายงานข่าว งานวรรณกรรม ในปริมาณไม่เกิน 10% หรือ 1000 คำ ใช้ภาพไม่เกิน 6 ภาพ
รายงานข่าวโดยใช้มิวสิควิดีโอไม่เกิน 10% หรือ 30 วินาที
ตัวอย่างการใช้งานลิขสิทธิ์ที่ไม่เป็นธรรม
การดาวน์โหลดเพลงผู้อื่นไปขาย
ผู้สอนถ่ายเอกสารหนังสือเรียนเพื่อขายกับผู้เรียนจำนวนมาก ทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์สูญเสียรายได้
นำไปใช้มีเจตนาทุจริต ไม่อ้างอิงเจ้าของลิขสิทธิ์ ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นผลงานของตนเอง
ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบทดลองใช้ (shareware) อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าหมดอายุการใช้งาน