Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความหมาย ขอบเขต ขั้นตอน และการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยด้านพลังงานและสิ่งแว…
ความหมาย ขอบเขต ขั้นตอน และการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ส่วนประกอบของเอกสารข้อเสนอโครงการวิจัยรายวิชา 000 173
สาระสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเอกสารข้อเสนอโครงการวิจัยที่ทุกองค์กรกำหนดไว้จะคล้ายกันมาก
กล่าวคือมีองค์ประกอบตามที่จะกล่าวต่อไปนี้ แต่อาจเรียงลำดับหัวข้อแตกต่างกันไปบ้าง หรือมีส่วนประกอบเพิ่มขึ้นมาบ้างตามความจำเป็นของแต่ละองค์กร
หัวข้อสำคัญที่ผู้วิจัยจำเป็นต้องเรียบเรียงไว้ในเอกสารข้อเสนอโครงการวิจัยด้วยตนเองมีดังนี้
4.1 ชื่อหัวข้อวิจัย
4.3 หลักการและเหตุผลในการทำโครงการ หรือ ความเป็นมาของโครงการ
4.6 ข้อมูลทางวิชาการและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการและรายการเอกสารอ้างอิง
4.7 วิธีการและขั้นตอนการวิจัย
4.10 แผนการดำเนินงานของโครงการ
4.2 ชื่อและสังกัดของคณะผู้วิจัยและชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
4.8 ขอบเขตและข้อจำกัดของการวิจัย
4.9 สถานที่ทำการวิจัย
4.11 งบประมาณของโครงการ
4.4 วัตถุประสงค์ของโครงการ
4.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
หลักการเขียนหัวข้อต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของเอกสารข้อเสนอโครงการวิจัย
ผู้เขียนเอกสารนี้จึงต้องเข้าใจโครงการวิจัยของตนเองเป็นอย่างดีและสื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน
และเห็นความเป็นไปได้ในความสำเร็จของโครงการ นอกจากนั้นผู้เขียนจะต้องแสดงความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของทุกหัวข้อตั้งแต่ 4.1 ถึง 4.11 ด้วย
5.1 ชื่อหัวข้อวิจัยต้องสื่อถึงเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลักของโครงการ สิ่งที่ศึกษา และตัวแปร
ชื่อเรื่องไม่ควรยาวเกินไปจึงควรเลือกใช้ข้อความสั้น ๆ
5.2 ชื่อและสังกัดของคณะผู้วิจัย และชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ ในรายวิชานี้กำหนดให้นักศึกษาเขียนรหัสประจำตัว
ชื่อ ลำดับที่ในใบลงชื่อเข้าเรียน และคณะที่สังกัด ตามลำดับจากน้อยไปหามาก
5.3 หลักการและเหตุผลในการทำโครงการ หรือ ความเป็นมาของโครงการ
เป้าหมายในการเขียนหัวข้อนี้เพื่อแสดงถึงความสำคัญหรือความจำเป็นและคุณค่าของโครงการวิจัยเรื่องนี้ ประกอบด้วย 3 ตอน ได้แก่
5.3.1 ความสำคัญของโครงการ
5.3.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ
5.3.3
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นการระบุผลที่จะได้รับจากการปฏิบัติตามที่กำหนด
5.4
ข้อมูลทางวิชาการและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการและรายการเอกสารอ้างอิง
5.4.1 กำหนดคำสำคัญ (key words)
5.4.2 กำหนดหัวข้อย่อยของข้อ
5.4.3 นำคำสำคัญนำไปค้นหาแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
5.4.4 นำข้อมูลที่สืบค้นได้มาวิเคราะห์เพื่อเลือกและประมวลเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ย่อย
5.4.5 เรียบเรียงข้อมูลที่ประมวลได้ตามหัวข้อย่อยที่กำหนดไว้
5.5 วิธีการและขั้นตอนการวิจัย เขียนวิธีการที่ผู้วิจัยนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือตอบโจทย์วิจัย
เนื้อหาที่เขียนต้องแสดงให้ผู้อ่านเข้าใจในประเด็นต่อไปนี้อย่างสมบูรณ์
5.5.1 ลำดับวิธีการที่ใช้ในการหาคำตอบเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ย่อยทุกข้อ
5.5.3 กลุ่มเป้าหมายของโครงการหรือวัตถุที่ศึกษาที่ใช้ดำเนินการใน 5.5.1
5.5.2 เครื่องมือที่นำมาใช้ใน 5.5.1
5.5.4 ขั้นตอนการบันทึกและรวบรวมข้อมูลที่เป็นผลลัพธ์จาก
5.5.5 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจาก 5.5.4
ลำดับวิธีการและขั้นตอนใน 5.5.1, 5.5.4, และ 5.5.5
นอกจากจะต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของโครงการแต่ละข้ออย่างชัดเจนและสมบูรณ์แล้ว
ยังต้องเป็นวิธีการที่ผู้วิจัยเชื่อมั่นว่าสามารถแก้ปัญหาหรือตอบโจทย์ได้สำเร็จหากมีขั้นตอนที่ซับซ้อนเข้าใจยาก
ผู้เขียนควรแสดงเป็นแผนภูมิประกอบข้อความ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องใช้เวลาและความคิดในการจัดหา เตรียม
และสร้างเครื่องมือที่ต้องนำมาใช้การแก้ปัญหาของตนให้พร้อมเสียก่อน หากเป็นเครื่องมือที่สร้างขึ้นใหม่จะต้องมีการทดลองใช้เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเที่ยงตรงก่อนนำมาใช้จริง
5.6 ขอบเขตและข้อจำกัดของการวิจัย เขียนแสดง
5.6.1 รายละเอียดของกลุ่มเป้าหมายหรือวัตถุที่ศึกษา
5.6.2 ระยะเวลาที่ใช้ดำเนินการวิจัย
5.7 สถานที่ทำการวิจัยเขียนสถานที่ที่ใช้ในวิธีดำเนินการวิจัย ทั้งในภาคสนามและห้องปฏิบัติการ
5.8 แผนการดำเนินงานของโครงการแสดงเวลาและกิจกรรมในการดำเนินโครงการวิจัย ควรแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนหลัก
ได้แก่
5.8.1 ขั้นเตรียมการ เช่น เตรียมอุปกรณ์ สารละลาย แบบบันทึกข้อมูล เป็นต้น
5.8.2 ขั้นปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาหรือหาคำตอบ
5.8.3 ขั้นวิเคราะห์และสรุปผลการดำเนินงาน
5.8.4 ขั้นรายงานและนำเสนอผลงานของโครงการ
5.9 งบประมาณของโครงการ
เขียนแสดงค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับดำเนินขั้นตอนหลักทั้ง 4 ขั้นตอน โดยแยกเป็นหมวด
ได้แก่ หมวดค่าวัสดุ เช่น กระดาษ กาว สีน้ำ ฯลฯ หมวดค่าใช้สอย เช่น ค่าโดยสารยานพาหนะในการเดินทางไปยังสถานที่ทำการวิจัย เป็นต้น
ในการเขียนตั้งแต่หัวข้อที่ 5.3
เป็นต้นไปควรเริ่มต้นแต่ละหัวข้อด้วยข้อความนำสู่รายละเอียดโดยใช้ชื่อหัวข้อโครงการเป็นประธานของประโยค เช่น
หัวข้อที่ 5.3.2 เริ่มต้นด้วยข้อความ “โครงการวิจัยเรื่อง ...........................มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้”
หัวข้อที่ 5.5 วิธีและขั้นตอนการวิจัย เริ่มต้นด้วย “โครงการวิจัยเรื่อง
...........................มีวิธีดำเนินการตามลำดับดังต่อไปนี้”