Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคซนสมาธิสั้น -…
บทที่ 4
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคซนสมาธิสั้น
1. ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงโรคซนสมาธิสั้น
1.1 ความหมายโรคซนสมาธิสั้น
1.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงโรคซนสมาธิสั้น
ใช้ชีวิตในสังคม การเรียน หรือการทำงานลดลง ก่อให้เกิดปัญหากับเพื่อน ญาติ หรือพี่น้องอาการต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้น เฉพาะช่วงที่มีอาการของโรคจิตเภทหรือโรคของความผิดปกติทางจิตอื่นๆ โดย
อาการขาดสมาธิมีตั้งแต่ 6 อาการขึ้นไป แต่สำหรับวัยรุ่นตอนปลายและผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้น ไป) ต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อาการขึ้นไป ซึ่งอาการต่างๆมีดังต่อไปนี้
มักจะลืมบ่อยๆ เกยวกับกิจวัตรประจำวัน
มักจะถูกเบี่ยงเบนความสนใจจากสิ่งเร้าภายนอกได้ง่าย (สำหรับวัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ อาจจะรวมถึงความคิดที่ไม่สัมพันธ์กับสิ่งที่ทำ)
มักจะทำของที่จำเป็นสำหรับการเรียนหรือการทำงานหายอยู่บ่อยๆ
มักจะหลีกเลี่ยง ไม่ชอบ หรือลังเลที่จะทำงานที่ต้องใช้ความคิด
มักมีปัญหาในการวางแผนเกี่ยวกับงานหรือการทำกิจกรรมตางๆ
มักจะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและไม่สามารถทำงานเก หน้าที่ให้แล้วเสร็จตามกำหนดได้
มักจะดูเหมือนไม่สนใจฟังเวลาที่พูดด้วยโดยตรง
มักจะไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเล่น
มักจะไม่สามารถจดจำรายละเอียด หรือขาดความรอบคอบจึงทำผิดพลาดในเรื่องเกี่ยวกับการ เรียน การทำงาน หรือการทำกิจกรรมอื่นๆ
มีอาการซน ไม่อยู่นิ่ง และมีอาการหุนหันพลันแล่น ตั้งแต่ 6 อาการขึ้นไป สำหรับวัยรุ่นตอนปลาย และผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป) ต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อาการขึ้นไป ซึ่งอาการดังกล่าวมีเป็นเวลานานติดต่อกัน อย่างน้อย 6 เดือน อยู่ในระดับที่ไม่สอดคล้องเหมาะสมกับระดับของพัฒนาการ ส่งผลทางลบโดยตรงต่อการใช้ชีวิตใน สังคมและการเรียน/การทำงาน และอาการต่างๆนั้นไม่ได้เป็นอาการที่แสดงถึงการมีพฤติกรรมที่ต่อต้าน
เมื่อนั่งอยู่กับที่มักจะมีอาการกระวนกระวาย กระสับกระส่าย หรือรู้สึกทรมาน นั่งขยุกขยิกยุกยิก ตลอดเวลา ใช้มือหรือเท้าเคาะโน่นเคาะนี่
มักจะลุกจากที่นั่งบ่อยๆ ในสถานการณ์ที่ควรต้องนงั่ อยู่กับที่
มักจะขัดจังหวะหรือสอดแทรกผู้อื่น สำหรับวัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่อาจจะเป็นลักษณะการ ก้าวก่ายหรือการยึดครองสิ่งที่ผู้อื่นกำลังทำอยู่
มักจะวิ่งไปทั่วหรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม ในผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นอาจเป็นเพียง ความรู้สึกกระวนกระวายใจ
มักจะไม่สามารถเล่นหรือเข้าร่วมในกิจกรรมสันทนาการได้อย่างเงียบๆ
มักจะยงุ่ วุ่นวายเสมือนหนึ่งขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์อยต ใจอย่างมากถ้าต้องต่อเวลาอยู่ในร้านอาหารหรือการประชุม
มักจะพูดมาก พูดไม่หยดุ
มักจะโพล่งตอบคำถามก่อนที่จะถามคำถามจบ
มักจะมีปัญหาในการรอคอยให้ถึงตาตนเอง
2. สาเหตุ การบำบัดรกษาโรคซนสมาธิสั้น
2.1 สาเหตุของโรคซนสมาธิสั้น ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายปัจจัยดังนี้
1) ปัจจัยทางชีวภาพ
3) ปัจจัยทางจิตสังคม
2) ปัจจัยก่อนคลอด ขณะคลอด หลังคลอด
4) ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
2.2 การบำบัดรักษาโรคซนสมาธิสั้น
1) การรักษาทางยา
ยาที่ได้รับการยอมรับในการนำมาใช้รักษาโรคซนสมาธิสั้น ได้แก่ stimulants และ alpha- adrenergic agonists
ยา methylpheidate (MPH) ซึ่งยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการเพิ่มสารสื่อประสาทโดปามีน (dopamine) และ นอร์อิพิเนฟฟิน (norepinephrine) ในระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งยาจะช่วยลดอาการซนสมาธิ สั้น ช่วยเพิ่มการทำงานของการบริหารจัดการในสมองส่วนหน้า กาจดจำระยะสั้น การแสดงออกในการเรียนพฤติกรรม
ยา atomoxetine (strattera) เป็นยาที่ใช้ได้ผลดีในการรักษาโรคซนสมาธิสั้นโดยไม่เกิด ความเสี่ยงในการใช้ยาที่ผิดหรือพึ่งพา และเป็นยาที่ใช้เมื่อเด็กไม่ตอบสนองต่อยา stimulants ผลข้างเคียงของยาที่พบบ่อย ได้แก่ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ
alpha agonists ไดแก่ ยา guanfacine และ clonidine เป็นยาที่มีประสิทธิผลในการรักษาโรคซนสมาธิสั้น ผลข้างเคียงของยาที่พบบ่อย ได้แก่ นอนละเมอ ปวดศีรษะ อ่อนล้า ปวดท้อง และความดันโลหิตต่ำ
2) การรักษาโดยการปรับพฤติกรรมและการรักษาทางจิตสังคม ได้แก่
การฝึกอบรมพ่อแม่ในการดูแลเด็ก ADHD (parent management training) เพื่อให้สามารถ เลี้ยงดูเด็ก ADHD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มจาก
ให้คำแนะนำพ่อแม่ในการจัดสิ่งแวดล้อมให้เด็ก โดยลดสิ่งเร้าที่จะมากระตุ้นหรือเบ่ียงเบน ความสนใจของเด็กให้น้อยที่สุด เช่น การจัดมุมทำการบ้านให้เด็กในบริเวณที่เงียบสงบ พ่อแม่ประกบตัวต่อตัวเวลา สอนการบ้านเด็ก
ให้คำแนะนำพ่อแม่ในการออกคำสั่งกับเด็กอย่างสั้นๆ และควรให้เด็กทวนซ้ำ เวลาพูดกับเดก็ ควรสบสาย (eye contact) กับเด็กด้วย
แนะนำพ่อแม่ให้จัดทำตารางกิจวัตรประจำวันของเด็ก
ให้คำแนะนำพ่อแม่และบุคคลอื่นในบ้านในการพยายามควบคุมอารมณ์ อย่าตวาดตำหนิเดก็หรือลงโทษอย่างรุนแรงเมื่อเด็กทำผิด ควรมีการตั้งกฎเกณฑ์ไว้ล่วงหน้าว่าเมื่อเด็กทำผิดจะมีการลงโทษอย่างไรบ้าง ด้วยวิธีการลงโทษที่เหมาะสม เช่น การใช้วิธีขอเวลานอก (time out)
สอนเทคนิคต่างๆ ในการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็ก โดยที่ไม่ไปลดความรู้สึก เห็นคุณค่าในตนเองของเด็ก
ให้คำแนะนำพ่อแม่เรื่องไม่เปรียบเทียบเด็กกับพี่น้องหรือเด็กอื่นเพราะจะเป็นการทำลาย ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของเด็ก นอกจากนี้พ่อแม่ควรปฏิบัติตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก เช่น ความมีระเบียบ วินัย การรู้จักรอคอย ความสุภาพ การรู้จักกาลเทศะ การควบคุมอามณ์ และการหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง
การให้ความรู้แก่พ่อแม่เกี่ยวกับโรคและวิธีการบำบัดรักษา ADHD เพื่อพ่อแม่จะได้มีทัศนคติ ที่ดีต่อเด็ก มีความรู้ความมั่นใจในการดูแลแก้ไขปรับพฤติกรรมของเด็ก
การให้ความช่วยเหลือเด็กขณะอยู่ที่โรงเรียน (school focused intervention)
ให้คำแนะนำคุณครูเกี่ยวกับโรค ADHD เพื่อจะได้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง มีทัศนคติที่ดี เกี่ยวกับตัวเด็ก โดยเฉพาะพฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นปัญหาว่าเป็นความผิดปกติมิใช่เรื่องของความรู้สึกชอบ/ไม่ชอบคุณครู
ให้ความรู้และคำแนะนำคุณครูเกี่ยวกับยาที่เด็กรับประทาน เพื่อจะได้ดูแลให้เด็ก รับประทานยาตามเวลา สังเกตอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น และรายงานให้พ่อแม่ผู้ปกครองทราบเพื่อจะได้ปรึกษา แพทย์ผู้ทำการรักษาในการปรับเปลี่ยนยา/ขนาดยาต่อไป เช่น อาการ rebound effect อาการเบื่ออาหาร ๆลๆ
ให้คำแนะนำให้คุณครูบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กขณะอยู่ที่โรงเรียนทั้งในเรื่องผลการเรียน พฤติกรรมของเด็กขณะอยู่ในห้องเรียนสัมพันธภาพระหว่างเด็กกับเพื่อนๆ ฯลฯ เพื่อนำไปประกอบในการวินิฉัยโรค และวางแผนให้การช่วยเหลือเด็ก
ให้คำแนะนำคุณครูเกี่ยวกับเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการปรับพฤติกรรมเด็ก และการจัด สภาพแวดล้อมในห้องเรียน โดย
2) การจัดให้เด็กนั่งอยู่ห่ามกลางเด็กที่เรียบร้อยตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยกันเองระหว่างเรียน
3) การจัดให้เด็กนั่งกลางห้องหรือไกลจากประตูหน้าต่าง เพื่อลดโอกาสที่เด็กจะถูกเบี่ยงเบน ความสนใจจากสิ่งเร้านอกห้องเรียน
1) การจัดให้เด็กนั่งหน้าชั้นหรือนั่งใกล้คุณครูมากที่สุด เวลาที่เด็กขาดสมาธิหรือถูกเบี่ยงเบน ความสนใจ คุณครูจะได้เตือนเด็กได้ง่ายขึ้นในการหันกลับมาสนใจในเรื่องที่กำลังเรียน
4) ควรตรวจสมุดงานของเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กสามารถจดงานได้ครบถ้วน และฝึกฝนให้เด็กตรวจทานงานด้วยตนเอง
5) คณครูควรให้เวลาที่ใช้ในการสอบสำหรับเด็กที่เป็น ADHD นานกว่าปกติ
6) คุณครูควรจัดกิจกรรมอื่นๆ ที่สร้างสรรค์เมื่อเด็กไม่มีสมาธิในการเรียนอีกต่อไป ให้เด็กทำ เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ
7) คุณครูควรเขียนการบ้านหรืองานที่จะให้เด็กทำในชั้นเรียน ให้ชัดเจนบนกระดานดำหรือติดคำสั่งในสมุดที่ใช้ติดต่อกับผู้ปกครองแทนการสั่งงานด้วยวาจา ทั้งนี้รวมถึงการสั่งงานต่างๆ ควรสั่งให้สั้นและเป็น ขั้นตอน
8) คุณครูควรหลีกเลี่ยงการสั่งหลายงานพร้อมกัน ควรให้เด็กทำงานให้เสร็จทีละอย่างก่อน
9) หากเด็กมีสมาธิสั้นมากควรลดเวลางานให้สั้นลง เพื่อให้เด็กเกิดความพยายาม มีความ รับผิดชอบในการทำงานให้เสร็จทีละอย่าง ที่
10) เมื่อเด็กทำความผิด ควรใช้การตัดคะแนน งดเวลาพัก ทำเวรหรือให้เด็กอยู่ต่อหลังเลิก เรียนเพื่อทำงานที่ค้างอยู่ให้เสร็จ หากเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากโรค ADHD เช่น การซุ่มซ่าม การทำของเสียหาย
11) คุณครูควรค้นหาข้อดี/ลักษณะเด่นของเด็กแล้วสนับสนุนให้เด็กได้แสดงออกถึงความสามารถของเขาเพื่อให้เด็กรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง และได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมชั้นเรียน คุณครูเป็นกำลัง สำคัญในการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน
12) ถ้าเด็กมีความผิดปกติทางการเรียนรู้ (learning disorder) ร่วมด้วย เด็กต้องได้รับการ ช่วยเหลือด้านการเรียนเป็นพิเศษ ซึ่งประมาณร้อยละ 30-40 เด็ก ADHD จะมีโรคความผิดปกติทางการเรียนรู้ร่วมด้วย
การให้ความช่วยเหลือโดยมุ่งเน้นที่ตัวเด็กเป็นสำคัญ (child focused intervention)
การช่วยเหลือเป็นพิเศษในเด็กที่มีปัญหาทางด้านการเรียน เช่น การเรียนซ่อมเสริม หรือเข้า ร่วมในโครงการการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและการเรียน ครูและผู้ปกครองสามารถฝึกเด็กให้ รู้จักจัดระเบียบการเรียน การทำตามคำสั่ง การตรวจทบทวนผลงาน การจดบันทึก และการใช้เวลาอย่างมี ประสิทธิภาพ
การบำบัดทางจิตเป็นรายบุคคลในเด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ร่วมด้วย เช่น มองตวเองในแง่ ลบ หรือมีความวิตกกังวล
การฝึกทักษะทางสังคม (social skill training) ให้เด็กสังเกตอารมณ์ความรู้สึกของบุคคลอนื่ รู้จักรอคอย รับฟัง เอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้ว่าอะไรเป็นพฤติกรรมที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม ที่ควรจะแสดงออกเมื่ออยู่ในสังคม เนื่องจากเด็ก ADHD มักขาดทักษะทางสังคมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นทำให้เกิดปัญหาในการอยู่ร่วมกับคน อื่นได้ง่าย เช่น การขาดความอดทนในการรอคอยทำให้เด็กมักแชงคิว ชอบพูดสอดแทรกขณะที่คนอื่นกำลังพูดอยู่ หยิบของของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต ฯลฯ
3. การพยาบาลโรคซนสมาธิสั้น
การวางแผนการพยาบาลในการดูแลช่วยเหลือเด็กที่มีโรคซนสมาธิสั้น ต้องร่วมกันกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ของเด็ก เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ของเด็กนำแผนที่วางไว้ไปปฏิบัติที่บ้านให้มีความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และควรมี การถ่ายทอดแผนที่วางไว้และแนวทางในการบำบัดรักษาพยาบาลเด็กให้คุณครูที่โรงเรียนทราบด้วย เพื่อให้การปฏิบัติ ต่อเด็กมีลักษณะไปในทิศทางเดียวกัน
1) การประเมินสภาพ (assessment)
การประเมินเมื่อเด็กอยู่ที่โรงเรียนและครูมีอะไรบ้าง
ควรมีการประเมินว่าเด็กมีพฤติกรรมอยางไรบ้างขณะอยู่ในห้องเรียน
ลักษณะของการมปฏิสัมพันธ์ต่อเพื่อน
ผลการเรียนเป็นอย่างไร
มีพฤติกรมอะไรบ้างที่ทั้งพ่อแม่ คุณครูและ/หรือตัวเด็กเองมองว่าเป็นปัญหา
ผลกระทบที่เกิดจากพฤติกรรมต่างๆ ของโรคที่มีต่อการเรียนและสัมพันภาพที่มีกับเพื่อน
การประเมินที่โรงพยาบาล กระทำโดยการสังเกต สัมภาษณ์สั้นๆ พ่อแม่และคุณครูที่เป็น แหล่งข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับเด็ก
การจำแนกและการสำรวจเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน
ประเมินตัวเด็กว่ามีพัฒนาการทุกด้านเหมาะสมตามวัยหรือไม่
ประเมินระยะเวลาที่เด็กเริ่มมีอาการของโรค รูปแบบของอาการต่างๆ ในปัจจุบัน (pattern of the current symptoms)
ประเมินว่ามีปัจัยใดที่ทำให้เด็กมีอาการดีขึ้นหรือแย่ลง
ประเมินการรักษาที่เด็กได้รับมาก่อนหน้านี้
ประเมินว่าอะไรที่ทำให้พ่อแม่พาเด็กมารับการรักษา
ประเมินประวัติอดีตในเรื่องเกี่ยวกับอาการของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ การเจ็บป่วยในวัยเด็ก การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การได้รับบาดเจ็บต่างๆ อาการชัก อาการกระตุกของร่ากายบริเวณต่างๆ (tic) การเจริญเติบโตของร่างกาย ภาวะสุขภาพโดยทั่วไป ระยะเวลาที่เด็กได้รับการตรวจร่างกายครั้งสุดท้าย
การประเมินเกี่ยวกับรูปแบบการรับประทานอาหาร การนอน และการทำกิจกรรมต่างๆ
ประเมินรูปแบบการเลี้ยงดูของพ่อแม่ (parenting style)
ความมั่นคงของสมาชิกในครอบครัว (stability of membership) ในทุกๆด้าน
เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเด็ก เช่น การหย่าร้างของพ่อแม่ การเสียชีวิตของบุคคล ในครอบครัว การย้ายที่อยู่อาศัย และการตกงานของพ่อแม่
ประเมินว่าเด็กมีภาวะโรคร่วมหรือไม่
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมกับบทบาทของตน
วิธีการเผชิญปัญหาของครอบครัวไม่มีประสิทธิภาพ
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่อง
แบบแผนการนอนไม่เหมาะสม
การดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายบกพร่อง
มีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองต่ำเป็นระยะเวลานาน
ไม่สามารถทำตามบทบาทหน้าที่ของตนได้อยางมีประสิทธิภาพ
เสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ
3) การวางแผนและการปฏบัติการพยาบาล (planning and implementation)
การกำหนดเป้าหมายทางการพยาบาลระยะสั้นจะมีประโยชน์มากกว่า การกำหนดเป้าหมาย ระยะยาว ซึ่งจะวัดผลได้ยากกว่าและยากที่จะบรรลุเป้าหมาย
ตัวอย่างของเป้าหมายทางการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น เช่น จำนวนครั้งที่เด็กจะถูกไล่ออกจกห้องเรียนลดลงภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์
การปฏิบัติการพยาบาล ได้แก่
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดกับพ่อแม่ เด็ก และคุณครู เพื่อให้เกิดความไว้วางใจและประสานความร่วมมืออันดีระหว่างโรงพยาบาล บ้าน และโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาของเด็ก
ให้ความรู้และคำแนะนำแก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง และคุณครู เกี่ยวกับโรค การดูแลเด็ก การปฏิบัติ
กำหนดพฤติกรรมของเด็กที่คาดหวังร่วมกันระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครอง คุณครู ทีมสหสาขา วิชาชีพ และสื่อสารกับเด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครอง คุณครูให้ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่คาดหวังที่ได้กำหนดไว้
ดูแลให้เด็กได้รับการรักษาด้วยยาร่วมกับการปรับพฤติกรรม และการรักษาทางจิตสังคม
ติดตามและประเมินผลการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา การปรับพฤติกรรม และการรักษา ทางจิตสังคม อาการข้างเคียงอื่นๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งทัศนคติจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง คุณครู และตัวเด็กเอง
4) การประเมินผล (evaluation) จะต้องมีการประเมินผลที่เกิดขึ้นว่า
การพยาบาลเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่
พฤติกรรมต่างๆที่เป็นปัญหาลดลงหรือไม่ ทั้งในแง่ความรุนแรง และความถี่ในการเกิด พฤติกรรมต่างๆที่เป็นปัญหา
เด็กสามารถควบคุมตนเองได้ดีเพียงใด
เด็กมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นหรือไม่
พ่อแม่ ผู้ปกครอง คุณครูสามารถให้การเลี้ยงดูเด็กและปรับพฤติกรรมเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด