Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและมีปัญหาฆ…
บทที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและมีปัญหาฆ่าตัวตาย
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดง ระดับของภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย
1.1.1 ความหมายของภาวะซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้า หมายถึง การที่บุคคลมีพฤติกรรมที่เกิดจากภาวะจิตใจที่หม่นหมอง หดหู่ เศร้ าสร้อย ท้อแท้ สิ้นหวัง และมองโลกในแง่ร้าย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสูญเสียเป็นสำคัญ ทั้งจากการสูญเสียที่เกิดขึ้นจริง หรือ การสูญเสียที่เกิดจากการปรุงแต่งขึ้น พฤติกรรมซึมเศร้านี้เกิดในช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน และกระทบกระเทือนต่อวิถี การดำเนินชีวิตให้ผิดปกติ
1.1.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะซึมเศร้า
1) การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย มักเปลี่ยนแปลงได้ ดังนี้
นอนไม่หลับเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นอาการแรกสุดก่อนที่มีอาการอื่นเกิดขึ้น
ร้อยละ 25 มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย โดยไม่ทราบสาเหตุ
เบื่ออาหาร การรับรสชาติเปลี่ยนแปลง ไม่อยากอาหาร
ร้อยละ 25 น้ำหนักตัวลดลง ดูซูบซีด ดูแก่กว่าอายุจริง
ท้องผูกเนื่องจากการรับประทานอาหารน้อยและร่างกายเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ
ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น ประจำเดือนมาน้อยกว่าปกติหรือมาไม่สม่ำเสมอ
ความต้องการทางเพศลดลง
2) ความสนใจในตนเองลดลง เช่น ไม่รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลลดลง ขาดการมีระเบียบเรียบร้อยการ เปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและอารมณ์ มักพบการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
มีอาการเศร้า เป็นสำคัญ มีความรู้สึกหดหู่ใจ ไม่สดชื่น ไม่แจ่มใส
รู้สึกอยากจะร้องไห้ หรือร้องไห้ง่าย
รู้สึกว่า ตนเองไร้คุณค่า ไม่มีประโยชน์ต่อสังคม อาจทำร้ายตนเอง
ผู้ป่วยร้อยละ 75 หงุดหงิดง่าย และมีความรู้สึกขี้กลัว
มีความคิดเชื่องช้าลง ขาดสมาธิจำอะไรไม่ค่อยได้
มักคิดหมกหมุ่นเกี่ยวกับตนเอง
มีพฤติกรรมที่สื่อในการทำลายข้าวของ และทำร้ายตนเอง
3) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม มักจะพบว่า ผู้ป่วยมีความสนใจสิ่งแวดล้อมลดลง ถอยหนีจากสังคม ไม่ ชอบงานสังสรรค์หรืองานรื่นเริง หรือไม่ชอบไปในที่ชุมชน โดยหากมีการถอยหนีออกจากสังคมมาก หรือเป็น
ระยะเวลายาวนาน ทำให้เกิดอาการประสาทหลอนและหลงผิดได้
1.1.3 ระดับของภาวะซึมเศร้า
ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะซึมเศร้า สามารถจำแนกระดับความรุนแรงเป็น 3 ระดับ
ภาวะซึมเศร้าระดับอ่อน (mild depression/blue mood) คือ ภาวะอารมณ์ที่ไม่สดชื่น หม่นหมอง
บุคคลทั่วไปมักมีประสบการณ์กับภาวะซึมเศร้าระดับนี้เป็นครั้งคราว เช่น เมื่อต้องแยกจากบุคคลอันเป็นที่รักโดยมักมี ภาวะซึมเศร้าระดับนี้เพียงชั่วคราว หรือเมื่อตกในสภาวการณ์ที่บุคคลต้องอยู่ลำพังโดดเดี่ยว
ภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง (moderate depression/neurotic depression) คือ ภาวะอารมณ์ ซึมเศร้าที่รุนแรงขึ้นกว่าระดับอ่อน จนถึงขั้นกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติภารกิจประจำวัน แต่สามารถดำเนินชีวิตได้
อย่างปกติ แต่จะขาดประสิทธิภาพไปบ้าง เช่น จากการสูญเสียสามีทำให้เกิดความเศร้าโศกจนไม่สามารถทำงานได้ ตามปกติโดยกินระยะเวลาหลายเดือน
ภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง (severe depression/Psychotic depression) คือ ภาวะของอารมณ์
ซึมเศร้าที่รุนแรงอย่างมาก มีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมโดยทั่วๆ ไปอย่างเห็นได้ชัดเจน เช่น ไม่สามารถปฏิบต
หน้าที่ในชีวิตประจำวันได้ โดยผู้ป่วยมักถอยหนีออกจากโลกของความเป็นจริง อาจที่ความคิดทำร้ายตนเอง หรือมี อาการหลงผิดได้
1.2.1 ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงของการฆ่าตัวตาย
การฆ่าตัวตาย (suicide) หรือใช้คำว่า อัตวินิบาตกรรม หมายถึง การที่บุคคลมีความคิดอยากทำราย
ตนเอง และพยายามทำให้ชีวิตของตนเองสิ้นสุดลงด้วยวิธีการต่างๆ ที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ การฆ่าตัวตายถือเป็นพฤติกรรมที่ ผิดปกติ และมีพยาธิสภาพทางจิตใจ
1.2.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงของการฆ่าตัวตาย
1) บุคคลจะพยายามทำร้ายตนเองด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งอาจเป็นกลุ่มผู้ที่พยายามทำร้ายตนเอง แต่ไม่ได้ หวังผลจะให้ตายจริงๆ และอาจพยายามทำบ่อยครั้งเพื่อประท้วงหรือเรียกร้องความสนใจให้ผู้อื่นหันมาสนใจ/ใส่ใจตน
มากขึ้น และกลุ่มผู้ที่มีความคิดว่าการฆ่าตัวตาย คือทางออกที่ดีที่สุดไม่มีทางอื่นใดที่จะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการอื่นๆ ได้ อีก บุคคลกลุ่มนี้มักจะท้อแท้ สิ้นหวัง รู้สึกไร้คุณค่า และขาดที่พึ่ง รวมถึงมีภาวะซึมเศร้าในระดับรุนแรง และประมาณ ร้อยละ 20 หรือ 3 เท่าของการฆ่าตัวตายได้สำเร็จ พบว่า เป็นบุคคลที่มีการพยายามฆ่าตัวตายและจะฆ่าตัวตายได้
สำเร็จในครั้งต่อมา ซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิงอายุต่ำกว่า 35 ปี และมักกระทำเพื่อเรียกร้องความสนใจ ต้องการเอาชนะ หรือทำให้คนอื่นเสียใจ แต่มักเลือกใช้วิธีการที่ได้ผลช้าและมักกระทำในที่ที่มีคนมาช่วยได้ เช่น กินยาเกินขนาด บุคคล
ที่มีลักษณะอาการและอาการแสดงดังกล่าวมานี้เรียกว่า มีการพยายามฆ่าตัวตาย (attempted suicide)
2) บุคคลกลุ่มนี้มีความคิดซ้ำๆ ที่จะทำร้ายตนเอง แต่ยังขาดความเชื่อมั่นในการตัดสินใจกล้าๆ กลัวๆ และมักแสดงออกด้วยการพูดเปรยๆ หรือบอกผู้อื่นในเชิงขู่ว่า ตนจะทำฆ่าตัวตาย บุคคลที่มีลักษณะอาการและอาการ
แสดงดังกล่าวมานี้เรียกว่า การฆ่าตัวตายแบบคุกคาม (threatened suicide)
3) บุคคลกลุ่มนี้จะมีอารมณ์ซึมเศร้าชัดเจนมีความมุ่งมั่นที่จะฆ่าตัวตายให้สำเร็จ มีการวางแผนการ กระทำ และต้องการให้เกิดผลโดยแท้จริง มักจะแสดงพฤติกรรมที่เป็นการเตือนทั้งทางอ้อม หรือบอกตรงๆ ก่อนที่จะ
ลงมือทำการฆ่าตัวตาย และจะกระทำได้สำเร็จหากไม่มีใครมาพบหรือมาช่วยเหลือได้ทันการ บุคคลที่มีลักษณะอาการ และอาการแสดงดังกล่าวมานี้เรียกว่า การฆ่าตัวตายสำเร็จ (completed suicide / committed suicide)
1.2.3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ส่งผลให้บุคคลที่มภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมีดังต่อไปนี้
หรือหม้าย
บุคคลที่แต่งงานและมีบุตร มีอัตราการฆ่าตัวตายน้อยกว่า บุคคลที่มีสถานะโสด แยกทาง หย่าร้าง
เพศหญิงมีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายมากกว่าเพศชาย แต่พบว่า เพศชายจะฆ่าตัวตายสำเร็จ
มากกว่าเพศหญิง
เมื่อบุคคลอายุเพิ่มมากขึ้นจะมีภาวะเสี่ยงในการฆ่าตัวตายมากขึ้น ดดยเฉพาะในช่วงอายุ 15-24 ปี ซึ่งเป็นวัยรุ่นที่มีการปรับตัวมากทั้งด้านร่างกายและจิตใจรวมทั้งสิ่งแวดล้อม เช่น การคบเพื่อน การต้องอยู่ในสังคมที่มี การแข่งขันสูง หรือมีการใช้สารเสพติด ซึ่งจะส่งผลให้มีการฆ่าตัวตายได้
ร้อยละ 25 ของบุคคลที่พยายามฆ่าตวตาย มีประวัติว่ามีการฆ่าตัวตายของบุคคลในครอบครัวมากอน
บุคคลที่มีโรคเรื้อรังหรือเป็นโรคที่มีความทุกข์ทรมานมาก จะมีอัตราการฆ่าตัวตายมากกว่าบุคคล ทั่วไปถึง 7 เท่า
ร้อยละ 90 ของบุคคลที่ฆ่าตวตายสำเร็จมักเป็นบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตประมาณ โดยครึ่งหนึ่งของ ผู้ที่ฆ่าตายจะมีภาวะซึมเศร้าขณะลงมือฆ่าตัวตาย และ 1 ใน 3 ของผู้ที่ฆ่าตัวตายเป็นผู้ที่ติดสุราเรื้อรังหรือมีการใช้สาร เสพติด
บุคคลที่ฆ่าตัวตายสำเร็จเคยมีประวัติการพยายามฆ่าตัวตายมาก่อนร้อยละ 50-80
บุคคลที่ต้องต่อสู้ชีวิตตามลำพัง เช่น ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่โดดเดี่ยว ขาดผู้ดูแล บุคคลที่ตกงาน/ขาด รายได้ หม้าย เป็นต้น
บุคคลที่ต้องทำงานในสภาวะกดดัน/สถานการณ์เคร่งเครียดหรือต้องรับผิดชอบสูง ขาดการพักผ่อน ต้องทำงานหนักยาวนาน ไม่มีเวลาในการใช้ชีวิตที่ผ่อนคลายหรืออยู่กับครอบครัว จะมีภาวะเสี่ยงต่อการฆาตัวตาย
มากกว่าคนทั่วไป
สาเหตุการเกิดภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย
2.1 สาเหตุการเกิดภาวะซึมเศร้า สามารถด้วยแนวคิด2 แนวคิดดังนี้
1) แนวคิดด้านการใช้กลไกทางจิตใจ อธิบายว่า ผู้ที่มีพฤติกรรมซึมเศร้า มีสาเหตุมาจากความเจ็บปวด
ที่เกิดจากความสูญเสีย (loss) ในสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง เช่น ความตายของบุคคลอันเป็นที่รัก หรือการสญเสีย
เกียรติยศ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน เป็นต้น และเกิดจากการสูญเสียที่เกิดจากการคิดปรุงแต่งขึ้นเองอย่างเกินความเป็นจริง เช่น คิดว่าตนเองสูญเสียบทบาทหน้าที่ที่เคยเป็น รู้สึกว่าตนเองไร้ค่าไร้ความหมายอย่างมากมาย หรือการที่บุคคล สูญเสียอวัยวะบางส่วนไปก็กลับคิดว่าตนเองหมดสภาพไปทั้งหมด เป็นต้น
2) แนวคิดด้านการเปลี่ยนแปลงของสารชีวเคมีในร่างกาย พบว่า ผู้ที่มีอารมณ์ซึมเศร้าเกิดจากการลด น้อยลงของสารจำพวกไบโอจินิก อะมีนส์ (biogenic amines) ในทางระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งมีคุณสมบัติของสาร กลุ่มนี้จะทำหน้าที่กระตุ้นสมองส่วนที่ทำให้มนุษย์ตื่นตัว เมื่อสารกลุ่มนี้ลดลงบุคคลจึงเกิดอารมณ์เศร้าหดหู่ในระดับที่
แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้การแก้ไขอารมณ์ซึมเศร้าจึงมุ่งไปที่การเพิ่มระดับอะมีนส์ (amines) ในกระแสโลหิต โดยใช้ยา จำพวก tricycles และ monoamine oxides inhibitor หรือการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า (electro convulsive therapy: ECT)
2.2 สาเหตุการฆาตัวตาย ยังไม่มีการอธิบายไว้อย่างชัดเจนนักแต่มีการกล่าวถึงไว้ดงั นี้
1) สาเหตุด้านชีวภาพ
การเจ็บป่วยทางด้านร่างกายที่เรื้อรังที่มีความทุกข์ทรมาน เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคพิษสุราเร้ือรัง, การเจ็บป่วยที่ไร้สมรรถภาพโดยเฉพาะความสามารถทางการเพศ, โรคมะเร็งระยะสุดท้ายหรือมีภาวะนอนไม่หลับ รุนแรง เป็นต้น
2) สาเหตุด้านจิตใจ
การเจ็บป่วยทางจิตใจที่มักเป็นสาเหตุของการฆาตัวตาย ได้แก่ โรคทางอารมณ์, โรคซึมเศร้า, ผู้ที่มี อาการหลงผิด, ผู้ที่มีประสาทหลอน, บุคคลที่ติดสารเสพติดในระยะขาดยา/สารเสพติด (withdrawal symptoms) เป็นต้น
ด้านจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory) ซิกมัน ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ได้อธิบายถึง
การฆ่าตัวตาย ว่า เป็นการทำงานของจิตใต้สำนึกในบุคคลที่ไม่มีความเข้มแข็งพอที่จะจัดการกับความวิตกกังวลหรือ ความขัดแย้งภายในจิตใจตน ที่ตอบสนองต่อแรงขับของความก้าวร้าวที่หันเข้าสู่ตนเองหรือตอบสนองความขัดแยง้ ทาง
จิตที่เลือกใช้กลไกทางจิตแบบกล่าวโทษตนเอง (introjections) เพื่อจัดการกับความวิตกกังวลหรือความขัดแย้งภายใน ตัวตน (ego) ของตนเอง
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด (cognitive-behavioral theory) อธิบาย ว่า การฆ่าตัวตายเป็นผล
มาจากการเรียนรู้ต่อสิ่งเร้าที่เป็นอันตราย (noxious stimulus) ว่าไม่สามารถแก้ไขหรือจัดการกับปัญหาเหล่าน้นได
จึงเกิดความรู้สึกหมดหวัง สิ้นหวัง และขาดที่พึ่ง ซึ่งอาจมีปัจจัยด้านความคิดความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผลมาสนับสนุน ทำให้บุคคลคิดว่าตนเองไม่มีคุณค่า ไม่มีความสามารถ เต็มไปด้วยความรู้สึกผิด ซึ่งอารมณ์ทางลบเหล่านี้จะทำให้ บุคคลขาดศักยภาพในการประมวลความคิด จำแนกแยกแยะพิจารณาทางเลือกเพื่อเผชิญปัญหาหรือสิ่งที่รู้สึกว่าเป็น อันตรายอย่างสร้างสรรค์ จึงทำให้บุคคลเลือกใช้การฆ่าตัวตายเป็นทางออกของการแก้ไขปัญหาชีวิตได้
3) สาเหตุทางด้านสังคม
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล อธิบายว่า การฆ่าตัวตายเกิดจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่ ไม่ดีในระยะ 2 ปีแรกของช่วงชีวิต ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างมารดาและบุตร หรือผู้เลี้ยงดูกับทารก การยอมรับหรือ การปฏิเสธของแม่และผู้เลี้ยงดู เป็นพื้นฐานในการพัฒนาระดับความมีคุณค่าในตนเอง (self-esteem) หากระดับ ความมีคุณค่าในตนเองมีระดับต่ำมากๆ จะเป็นตัวบ่งชี้ระดับภาวะซึมเศร้าซึ่งจะพัฒนาไปสู่การฆ่าตัวตายได้ นอกจากนี้
การสูญเสียหรือการพลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รัก จะทำให้บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าซึ่งอาจจะนำไปสู่การฆ่าตวตายได้ เช่นกัน
ประเพณีบางอย่างที่มีข้อกำหนดให้บุคคลฆ่าตัวตาย เช่น การทำฮาราคีรี (hara-kiri)
4) สาเหตุด้านจิตวิญญาณ
บุคคลที่ขาดที่พึ่งหรือสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ จะทำให้บุคคลรู้สึกโดดเดี่ยว สิ้นหวัง ไม่สามารถ
มองเห็นศักยภาพของตนเอง ขาดพลังงานในชีวิต และมีความบกพร่องในการปรับมุมมองชีวิตจากพลังทางลบให้ กลายเป็นพลังทางบวกในการที่ฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคในชีวิตได้ ตัวอย่างที่พึ่งหรือสิ่งที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ เช่น ศาสนา,
ปรัชญาชีวิต, ความคิดความเชื่อของบุคคลที่ยึดถือในการดำเนินชีวิตอย่างสงบสุขและพอเพียง
5-Hydroxyindoleacetic acid (5-HIAA) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำให้บุคคลมีอารมณ์เศร้ามี เพิ่มมากขึ้น พบว่า ผู้ที่เสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายมีระดับ 5-Hydroxyindoleacetic acid (5-HIAA) ในน้ำไขสันหลังมี ระดับต่ำลง
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและที่มีปัญหาฆ่าตัวตาย
3.1 การพยาบาลบุคคลที่มภาวะซึมเศร้า
1) การประเมินภาวะซึมเศร้า พยาบาลควรประเมินผู้ป่วย ดังนี้
ประเมินระดับความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า ตั้งแต่ภาวะซึมเศร้าระดับอ่อนจนถึงระดับรุนแรง โดยเฉพาะพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง
ประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วย
ประเมินการดูแลตนเองด้านสุขอนามัยและกิจวัตรประจำวัน
ประเมินความสนใจในสิ่งแวดล้อม
ประเมินการได้รับสารอาหารและน้ำความเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย
ประเมินความสมดุลระหว่างการทำกิจกรรมและการพักผ่อนตามความต้องการของร่างกาย
ประเมินบุคลิกภาพและรูปแบบการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยที่เคยใช้มา
ประเมินความพร้อมของแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมของผู้ป่วย เมื่อต้องการเผชิญปัญหา ชีวิตหรือมีภาวะซึมเศร้า
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล จะมุ่งเน้นการลดภาวะซึมเศร้าและป้องกันการทำร้ายตนเองเป็นสำคัญ โดย
การกำหนดเป้าหมายระยะสั้น
เพื่อลดภาวะซึมเศร้า
เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย ในกรณีที่ปัจจัยเสี่ยง
เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายซ้ำในกรณีที่เคยมีประวัติการพยายามฆ่าตัวตายมาก่อนหน้า
เพื่อดูแลอาการและอาการแสดงทางด้านร่างกายอื่นๆ ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว การกำหนดเป้าหมายระยะยาว
เพื่อเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองแก่ผู้ป่วย
เพื่อปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพและรูปแบบการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์
เพื่อพัฒนาทักษะในการแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ตัวอย่างการเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง
เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซ้ำเนื่องจากเคยมีประวัติการทำร้ายร่างกายตนเอง
นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง
ขาดทักษะการเผชิญปัญหาเนื่องจากคิดว่าตนเองไร้ค่าและไร้ความหมาย
3) กิจกรรมการพยาบาล จุดมุ่งเน้นในการพยาบาลตามวัตถุประสงค์ทางการพยาบาลและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ดังนี้
การลดภาวะซึมเศร้า ควรให้การพยาบาล ดังนี้
สร้างสัมพันธภาพแบบตัวต่อตัวตามแบบแผนการสร้างสัมพันธภาพ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล
กล่าวทักทายผู้ป่วยสม่ำเสมอ พร้อมเรียกชื่อผู้ป่วยทุกครั้ง
เสนอตัวให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยและนั่งเป็นเพื่อนผู้ป่วยแม้ว่าผู้ป่วยปฏิเสธ
สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอด้วยการให้กำลังใจ เห็นใจ และเข้าใจผู้ป่วย ใส่ใจกับการสื่อความหมายทั้งภาษาพูดและภาษาท่าทาง
การใช้เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยแสดงความคิด ความรู้สึก เศร้าหรือความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง
จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด ด้วยการจัดหอผู้ป่วยให้สะอาด มีอากาศถ่ายเท มีแสงสว่างเพียงพอ มีการดำเนินกิจกรรมในหอผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามแผนการรักษาของแพทย์ สังเกตอาการข้างเคียงของยาที่อาจ เกิดขึ้นและช่วยเหลือทันที
สังเกตและบันทึกพฤติกรรมของผู้ป่วยโดยละเอียด
การป้องกันการทำร้ายตนเองและผู้อื่น ควรให้การพยาบาล ดังนี้
ประเมินโอกาสเสี่ยงในการทำร้ายตนเอง การมีอาการประสาทหลอน หรือมีอาการหลงผิด
วางแผนการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อแก้ไขปัญหาตามปัญหาที่ประเมินได้
เสนอตัวในการอยู่เป็นเพื่อนเมื่อผู้ป่วยแสดงอาการหวาดกลัว
ดูแลผู้ป่วยใกล้ชิดเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยหรือผู้อื่นอย่างทันทีทันใด
การส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองให้แก่ผู้ป่วย ควรให้การพยาบาล ดังนี้
สร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยกับพยาบาล เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ
ให้การยอมรับผู้ป่วยโดยเรียกชื่อผู้ป่วยให้ถูกต้องและทักทายผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงคำพูดที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกถูกหลบหลู่ศักดิ์ศรี เอาใจใส่รับฟังเรื่องราวของผู้ป่วยด้วยท่าทีจริงใจและเป็นมิตร
กระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมที่เห็นผลในระยะสั้น
สอนให้ผู้ป่วยเรียนรู้การตั้งเป้าหมายระยะสั้นตามความสามารถตน
สนับสนุนและชมเชยทันทีที่ผู้ป่วยทำงานได้สำเร็จ
ชี้แจงแนวทางแก่บุคลากรและให้ความรู้แก่ญาติเกี่ยวกับการเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองให้แก่ผู้ป่วย
การส่งเสริมการดูแลตนเองด้านสุขอนามัยและกิจวัตรประจำวัน ควรให้การพยาบาล ดังนี้
เข้าใจและยอมรับสภาพของผู้ป่วยโดยไม่ใช้ความคิดเห็นของพยาบาลตัดสิน
กระตุ้นและช่วยเหลือให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและรักษาสุขอนามัยของตนเอง ในเรื่องการทำความสะอาดของร่างกาย การแต่งกาย การรับประทานอาหาร การขับถ่าย และการดูแลความเรียบร้อยของ เครื่องนอนและของใช้ส่วนตัว
การกำหนดตารางเวลาในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันร่วมกับผู้ป่วย และการกระตุ้นหรือ ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามเวลาที่กำหนด
ให้กำลังใจและชมเชยทันทีเมื่อผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและรักษาสุขภาพอนามัยด้วยตนเอง
การส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม ควรให้การพยาบาล ดังนี้
จัดสิ่งแวดล้อมให้มีการเปลี่ยนแปลงและกระตุ้นความสนใจ
ในระหว่างการสนทนาต้องชักชวนให้ผู้ป่วยสนใจสิ่งแวดล้อมหรือกระตุ้นให้สนทนากับบุคคล รอบตัวผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ
เตรียมให้ผู้ป่วยมีความพร้อมที่จะมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นด้วยกระบวนการสัมพันธภาพ ระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย
แนะนำผู้ป่วยให้รู้จักผู้ป่วยอื่นเพื่อให้ผู้ป่วยได้ทดสอบการสร้างสัมพันธภาพ
จัดให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมในหอผู้ป่วยโดยเริ่มจากกิจกรรมกลุ่มขนาดเล็ก มีสมาชิก 2-3 คน ก่อน เมื่อผู้ป่วยมีความมั่นใจมากขึ้นจึงนำผู้ป่วยเข้ากิจกรรมกลุ่มขนาดใหญ่ขึ้น
การดูแลเรื่องการให้ได้รับสารน้ำสารอาหารให้เพียงพอต่อร่างกาย ควรให้การพยาบาล ดังนี้
กระตุ้นชักชวนให้ผู้ป่วยอยากและรับประทานอาหาร
ดูแลความสะอาดของปากและฟัน
จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการรับประทานอาหาร ตลอดจนจัดอาหารให้น่ารับประทาน
กรณีที่ผู้ป่วยไม่รับประทานอาหาร จัดการให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารโดยวิธีใดวิธีหนึ่งด้วยทาทีอ่อนโยน
กรณีที่ผู้ป่วยดูแลตนเองได้ ดูแลรับประทานอาหารตามเวลาในปริมาณอันสมควรกับความ
กรณีที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย ดูแลให้รับประทานอาหารระหว่างมื้อเพิ่มเติมหรือแนะนำ ญาติให้จัดอาหารที่ผู้ป่วยชื่นชอบ
ดูแลให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6 แก้ว
ติดตามชั่งน้ำหนักตัวผู้ป่วยทุกๆ สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
สังเกตและบันทึกพฤติกรรม จำนวนอาหารและน้ำที่ผู้ป่วยได้รับในแต่ละวัน
สังเกตการขับถ่ายของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยอาจมีอาการท้องผูกจากการได้รับสารอาหารและน้ำ น้อยตลอดจนมีการเคลื่อนไหวลดลง
รายงานความก้าวหน้าของอาการผู้ป่วยแก่แพทย์ผู้ทำการบำบัดรักษา เพื่อพิจารณาการ บำบัดรักษาให้เหมาะสมแก่ผู้ป่วย
การส่งเสริมการทำกิจกรรมและการพักผ่อนตามความต้องการของร่างกายให้เกิดความสมดุล ควรให้การพยาบาล ดังนี้
ยอมรับพฤติกรรมของผู้ป่วยตามสภาพที่เป็นอยู่
จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัดโดยจัดหอผู้ป่วยให้สะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี แสงสว่างเพียงพอ ลดเสียงรบกวน
ประเมินปัญหาการนอนหลับพักผ่อนของผู้ป่วย งดอาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นสาเหตุที่ทำให้นอน
ไม่หลับและให้ผู้ป่วยดื่มเครื่องดื่มที่เป็นประโยชน์อุ่นๆ ก่อนนอน
พูดคุยเป็นเพื่อนและรับฟังความไม่สบายใจของผู้ป่วย ปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการนอน หลับของผู้ป่วยแต่ละคน
ชี้แจงให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความต้องการของร่างกายในการนอนหลับพักผ่อน และการทำกิจกรรมที่สมดุล
จัดให้ผู้ป่วยมีการออกกำลังกายเป็นรายบุคคลหรือเข้ากลุ่มหรือเข้ากลุ่มนันทนาการ เพื่อการ
กระตุ้นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยตามสภาพของผู้ป่วย
การสอนและฝึกทักษะการเผชิญปัญหา เพื่อปรับปรุงบุคลิกภาพให้ผู้ป่วยเข้มแข็งมากขึ้น พยาบาลควรให้การพยาบาล ดังนี้
ประเมินรูปแบบการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยว่า มุ่งเน้นปัญหาหรือมุ่งเน้นการตอบสนองอารมณ์ เพียงอย่างเดียว รูปแบบการเผชิญปัญหาที่เคยใช้ส่งผลกระทบทางบวกหรือทางลบต่อการดำเนินชีวิตหรือไม่
ประเมินบุคลิกภาพของผู้ป่วยว่ามีความเข้มแข็งในการเผชิญปัญหาชีวิตมากน้อยเพียงใด
ประเมินว่าผู้ป่วยเข้าใจถึงการเชื่อมโยงกันของภาวะซึมเศร้ากับผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นทั้งต่อ ตนเอง ครอบครัว และบุคคลที่ตนรัก
เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยมองหาศักยภาพตนเองและปรับเปลี่ยนมุมมองต่อปัญหาให้เป็นไปในทางบวก
เพิ่มมากขึ้น
กระตุ้นเตือนให้นึกถึงและให้ความสำคัญกับบุคคลสำคัญในชีวิตที่ผู้ป่วยรัก ส่งเสริมให้รู้สึกมี
ความหวังและมีเป้าหมายในชีวิต
กระตุ้นให้มีการตงั้ เป้าหมายในชีวิตและให้เรียนรู้สิ่งใหม่ เพื่อให้เกิดการดูแลตนเองอย่างแท้จรงิ
ฝึกให้ผู้ป่วยเรียนรู้และเปลี่ยนวิธีการใช้กลไกการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์แทน โดยอาจสอน รายบุคคลด้วยการให้แสดงบทบาทสมมตหรือเข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัดกับเพื่อนผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่ง
กันและกันถึงวิธีการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์มากกว่าที่เคยใช้อยู่เดิม
ให้กำลังใจและเสริมแรงเมื่อผู้ป่วยใช้กลไกการเผชิญปัญหาได้เหมาะสมมากขึ้น
สอนและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมของผู้ป่วยที่มค สอดคล้องกับผู้ป่วย พยาบาลควรดำเนินการ ดงั นี้
วาม
ประเมินความพร้อมของครอบครัวในการช่วยเหลือผู้ป่วย และประเมินว่าผู้ป่วยมีแหล่งสนับสนุน ช่วยทางสังคมอื่นๆ หรือไม่
ประเมินผู้ป่วยว่ามีความสามารถพอในการประเมินศักยภาพของตนเอง เมื่อต้องเผชิญกับปัญหา
ของชีวิตหรือไม่ และมีความสอดคล้องกับการแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือที่เหมาะสมกับศักยภาพของตนเองได้ หรือไม่
ให้ความรู้และช่วยแนะนำแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสมกับบริบทของผู้ป่วย และครอบครัว
ส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
พูดคุยและส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วยและครอบครัว อธิบายให้ครอบครัวเข้าใจ ยอมรับและเห็นใจผู้ป่วย คอยอยู่เป็นเพื่อนให้กำลังใจไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกโดดเดี่ยวไร้ที่พึ่ง
ให้ความรู้แก่ครอบครัวถึงอาการและอาการแสดงของภาวะซึมเศร้า แนวทางในการช่วยเหลือ ผู้ป่วย โดยเฉพาะในเรื่องการป้องกันการทำร้ายตนเองและผู้อื่น เพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในการเสริมสร้างความ
4) การประเมินผลทางการพยาบาล ข้อบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่า การพยาบาลได้ผลทางบวก ดงั นี้
ผู้ป่วยเข้าใจและรับรู้ศักยภาพของตนเอง สามารถแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือที่เหมาะสมกับศักยภาพของตนเองได้
ผู้ป่วยมีวิธีการเผชิญปัญหาที่เหมาะสมมากขึ้น
ผู้ป่วยสร้างเป้าหมายในชีวิตและสามารถปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมายนั้นได้
ผู้ป่วยสร้างสัมพันธภาพกบผู้อื่นได้มากขึ้นและแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือที่เหมาะสมได้
ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้อยางน้อยวันละ 20 นาที
ผู้ป่วยสามารถนอนหลับอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง
น้ำหนักของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอยางน้อย 0.5 กิโลกรัมภายใน 1 สัปดาห์
ผู้ป่วยรับสารน้ำและอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ไม่มีอาการอ่อนเพลีย หรือไม่มี วย่นจากการขาดน้ำ
ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารเองโดยไมต้องกระตุ้นอาการผิวหนังเหยย
ผู้ป่วยทักทายพูดคุยกับผู้อื่นได้มากยงิ่ ขึ้น และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมในหอผู้ป่วยได้
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวตรประจำวันและสามารถรักษาสุขอนามัยของตนเองได
ผู้ป่วยพูดถึงตนเองด้วยความพอใจ
ผู้ป่วยและผู้อื่นปลอดภย ไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
ผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าลดลงโดยสังเกตจากสีหน้าผู้ป่วยว่า สีหน้าแจ่มใสมากขึ้น สนใจบุคคลอื่น และสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น
3.2 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาการฆ่าตัวตาย
1) การประเมินปัญหาการฆ่าตัวตาย
ข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยง และเป็นสาเหตุชักจูงให้ฆ่าตัวตาย เช่น สถานภาพสมรส, อายุ, เพศ, อาชีพ, รายได้, สภาพความเป็นอยู่แบบแผนการดำเนินชีวิต, การเจ็บป่วยทางร่างกายและทางจิต, บุคลิกภาพ, ประวัติการพยายามฆ่าตัวตายของตนหรือบุคคลในครอบครัว, วิธีการพยายามทำร้ายตนเอง เป็นต้น
อาการและอาการแสดง เช่น มีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง, รู้สึกไม่มีคุณค่าในตนเองสิ้นหวงั และ ขาดที่พึ่ง, มีกลุ่มอาการในกลุ่ม affective disorder ที่มีบุคลิกภาพแปรปรวน, มีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เป็นต้น
มีความตั้งใจ/มีการวางแผนการฆ่าตัวตายอย่างชัดเจน เช่น มีการพูดถึงความตาย , การส่ง สัญญาณเตือนต่างๆ การสั่งลา การสั่งเสีย ในกรณีที่เคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน พยาบาลต้องซักถามให้ชัดเจน ว่าผู้ป่วยยังมีความคิดยากตายหรือไม่
ความพร้อมในด้านขอแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมของผู้ป่วย เมื่อต้องเผชิญกับภาวะวิกฤต ของชีวิต บุคคลใกล้ชิดหรือบุคคลสำคัญของผู้ป่วยที่ช่วยเหลือผู้ป่วยมีเพียงพอหรือไม่ มีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือ หรือให้กำลังใจผู้ป่วยหรือไม่
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายหรือการฆ่าตัวตายซ้ำ
เพื่อส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วย
กระตุ้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย เป้าหมายระยะยาว
เพื่อฝึกทักษะในการเผชิญปัญหาอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์
เพื่อฝึกทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นเนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีบุคลิกภาพแบบเก็บ ตัว และขาดทักษะในการสื่อสารความต้องการของตนเองกับผู้อื่น โดยมักก็บกด โทษตนเอง และใช้อารมณ์ในการแก้ไขปัญหา
3) กิจกรรมทางการพยาบาล
การเฝ้าระวังหรือป้องกันการฆ่าตัวตาย พยาบาลควรดำเนินการ ดังนี้
ประเมินความเสี่ยงและวางแผนป้องกันการฆ่าตัวตายจากพฤติกรรมของผู้ป่วย ได้แก่ คำพูดความคิด ความรู้สึก และสถานการณ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
จำกัดบริเวณหรือผูกยึดผู้ป่วยในกรณีที่จำเป็น
จัดบุคลากรให้ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย ได้แก่ ห้องพักมีแสงสว่าง ไร้มุมอับ ปราศจากอุปกรณ์ที่ เป็นอาวุธที่สามารถทำร้ายตนเอง มีอากาศถ่ายเทสะดวก และควรจัดของใช้ให้ผู้ป่วยเท่าที่จำเป็น เป็นต้น
รายงานการเปลี่ยนแปลงอาการของผู้ป่วยในการเปลี่ยนผลัดเวรทุกเวร
ดแลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามแผนการรักษาของแพทย
ส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วย โดยพยาบาลควรดำเนินการ ดังนี้
สร้างสัมพันธแบบตัวต่อตัว ให้เกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล ได้ระบายความรู้สึกเมื่อระดับ ภาวะซึมเศร้าบรรเทาลดลง พิจารณาการกระตุ้นเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น
ให้การยอมรับผู้ป่วย โดนการเรียกชื่ออย่างถูกต้อง การกล่าวทักทาย สอบถามสุขทุกข์ของผู้ป่วย อย่างสม่ำเสมอ ไม่ตำหนิ ไม่ตัดสิน เข้าใจ เปิดโอกาสรับฟังเรื่องราวของผู้ป่วย
กระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มต่างๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความสามารถของผู้ป่วยทั้งนี้เริ่มต้นจากกิจกรรมกลุ่มง่ายและใกล้ตัว เช่น กลุ่มการดูแลตนเอง (สุขอนามัยส่วนบุคคล) และพยายามกระตุ้นเข้า กิจกรรมกลุ่มอื่นๆ ตามความถนัดสนใจ เช่น กลุ่มศิลปะบำบัด กลุ่มอาชีวบำบัด เป็นต้น
การส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย พยาบาลควรดำเนินการ ดังนี้
ส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีของผู้ป่วยและครอบครัว ให้พูดคุยอย่างเข้าใจ เปิดใจยอมรับ เห็นใจ ผู้ป่วยและครอบครัว ให้เกิดมีกำลังใจลดความรู้สึกการไร้ที่พึ่ง
อธิบายให้ครอบครัวเข้าใจอาการ/ภาวะซึมเศร้า ร่วมทั้งการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยว่ามีสาเหตุที่ เข้าใจได้ ช่วยเหลือ เฝ้าระวัง และครอบครัวมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ป่วยได้
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งประโยชน์ที่สนับสนุนช่วยเหลือครอบครัว/ผู้ดูแล และผู้ป่วยที่มีการฆ่าตัว ตาย ที่เหมาะสมกับบริบททางสังคมและครอบครัว
ฝึกทักษะการเผชิญปัญหาในชีวิตอย่างสร้างสรรค์ พยาบาลควรปฏิบัติการพยาบาล ดังนี้
ค้นหาแรงกดดันและรูปแบบลักษณะการดำเนินชีวิตที่กระตุ้นให้ฆ่าตัวตาย
ค้นหาศักยภาพในตัวของผู้ป่วยเพื่อเสริมสร้างพลังชีวิตให้กับผู้ป่วย
ส่งเสริมและสร้างความเข้าใจในบุคลิกภาพ กลไกทางจิตของตนเองที่มีผลทางลบต่อตนเอง
ช่วยค้นหาวิธีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบการเผชิญปัญหา รวมทั้งการเลือกใช้กลไกทางจิตที่ เหมาะสมมากขึ้น โดยอาจผ่านกิจกรรมรายบุคคลหรือกิจกรรมกลุ่ม
กระตุ้นการตั้งเป้าหมาย ความรู้สึกมีความหวัง และการเรียนรู้สิ่งใหม่
ให้การยอมรับไม่ตัดสินหรือกดดันผู้ป่วย ในกรณีที่ผู้ไม่สามารถพัฒนาตนได้ดีพยาบาลควรให้ กำลังใจและคอยกระตุ้นเตือนให้ปรับปรุงตนอย่างสม่ำเสมอ
4) การประเมินผลทางการพยาบาล ข้อบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่าการพยาบาลได้ผลในทางบวก ได้แก่
ผู้ป่วยปลอดภัยไม่มีพฤติกรรมการพยายามฆ่าตัวตาย
ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณคาในตนเองเพิ่มมากขึ้น
ผู้ป่วยสามารถตั้งเป้าหมายในชีวิตและมีความหวังในชีวิตมากยิ่งขึ้น มีพลังในการปฏิบัติตนให้ บรรลุผลตามเป้าหมาย
ผู้ป่วยสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้มากยิ่งขึ้น และสามารถแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือที่ เหมาะสมกับศักยภาพของตนได้
ผู้ป่วยมีวิธีการเผชิญปัญหาที่เหมาะสมเพิ่มมากขึ้น