Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคพฤติกรรมเกเร -…
บทที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคพฤติกรรมเกเร
1. ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงโรคพฤติกรรมเกเร
1.1 ความหมายโรคพฤติกรรมเกเร
โรคพฤติกรรมเกเร (conduct disorder หรือ CD) อยู่ในกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของพฤติกรรม โดย จะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยรุ่น ด้วยการมีพฤติกรรมก่อกวน เป็นปัญหา และไม่สามารถควบคุมอารมณ์และ พฤติกรรมของตนเองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้ โดยพฤติกรรมที่มีนั้นมีลักษณะละเมิดสิทธิของผู้อื่น เช่น พฤติกรรม ก้าวร้าว ทำลายทรัพย์สินของบุคคลอื่น และหรือการมีพฤติกรรมที่ทำให้ตนนั้นมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงกับมาตรฐาน ต่างๆ ของสังคมหรือผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า
1.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงโรคพฤติกรรมเกเร
มักเกิดกับเด็กโตหรือวัยรุ่นตอนต้น โดยเด็กผู้ชายจะเริ่มแสดงอาการช่วงอายุ 10-12 ปี ส่วนเด็กผู้หญิง จะเริ่มแสดงอาการช่วงอายุ 14-16 ปี โดยมีอาการส าคัญ คือ มีการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ของ สังคมในช่วง12 เดือนที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่พ่อแม่มักพาเด็กมาพบจิตแพทย์เพราะเด็กก่อคดี, มีปัญหาเกี่ยวกับการ เรียน, มีพฤติกรรมไม่เชื่อฟัง เช่น ขโมยของในห้างแล้วถูกจับได้, หนีเรียน, ไม่กลับบ้าน,
2. สาเหตุ การบำบัดรักษาโรคพฤติกรรมเกเร
2.1 สาเหตุของโรคพฤติกรรมเกเร ปัจจัยทางชีวภาพ (biological factor)
ยีนที่ทำให้เกิดอาการโรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD) จะ ทำให้เกิดพฤติกรรมเกเรในเวลาต่อมา
มีการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system หรือ ANS) น้อย พบว่า ผู้ที่มีชีพจรเต้นช้ามักเป็นโรคพฤติกรรมเกเรได้ง่ายกว่า
สมองส่วน paralimbic system ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมเรื่องของแรงจูงใจและอารมณ์มีความผิดปกติ
สารสื่อประสาท (neurotransmitters) พบว่าเด็กที่มีพฤติกรรมเกเรจะมีระดับของ dopamine และ serotonin สูง แต่มี CSF 5HAA (5-hydroxyindoleacetic acid) ซึ่งสัมพันธ์กับความก้าวร้าวและความรุนแรง อยู่ในระดับต่างๆ
ฮอร์โมนเพศชาย (testosterone hormone) ระดับสูงมีความสัมพันธ์กับการมีพฤติกรรมก้าวร้าว
การที่ได้รับสารพิษตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เช่น มารดาได้รับสารตะกั่ว, มารดาสูบบุหรี่ขณะ ตั้งครรภ์และ/หรือมีการใช้สารเสพติดพวกอนุพันธ์ของฝิ่นได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน โคดีอีน, มารดาใช้ methadone ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม opioid agonist ในการบรรเทาอาการปวดหรือท าให้เกิดอารมณ์เคลิ้มสุข ล้วนแล้วแต่ส่งผลท าให้ เด็กมีความเสี่ยงต่อโรคพฤติกรรมเกเร
สติปัญญาในระดับต่ าและมีผลการเรียนไม่ดี มีการท างานของสมองด้านการจัดการ (executive function ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางปัญญาต่างๆ เช่น การแก้ไขปัญหา การก าหนดเป้าหมาย การวางแผนการ ปฏิบัติอย่างมีเป้าหมาย การจดจ า การยับยั้งความคิด รวมทั้งการมีความคิดยืดหยุ่นเช่น การที่สามารถคิดนอกรอบ การที่มีความคิดที่หลากหลายรูปแบบ และการที่สามารถปรับเปลี่ยนความคิดและความสนใจให้เหมาะสมกับ สถานการณ์ รวมทั้งการที่สามารถปฏิบัติตามค าสั่งที่ชับซ้อนได้) ไม่ดี
ปัจจัยด้านจิตสังคม (psychosocial factors)
ลักษณะพื้นอารมณ์ (temperament) ตั้งแต่เกิดเป็นเด็กที่เลี้ยงยาก มีลักษณะซนมากกว่าปกติ มี อารมณ์รุนแรง รับประทานอาหารยาก นอนหลับยาก มักป็นจุดเริ่มต้นของการมีพฤติกรรมเกเรและมีโอกาสที่จะมี พฤติกรรมที่ก่อกวนที่เป็นปัญหาสูงมาก
วิธีการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีพยาธิสภาพทางจิต, ติดสารเสพติด, ถูกทำร้ายในวัยเด็กมากก่อน, ขาด ทักษะในการเลี้ยงดูลูก, ไม่สามารถสร้างความผูกพันกับลูกได้ เช่น มีการลงโทษอย่างรุนแรงหรือการลงโทษมีลักษณะ ไม่คงเส้นคงวา, ขาดความสม่ าเสมอในการปฏิบัติในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องระเบียบวินัย
ครอบครัวที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่ในระดับต่ าอยู่กันอย่างแออัด
พ่อแม่มีการหย่าร้างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการทะเลาะกันอย่างรุนแรงหรือมีความขมขื่นในช่วง ก่อนการหย่าร้างซึ่งส่งผลเสียต่อเด็กมากกว่าการหย่าร้าง
ได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ เช่น การถูกท าร้ายร่างกาย, หรือการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ท าให้เกิดโรคเครียดหลังผ่านเหตุการร้ายแรง (post-traumatic stress disorder หรือ PTSD) ทำให้สมองส่วน hippocampus ที่ทำหน้าที่ในการบันทึกความทรงจ าและการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม
การไม่รับการยอมรับจากเพื่อน, การมีความขัดแย้งกับเพื่อน จะส่งผลให้เด็กโรคพฤติกรรมเกเรมี ผลการเรียนลดลง มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ในวัยประถมและจะมีสัมพันธภาพกับเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม เพิ่มมากขึ้น
2.2 การบำบัดรักษาโรคพฤติกรรมเกเร
เน้นการรักษาแบบองค์รวมทั้งทางกาย,จิตสังคมและอารมณ์หลากหลายวิธีร่วมกัน ที่มีลักษณะที่ให้เด็กสามารถดำเนินชีวิตไปตามปกติ ตอบสนองต่อความต้องการของเด็กและครอบครัว และสอดคล้องกับความเชื่อความ เข็มแข็งที่ครอบครัวมี เพื่อควรช่วยให้เด็กและครอบครัวสามารถแยกแยะความเข้มแข็งของตนเอง และน ามาใช้ให้เป็น ประโยชน์ต่อการรักษา
การรักษาโรคต่างๆ ที่พบร่วมกับพฤติกรรมเกเร เช่น การบ าบัดการติดยาเสพติด
การรักษาทางยา
พิจารณาใช้ยาประเภท antipsychotics เช่น haloperidol (haldol), risperidone (risperdal) และ olanzapine (zyprexa) ในกรณีที่เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นอันตรายต่อผู้อื่น
เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีโรคร่วมพวก โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorders)จะรักษา โดยให้ยา lithium
เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาหรือมีปัญหาทางสมอง (organic brain)จะรักษาโดยให้ยา propranolol
เด็กมีอาการหุนหันพลันแล่น หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่ายอารมณ์ขึ้นๆลงๆ จะรักษาโดยให้ยาพวก selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) เช่น fluoxetine (prozac), sertraline (zoloft), paroxetine (paxil) ละ citalopram (celexa)
การรักษาทางจิต
การให้ค าปรึกษารายบุคคล โดยมุ่งเน้นในเรื่องการฝึกให้ด็กมีทักษะในการแก้ไขปัญหาโดยใช้ สติปัญญา (cognitive problem-solving skill training) ผ่านการเลียนแบบ (modeling) และการแสดงบทบาท สมมุติ (role playing)
ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการเรียนรู้และทักษะการเข้าสังคม (social and learning skills)
การบำบัดเพื่อเพิ่ม self-esteem เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้มักจะรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ ด้วยการทำจิตบำบัดรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
การรักษาทางสังคม
การบำบัดครอบครัว จะช่วยให้ครอบครัวสามารถท าหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ, เกิด ปฏิสัมพันธ์ทางบวกระหว่างสมาชิกในครอบครัว, ทำให้การติดต่อสื่อสารในครอบครัวมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งมี การสนับสนุนซึ่งกันและกันในเรื่องต่างๆ ทั้งทางกาย สังคม อารมณ์
การอบรมพ่อแม่ (parenting program) เพื่อแก้ไขพ่อแม่เรื่องความไม่สม่ าเสมอในการออก กฎระเบียบและการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ภายในบ้าน แก้ไขในเรื่องการลงโทษที่รุนแรง การให้รู้จักใช้การเสริมแรง ทางบวก
การรักษาทางอารมณ์ เช่น การบ าบัดในเรื่อง anger management หรือดนตรีบ าบัดในกรณีที่เด็กมี อารมณ์โกรธอย่างรุนแรงไม่สามารถควบคุมตนเองได้ หรือหากเด็กมีอาการซึมเศร้า ก็ควรได้รับการบ าบัดทางความคิด พฤติกรรม และสติปัญญา (cognitive behavioral therapy หรือ CBT) หรือการบ าบัดแบบจิตบ าบัดสัมพันธภาพ ระหว่างบุคคล (interpersonal therapy หรือ IPT) เป็นต้น
การบ าบัดทางจิตวิญญาณ เป็นการช่วยให้เด็กเข้าใจตนเอง ค้นพบตนเอง มีจุดมุ่งหมายหรือมี ความหวังในชีวิต มีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เช่น จิตบ าบัดรายบุคคล (individual psychotherapy) และ กลุ่มจิตบ าบัด (group psychotherapy)
3. การพยาบาลโรคพฤติกรรมเกเร มีกระบวนการพยาบาลตามขั้นตอนดังนี้
1) การประเมินสภาพ (assessment)
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินปัญหาความผิดปกติในเด็กที่มี โรคพฤติกรรมเกเร
การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ สังเกตพฤติกรรมของเด็กนั้นต้องอาศัยทักษะการ ปฏิสัมพันธ์กับเด็ก บิดา มารดา หรือผู้เลี้ยงดู และครู และควรใช้เวลาหลายครั้งในการเก็บรวบรวมข้อมูลและไม่ควร นานเกินไปในแต่ละครั้ง
พ่อแม่หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมีการจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหานั้นอย่างไร เด็กเคยรับการ รักษาหรือไม่/อย่างไร
เด็กมีความวิตกกังวล ก้าวร้าว รู้สึกโกรธ และรู้สึกไม่ป็นมิตรต่อบุคคลต่างๆ มากน้อยเพียงใด
ความสามารถของเด็กในการควบคุมสิ่งเร้าต่างๆ ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
พัฒนาการทางด้านศีลธรรมจรรยา ถึงความสามารถเข้าใจผลกระทบจากพฤติกรรมของตนเองที่ ไปท าร้ายบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นด้วยกาย วาจา ใจหรือไม่อย่างไร เด็กมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจบุคคลอื่นมากน้อยพียง ใด และรู้สึกเสียใจบ้างไหมกับสิ่งที่ได้เคยกระทำ
ประเมินระดับความรุนแรงของพฤติกรรมที่มีปัญหา ระยะเวลาที่เริ่มมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
ประเมินครอบครัวของเด็ก เกี่ยวกับความขัดแย้งในชีวิตสมรสของพ่อแม่ การใช้สารเพติดของพ่อ แม่ผู้ปกครอง และการมีพฤติกรมต่อต้านสังคมของพ่อแม่ผู้ปกครอง ลักษณะสัมพันธภาพในครอบครัว ลักษณการติ ตต่อสื่อสารในครอบครัว วิธีการแก้ไขปัญหาของครอบครัว และรูปแบบหรือวิธีการเลี้ยงลูก
มีการประเมินทุกมิติทั้งทางกาย วาจา จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม การรู้คิด และสังคม
การประเมินเด็กต้องเป็นไปในลักษณะของการที่ไม่ตัดสินเด็ก เช่น การกระทำแบบนี้ถูกผิด ดี เลว
ประเมินว่าเด็กมีโรคร่วมด้วยหรือไม่ เช่น โรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD), โรคความผิดปกติของการเรียนรู้ (learning disorders หรือ LD), การติดสารเสพติด, ภาวะ ซึมเศร้า, ความวิตกกังวล และ โรคทางอารมณ์ผิดปกติ (mood disorders)
ก่อนที่จะมีการสัมภาษณ์พ่อแม่และ/หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องควรมีการแจ้งให้เด็กทราบด้วย โดยเฉพาะถ้าเป็นการสัมภาษณ์พ่อแม่เพื่อให้เด็กเกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล และเป็นการแสดงให้เด็กเห็นถึงการ ที่พยาบาลเคารพสิทธิส่วนบุคคลของเด็ก
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
เด็กกลุ่มนี้มีวิธีการเผชิญแก้ไขปัญหาในลักษณะของการต่อต้าน ปกป้อง (defensive coping) และการที่เด็กมีพฤติกรรมที่ก่อความวุ่นวาย หรือก้าวร้าว และไม่เป็นมิตร ท าให้เด็กกลุ่มนี้เสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรงทั้งต่อ ตนเองและ/หรือผู้อื่น มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่อง (impaired social interaction) มีปัญหาในการคบเพื่อน และ มีปัญหาสัมพันธ์ภาพกับบุคลลอื่นโดยเฉพาะสมาชิกในครอบครัว มีปัญหาในการเรียน ส่งผลให้เด็ก วิตกกังวลสูง รู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองต่ ามาเป็นเวลานาน และเที่ยวต าหนิคนอื่นส าหรับความผิดที่ตนเองเป็นผู้กระท า พ่อแผู้ปกครอง ของเด็กกลุ่มนี้ก็มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการพฤติกรรมต่างๆของเด็กที่เป็นปัญหา ไม่สามารถวางระเบียบวินัยแก่ ลูกได้ ขาดการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ กล่าวโดยรวมก็คือพ่อแม่ไม่สามารถท าตามบทบาทและหน้าที่ในการ เลี้ยงดูลูกให้มีประสิทธิภาพได้ (impaired parenting)
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ได้แก่
มีวิธีการแก้ไขปัญหาทไี่ ม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากครอบครัวซึ่งเป็นตัวแบบของเด็กมีวิธีการแก้ไข ปัญหาที่ไม่มีประสทธิภาพ
มีการติดต่อสื่อสารที่ไม่มีประสทธิภาพเนื่องจากครอบครัวมีวิธีการติดต่อสื่อสารที่ไม่เหมาะสม
มีภาวะเสี่ยงต่อการท าร้ายตนเองและ/หรือบุคคลอื่นเนื่องจากไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธได้
มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่องเนื่องจากขาดความมั่นใจในตนเองและมองโลกในแง่ลบ
มีภาวะเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรงเนื่องจากมีกระบวนการแกปัญหาที่ไม่เหมาะสม
3) การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล (planning and implementation)
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบ าบัดกับเด็กและครอบครัวให้เกิดความไว้วางใจและให้ความร่วมมือ
สื่อสารกับเด็กและครอบครัวให้ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ทีมสหสาขาวิชาชีพคาดหวังให้เด็กและครอบครัวปฏิบัติ, การก าหนดกฎระเบียบในการอยู่รวมกันระหว่างเด็กและครอบครัว, การให้ครอบครัวสื่อสารกับเด็ก อย่างสม่ าเสมอ เพื่อมิให้เด็กคาดเดาเหตุการณ์ต่างๆไปเอง เป็นแบบอย่างให้เด็กเรียนรู้วิธีการติตต่อสื่อสารที่ถูกต้อง เหมาะสม และเกิดการเรียนรู้เรื่องการเจรจาต่อรอง การแก้ไขปัญหา โดยใช้การพูดคุยแทนการใช้ก าลังความรุนแรง
ฝึกสอนทักษะทางสังคม (social skills training) ในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม เช่น สอน ให้เด็กมีความตระหนักเกี่ยวกับผลของการกระท าของตนเองที่มีต่อผู้อื่น สอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะสังเกตอารมณ์ ของ บุคคลอื่น สอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสม และเรียนรู้ที่จะปฏิเสธอย่างสุภาพ โดย ใช้การแสดงบทบาทสมมติ การเลียนแบบผู้บ าบัด และการเสริมแรงทางบวกเพื่อให้เด็กสามารถปรับปรุงสัมพันธภาพที่ มีกับบุคคลอื่น และเป็นการเพิ่มผลลัพธ์อื่นๆ ทางสังคมด้วย
ฝึกทักษะการแก้ไขปัญหา (problem solving skills training) เพื่อให้เด็กสามารถหาวิธีการอื่นๆ ที่เหมาะสมมาใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทางสังคม เป็นการสอนให้เด็กรู้จักคิดถึงผลที่ตามมาจากการ เลือกวิธีการต่างๆ ในการแก้ปัญหา มีวิธีการตัดสินใจที่เหมาะสมในการเลือกวิธีการแก้ปัญหา
สอนให้เด็กรู้จักประเมินการตอบสนองต่างๆ หลังจากที่เด็กมีความขัดแย้งกับบุคคลอื่น
ฝึกทักษะการควบคุมความโกรธ (anger management) โดยสอนให้เด็กรู้จักสังเกตตนเองใน ขณะที่เริ่มมีอารมณ์โกรธ สังเกตสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นที่ท าให้เกิดความโกรธเพื่อหลีกเสียงสถานการณ์หรือสิ่งเร้า และ กระตุ้นให้เด็กพิจารณาเกี่ยวกับผลของการแสดงออกซึ่งความโกรธอย่างรุนแรง จะช่วยให้เด็กมีความตระหนักเพิ่มขึ้น สอบถามเด็กเกี่ยวกับวิธีการหรือสิ่งที่ช่วยผ่อนคลายความโกรธที่เคยมีมาก่อน พร้อมทั้งพิจารณาทางเลือกหรือวิธีการ อื่นเพิ่มเติมในการผ่อนคลายความเครียด และอารมณ์โกรธอย่างเหมาะสม และมีการฝึกฝนวิธีการต่างๆ เหล่านั้น
ดูแลช่วยเหลือให้ได้รับการอบรมพ่อแม่และฝึกปฏิบัติในการเลี้ยงดูลูกที่เรียกว่า parenting program เพื่อให้พ่อแม่เข้าใจพฤติกรรมของลูก เข้าใจสาเหตุที่ท าให้เด็กกระท าพฤติกรรมเกเรน าไปสู่การร่วมมือกัน วางแผนแก้ไขพฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นปัญหา และเพื่อส่งสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก
ฝึกให้พ่อแม่ตั้งความหวังกับลูกอย่างเหมาะสม
ฝึกให้พ่อแม่สามารถเข้าใจ และแปลความหมายของพฤติกรรมต่างๆ ของลูกอย่างถูกต้อง
ฝึกให้พ่อแม่สามารถใช้เทคนิคในการเสริมแรงทางบวกแก่ลูก เช่น การชมเชย การให้รางวัลอย่าง เหมาะสมเวลาลูกมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น
ฝึกให้พ่อแม่ก าหนดขอบเขตพฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ยอมรับไว้อย่างชัดเจน และมีการลงโทษที่ สมเหตุสมผล เช่น การตัดสิทธิ์บางอย่างของเด็ก การใช้เวลานอก
ส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวมีการสนับสนุนทางอารมณ์ เป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน
ส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม และมีขอบเขตที่ชัดเจน
ส่งเสริมให้ภายในครอบครัวมีเสรีภาพในการแสดงออกทางอารมณ์ ไม่ควรใช้บังคับหรือท าให้เด็ก ต้องเก็บกดสิ่งต่างๆ ไว้ตลอดเวลา
ส่งเสริมให้ครอบครัวมีการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เด็กสามารถสื่อสารได้ตามความต้องการ อย่างเปิดเผยชัดเจนตรงไปตรงมา
ส่งเสริมดูแลให้ครอบครัวได้รับการบ าบัดด้วย ครอบครัวบ าบัดจะช่วยให้ครอบครัวสามารถ ปรับเปลี่ยนรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ สมารถปรับตัวต่อความเครียดที่เกิดขึ้นได้ดีขึ้น
ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและบริบทต่างๆ ของเด็กให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
4) การประเมินผล (evaluation)
ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่, พฤติกรรมต่างๆที่เป็นปัญหาลดลงหรือไม่ทั้งในแง่ ความรุนแรงและความถี่ในการเกิดพฤติกรรมต่างๆที่เป็นปัญหา, เด็กสามารถควบคุมตนเองได้ดีเพียงใด, เด็กมีคุณภาพ ชีวิตดีขึ้นหรือไม่ รวมทั้งพ่อแม่สามารถให้การเลี้ยงดูเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด หากผลการพยาบาลไม่เป็นไป ตามวัตถุประสงค์ที่วางแผนไว้ พยาบาลจะต้องน าผลที่ประเมินได้มาปรับแผนการพยาบาลหรือปรับกลยุทธ์ในการ พยาบาลเพื่อแก้ไขปัญหาของเด็กที่มีโรคพฤติกรรมเกเรต่อไป
สรุป
โรคพฤติกรรมเกเร จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของพฤติกรรมในลักษณะก่อกวน และไม่สามารถควบคุมสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้ และมีพฤติกรรมเกเร ล่วงละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น เช่น ขโมยของ ชกต่อย รังแกคนอื่น รังแก สัตว์ หรือมีพฤติกรรมที่ขัดต่อมาตราฐานที่ส าคัญในสังคม เช่น พูดปด หลอกลวง มีพฤติกรรมหนีเรียน หนีออกจาก บ้าน ท าลายของสาธารณะ และการที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ เช่น อารมณ์โกรธ ท าให้เกิดพฤติกรรมที่เป็น ปัญหา เช่น ก้าวร้าว ถ้าอาการรุนแรงขึ้นจะมีการชิงทรัพย์ จี้ ปลัน ข่มขืน