Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดำเนินการอนุรักษ์และคุ้มครองศิลปวัฒนธรรม - Coggle Diagram
การดำเนินการอนุรักษ์และคุ้มครองศิลปวัฒนธรรม
กรมศิลปากร
ดำเนินการในช่วงแรก รับมอบหมายให้ดูแลโบราณวัตถุสถาน มีกองโบราณคดีเป็นผู้รับผิดชอบ
ในระยะแรกใช้วิธีการอนุรักษ์ตามสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ คือ หลักการไม่ซ่อมแซมวัตถุโบราณแต่ค้ำจุนโบราณสถาน
ในระยะต่อมากรมศิลปากรได้จัดทำโครงการร่วมมือกับนานาชาติเพิ่มขึ้น
โครงการโบราณคดีก่อนสมัยประวัติศาสตร์กับเดนมาร์ก
ร่วมมือกับอิตาลีในการอนุรักษ์โบราณวัตถุสถาน จนสามารถนำเทคนิคที่มีประโยชน์มาปรับปรุงโครงการอนุรักษ์ในไทยได้
ออกระเบียบว่าด้วยการอนุรักษ์โบราณสถาน พุทธศักราช 2528
มีจุดมุ่งหมายให้การอนุรักษ์โบราณสถานมีความถูกต้องทั้งด้านศิลปะ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และมีความสัมพันธ์กับสภาพทางเศรษฐกิจ ชุมชน
โบราณสถานไม่ได้จำกัดขอบเขต เฉพาะตัวอาคารแต่หากรวมถึงประวัติศาสตร์อารยธรรมชุมชนด้วย
กรมศิลปากรได้จำแนกประเภทของโบราณสถานและอนุสรณ์สถาน ดังนี้
สัญลักษณ์แห่งชาติ เช่น พระบรมมหาราชวัง
อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม
ย่านประวัติศาสตร์ เช่น เกาะรัตนโกสินทร์
อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ เช่น สุโขทัย กำแพงเพชร
นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ เช่น เชียงใหม่
ซากโบราณและแหล่งโบราณคดี เช่น ปราสาทหินพิมาย
ภาคประชาชน
กรณีศึกษา จากโครงการอนุรักษ์มรดก วิหารพระเจ้าพันองค์ ม่อนดอยวัดปงสนุก จังหวัดลำปาง พ.ศ 2548
เป็นแนวทางใหม่ในการอนุรักษ์ เนื่องจากชาวบ้านในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และเป็นผู้จัดการมรดกทางวัฒนธรรมของทางด้วยตนเอง
วิหารพระเจ้าพันองค์ตรงที่มีอายุ 120 ปี ทรุดโทรมอย่างมาก คณะสงฆ์ของวัดและชุมชนท้องถิ่น ริเริ่มที่จะจัดให้มีการอนุรักษ์ขึ้นเพื่อรักษาเทคนิควิธีก่อสร้างแบบโบราณ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากบุคลากรหลายฝ่ายที่เข้ามาช่วยด้วยความศรัทธา
โครงการอนุรักษ์วัดปงสนุกเป็นโครงงานต้นแบบให้ชุมชนอื่นๆ
ได้รับคัดเลือกจากองค์การยูเนสโกให้ได้รับรางวัล Award of merit
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.)
ก. การจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2526 ประสงค์เพื่อให้เกิดการในการบริการการศึกษาและส่งเสริมการเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมไทยสาขาต่างๆแก่เยาวชนและต่างชาติ
ข. การคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2528 เพื่อยกย่อง เชิดชู และส่งเสริมเกียรติของศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมอันทรงคุณค่าแก่ประเทศชาติ และเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ศิลปินรุ่นหลัง และกำหนดให้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันศิลปินแห่งชาติ
ค. โครงการงานมหกรรมวัฒนธรรมพื้นบ้าน เป็นโครงการสัญจรที่จัดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ในรูปแบบของนิทรรศการวัฒนธรรมและการแสดงนาฏศิลป์ คีตศิลป์ของท้องถิ่น
ง. การจัดวันอนุรักษ์มรดกไทย พ.ศ. 2529 เพื่อให้คนไทยตระหนักถึงคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรมซึ่งเป็นมรดกของชาติ ได้กำหนดให้วันที่ 2 เมษายน เป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย
จ. การจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้ระเบียบว่าด้วยศูนย์วัฒนธรรม พุทธศักราช 2531 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ศูนย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถประสานงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ