Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทท่ี 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจติเวชเวช
5.1…
บทท่ี 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจติเวชเวช
5.1 โรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
ความหมาย
เป็นกลุ่มอาการของโรคทางจิตเวชที่บุคคลมีความคิด ความรู้สึก ต่อรูปร่าง น้ําหนัก และการกินอาหารของตนที่บิดเบือนจากความเป็นจริงอย่างรุนแรง
มีความเข้มงวดกับการพยายามลดหรือควบคุมน้ําหนักอย่างมาก โดยมีกลวิธีทั้งการอดอาหาร การหักโหมออกกําลังกาย และทําให้ตนอาเจียนออกหลังจากรับประทานอาหาร
-
-
สาเหตุ
ปัจจัยด้านชีวภาพ
ด้านพันธุกรรม
อนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า พบว่า คู่แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกันมี โอกาสเสี่ยงที่จะเป็นร้อยละ44คู่แฝดท่ีเกิดจากไข่คนละใบมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นร้อยละ12.5
บุคคลที่เป็นบลูลิเมีย เนอร์โวซ่า พบว่า คู่แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน มีโอกาสเส่ียงท่ีจะเป็นร้อยละ 22.9 และคู่แฝดที่เกิดจากไข่คนละ ใบ มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นร้อยละ 8.7
ด้านสารสื่อประสาทในสมอง
บุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารทั้ง 2 กลุ่ม เกิดจากความผิดปกติของสารส่ือประสาทซีโรโทนนิ (serotonin) ซึ่งเป็นตัวควบคุมอารมณ์และความพึงพอใจ
ปัจจัยทางด้านจิตใจ
พัฒนาการของจิตใจ
ซิกมันด์ฟรอยด์(Sigmund Freud) ผู้เขียนทถษฎีจิตวิเคราะห์(psychoanalytic theories) อธิบายว่า บุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า เกิดจากความพยายามยับยั้งแรงขับทางเพศในระดับจิตใต้สํานึกของตนเองที่เพิ่มขึ้นในระยะวัยรุ่น ซึ่งมีพัฒนาการติดอยู่ที่ระยะปาก (oral stage)
-
บุคลิกภาพ
เจ้าระเบียบ จริงจัง ต้องการความสําเร็จสูง ทําทุกอย่างสมบูรณ์แบบอยู่ตลอดวลา (perfectionist) และบุคคลที่มีบุคลิกภาพไม่ค่อยแสดงอารมณ์
บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบนี้จะหันเหความสนใจของการมีคุณค่าในตนเองมาที่น้ําหนักและรูปร่างแทน มีการมองภาพตนเองบิดเบือนมองเห็นสัดส่วนร่างกายอ้วนไปทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อ้วน ปฏิเสธว่าไม่หิว แยกแยะความหิวไม่ได้
ลักษณะการเลี้ยงดู
มารดาที่มีลักษณะปกป้องลูกมากเกินไป เจ้าระเบียบและกลัวการพลัดพรากมากผิดปกติ หรือครอบครัวที่บิดามีลักษณะเข้มงวดในกฎระเบียบมาก
-
การบําบัดรักษา
-
โภชนาการบําบัด
นักโภชนการจะดูแลวางแผนจัดเมนูอาหารที่เหมาะสม
สําหรับบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารและให้ความรู้เกี่ยวกับอาหาร
-
ครอบครัวบําบัด
เป้าหมายอันดับแรกของครอบครัวบําบัด คือ พยายามให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการหยุดพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ
-
การบําบัดความคิด)
การบําบัดด้านความคิดจึงมีเป้าหมาย เพื่อแก้ไขความคิดและความคิดรวบยอด เกี่ยวกับตนเองทั้งเรื่องรูปร่างและน้ําหนักตัวที่บิดเบื่อนจากความจริงอย่างรุนแรง ช่วยให้รับรู้สิ่งเร้าจากภายในร่างกาย
-
การบําบัดรักษาด้วยยา
• ยาต้านเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSR) ได้แก่ ยาฟูลออกซีทีน(fluoxetine) ใช้รักษาบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า และบุคคลที่เป็นบูลิเมียเนอร์โวซ่า
• ยาต้านเศร้ากลุ่ม tricyclic antidepressant (ICAs) ได้แก่ ยาอะมิทริปไทลีน (amitriptyline)และยาอิมิพรมิน (imipramine) ใช้รักษาบุคคลที่เป็นบูลิเมีย เนอร์โวซ่า
• ยาต้านโรคจิตกลุ่มใหม่ ได้แก่ ยาโอลานชาปืน (olanzapine) และ ยาริสเพอริโดน(risperidone) ใช้รักษาบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า
-
การบําบัดรักษาทางกาย
อายุรแพทย์จะดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางร่างกายตามอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนหญ่มาจากสาเหตุภาวะขาดสารอาหารของบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
โดยเฉพาะบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า มากกว่าร้อยละ 15 จะมีน้ําหนักต่ํากว่าเกณฑ์มาตราฐาน จึงต้องการการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอไม่ว่าจะทางปาก
ทางสายให้อหาร หรือทางหลอดเลือดดํา โดยระยะแรกจะเริ่มให้สารอาหารประมาณ 1,000-1,600 kcal/day และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง 3,000-4,000 kcal/day เป้าหมายของการเพิ่มน้ําหนักประมาณ 1-1.4 กิโลกรัม/สัปดาห์ในกรณีที่รับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน และ 0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ในกรณีที่รับการรักษาเป็นผู้ป่วยนอก
นอกจากการขาดสารอาหารปัญหาสําคัญอีกอย่าง คือ การขาดความสมดุลของสารน้ําโดยเฉพาะอย่างยิ่งโปแตสซียมที่มีระดับต่ํากว่าปกติ ซึ่งผลข้างเคียงนี้จะสัมพันธ์กับพฤติกรรมล้วงคออาเจียน