Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน - Coggle Diagram
บุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
:pencil2:ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะจิตเวชฉุกเฉินที่พบบ่อย
ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะจิตเวชฉุกเฉินที่พบบ่อย
พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior)
พฤติกรรมในความพยายามหรือลงมือกระทำการทำร้าย ทำลาย ทั้งร่างกาย จิตใจ
มีเป้าหมายเพื่อให้บุคคลหรือสิ่งของที่ถูกกระทำได้รับความเจ็บปวด การบาดเจ็บ หรือเสียหาย เป็นพฤติกรรมที่พบบ่อยในหน่วยงานฉุกเฉินทางจิตเวช
พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย (suicide behavior)
suicide committed suicide การฆ่าตัวตายสำเร็จ
มีหลายรูปแบบ ตั้งแต่การอยากฆ่าตัวตายที่วางแผน ล่วงหน้าเป็นเดือนเป็นปี หรือเป็นการฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตนเองที่เกิดจากอารมณ์ชั่ววูบ
suicidal intention ความต้องการที่จะฆ่าตัวตาย
ภาวะสับสนเพ้อคลั่ง (delirium)
กลุ่มอาการทางสมองเฉียบพลัน (acute brain syndrome) ผู้ป่วยจะเสียการรู้คิด (cognition)
มีอาการทาง neuropsychiatric syndrome ต่างๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ ภายใน 2-3 ชั่วโมง หรือ 2-3 วัน
กลุ่มอาการหายใจถี่ (hyperventilation syndrome)
หายใจลึกและเร็วเป็นเวลาหลายนาทีโดยที่ไม่รู้ตัว จากนั้นจะเริ่มมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก
ชาบริเวณริมฝีปาก นิ้วมือ นิ้วเท้า ผู้ป่วยอาจอ่อนแรงและสุดท้ายอาจหมดสติได้
อาการพิษจากสารเสพติดและอาการขาดสาร (substance intoxication and withdrawal)
ผู้ป่วยเข้ามารับรักษาในแผนกฉุกเฉินที่พบบ่อยในประทศไทย ได้แก่ อาการที่เกิดจากพิษและอาการขาดสุรา แอมเฟตา มีน และฝิ่น
สุรา (alcohol) เป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์กดระบบประสาท
แอมเฟตามีน (amphetamine) เป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท (stimulants)
ฝิ่น (opioid) เป็นสารเสพติดประกอบด้วยฝื่นธรรมชาติ (มอร์ฟีน) กึ่งสังเคราะห์ (เฮโรอีน) และ สารสังเคราะห์ เช่น โคเดอีน เพธิดีน
อาการแพนิค (panic attack disorders)
ผู้ป่วยจะมีอาการกลัวอย่างรุนแรง พร้อมกับมีอาการทางกายหลายอย่างร่วมด้วย อาการเกิดทันทีและเป็นมากอย่างรวดเร็ว
อาการเกิดทันทีและเป็นมากถึงระดับสูงสุดภายใน 10 นาที
ความหมายของภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือเกิดความ เสียหายต่อทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น จำเป็นต้องได้รับการบำบัด
เมื่อผู้ป่วยมีอาการสงบลง ปลอดภัยจะพิจารณาส่งต่อให้ได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่องที่เหมาะสมต่อไป
ภาวะที่บุคคลมีความแปรปรวนทางด้านความคิด อารมณ์ ความสัมพันธ์ทางสังคม หรือ พฤติกรรมอย่างเฉียบพลันหรือรุนแรง
:pencil2:การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
การจำแนกผู้ป่วย (triage)
กระบวนการประเมินและคัดกรองภาวะสุขภาพแบบองค์รวมอย่าง รวดเร็ว จากการสังเกตพฤติกรรมและอาการผิดปกติ สัมภาษณ์อาการสำคัญ
ข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจให้การช่วยเหลือตามสภาพปัญหา สาเหตุ และวางแผนการส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาอย่างต่อเนื่องที่ถูกต้องต่อไป
ให้การพยาบาลบำบัดดูแลระยะแรก (initial intervention)
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน (emergency) ต้องให้การดูแลภายใน 10 นาทีการช่วยเหลือ ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะรีบด่วน (urgent) ต้องให้การดูแลภายใน 30 นาที การช่วยเหลือผู้ป่วยที่ มีโอกาสหรือมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
การช่วยเหลือผู้ป่วยทันทีทันใด (immediate) ผู้ป่วยที่ถูกประเมินว่าอยู่ในภาวะคุกคามชีวิต เป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะกึ่งรีบด่วน (semi-urgent) ให้การดูแลภายใน 60 นาที ผู้ปวยอยู่ในภาวะ เครียดไม่สุขสบาย (distress) หงุดหงิดง่ายแต่ไม่ก้าวร้าว
การช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะไม่รีบด่วน (non-urgent) ให้การดูแลภายใน 120 นาที ผู้ป่วยอยู่ใน ภาวะเครียดหรือไม่สุขสบายเรื้อรั้ง(distress)
การประเมินและบำบัดต่อเนื่อง (continue with evaluation and intervention) เมื่อผู้ป่วย อาการสงบ พ้นภาวะที่จะเป็นอันตรายต่อตนองและผู้อื่น พ้นขีดอันตราย
การจำหน่ายหรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังหน่วยบำบัดอื่น (discharge or refer patient) เมื่อผู้ป่วยอาการ ดีขึ้นและมีการประเมินซ้ำแล้ว อาจพิจารณาให้ผู้ปวยกลับบ้านหรือส่งต่อไปรักษาที่หน่วยอื่น
:pencil2:สาเหตุของของภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย (suicide behavior)
โรคทางจิตเนื่องจากการปรับตัว (adjustment disorder) เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาชีวิต
โรคจิตเภท (schizophrenia) เป็นการเจ็บป่วยเรื้อรังทำให้มีความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ลดลงจึงเกิดความรู้สึกไร้ค่า
ภาวะสับสนเพ้อคลั่ง (delirium)
endocrinopathy เช่น ภาวะฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ พาราไทรอยด์ต่ำหรือสูงกว่าปกติ ภาวะฮอร์โมนของต่อมใต้สมองต่ำกว่าปกติ
metabolic disorder เช่น โรคตับวาย ไตวาย ขาดวิตามีนบี การเสียสมดุลของเกลือแร่หรือ สมดุลกรด-ด่าง
พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior)
พฤติกรรมรุนแรงที่มีสาเหตุจากโรคทางจิต (functional causes) เช่น โรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง โรคไบโพล่า
พฤติกรรมรุนแรงที่มีสาเหตุจากความผิดปกติทางกาย (organic causes) เช่น พิษจากยา สาร เสพติด
กลุ่มอาการหายใจถี่ (hyperventilation syndrome)
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแต่ผู้ป่วยมักจะเริ่ม ตันมีการหายใจที่ผิดปกติ
สารสื่อประสาทชนิดกระตุ้น (excitatory neurotransmitter) จะส่งผลให้ระบบการหายใจใช้กล้ามเนื้อส่วนอกมากกว่ากระบังลม
อาการแพนิค (panic attack disorders)
พันธุกรรม พบว่า ญาติสนิทของผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงกว่าคนทั่วไป
ปัจจัยทางจิตใจ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 80 มีเหตุการณ์สำคัญในชีวิต
การมีจุดอ่อนทางชีวภาพแฝงอยู่ จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาคลายกังวล
:pencil2:การบำบัดรักษาของภาวะจิตเวชฉุกเฉินที่พบบ่อย
พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior)
การป้องกันการเกิดพฤติกรรมรุนแรง (violence precautions) โดยพยาบาลต้องสร้าง สัมพันธภาพกับผู้ป่วยแสดงท่าที่เป็นมิตร สงบ
การควบคุมพฤติกรรมรุนแรง (violence control) ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตนเองได้มีท่าที ที่จะต่อสู้หรือจะทำร้ายร่างกายผู้อื่น
การประเมินและวางแผนการดูแลต่อเนื่อง ภายหลังการควบคุมพฤติกรรมของผู้ป่วยได้แล้ว ถ้าผู้ป่วยยังมีอาการทางจิตรุนแรง และต้องควบคุมอาการในเวลาเร่งด่วน
พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย (suicide behavior)
การประเมินและวางแผนการดูแลต่อเนื่อง การประเมินสาเหตุของการฆ่าตัวตายและประเมิน ความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายซ้ำ
การป้องกันและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายซ้ำ (suicide precautions) พยาบาลต้องพยายามไม่ให้ ผู้ป่วยฆ่าตัวตายซ้ำขณะรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลทั้งในห้องฉุกเฉินและ/หรือในหอผู้ป่วยใน
ภาวะสับสนเพ้อคลั่ง (delirium)
การบำบัดรักษาด้วยยา ที่นิยมใช้ antipsychotics drug ได้แก่ haloperidol ในการรักษาผู้ป่วย delirium ที่มีอาการวุ่นวาย
การประเมินและวางแผนการดูแลต่อเนื่อง เนื่องจากสาเหตุของการเกิดอาการสับสนเพ้อคลัง มีหลายสาเหตุ ดังนั้นจึงควรมีการซักประวัติและตรวจร่างกาย
กลุ่มอาการหายใจถี่ (hyperventilation syndrome)
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าอาการและความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเกิดจากการหายใจเร็วกว่า ปกติหรือหายใจถี่ โดยให้ผู้ป่วยลองหายใจเร็วขึ้น
ช่วยให้ผู้ป่วยสงบและผ่อนคลาย ด้วยการจำกัดปัจจัยกระตุ้น ใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจเมื่อเกิดอาการ สนับสนุนให้ผู้ป่วยเกิดการควบคุมตนเอง (self-control)
อาการแพนิค (panic attack disorders)
แยกผู้ป่วยออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดอาการ โดยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปอยู่ที่สงบ
ใช้หลัn therapeutic communication ให้กำลังใจและประคับประคองจิตใจ แสดงความใส่ ใจสัมผัสร่างกายผู้ป่วยตามความเหมาะสม
อาการพิษจากสารเสพติดและอาการขาดสาร (substance intoxication and withdrawal)
วัดและบันทึกสัญญาณชีพ (vital signs) สัญญาณประสาท (neuro signs) จนกว่าผู้ป่วยจะดีขึ้น
ตรวจสอบทางเดินหายใจ (clear airway) อาจต้องให้ออกซิเจนและใช้เครื่องช่วยหายใจเมื่อหมดสติ