Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บุคคลที่มีโรคจิตเภท - Coggle Diagram
บุคคลที่มีโรคจิตเภท
:star:การบำบัดรักษาบุคคลที่มีของโรคจิตเภท
การรักษาด้วยยา
การรักษาที่จำเป็นที่สุด แพทย์จะให้ยากลุ่มต้านโรคจิต
ควบคุมอาการและลดการกำเริบ ผู้ป่วยจะต้องกินยาต่อเนื่อง 4-6 สัปดาห์ และไม่ควรหยุดยาเอง
การรักษาด้วยไฟฟ้า (ECT)
กรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา และมีอาการรุนแรงมาก
ชนิด catatonic มีภาวะซึมเศร้าหรือเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
การรักษาแบบผู้ป่วยใน
มีอาการข้างเคียงของยาอย่างรุนแรงที่ต้องดูแลใกล้ชิด
มีอาการของโรคทางกายที่ต้องควบคุมการรักษา
เป็นอันตรายต่อตนเองและบุคคลอื่นหรือสังคม
มีอาการทางจิตรุนแรงมาก
การรักษาทางจิตใจและสังคม
ส่วนสำคัญของการรักษาที่ทำควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยา ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระยะคงที่ แล้วอาการทางจิตทุเลาลง
รูปแบบการรักษา เช่น นิเวศน์บำบัด (milieu therapy) กลุ่มบำบัด (group therapy) การ ให้ความรู้/คำแนะนำเกี่ยวกับโรค
:star:กระบวนการพยาบาลบุคคลที่มีของโรคจิตเภท
การประเมินผู้ป่วย
สภาพทั่วไป ลักษณะของผู้ป่วย เพศวัย การแต่งกาย ความสะอาด สุขอนามัย การดูแลตนเอง การเคลื่อนไหว บาดแผล
อารมณ์ ลักษณะการแสดงอารมณ์ อารมณ์ไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์หรือเฉยเมย ไม่แสดงอารมณ์ใดๆ ถ้าถูกขัดใจ น้ำเสียง ก้าวร้าว รุนแรง
การพูดสื่อสาร การตอบคำถาม ผู้ป่วยบางคนจะพูดวกวน หรือพูดเร็วจนจับใจความไม่ได้หรือไม่พูด การหยุดชะงักของคำพูด
การปฏิบัติการพยาบาลตามพฤติกรรมปัญหา
รับฟังเรื่องที่ผู้ป่วยเล่าโดยไม่กล่าวคำขัดแย้ง ไม่ตัดสิน ไม่คล้อยตาม ท้าทาย ล้อเลียนหรือวิพากษ์วิจารณ์
ประเมินว่าการสื่อสารที่ผิดปกติของผู้ป่วยเกิดขึ้นในลักษณะใดเกิดแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด เข้าใจและยอมรับ ความคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยว่าผู้ป่วยคิดและรู้สึก ว่าทุกอย่างเป็นจริงด้วยท่าทีที่สงบ เป็นมิตร จริงใจ
:star:ความหมาย ลักษณะ อาการแสดงของโรคจิตเภท
ลักษณะอาการของโรคจิตเภท
กลุ่มอาการด้านบวก (Positive symptoms)
แสดงออกทางด้านความผิดปกติของความคิด การรับรู้ การติดต่อสื่อสารและการแสดงพฤติกรรม
มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน หวาดระแวง พูดไม่รู้เรื่อง ทำท่าทาง แปลกๆ เปลือยกายในที่สาธารณะ กินเศษขยะ
กลุ่มอาการด้านลบ (Negative symptoms)
แสดงออกทางสีหน้าและอารมณ์ ได้แก่ สีหน้าเฉยเมย ไม่แสดงอารมณ์ใดๆ ไม่พูดแยกตัวเอง
อาการเหล่านี้ ได้แก่ สมาธิแย่ลง การตีความสิ่งต่าง ๆ การตอบสนองบกพร่อง และการคิดไม่เป็นเหตุ เป็นผล ไม่สามารถแก้ปัญหาได้
ความหมาย
อาการปรากฏชัดในช่วงวัยรุ่นถึง ผู้ใหญ่ตอนต้น พบมากในผู้ที่มีเศษฐานะต่ำ ่
ความผิดปกติจะเกิดขึ้นหลายอย่างแบบค่อยเป็นค่อยไปได้แก่ ความผิดปกติของความคิด การรับรู้ พฤติกรรม อารมณ์ และการสื่อสาร
โรคจิตที่พบได้มากในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตเวชและสุขภาพจิต ความชุกร้อยละ 1 อุบัติการณ์ 0.5-5 ต่อ 10,000 ต่อปี
:star:สาเหตุของโรคจิตเภท
ปัจจัยด้านชีวภาพ ( Biological factors)
พันธุกรรม ( Genetics) ลูกที่มารดาหรือบิดาป่วยเป็นจิตเภท มีโอกาสเกิดโรค ร้อยละ 12
สารชีวเคมีในสมอง ( Biochemical factors ) เช่น โดปามีน (Dopamine) ซีโรโทนิน (Serotonin)
กายภาพของสมองที่ผิดปกติ พบว่าส่วนของ lateral ventricles ขยายใหญ่กว่าปกติ
ปัจจัยทางด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
กระบวนการพัฒนาการและสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ลักษณะการเลี้ยงดูในวัยเด็ก
ความเครียดที่ทำให้บุคคลที่มีแนวโน้มจะป่วยอยู่แล้วสามารถแสดงอาการทางจิตได้
ความขัดแย้งภายในจิตใจ การใช้กลไกทางจิตที่ไม่เหมาะสม ครอบครัวที่มีการแสดงอารมณ์ต่อกันสูง