Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 มโนทัศน์ของความผิดปกติทางสุขภาพจิตและจิตเวช - Coggle Diagram
บทที่ 1
มโนทัศน์ของความผิดปกติทางสุขภาพจิตและจิตเวช
แนวคิดการเกิดโรคทางจิตเวชและปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคทางจิตเวช
แนวคิดการเกิดโรคทางจิตเวช
stress diathesis model อธิบายว่า การมียีนส์หรือการรวมกันทางพันธุกรรมที่เฉพาะเจาะจง บางอย่างส่งผลให้เกิดจุดอ่อน หรือเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคได้
case formulationเป็นการขยายมุมมองจาก stress diathesis model ให้เป็นภาพที่กว้างขึ้น
ปัจจัยที่ทำให้อาการคงอยู่ (perpetuating factors) เช่น การไม่ได้รับการรักษา, การไม่รับประทานยาต่อเนื่อง
ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการ (precipitating factors) เช่น การใช้สารเสพติด, การนอนที่หลับเปลี่ยนแปลง,การสอบตก
ปัจจัยเสี่ยง (predisposing factors) เช่น พันธุกรรม, ภาวะโภชนาการ, การเลี้ยงดู
ปัจจัยปกป้อง (protective factors) หมายถึง พฤติกรรมของบุคคลที่ช่วยให้บุคคลปรับตัวต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อม เช่น ครอบครัวมีสัมพันธภาพที่ดีห่วงใยดูแลซึ่งกันและกัน,มีความสามารถในการแก้ปัญหา
ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคทางจิตเวช
ปัจจัยทางด้านจิตใจ (psychological factors)
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ สาเหตุมาจากการทำงานของโครงสร้างบุคลิกภาพที่ไม่สมดุลกัน
ทฤษฎีกลุ่มมนุษย์นิยม มีสาเหตุมาจากความไม่รู้ไม่เข้าใจปัญหาที่แท้จริงของตนเอง ขาดความตระหนักรู้หรือยอมรับตนเองและสิ่งแวดล้อมตาม ความเป็นจริง
ทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม มีสาเหตุมาจาก ประสบการณ์ของมนุษย์ที่ผ่านการเรียนรู้การตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสภาวะสิ่งแวดล้อมต่างๆ
ทฤษฎีกลุ่มปัญญานิยม สาเหตุมาจากความคิด ความเชื่อที่ผิดปกติหรือไม่สมเหตุสมผลขอมนุษย์ทำให้มนุษย์มีข้อจำกัด และบีบคั้นตนเองตัดสินพฤติกรรมในภาพรวม
ปัจจัยทางด้านสังคม (social factors)
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ บริเวณที่ตั้งของที่อยู่อาศัย ลักษณะของชุมชนข้างเคียง ความหนาแน่นของชุมชน
ความสัมพันธ์ในครอบครัว ครอบครัวที่อบอุ่น สมาชิกในครอบครัวก็จะมีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย และไว้วางใจต่อกัน
ลักษณะการอบรมเลี้ยงดู
การอบรมเลี้ยงดูแบบเผด็จการ (authoritarian) ทำให้เด็กจะขาดความใกล้ชิดกับผู้ปกครองไม่กล้าโต้แยัง ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ บางครั้งดื้อเงียบ และก้าวร้าว
การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย (rejection) ทำให้เด็กขาดโอกาส และขาดที่พึ่ง ในการเผชิญชีวิต
การอบรมเลี้ยงดูแบบทนุถนอมมากเกินไป (overprotection) ทำให้เด็กเอาแต่ใจตนเอง ไม่อดทนต่อความยากลำบาก
การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย (democracy) จะทำให้เด็กมีความสามารถในการปรับตัวได้ดี
การศึกษา การขาดการศึกษา การศึกษาในภาวะที่ต้องมีการแข่งขันกันสูง หรือเด็กถูกบังคับให้
เศรษฐกิจและสังคม ปัญหาทางด้านการเงินหรือความยากจน หรือบุคคลที่มีฐานะดีแต่ยังไม่รู้จักพอ
วัฒนธรรม วัฒนธรรในแต่ละเชื้อชาติที่แตกต่างกันบางอย่างก็ทำให้มนุษย์เกิดความเครียด ขัดแย้ง และความคับข้องใจได้
ปัจจัยทางกายหรือชีวภาพ (biological factors)
ความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย (hormonal factor)
การสะสมของสารพิษภายในร่างกาย (toxic substance alcoholism) จากการที่ร่างกายได้รับสารเคมีหรือสารเสพติด
ความผิดปกติที่มีมาแต่กำเนิด (congenital abnormal) อาจเกิดได้ตั้งแต่ในระยะที่อยู่ในครรภ์ มารดา
พันธุกรรม
ความเจ็บป่วยหรือโรคทางสมอง เช่น สมองอักเสบ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ชิฟิลิสขึ้นสมอง
ความผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานของสมอง เช่น ในการตรวจโครงสร้างและการทำงาน ของสมองในผู้ป่วยจิตเภท
การทำหน้าที่ผิดปกติของสารสื่อประสาท (neurotransmitter)
dopamine เป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่ไม่อยู่ในการ ควบคุมจากอำนาจของจิตใจ ช่วยในการตัดสินใจ การใช้เหตุผล
serotonin เป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับวงจรของการหลับและตื่น, การควบคุมความรู้สึกอยากอาหาร
norepinephrine เป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ ก่อให้เกิดความเครียด
GABA (gamma amino butyric acid) เป็นสารสื่อประสาท ที่ทำหน้าที่ในการยับยั้งการตอบสนองของระบบประสาทที่มากเกินไป
acetylcholine เป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว และความจำ
ปัจจัยทางจิตวิญญาณ (spiritual factors)
ปรัชญาชีวิต (philosophy of life) เป็นแนวคิดที่สำคัญในดำเนินชีวิต
สิ่งที่นับถือหรือที่พึ่งทางใจ (concept of deity) ได้แก่ ศาสนา หรือสิ่งที่บุคคลเลื่อมใสศรัทธา
อาการวิทยาและเกณฑ์การจำแนกโรคทางจิตเวช
อาการ (symptoms) คือ ประสบการณ์ที่ผู้ป่วยได้รับ ซึ่งจะถูกบอกเล่าโดยผู้ป่วยเอง ได้แก่ มีอารมณ์ เศร้า รู้สึกหมดเรี่ยวแรง
โรคทางจิตเวช (psychiatric disorder หรือ mental disorder) หมายถึง กลุ่มอาการและอาการ แสดงที่เป็นความผิดปกติของพุทธิปัญญา (cognition) การควบคุมอารมณ์ (mood) หรือพฤติกรรม (behavior)
อาการแสดง (signs) คือ สิ่งที่ผู้ตรวจได้จากการสังเกตและทำการตรวจ เช่น การแสดงออกทางสีหน้าที่จำกัด
กลุ่มอาการ (syndrome) คือ อาการและอาการแสดงหลาย ๆ อย่างที่พบ
กลุ่มของอาการและอาการแสดงทางจิตเวช สามารถจัดได้เป็น 7 กลุ่ม
1) ความผิดปกติของความรู้สึกตัว (disturbance of consciousness)ความรู้สึกตัว (consciousness)
ชนิดที่2 ความผิดปกติของการคงความใส่ใจ (disturbance of attention)
hypervigilance สนใจและมุ่งความสนใจในสิ่งเร้าทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเร้าที่มาจากภายนอก หรือจากภายในร่างกาย
trance ความใส่ใจจะถูกรวมไว้ที่จุดเดียว ร่วมกับมีความไม่ต่อเนื่องของระดับความรู้สึกตัว
distractibility ไม่สามารถพุ่งความสนใจในสิ่งที่สำคัญได้ แต่กลับไปใส่ใจกับสิ่งเร้าที่ไม่สำคัญ หรือไม่เกี่ยวข้อง
ชนิดที่ 3 ความผิดปกติของการถูกชักจูง (disturbance of suggestibility)
folie a deux ภาวะที่บุคคลสองคนมีความผิดปกติทางจิตร่วมกัน โดยมีความหลงผิดที่เป็นเนื้อหา ของเรื่องเดียวกัน
hypnosis ภาวะที่มีการชักนำให้บุคคลมีระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงไป
ชนิดที่1 ความผิดปกติของระดับความรู้สึกตัว (disturbanceof level of consciousness)
disorientation ความบกพร่องของการตระหนักรู้ถึงตนเอง เวลา สถานที่ และบุคคล
(orientation)
drowsiness ความสามารถในการตระหนักรู้ลดลงเพราะง่วงนอน
clouding of consciousness ความรู้สึกตัวไม่สมบูรณ์ร่วมกับมีการรับรู้และการแสดงออกผิดปกติด้วย
somnolence อาการง่วงมากผิดปกติแต่หากได้รับการกระตุ้นก็จะกลับมาตื่นและรู้สึกตัว
coma สภาวะที่ไม่รู้สึกตัว (unconsciousness) อย่างรุนแรง
stupor ไม่สามารถตระหนักรู้และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม
sundowning ลักษณะที่อาการทางจิต ปัญหาพฤติกรรม หรือความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงไป
2) ความผิดปกติของพฤติกรรมการเคลื่อนไหว (disturbanceof motor behavior)การเคลื่อนไหว เป็นแง่มุมหนึ่งของจิตใจ เกิดจากการรวมกันของแรงขับ (drives) แรงกระตุ้น (impulse) แรงจูงใจ (motivations) ความปรารถนา (wishes) สัญชาตญาณ (instincts) ความกระหายอยากได้ (cravings) ทั้งหมดนี้รวมกันแสดงออกมา เป็นพฤติกรรมหรือการเคลื่อนไหวขึ้นกับความผิดปกติที่พบ
3) ความผิดปกติของการพูด(disturbance of speech) พูดเป็นจังหวะติด ๆ ขัด ๆ การพูดมีปริมาณคำน้อยมาก ความผิดปกติในการเปล่งเสียงพูด พูดติดอ่าง
7) ความผิดปกติของความจำ (disturbance of memory)
recent memory ความจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 2-3 วันก่อน
recent past memory ความจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 2-3 เดือนก่อน
immediate memory ความจำสิ่งที่เพิ่งรู้มาเมื่อสักครู่เป็นวลาหลายวินาทีหรือหลายนาที
remote memory ความจำเหตุการณ์ในอดีตผ่านที่นานแล้ว
4) ความผิดปกติของอารมณ์ (disturbance of emotion) สภาวะอารมณ์ (emotion) เป็นความรู้สึกที่ซับซ้อน
ความผิดปกติของอารมณ์ที่แสดงออก (disturbance of affect) affect คือ สภาวะอารมณ์ที่ ปรากให้ผู้อื่นสังกตได้
ความผิดปกติของอารมณ์ (disturbance of mood) mood คือ สภาวะอารมณ์ (emotion) ที่ คงอยู่นาน
5) ความผิดปกติของความคิด (disturbance of thinking)
ชนิดที่ 1 ความผิดปกติโดยรวมของความคิด (general disturbance in form or process of thinking)
ชนิดที่ 2 ความผิดปกติของกระบวนการคิด (disturbances in form of thought)
ชนิดที่ 3 ความผิดปกติของเนื้อหาความคิด (disturbance of content of thought)
6) ความผิดปกติของการรับรู้สัมผัส (disturbance of perception)
ชนิดที่1 การรับรู้ผิดปกติแบบประสาทหลอน (hallucination)
ชนิดที่ 2 การรับรู้ผิดปกติแบบประสาทลวง (illusion)
ชนิดที่ 3 การรับรู้ผิดปกติที่เป็นปรากฎการณ์ conversion และ dissociation
ชนิดที่4 ความผิดปกติของการรับรู้ที่เกิดความผิดปกติของพุทธิปัญญา(cognition) คือ อาการที่ ไม่สามารถจำได้
เกณฑ์การจำแนกโรคทางจิตเวช
International Classification of Disease and Related Health Problem 10 th Revision (ICD 10) เริ่มใช้ในปี 1992 พัฒนาขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization)
Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorder 5 th edition (DSM V) พัฒนาโดย สมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (American Psychiatric Association หรือ APA) เริ่มใช้ในปีคริสต์ศักราช 1994 ปัจจุบันใช้ มีตีพิมพล่าสุดในปีค.ศ. 2013
สิทธิของผู้ป่วย กฎหมาย จริยธรรมในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 มีหลายมาตราแต่ในที่นี้จะกล่าวถึงบ้างมาตราที่มีสาระสำคัญดังนี้ ได้แก่ มาตรา 12 มาตรา 13 มาตรา 15 มาตรา 20 มาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 23
หลักจริยธรรม (ethical principles) ในการถือปฏิบัติ
ความยุติธรรมหรือความเสมอภาค
การเสียสละ
ระเบียบวินัย
ความรับผิดชอบ
ความเอื้ออาทรต่อผู้ป่วย
การบอกความจริง
ความซื่อสัตย์
การรักษาความลับ
การเคารพเอกสิทธิ์
สรุป
การบำบัดช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตและจิตเวช จำเป็นต้องอาศัยถึงพิจารณาปัจจัย 4 ประการ (4 P’s) จากตัวผู้ป่วยและสิ่งรอบตัวผู้ป่วย ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นได้ทั้งปัจจัยด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิต วิญญาณ (bio-psycho-social-spiritual factors) รวมกับความรู้ความเข้าใจในกลุ่มของอาการ อาการแสดงทางจิตเวชต่าง ๆ เกณฑ์การจำแนกโรคทางจิตเวช เพื่อความเข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดปัญหาและสามารถวินิจฉัยปัญหา ด้านสุขภาพจิตและจิตเวชของบุคคลได้อย่างถูกต้อง และเพื่อการบำบัดช่วยเหลือบุคคลเหล่านั้นอย่างถูกต้องเหมาะสม ภายใต้สิทธิของผู้ป่วย กฎหมาย และจริยธรรมในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช จึงจำเป็นรู้และเข้าใจถึงสิทธิของ ผู้ป่วย กฎหมาย และจริยธรรมในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชอีกด้วย