Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4.4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช…
บทที่ 4.4
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช ภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ความหมาย
กลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาท ที่มีความบกพร่องของพัฒนาการด้าน ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การสื่อสารร่วมกับความผิดปกติของพฤติกรรม และความสนใจหมกหมุ่นในบางเรื่อง มี พฤติกรรมซ้ำๆ ซึ่งแสดงอาการในระยะต้นของพัฒนาการ
อาการและอาการแสดง
บกพร่องด้านการสื่อสารและด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
ไม่สามารถตอบสนองปฏิสัมพันธ์ทาง สังคมกับบุคคลอื่นได้
ไม่มีการสบสายตา
ไม่มีการแสดงออกทางสีหน้า
มีอารมณ์หรือแสดงความรู้สึกร่วมกับผู้อื่น
แสดงพฤติกรรมไม่รู้ร้อนรู้หนาวและไม่ รู้จักหลีกเลี่ยงอันตรายต่างๆ
มีความบกพร่องในการสร้าง รักษา และเข้าใจในสัมพันธภาพ
แบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัดซ้ำๆ (stereotyped)
มีการแสดงกิริยาบางอย่างซ้ำ (mannerism)
การสะบัดมือ
การหมุนตัว
การหมุน ต้นคอ
ยึดติดกับสิ่งเดิม กิจวัตรประจำวันเดิม หรือแบบแผนการสื่อสารเดิมๆซ้ำๆ
มีความสนใจที่จำกัดในขอบเขตที่จำกัดหรือเฉพาะเจาะจง
มีการตอบสนองต่อการรับสัมผัสสิ่งเร้าที่เข้ามากระตุ้น (เช่น แสง สี เสียง สัมผัส
. สาเหตุ
ปัจจัยทางพันธุกรรม
ในคู่ฝาแฝดแท้(ไข่ใบเดียวกัน
ปัจจัยทางสมอง
มีช่องว่างในสมอง (ventricle) มีขนาดใหญ่กว่าปกติขนาดเซลล์สมองที่มีขนาดเล็ก หรือ ใหญ่กว่าปกติ
มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง (serotonin)
ปัจจัยในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด
อายุพ่อแม่
ภาวะที่ไม่เข้ากันของภูมิคุ้มกันระหว่างมารดาและทารก
ภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์และการคลอด
การบำบัดรักษา
การรักษาทางยา
ยา
methylphenidate
ที่ใช้บรรเทาอาการขาดสมาธิ พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง วิ่งไปมา
ยา
haloperidol กับ risperidone
ที่ใช้บรรเทาอาการหงุดหงิด
ยา
fluoxetine
ที่ใช้บรรเทาอาการซึมเศร้า ลดพฤติกรรมซ้ำๆ
ยา
lorazepam
ที่ใช้บรรเทาอาการวิตกกังวล
พัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร
พัฒนาด้านทักษะทางสังคม (social skills)
พฤติกรรมบำบัด (behavioral therapy)
การบำบัดทางความคิด และพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy: CBT)
การประเมินสภาพ (assessment)
• PDDSQ ที่ใช้คัดกรองเด็กที่มีอายุ1-4 ปี
• PDDSQ ที่ใช้คัดกรองเด็กที่มีอายุ4-18 ปี
การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล
สอนให้เด็กรู้จักแสดงความรู้สึกภายในใจออกมา รู้จักยิ้ม รู้จัก แสดงสีหน้าต่าง ๆ กัน
แก้ไขพฤติกรรมที่ไม่หมาะสม ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่รุนแรง มักสามารถแก้ไขได้ด้วย การปรับพฤติกรรม
หลักสำคัญของการปรับพฤติกรรม
พฤติกรรมแยกตัว ไม่สนใจเล่นกับเด็กอื่น ๆ
พาเด็กไปเล่นกับเด็กอื่นหรือพาเด็กไปร่วมกิจกรรมกับกลุ่มเด็ก
วัยเดียวก้นเมื่อมีโอกาส
ให้แรงเสริมเสริมทางบวก เมื่อเด็กเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่น
พฤติกรรมไม่สบตา
เรียกชื่อทุกครั้งเมื่อต้องการพูดคุยกับเด็กหรือต้องการให้เด็กละสายตา
จากการมองแบบไร้จุดหมาย
ให้แรงเสริมทางบวกทันที เช่น ชมเชยเมื่อเด็กรู้จักสบตาแม้ทำได้เพียงชั่ว
ครู่หรือให้รางวัลที่เด็กชอบ
พฤติกรรมซน อยู่ไม่นิ่ง
ฝึกให้เด็กนั่งเก้าอี้ในการทำกิจวัตรประจำวัน
ลดสิ่งเร้าที่ทำให้เด็กไม่มีสมาธิ