Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชความผิดปกติทางจิตเวช…
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด
ลักษณะอาการและอาการแสดงของความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด
โรคของการใช้สารเสพติด (substance use disorder)
การใช้สารแบบมีปัญหา (substance abuse)
มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทําให้ไม่สามารถทํางานต่าง ๆ ได้เต็มที่
มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆอย่างต่อเนื่อง ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
ก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายจากการใช้สารสารเสพติดนั้นๆ
มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสารเสพติดนั้น ๆจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ
การติดสาร (substance dependence)
การดื้อยา (tolerance)
อาการขาดยา (withdrawal)
มักใช้สารเสพติดชนิดนั้น ๆ ในจํานวนที่เพิ่มมากขึ้นหรือติดต่อกันนานมากกว่าที่คิดไว้
ตั้งใจอยู่เสมอที่จะหยุดหรือลดปริมาณการใช้สารเสพติดนั้น ๆแต่ไม่สําเร็จ
ภาวะเมาสาร (substance intoxication)
ภาวะถอนสาร (substance withdrawal)
โรคทางจิตเวชที่เกิดจากการใช้ติดสารเสพติด(substance induced mental disorder)
กลุ่มที่ 1 สารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system stimulants)
เป็นสารที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อศูนย์ควบคุมความพึงพอใจ (pleasure or reward center)
ภาวะเมาสาร (substance intoxication) - เกิดทันที่หลังเสพสารเสพติดโดยเฉพาะด้วยวิธีสูบ (smoking)ตื่นตัว มีอารมณ์ครึกครั้นสนุกสนาน พูดมาก ชอบพบปะผู้คน หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย กระวนกระวาย อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
ภาวะถอนสาร (substance withdrawal)ของสารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางชนิดรุนแรง และจะมีอาการคงอยู่ 2-3 วันหลังหยุดเสพมีความรู้สึกหดหู่ (dysphoria) อ่อนเพลีย เมื่อยล้ํา (fatigue) ปวดศีรษะ ฝันร้าย นอนหลับมาก
สารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางชนิดไม่รุนแรงและเป็นที่ยอมรับในสังคม ได้แก่ คาเฟอีน
ภาวะเมาสาร (substance intoxication) จะเจอในผู้ป่วยที่กินคาเฟอีนมากกว่า 250 มิลลิกรัม กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข ตื่นต้น หงุดหงิด
นิโคติน (nicotine) ในยาสูบหรือบุหรี่ พบได้น้อยโดยจะมีอาการปวดท้อง มึนงง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หน้าซีด ใจสั่น เหงื่อออกมาก อาเจียน และไม่มีแรง
ภาวะถอนสาร (substance withdrawal) อาการมักเกิดขึ้นภายหลังมีการดื่มครั้งสุดท้าย 12– 24 ชั่วโมง อาการมักรุนแรงสูงสุดที่ 24 - 48 ชั่วโมงและอาจอยู่ได้นานถึง 1 สัปดาห์ ซึ่งอาการที่พบบ่อยที่สุดคือปวดศีรษะแบบบีบตุ้บ ๆ (throbbing headache) เหนื่อยล้ํา (fatigue) อาการอื่น ๆที่อาจพบได้
นิโคติน (nicotine) จะเกิดอาการภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากลดปริมาณหรือหยุดสูบบุหรี่จากที่เคยสูบบุหรี่ทุกวันติดต่อกันและมีอาการคงอยู่อย่างน้อย 2 – 3 สัปดาห์ โดยจะมีความรู้สึกไม่สบายใจหรือมีอารมณ์หดหู่ ไม่แจ่มใส นอนไม่หลับ หงุดหงิด โกรธง่าย วิตกกังวล สมาธิไม่ดี
กลุ่มที่ 2 กลุ่มนาร์โคติก (narcotic) เป็นสารที่ออกฤทธิ์ผ่าน opioid receptor จึงมักมีฤทธิ์ทําให้หายปวด (analgesic)
ภาวะเมาสาร (substance intoxication)ของกลุ่มนาร์โคติก จะแสดงให้เห็นได้ชัดเจนหลังเสพทันทีโดยจะมีอารมณ์เคลิ้มสุขในระยะแรก จากนั้นจะเซื่องซึม หดหู่
ภาวะถอนสาร (substance withdrawal)ของกลุ่มนาร์โคติกจะเกิดเมื่อหยุดเสพภายใน
กลุ่มที่3 กลุ่มกดระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system depressants) เป็นสารที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อ limbic system ผ่าน GABA receptor โดยสารในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์ผ่าน GABAreceptor เป็นหลัก
ภาวะเมาสาร (substance intoxication) มักเกิดภาวะเมาสารขึ้นเมื่อใช้ยากลุ่ม benzodiazepine ปริมาณสูงภายในครั้งเดียวหรือใช้ยา benzodiazepine ที่มีคําครึ่งชีวิตยาวต่อเนื่องกัน
สุรา (alcohol) ภาวะเมาสารจะเกิดขึ้นอยู่กับอัตราการเพิ่มขึ้นของระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือด
อาการถอนนั้นเกิดได้ตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมง หรืออาจจะเกิดขึ้นช้าก็ประมาณ 2 - 3 วันหลังหยุดยา เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็วหายใจเร็ว มือสั่น นอนไม่หลับ วิตกกังวล กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข
กลุ่มที่ 4 กลุ่มหลอนประสาท (psychedelic drugs/Hallucinogen) เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อserotonin และ glutamate receptor ทําให้ประสาทรับรู้บิดเบือนสาร lysergic acid diethylamide (LSD), ketamine,phencyclidine (PCP), ยาอี (ecstasy), mescalin, เห็ดขี้เมา (mushrooms/psilocybin)
ภาวะเมาสาร (substance intoxication)
สาร lysergic acid diethylamide (LSD) ภาวะเมาสารจะเกิดขึ้นทันทีหลังเสพและคงอยู่ในระยะเวลาสั้นๆประมาณ 1 - 2 วัน แต่ถ้าเสพบ่อยครั้งอาการจะอยู่นานหลายวัน จนถึงประมาณ 2 สัปดาห์ ผู้เสพจะรู้สึกวิตกกังวลหรือมีอารมณ์เศร้อย่างมาก
สาร phencyclidine (PCP) และ ketamineจะทําให้ผู้เสพมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงขาดการควบคุมอารมณ์ พุ่งพล่าน กระวนกระวาย การตัดสินใจบกพร่อง
ภาวะถอนสาร (substance withdrawal)
สาร lysergic acid diethylamide (LSD) หลังจากหยุดสารจะมีอาการประสาทหลอนเห็นภาพความคิดหรือภาพประสบการณ์ผุดขึ้นมาเป็นช่วง ๆ 2 – 3 วินาทีถึง 2 – 3 นาที
กลุ่มที่ 5 กลุ่มสารอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์แตกต่างจาก 4 กลุ่มแรก สารเสพติดในกลุ่มนี้ ได้แก่ กัญชา(cannabis), สารระเหย (inhalant) เช่น กาว ทินเนอร์, ใบกระท่อม (mitragyna), khat
ภาวะเมาสาร (substance intoxication)
กัญชา (cannabis) ภาวะเมาสารมักเกิดภายหลังสูบไม่กี่นาทีและจะคงอยู่นาน 2 – 4ชั่วโมงโดยมีอารมณ์เคลิ้มสุข หัวเราะง่ายอย่างไม่เหมาะสม รู้สึกผ่อนคลาย ง่วงนอน ขาดการควบคุมอารมณ์มีอาการวิตกกังวลหงุดหงิดฉุนเฉียวโกรธง่าย อาจมีอารมณ์เศร้าหวาดกลัว
สารระเหย (inhalant) เช่น กาว ทินเนอร์ภาวะเมาสารจะเกิดภายหลังดมสารปริมาณมากทันทีโดยอาการจะเริ่มจากเวียนศีรษะ ตาพร่า เห็นภาพซ้อน พูดไม่ซัด (slurred speech) มือสั่น การทรงตัวเสีย
ภาวะถอนสาร (substance withdrawal)
กัญชา (cannabis) ภาวะถอนสารจะเกิดหลังหยุดเสพภายใน 1 – 2 สัปดาห์จากที่เสพกัญชาเป็นประจำโดยจะมีอาการหงุดหงิดง่าย มีอยากเสพยา (caving) นอนไม่หลับ
สารระเหย (inhalant) เช่น กาว ทินเนอร์ภาวะถอนสารจะมีอาการเพียงเล็กน้อย คือ มีอารมณ์หงุดหงิด
สาเหตุ การบําบัดรักษาความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด
ปัจจัยด้านชีวภาพ - พันธุกรรม , การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทในสมอง , การเปลี่ยนแปลงระดับเมตาบอลิสม (metabolic activity)
ปัจจัยทางจิต - มีแรงจูงใจในการอยากลอง , ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory)ผู้ที่มีปัญหากรใช้สารเสพติดจะมีsuperego ที่ช่างลงโทษ (harsh superego) ,
ปัจจัยทางสังคม - ครอบครัวหรือพ่อและแม่มีการใช้สารเสพติด , สัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดี เด็กหันไปติดเพื่อน ถูกเพื่อนชักจูง
การบําบัดรักษาความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด
ระบบสมัครใจ หมายถึง การรักษาที่ผู้ป่วยสมัครใจมาขอรับการรักษาที่สถานพยาบาลของรัฐโดยตรง
ระบบบังคับรักษา หมายถึง การรักษาสําหรับผู้ป่วยที่ต้องคดียาเสพติดและอยู่ระหว่างรอพิสูจน์หลักฐานเพื่อส่งดํานินคดีในชั้นศาล กรมคุมประพฤติมีหน้าที่ให้กรดูแลติดตามหรือส่งผู้ป่วยมาบําบัดตามคําสั่งศาลให้เข้ารับการบําบัดรักษาที่สถานพยาบาลของรัฐ เป็นวลา 4 เดือน และติดตามต่อเนื่องอีก 1 ปี
การต้องโทษ (ทัณฑสถานบําบัดพิเศษ) หมายถึง การักษาผู้ป่วยที่เป็นนักโทษอยู่ในเรือนจําที่มีปัญหาเกี่ยวกับติดสารเสพติด จําเป็นต้องรักษาอยู่ในสถานบําบัดพิเศษของเรือนจํานั้น
รูปแบบการบําบัดรักษาความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพ
ระยะแรก (pre-admission) คือ การเตรียมพร้อมสําหรับผู้ป่วยใช้เวลา 1 - 7 วัน เป็นระยะที่ผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาครั้งแรกผู้ป่วยจะได้รับการประเมินอาการทางคลินิกและดูความพร้อม
ระยะสองการถอนพิษยา (detoxification) คือ ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ โดยเริ่มจากการลดขนาดยาเสพติดลงไปเรื่อย ๆ
ระยะสามการรักษาทางจิตสังคมเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ (psychosocial rehabilitation)คือ นั้น
มีความจําเป็นและได้ผลดีมาก เช่น การทําครอบครัวบําบัด
ระยะสี่การติดตามดูแล (after-care) คือ เป็นระยะที่ผู้ป่วยกลับไปอยู่บ้านในชุมชนตามปกติแต่แพทย์ยังนัดมาเพื่อติดตาม ปีละ 3 - 4 ครั้ง
การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด
การประเมินสภาพ (assessment)
ชนิดของสารเสพติดที่ผู้ป่วยเคยใช้ และใช้ก่อนที่จะมาขอรับการรักษาในครั้งนี้
ปริมาณสารเสพติดที่ใช้ในแต่ละครั้ง
ระยะเวลา ความถี่ในการใช้สาร และหลังสุดผู้ป่วยใช้สารเสพติดเมื่อไหร่
ประวัติการเลิกสารเสพติดด้วยตนเองหรือเข้ารับการรักษา