Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและมีปัญหาฆ่าตัวตา…
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม
บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและมีปัญหาฆ่าตัวตาย
ลักษณะอาการและอาการแสดง ระดับของภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย
ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะซึมเศร้า
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
นอนไม่หลับเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นอาการแรกสุดก่อนที่มีอาการอื่นเกิดขึ้น
ร้อยละ 25 มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย โดยไม่ทราบสาเหตุ
เบื่ออาหาร การรับรสชาติเปลี่ยนแปลง ไม่อยากอาหาร
ท้องผูกเนื่องจากการรับประทานอาหารน้อยและร่างกายเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ
ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น ประจําเดือนมาน้อยกว่าปกติหรือมาไม่สม่ําเสมอ
ความสนใจในตนเองลดลง เช่น ไม่รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลลดลง ขาดการมีระเบียบเรียบร้อยการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและอารมณ์ มักพบการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
ผู้ป่วยมีความสนใจสิ่งแวดล้อมลดลง ถอยหนีจากสังคม ไม่ชอบงานสังสรรค์หรืองานรื่นเริง หรือไม่ชอบไปในที่ชุมชน โดยหากมีการถอยหนีออกจากสังคมมาก หรือเป็นระยะเวลายาวนาน ทําให้เกิดอาการประสาทหลอนและหลงผิดได้
ระดับของภาวะซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้าระดับอ่อน (mild depression/blue mood) คือ ภาวะอารมณ์ที่ไม่สดชื่น หม่นหมอง บุคคลทั่วไปมักมีประสบการณ์กับภาวะซึมเศร้าระดับนี้เป็นครั้งคราว เช่น เมื่อต้องแยกจากบุคคลอันเป็นที่รักโดยมักมีภาวะซึมเศร้าระดับนี้เพียงชั่วคราว หรือเมื่อตกในสภาวการณ์ที่บุคคลต้องอยู่ลําพังโดดเดี่ยว
ภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง (moderate depression/neurotic depression) คือ ภาวะอารมณ์ซึมเศร้าที่รุนแรงขึ้นกว่าระดับอ่อน จนถึงขั้นกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติภารกิจประจําวัน แต่สามารถดําเนินชีวิตได้อย่างปกติ แต่จะขาดประสิทธิภาพไปบ้าง เช่น จากการสูญเสียสามีทําให้เกิดความเศร้าโศกจนไม่สามารถทํางานได้ตามปกติโดยกินระยะเวลาหลายเดือน
ภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง (severe depression/Psychotic depression) คือ ภาวะของอารมณ์ซึมเศร้าที่รุนแรงอย่างมาก มีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมโดยทั่วๆ ไปอย่างเห็นได้ชัดเจน เช่น ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในชีวิตประจําวันได้ โดยผู้ป่วยมักถอยหนีออกจากโลกของความเป็นจริง อาจที่ความคิดทําร้ายตนเองหรือมีอาการหลงผิดได้
ลักษณะอาการและอาการแสดงของการฆ่าตัวตาย
บุคคลจะพยายามทําร้ายตนเองด้วยวิธีการต่างๆ
บุคคลกลุ่มนี้มีความคิดซ้ําๆ ที่จะทําร้ายตนเอง "การฆ่าตัวตายแบบคุกคาม (threatened suicide)"
บุคคลกลุ่มนี้จะมีอารมณ์ซึมเศร้าชัดเจนมีความมุ่งมั่นที่จะฆ่าตัวตายให้สําเร็จมีการวางแผนการกระทํา และต้องการให้เกิดผลโดยแท้จริง และอาการแสดงดังกล่าวมานี้เรียกว่า การฆ่าตัวตายสําเร็จ (completed suicide / committed suicide)
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ส่งผลให้บุคคลที่มีภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
บุคคลที่แต่งงานและมีบุตร มีอัตราการฆ่าตัวตายน้อยกว่า บุคคลที่มีสถานะโสด แยกทาง หย่าร้างหรือหม้าย
เมื่อบุคคลอายุเพิ่มมากขึ้นจะมีภาวะเสี่ยงในการฆ่าตัวตายมากขึ้น
บุคคลที่ต้องทํางานในสภาวะกดดัน/สถานการณ์เคร่งเครียดหรือต้องรับผิดชอบสูง
บุคคลที่ต้องต่อสู้ชีวิตตามลําพัง
สาเหตุการเกิดภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย
สาเหตุการเกิดภาวะซึมเศร้า
แนวคิดด้านการเปลี่ยนแปลงของสารชีวเคมีในร่างกาย - น้อยลงของสารจําพวกไบโอจินิก อะมีนส์ (biogenic amines) ในทางระบบประสาทส่วนกลางซึ่งมีคุณสมบัติของสารกลุ่มนี้จะทําหน้าที่กระตุ้นสมองส่วนที่ทําให้มนุษย์ตื่นตัว
แนวคิดด้านการใช้กลไกทางจิตใจ - ผู้ที่มีพฤติกรรมซึมเศร้า มีสาเหตุมาจากความเจ็บปวดที่เกิดจากความสูญเสีย (loss) ในสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง
สาเหตุการฆ่าตัวตาย
สาเหตุด้านชีวภาพ
5-Hydroxyindoleacetic acid (5-HIAA) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทําให้บุคคลมีอารมณ์เศร้ามีเพิ่มมากขึ้น พบว่า ผู้ที่เสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายมีระดับ 5-Hydroxyindoleacetic acid (5-HIAA) ในน้ําไขสันหลังมีระดับต่ําลง
การเจ็บป่วยทางด้านร่างกายที่เรื้อรังที่มีความทุกข์ทรมาน เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง,การเจ็บป่วยที่ไร้สมรรถภาพโดยเฉพาะความสามารถทางการเพศ, โรคมะเร็งระยะสุดท้ายหรือมีภาวะนอนไม่หลับรุนแรง เป็นต้น
สาเหตุด้านจิตใจ
การเจ็บป่วยทางจิตใจที่มักเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตาย
ด้านจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory) ซิกมัน ฟรอยด์(Sigmund Freud) การฆ่าตัวตาย เป็นการทํางานของจิตใต้สํานึกในบุคคลที่ไม่มีความเข้มแข็งพอที่จะจัดการกับความวิตกกังวลหรือความขัดแย้งภายในจิตใจตน ที่ตอบสนองต่อแรงขับของความก้าวร้าวที่หันเข้าสู่ตนเองหรือตอบสนองความขัดแย้งทางจิตที่เลือกใช้กลไกทางจิตแบบกล่าวโทษตนเอง (introjections) เพื่อจัดการกับความวิตกกังวลหรือความขัดแย้งภายในตัวตน (ego) ของตนเอง
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด (cognitive-behavioral theory) การฆ่าตัวตายเป็นผลมาจากการเรียนรู้ต่อสิ่งเร้าที่เป็นอันตราย (noxious stimulus) ว่าไม่สามารถแก้ไขหรือจัดการกับปัญหาเหล่านั้นได้
สาเหตุทางด้านสังคม
ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล - การฆ่าตัวตายเกิดจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่ไม่ดีในระยะ 2 ปีแรกของช่วงชีวิต การยอมรับหรือการปฏิเสธของแม่และผู้เลี้ยงดูเป็นพื้นฐานในการพัฒนาระดับความมีคุณค่าในตนเอง (self-esteem)
สาเหตุด้านจิตวิญญาณ
บุคคลที่ขาดที่พึ่งหรือสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ จะทําให้บุคคลรู้สึกโดดเดี่ยว สิ้นหวัง ไม่สามารถมองเห็นศักยภาพของตนเอง ขาดพลังงานในชีวิต
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและที่มีปัญหาฆ่าตัวตาย
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้า
การประเมินภาวะซึมเศร้า
ประเมินระดับความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า
ประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วย
ประเมินการดูแลตนเองด้านสุขอนามัยและกิจวัตรประจําวัน
ประเมินความสนใจในสิ่งแวดล้อม
ประเมินการได้รับสารอาหารและน้ําความเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย
ประเมินความสมดุลระหว่างการทํากิจกรรมและการพักผ่อนตามความต้องการของร่างกาย
ประเมินบุคลิกภาพและรูปแบบการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยที่เคยใช้มา