Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4.3 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชโรคซนสมาธิสั้น …
บทที่ 4.3
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชโรคซนสมาธิสั้น
ความหมายโรคซนสมาธิสั้น
(attention-deficit/ hyperactivity disorder: ADHD) จะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่วัยเด็ก ขาดสมาธิ (inattention) และ/หรือ มีอาการซนไม่อยู่นิ่ง (hyperactivity) หุนหันพลันแล่น (impulsivity) ทำให้มีใจจดจ่ออยู่กับงานได้ไม่นาน ขาดความต่อเนื่อง ไม่สามารถให้
ความสนใจเรื่องใดได้นาน
ลักษณะอาการและอาการแสดงโรคซนสมาธิสั้น
หันพลันแล่น หลายๆ อาการเริ่มปรากฎก่อนอายุ 12 ขวบ ที่บ้าน โรงเรียน
อาการขาดสมาธิมีตั้งแต่ 6 อาการขึ้นไป อายุตั้งแต่ 17
ปีขึ้นไป) ต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อาการขึ้นไป
มักจะไม่สามารถจดจำรายละเอียด หรือขาดความรอบคอบจึงทำผิดพลาดในเรื่องเกี่ยวกับการเรียน การทำงาน หรือการทำกิจกรรมอื่นๆ
มักจะไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเล่น
มักจะดูเหมือนไม่สนใจฟังเวลาที่พูดด้วยโดยตรง
ม้กมีปัญหาในการวางแผนเกี่ยวกับงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ
มักจะหลีกเลี่ยง ไม่ชอบ หรือลังเลที่จะทำงานที่ต้องใช้ความคิด
มักจะทำของที่จำเป็นสำหรับการเรียนหรือการทำงานหายอยู่บ่อยๆ
มักจะถูกเบี่ยงเบนความสนใจจากสิ่งเร้าภายนอกได้ง่าย (สำหรับวัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่อาจจะรวมถึงความคิดที่ไม่สัมพันธ์กับสิ่งที่ทำ)
มักจะลืมบ่อยๆ เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน
อาการซน ไม่อยู่นิ่ง และอาการหุนหันพลันแล่น มีอาการดังต่อไปนี้ตั้งแต่ 6 อาการขึ้นไป
เมื่อนั่งอยู่กับที่มักจะมีอาการกระวนกระวาย กระสับกระส่าย หรือรู้สึกทรมาน นั่งขยุกขยิกยุกยิกตลอดเวลา ใช้มือหรือเท้าเคาะโน่นเคาะนี่
มักจะลุกจากที่นั่งบ่อยๆ ในสถานการณ์ที่ควรต้องนั่งอยู่กับท
มักจะวิ่งไปทั่วหรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม (ในผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นอาจเป็นเพียงความรู้สึกกระวนกระวายใจ)
มักจะไม่สามารถเล่นหรือเข้าร่วมในกิจกรรมสันทนาการได้อย่างเงียบๆ
มักจะยุ่งวุ่นวาย เสมือนหนึ่งขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์อยู่ตลอดเวลา (เช่น ไม่สามารถอยู่ต่อหรือรู้สึกอึดอัดใจอย่างมากถ้ามีการต่อเวลา เช่น ในร้านอาหาร ในการประชุม)
มักจะพูดมาก พูดไม่หยุด
มักจะโพล่งตอบคำถามก่อนที่จะถามคำถามจบ
มักจะมีปัญหาในการรอคอยให้ถึงตาตนเอง
มักจะขัดจังหวะ หรือสอดแทรกผู้อื่น สำหรับวัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่อาจจะเป็นลักษณะการก้าวก่ายหรือการยึดครองสิ่งที่ผู้อื่นกำลังทำอยู่
สาเหตุ การบำบัดรักษาโรคซนสมาธิสั้น
1) ปัจจัยทางชีวภาพ
แฝดไข่ใบเดียวกัน (monozygotic twins) ถ้าแฝดคนหนึ่งป่วยด้วยโรคซนสมาธิสั้นโอกาสที่แฝดอีกคนหนึ่งจะป่วยด้วยโรคนี้มีสูงถึงร้อยละ 51
กายวิภาค สรีรวิทยา ของระบบประสาท
การที่สมองถูกทำลาย (brain damage)
สมองมีความผิดปกติบริเวณ frontal lobe
สารเคมีของระบบประสาท (neurochemical factors)
dopamine และ norepinephrine มีระดับต่ำกว่าปกติ catecholamine เพิ่มมากขึ้น
2) ปัจจัยก่อนคลอด
3เดือนแรก (first trimester) มีการติดเชื้อ oxygen ระหว่างคลอด ล้วน
แล้วแต่เป็นสาเหตุทำให้เด็กมีอาการของ ADHD
3) ปัจจัยทางจิตสังคม
การไม่ได้รับความอบอุ่นเป็นระยะเวลานานๆ (prolonged emotional deprivation) เหตุการณ์ที่ทำให้เด็กรู้สึกเครียด
4) ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
การรับประทานสารตะกั่ว
การบำบัดรักษาโรคซนสมาธิสั้น
1) การรักษาทางยา
การรักษาด้วยยา psychostimulants ผู้ใหญ่ที่มีอาการ ADHD
methylphenidate(ritalin) ยานี้จะใช้ในเด็กตั้งแต่อายุ 6 ขวบขึ้นไป
amphetamine (dexedrine) นั้น สามารถใช้รักษาเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไป
การรักษาโดยกลุ่มยาต้านเศร้า (antidepressants) เช่น imipramine
การรักษาโดยกลุ่มยา alpha-adrenergic agonist เช่น clonidine (catapres)
การรักษาโดยกลุ่มยารักษาอาการทางจิต (antipsychotics) เช่น thioridazine (mellaril) haloperidol (haldol) risperidone (risperdal) สำหรับผู้ป่วย ADHD ที่มีความก้าวร้าว
2) การรักษาโดยการปรับพฤติกรรมและการรักษาทางจิตสังคม
การฝึกอบรมพ่อแม่ในการดูแลเด็ก ADHD
การให้ความรู้แก่พ่อแม่เกี่ยวกับโรคและวิธีการบำบัดรักษา ADHD
แนะนำพ่อแม่ให้จัดทำตารางกิจวัตรประจำวันของเด็ก
การให้ความช่วยเหลือเด็กขณะอยู่ที่โรงเรียน
การให้ความช่วยเหลือโดยมุ่งเน้นที่ตัวเด็กเป็นสำคัญ
การฝึกทักษะทางสังคม (social skill training)