Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร - Coggle Diagram
โรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
:lock:ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงของโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
ความหมายของโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
กลุ่มอาการของโรคทางจิตเวชที่บุคคลมีความคิด ความรู้สึก ต่อรูปร่าง น้ำหนัก และการกินอาหารของตน
มีความเข้มงวดกับการพยายามลด หรือควบคุมน้ำหนักอย่างมาก โดยมีกลวิธีทั้งการอดอาหาร การหักโหมออกกำลังกาย
ลักษณะอาการและอาการแสดงของโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
บูลิเมีย เนอร์โวซ่า (bulimia nervosa)
ภาวะที่ร่างกายมีความรู้สึกผิดปกติ เห็นอาหารแล้วเกิด ความอยากบริโภคและบริโภคได้ในปริมาณมากกว่าปกติ
ลักษณะที่ 1 มีช่วงของการรับประทานที่รับประทานอาหารในช่วงเวลาสั้นๆ ครั้งละมากๆ
ลักษณะที่ 2 มีความรู้สึกว่าไม่สามารถที่จะควบคุมการรับประทานได้ในระหว่างนั้น เช่น รู้สึกว่าตนเองหยุดการรับประทานไม่ได้หรือควบคุมชนิดหรือปริมาณอาหารไม่ได้
อนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า (anorexia nervosa)
ภาวะที่บุคคลปฏิเสธการมีน้ำหนักตัวปกติ มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักตัวของตนเองตลอดเวลา
แบบที่ 1 แบบจำกัด (restricting type) คือ ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมแบบรับประทานมากและไม่มีการขับอาหารออกจากร่างกาย
แบบที่ 2 แบบรับประทานมากและมีการขับอาหารออกจากร่างกาย (binge eating / purging type)
:lock:สาเหตุ การบำบัดรักษาโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
การบำบัดรักษาโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
การบำบัดรักษาทางกาย
อายุรแพทย์จะดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางร่างกายตามอาการที่เกิดขึ้น
ส่วนใหญ่มาจากสาเหตุภาวะขาดสารอาหารของบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
การบำบัดรักษาด้วยยา
ยาต้านเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSR)
ยาต้านเศร้ากลุ่ม tricyclic antidepressant (ICAs)
ยาต้านโรคจิตกลุ่มใหม่
ยากระตุ้นความอยากอาหาร
จิตบำบัดรายบุคคล
การรักษาอันดับแรก ๆ ในบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี
การบำบัดความคิด
ส่วนใหญ่จะมีความคิดและความเชื่อที่สัมพันธ์กับอาหาร น้ำหนัก มโนทัศน์แห่งตน (self-concept) และสัมพันธภาพ ระหว่างบุคคล
แก้ไขความคิดและความคิดรวบยอด เกี่ยวกับตนเองทั้งเรื่อง รูปร่างและน้ำหนักตัวที่บิดเบื่อนจากความจริงอย่างรุนแรง
โภชนาการบำบัด
นักโภชนการจะดูแลวางแผนจัดเมนูอาหารที่เหมาะสม สำหรับบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารและให้ความรู้เกี่ยวกับอาหาร
คงไว้ซึ่งความ ต้องการสารอาหารมากกว่าแคลอรี่ที่ควรได้รับในระดับปกติ ร้อยละ 30-50
กลุ่มบำบัด
พยายามหลีกเลี่ยงการการรับประทานอาหารร่วมกับคนอื่น
ครอบครัวบำบัด
พยายามให้ ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการหยุดพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ
พฤติกรรมบำบัด
ผู้บำบัดจะต้องสังเกตอาการของการรับประทาน อาหาร และอาการแสดงของความผิดปกติ
วางแผนในการบำบัดที่เหมาะสมในแต่ละรายเพื่อเพิ่มน้ำหนัก ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
อาชีวบำบัด
วางแผนในการเลือกซื้อหารและประกอบอาหารตัวยตนเอง เพื่อให้บุคคลที่มีความ ผิดปกติของการรับประทานอาหารสามารถวางแผนจัดเมนูอาหารออกมาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพเมื่อออกจาก โรงพยาบาล
สาเหตุของโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
ปัจจัยด้านชีวภาพ (biological factors)
ด้านสารสื่อประสาทในสมอง ความผิดปกติของการรับประทานอาหารน่าจะเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทซีโรโทนิน (serotonin) ซึ่งเป็นตัวควบคุมอารมณ์และความพึงพอใจ
ด้านพันธุกรรม คู่แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกันมี โอกาสเสี่ยงที่จะเป็นร้อยละ 44
ปัจจัยทางด้านจิตใจ (psychological factors)
บุคคลที่มีบุคลิกภาพพื้นฐานลักษณะเจ้าระเบียบ จริงจัง ต้องการความสำเร็จสูง
พัฒนาการของจิตใจน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความผิดปกติของการการรับประทานอาหาร
ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม (sociocultural factors)
สัมพันธภาพในครอบครัว บุคคลที่มีลักษณะสัมพันธภาพในครอบครัวไม่ค่อยดีมีความขัดแยัง
สังคมเมืองที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอุตสหกรรม
:lock:การพยาบาลบุคคลที่มีโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
การประเมินผล
ความรู้สึกที่มีต่อภาพล้กษณ์ของตนเองดีขึ้น ความรู้สึกผิดที่ลดลง ความมีคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้น
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 1-14 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ผิวหนังชุ่มขึ้น มีความยืดหยุ่นดีขึ้น
การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล
การดูแลให้ได้รับสารอาหารและน้ำที่เพียงพอ ผู้รับบริการที่มีความผิดปกติของการรับประทาน อาหาร จะมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานพยาบาลจึงต้องดูแลให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้รับบริการที่มีความผิดปกติของ การรับประทานอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
การรักษาด้วยยา บทบาทที่สำคัญของพยาบาล คือ การดูแลให้ผู้รับบริการได้รับยา ครบถ้วนตามแผนการรักษา
การประเมินสภาพ
การซักประวัติ
พฤติกรรมการลดน้ำหนัก เช่น ประวัติการใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะที่ไม่เหมาะสม
พฤติกรรมการรับประทานอาหารและการควบคุมอาหาร เช่น ชนิด ปริมาณ
เพื่อประเมินเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วยทั้งด้านความคิดและพฤติกรรม
การประเมินจากการตรวจร่างกาย
การเจริญเติบโต น้ำหนัก ส่วนสูง ความหนาแน่นของชั้นไขมันใต้ผิวหนัง
การทำหน้าทีต่าง ๆ ของร่างกายที่สำคัญ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram) เพื่อค้นหาการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ (bradycardia) ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (laboratory test) จะมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยโรคร่วมกับการซักประวัติและตรวจร่างกาย