Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5.6 การพยาบาลบุคคลที่มีโรคย้ำคิดย้ำทำ - Coggle Diagram
บทที่ 5.6 การพยาบาลบุคคลที่มีโรคย้ำคิดย้ำทำ
ความหมาย
เป็นการคิดหรือทำเรื่องหนึ่งเรื่องใดซ้ำๆ โดยไม่สามารถหยุดยั้งได้ ทั้งๆที่รู้ว่าสิ่งที่คิดหรือทำนั้นไม่สมเหตุสมผล ผู้ป่วยจะแสดงอาการย้ำคิด เช่น ความปลอดภัย ความสะอาด ความเป็นระเบียบ หรือ ย้ำทำ เช่น การล้างมือ การตรวจตราการล็อคกลอนประตูซ้ำ ๆ โดยไม่มีเหตุผล ไม่สามารถขัดขืนได้ ทาให้รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกเครียด วิตกกังวล บางเวลาจะมีอารมณ์เศร้าร่วมด้วย
เกณฑ์การวินิจฉัยโรค Obsessive-Compulsive Disorders ตาม DSM 5
1.2 ผู้ป่วยพยายามที่จะเพิกเฉย หรือหยุดยั้งความคิด การกระตุ้น หรือมโนภาพหรือต่อต้านด้วยความคิด หรือการกระทำย้ำคิด (Obsessions) หมายถึง อาการทั้งข้อ 1.1 และ 1.2
1.1 พฤติกรรมที่ทำซ้ำ ๆ เช่น การล้างมือ การออกคาสั่ง การตรวจตราสิ่งของ หรือการแสดงออกด้านจิตใจ เช่น การสวดมนต์ การนับ การพูดคาซ้ำ ๆ อย่างเงียบ ๆ ซึ่งบุคคลจะรู้สึกมีแรงขับที่ปฏิบัติในการตอบสนองต่อการย้ำคิด หรือการทาตามกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด ย้ำทำ (Compulsive) หมายถึง อาการทั้งข้อ 1.1 และ 1.2
การย้ำคิด หรือการย้ำทำ เป็นการกระทาที่ใช้เวลามาก เช่น ใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน หรือเป็นสาเหตุของอาการแสดงทางคลินิกด้านทุกข์ทรมานใจมาก หรือความบกพร่องในการใช้ชีวิตในสังคม การประกอบอาชีพ หรือขอบเขตที่สำคัญของการปฏิบัติหน้าที่
อาการย้ำคิด-ย้ำทำ จะไม่มีอาการทางร่างกายที่เป็นผลจากการได้รับสาร เช่น สารเสพติด หรืออาการจากยาบางชนิด
ระบาดวิทยา พบในประชากรทั่วไปร้อยละ 2-3 โดยพบในเพศชายและเพศหญิงเท่า ๆ กัน
แสดงอาการย้ำคิด หรืออาการย้ำทำ หรือแสดงทั้งอาการย้ำคิด ย้ำทำ ย้ำคิด (Obsessions) หมายถึง อาการทั้งข้อ 1.1 และ 1.2
การดำเนินโรค
ผู้ป่วยมักเป็นอาการอยู่นานกว่าจะมารับการรักษา การพยากรณ์โรค พบว่าร้อยละ 20-30 อาการจะดีขึ้นหลังการรักษาอย่างชัดเจน กลุ่มที่พยากรณ์โรคไม่ดี ได้แก่ ผู้ที่คุมอาการย้ำทาไม่ได้ มีอาการตั้งแต่เด็ก ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย มีอาการย้ำทำในเรื่องแปลก ๆ และผู้ที่มีปัญหาบุคลิกภาพร่วมด้วย
การรักษา
พฤติกรรมบาบัด จะใช้หลัก Exposure และ Response prevention ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วยมาก
การรักษาด้วยยา ยากลุ่ม SSRI เช่น Fluoxetine
การพยาบาล
การประเมินผู้ป่วย
1.1 ทางร่างกาย อาจจะมีผิวหนังแห้งเนื่องจากทาความสะอาดบ่อยหรือนาน นอนไม่หลับ ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากผู้ป่วยใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการย้ำคิดและการย้ำทำ
1.2 ทางอารมณ์ ผู้ป่วยบอกว่ารู้สึกกังวลมากที่มีอาการย้ำคิดทั้งๆ ที่ไม่ต้องการจะคิดผู้ป่วยอาจมีอารมณ์เศร้า
1.3 ทางความคิด มีอาการย้ำคิด ผู้ป่วยบอกว่าพยายามจะหยุดคิดแต่ยิ่งทาให้ตึงเครียดมากขึ้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การทำหน้าที่ที่รับผิดชอบตามบทบาทที่มีอยู่ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีพฤติกรรมกระทำซ้ำ
การปฏิบัติการพยาบาล
3.1 สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบาบัด ให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกไว้วางใจ เพื่อให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกไม่สบายใจ
3.2 ช่วยให้ผู้ป่วยลดการทาพฤติกรรมซ้ำ ดังนี้
1) ระยะแรกของการบำบัด ควรจัดตารางกิจกรรม และให้เวลาในการทำกิจกรรมซ้ำๆ ไม่บังคับให้ผู้ป่วยหยุดการทำกิจกรรมที่ใช้เวลานาน
2) เมื่อสัมพันธภาพดีขึ้นเริ่มจากัดเวลาในการทากิจกรรมที่ทำซ้ำๆ หรือใช้เวลานาน พร้อมทั้งอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ ลดเวลาอาบน้านาน 60 นาที เป็น 45 นาที และ 30 นาที อย่างค่อยเป็นค่อยไป
3) ให้แรงเสริมทางด้านบวกเมื่อผู้ป่วยทาได้สำเร็จ เพื่อเพิ่มความภาคภูมิใจและความมีคุณค่าของผู้ป่วย
4) แสดงความเห็นใจผู้ป่วยและตระหนักถึงความจำเป็นของการกระทำซ้า หรือใช้เวลานาน
3.3 ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่น อาหาร การพักผ่อน และการแต่งตัว เพราะผู้ป่วยหมกมุ่นอยู่กับการย้ำคิดย้ำทำ
3.4 สอนและการปรึกษาเกี่ยวกับ
1) ความรู้เพื่อการดูแลตนเอง เช่น ความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมที่แสดงออกมากับความรู้สึกวิตกกังวลเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจอาการของตนเอง
2) เทคนิควิธีการผ่อนคลายความเครียด และการออกกาลังกาย เพื่อลดระดับความวิตกกังวลด้วยตนเอง ช่วยลดการตอบสนองที่ผิดปกติได้
3) การจัดกิจกรรม หรืองานให้ผู้ป่วยทา เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยหมกมุ่นกับการย้าคิด ทาให้เกิดการย้าทา