Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด -…
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม
บุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด
ลักษณะอาการและอาการแสดง การตอบสนองของความวิตกกังวลและความเครียด
ลักษณะอาการและอาการแสดงของบุคคลที่มีความวิตกกังวล
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ระบบทางเดินหายใจ - จะมีอาการสะอึก หายใจเร็ว หายใจลําบาก
ระบบทางเดินอาหาร - จะมีอาการกลืนลําบาก ปากแห้ง ท้องอืด ท้องเฟ้อ อึดอัดแน่นท้อง
ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ - จะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด มีการเปลี่ยนแปลงในรอบเดือน ความรู้สึกทางเพศลดลง
ระบบประสาท - จะมีอาการปวดศีรษะจากความเครียด ตาพร่า หูอื้อ ปากแห้ง เหงื่อออก มือสั่น รูม่านตาขยาย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด - จะมีภาวะหัวใจเต้นเร็ว ผิดจังหวะ เจ็บหน้าอก ใจสั่น ความดันโลหิตสูง หน้าแดงถ้ามีความวิตกกังวลในระดับรุนแรง จะพบว่ามีน้ําตาลในเลือดสูงเลือด แต่ถ้ามีความวิตกกังวลระดับรุนแรงสุดขีดจะทําให้เกิดอาการเป็นลมหน้ามืด ความดันโลหิตลดต่ําลง ผิวซีด
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ - จะมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย มือสั่น
การเบลี่ยนแปลงด้านจิตใจและอารมณ์
บุคคลจะมีความรู้สึกหวาดหวั่น กลัว ขาดความ เชื่อมั่นในตนเอง มองตนเองไร้ค่า สับสน กระวนกระวาย ตกใจง่าย หงุดหงิดเจ้ากี้เจ้าการ โกรธง่าย ก้าวร้าว เศร้า เสียใจง่าย ร้องไห้ง่ายเมื่อเกิดเรื่องเพียงเล็กน้อย สงสัยบ่อย ซักถามมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
บุคคลจะขาดความสนใจ ขาดความคิดริเริ่ม รู้สึกว่าช่วยเหลือตนเองไม่ได้ มีปัญหาเรื่องสัมพันธภาพกับผู้อื่น มีพฤติกรรมเรียกร้องมากเกินไป พึ่งพาผู้อื่นหรือแยกตัว
การเปลี่ยนแปลงด้านสติปัญญา
ความคิด ความจําลดลง คิดไม่ออก ครุ่นคิด หมกมุ่น ไม่ค่อย มีสมาธิ การพูดติดขัดเปลี่ยนเรื่องพูดบ่อยหรือไม่พูดเลย การรับรู้และการตัดสินใจผิดพลาด มีความคิดและการกระทําซ้ําๆ
การตอบสนองของบุคคลต่อความวิตกกังวล
มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการต่อสู้ (acting out behavior) - ความวิตกกังวลจะเปลี่ยนไปเป็นความโกรธ โต้เถียง ข่มขู่ต่อต้าน ก้าวร้าว
มีพฤติกรรมชะงักงันหรือถดถอย (paralysis and retreating behavior) - หลีกเลี่ยงการแกัปัญหา แยกตัว เก็บตัว
มีการเจ็บป่วยทางกาย (somatizing) - เครียดแล้วมีอาการปวดศีรษะ หายใจลําบาก
มีพฤติกรรมเผชิญความวิตกกังวลในเชิงสร้างสรรค์ (constructive behavior) - แก้ปัญหาโดยกระบวนการแก้ปัญหา มีวิธีการรับมือและตัดสินใจกับปัญหาได้ดี
ลักษณะอาการและอาการแสดงของบุคคลที่มีความเครียด
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย - มึนงง ปวดศีรษะ หูอื้อ มีเสียงด้งในหู ปวดตามกล้ามเนื้อ
อ่อนแรงไม่อยากทําอะไร มีปัญหาเรื่องการนอน อ่อนเพลีย
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ สังคม - วิตกกังวล โกรธง่าย หงุดหงิด ซึมเศร้า ท้อแท้ การตัดสินใจไม่ดี สมาธิสั้น ขี้ลืม ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจําไม่ดี
การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรม - ร้องไห้ กัดเล็บ ดึงผมตัวเอง รับประทานอาหารเก่ง ติดบุหรี่ สุรา ก้าวร้าว เปลี่ยนงานบ่อย หรืออาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะทํางานได้
การตอบสนองของบุคคลต่อความเครียด
การตอบสนองด้านร่างกาย
และการปรับตัวเฉพาะที่เพื่อตอบสนองความเครียด(local adaptation syndrome)
มีการตอบสนองเฉพาะที่ เมื่อมีการปรับตัวต่อเหตุการณ์ที่มากระตุ้นเฉพาะจุด
การปรับตัวแบบทั่วไปเพื่อตอบสนองความเครียด (general adaptation syndrome)
ระยะเตือน (alarm reaction) ร่างกายมีภาวะตื่นตัวและเกิดแรงที่จะป้องกันตนเอง
ระยะตอบสนองการช็อก (counter shock phase) ร่างกายจะปรับตัวกลับสู่สภาพเดิม
ระยะช็อก (shock phase) - บุคคลจะรับรู้ต่อสิ่งกระตุ้นแบบรู้ตัว หรือไม่รู้ตัว ระยะอาจใช้เวลาประมาณตั้งแต่ 1 นาที ถึง 24 ชั่วโมง
ระยะต่อต้าน (stage of resistance) - บุคคลจะปรับตัวต่อต้านความเครียดเต็มที่โดยจะใช้กลไกการป้องกันตัวที่เหมาะสม
ระยะหมดกําลัง (stage of exhaustion) - ร่างกายเกิดภาวะอ่อนล้าเพราะไม่สามารถต่อสู้กับความเครียดได้โดยมีการใช้กลไกการป้องกันตัวไม่เหมาะสม
การตอบสนองด้านจิตใจ
หนีหรือเลี่ยง (flight) ไม่ยอมรับว่าเครียดเลยไปหาอะไรทำ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง
ยอมรับและเผชิญกับความครียด (fight) คือการต่อสู้กับความเครียดที่มีอยู่โดยการแก้ไขเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความครียดหรือแก้ไขปรับเปลี่ยนตนเอง
เรียนรู้ที่จะอยู่กับความเครียด (coexistence) เมื่อความเครียดยังคงอยู่และบุคคลยังไม่สามารถจัดการความครียดให้กลับสู่ภาวะปกติได้ บุคคลจะเริ่มแสวงหาและเรียนรู้วิธีการใหม่ๆ ที่จะอยู่กับความเครียดบางคนอาจใช้กลไกทางจิตเพื่อปรับตัว บางคนอาจใช้ยุทธวิธีจัดการความเครียดอื่นๆที่เหมาะสมมากกว่า
ชนิด ระดับของความวิตกกังวลและความเครียด
ชนิดของความวิตกกังวล
ความวิตกกังวลปกติ (normal anxiety)
ความวิตกกังวลเฉียบพลัน (acute anxiety)
ความวิตกกังวลเรื้อรัง (chronic anxiety)
ความวิตกกังวลเรื้อรัง (chronic anxiety)
ระดับของความวิตกกังวล (level of anxiety)
ความวิตกกังวลต่ำ (mild anxiety) +1 เป็นความวิตกกังวลระดับเล็กน้อย ที่เกิดขึ้นเป็นปกติในบุคคลทั่วไป
ความวิตกกังวลปานกลาง (moderate anxiety) +2
ความวิตกกังวลรุนแรง (severe anxiety) +3
ความวิตกกังวลท่วมท้น (panic anxiety) +4 ความวิตกกังวลที่มีไม่ได้รับการระบายออกหรือแก้ไขให้ลดลง จะมีการสะสมความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนบุคคลไม่สามารถจะทนต่อไปได้
ชนิดของความเครียด
ความเครียดฉับพลัน (acute stress) ความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันที่ โดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียดเมื่อความเครียดหายไปร่างกายก็จะกลับสู่ภาวะปกติ ฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ ความครียดฉับพลันมักเกิดจาก เสียง อากาศเย็นหรือร้อนชุมชนที่คนมากๆ ความกลัว ตกใจ อันตราย
ความเครียดเรื้อรัง (chronic stress) ความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อความครียดนั้น ซึ่งบุคคลมักมีความเครียดโดยที่ไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง
ระดับของความเครียด
ความเครียดระดับต่ำ(mild stress) เป็นความเครียดในระดับน้อยและหายไปได้ในระยะเวลาสั้น
ความเครียดระดับปานกลาง (moderate stress) เป็นความเครียดในระดับปกติเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจําวัน เนื่องจากมีสิ่งคุกคามหรือเหตุการณ์ที่ทําให้เครียด
ความเครียดระดับสูง (high stress) เป็นความเครียดที่เกิดจากเหตุการณ์รุนแรง สิ่งต่าง ๆ สถานการณ์หรือเหตุการณ์รอบตัวที่แก้ไขจัดการปัญหานั้นไม่ได้รู้สึกขัดแย้ง ปรับความรู้สึกด้วยความลําบากส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจําวัน
ความเครียดระดับรุนแรง (severe stress) เป็นความเครียดระดับสูงและเรื้อรังต่อเนื่องหรือกําลังเผชิญกับวิกฤตของชีวิต
สาเหตุของบุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด
สาเหตุของบุคคลที่มีความวิตกกังวล
สาเหตุทางด้านชีวภาพ
ด้านกายภาพของระบบประสาท (neuroanatomical factors) บุคคลที่มีลักษณะทางกายภาพของระบบประสาทบกพร่องมาแต่กําเนิดส่งผลให้การสื่อสารทางชีวเคมีบางอย่างแตกต่างกับผู้อื่นจึงกระตุ้นให้ตื่นตระหนกได้ง่าย
ด้านชีวเคมี (biochemical factors) บุคคลที่ไวต่อสารบางอย่าง
ด้านการเจ็บป่วย (medical factors) พบได้ในผู้ป่วยที่มีการเจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคหัวใจแบบเฉียบพลันหรือการเจ็บป่วยรุนแรงอื่น ๆ
สาเหตุทางด้านจิตสังคม
ด้านจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory) แนวคิดของฟรอยด์ ได้อธิบายความขัดแย้งกันของid และ superego ในระดับจิตใต้สํานึก (unconscious) ซึ่ง ego ของบุคคลที่ไม่สามารถควบคุมหรือจัดการกับความขัดแย้งนั้นได้ทําให้เกิดเป็นความวิตกกังวลแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลและเป็นสาเหตุให้บุคคลใช้กลไกการป้องกันตนเอง (defense mechanism) เพื่อลดความวิตกกังวลนั่นเอง
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด (cognitive-behavioral theory) เป็นผลมาจากการเรียนรู้ต่อสิ่งอันตราย (noxious stimulus) ของมนุษย์ที่มีการเรียนรู้และปรับตัวตามสิ่งที่เรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อที่จะได้ปรับตัวได้เหมาะสมกับสถานการณ์และเรียนรู้วิธีการเผชิญกับสิ่งที่เข้ามาคุกคามว่าจะสู้หรือจะหนี
สาเหตุทางด้านสังคม
ความวิตกกังวลเกิดจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคลไม่ดีบุคคลที่มีความวิตกกังวลได้ง่าย มักจะเป็นบุคคลที่ถูกคุกคามทางอารมณ์ได้ง่าย เนื่องจากมีระดับความมีคุณค่าในตนเองต่ํา บุคคลประเภทนี้จะมองตนเองในแง่ไม่ดี และจะไม่มั่นใจในความสามารถของตนเอง ซึ่งจะพัฒนาไปสู่ความวิตกกังวลเมื่อบุคคลต้องติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆในสถานการณ์ต่างๆ
สาเหตุจากภายนอก ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น สภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ การย้ายถิ่นฐานที่อยู่ การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วยของบุคคลอันเป็นที่รัก การหย่าร้าง ภาวะว่างงาน ปัญหาความสัมพันธ์กับครอบครัวและบุคคลอื่น ๆ การขาดเพื่อน การขาดแคลนปัจจัย 4 ในการดําเนินชีวิต
สาเหตุภายในตัวบุคคล ได้แก่ ภาวะสุขภาพของตนเอง เช่น ภาวะเจ็บป่วยที่เผชิญอยู่ ความพิการหรือความผิดปกติของสรีระร่างกายที่มีมาแต่กําเนิดการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการล่าช้า
การพยาบาลบุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด
การพยาบาลบุคคลที่มีความวิตกกังวล
การประเมินสภาวะความวิตกกังวล
การวินิจฉัยการพยาบาล - จะมุ่งเน้นการลดความวิตกกังวลให้แก่ผู้ป่วย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลระดับรุนแรงสุด ขีด ระดับรุนแรง หรือระดับปานกลาง และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญความวิตกกังวลได้อย่างเหมาะสมมากขึ้นสามารถที่จะควบคุมแก้ไขปัญหาหรือเผชิญปัญหาได้อย่างเหมาะสม โดยกําหนดเป้าหมายระยะสั้น เป้าหมายระยะยาว
การพยาบาลบุคคลที่มีความเครียด
การประเมินสภาวะความเครียด
ประเมินอาการแสดงทางร่างกายที่เป็นผลมาจากความเครียดหรืออาการทางกายที่มีอยู่เดิมกําเริบ
ประเมินอาการแสดงทางจิตใจ เช่น ด้านอารมณ์บุคคลอาจมีความวิตกกังวล มีความโกรธ ก้าวร้าว
การประเมินนอกจากจะใช้การซักประวัติจากผู้ป่วย อาจสอบถามได้จากญาติของผู้ป่วยและอาจให้ผู้ป่วยทําแบบประเมินความเครียดด้วยตนเองด้วย เช่น แบบคัดกรองความเครียด (ST5) แบบประเมินระดับความเครียด(ST20) เป็นต้น