Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคมบุคคลที่มีภาวะสูญเสียและเศร้าโศก - Coggle…
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคมบุคคลที่มีภาวะสูญเสียและเศร้าโศก
ความหมายของภาวะสูญเสียและเศร้าโศก
การสูญเสีย (loss)
เป็นการที่บุคคลพลัดพรากจากบุคคล สัตว์เลี้ยง สิ่งของ อวัยวะ หรือความรู้สึก
ภาคภูมิใจในตนเอง ซึ่งบุคคลให้คุณค่าและให้ความหมายว่าเป็นสิ่งที่มีความสําคัญกับชีวิต
ภาวะเศร้าโศก (grief)
เป็นปฏิกิริยาทางอารมณ์และจิตใจที่เกิดขึ้นภายหลังจากบุคคลเผชิญกับการ
สูญเสียหรือคาดว่าจะมีการสูญเสียเกิดขึ้น
ประเภทและลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะสูญเสีย (loss)
การสูญเสียสิ่งของภายนอก (loss of external object)
การสูญเสียสิ่งของต่าง ๆ ภายนอก
ร่างกาย
การสูญเสียตามช่วงวัย(maturational loss)
เช่น เด็กที่ต้องหย่านมแม่การต้องออกจากโรงเรียน
เมื่อสําเร็จการศึกษา
การสูญเสียภาพลักษณ์หรือ อัตมโนทัศน์(loss of body image or some aspect of self)
เป็น
การสูญเสียด้านร่างกายหรือจิตสังคม
การสูญเสียความรักหรือบุคคลสําคัญในชีวิต (loss of a love or a significant other)
ลักษณะอาการและอาการแสดงของเมื่อบุคคลมีการสูญเสีย
ระยะช็อค (shock and disbelief) เป็นระยะแรกที่รับรู้ถึงการสูญเสีย บุคคลจะตกใจ ไม่เชื่อปฏิเสธ อาจเกิดความรู้สึกมึนชาใน 2 -3 ชั่วโมงถึง 2 -3 สัปดาห์
ระยะพัฒนาการตระหนักรู้ถึงการสูญเสีย (developing awareness) เป็นระยะที่บุคลเริ่มมีสติรับรู้มากขึ้นและตระหนักรู้ได้ถึงการสูญเสีย
ระยะพักฟื้น (restitution) เป็นระยะที่บุคคลจะมีการปรับตัวเพื่อฟื้นคืนสู่ภาวะปกติ
ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะเศร้าโศก (grief)
การเศร้าโศกแบบปกติ (normal grief) เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อภาวะเศร้าโศกของบุคคลแบบ
ปกติที่มีต่อการสูญเสีย
ระยะเฉียบพลัน ระยะนี้เกิดขึ้นในช่วง 4 – 8 สัปดาห์แรก บุคคลจะช็อค ไม่เชื่อ และไม่ยอมรับ
ระยะเผชิญกับการสูญเสีย หลังจากที่บุคคลผ่านช่วงวิกฤตในระยะเฉียบพลันแล้ว ภาวะของการเศร้าโศกจะยังมีอยู่ในจิตใจและอาจจะมีอาการและอาการทางร่างกายและจิตใจ
การเศร้าโศกแบบผิดปกติ (maladaptive grief) เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อภาวะเศร้าโศกของบุคคลที่ไม่สามารถปรับตัวต่อการสูญเสียตามกระบวนการของภาวะเศร้าโศกแบบปกติ
chronic grief reaction เป็นปฏิกิริยาความเศร้าโศกเรื้อรังยาวนาน
delayed grief reaction เป็นปฏิกิริยาเศร้าโศกที่ล่าช้า บุคคลไม่สามารถแสดงความเศร้าโศกออกมาได้
บุคคลที่มีการเศร้าโศกที่ถือว่ามีพยาธิสภาพทางจิตใจ คือ บุคคลที่มีการเศร้าโศกได้นานเกินกว่า 1 ปี และมีลักษณะอาการและอาการแสดง
• แยกตัว และขาดทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ๆ
• ไม่สนใจตนเองและสิ่งแวดล้อม ไม่อยากทําอะไร แม้แต่กิจกรรมที่เคยชอบ
• ไม่มีเป้าหมายในการดําเนินชีวิต รู้สึกหมดหวัง และสิ้นหวังในชีวิต
• มีภาวะซึมเศร้าและความคิดฆ่าตัวตาย
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะสูญเสีย เศร้าโศก
การประเมินภาวะสูญเสีย เศร้าโศก
ประเมินระดับความรุนแรงของอาการและอาการแสดงที่เป็นผลจากความสูญเสียแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ประเมินระดับการให้คุณค่า และความหมายของสิ่งสูญเสียในมุมมองของผู้ป่วย
ประเมินลักษณะบุคลิกภาพของผู้ป่วย
ประสบการณ์การสูญเสียในอดีต รูปแบบที่ใช้จัดการการสูญเสียและภาวะเศร้าโศกของผู้ป่วย
ประเมินความพร้อมแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมผู้ป่วยเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์สูญเสีย
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
เพื่อลดภาวะซึมเศร้าหรืออาการแสดงที่เป็นภาวะเศร้าโศกแบบผิดปกติให้กลับสู่ภาวะปกติ
เพื่อให้การรักษาพยาบาลเรื่องอาการและอาการแสดงทางกายให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัวและแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมของผู้ป่วย มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
เป้าหมายระยะยาว
เพื่อฝึกทักษะการยอมรับความจริงของชีวิตโดยเฉพาะในเรื่องการสูญเสีย
เพื่อฝึกการใช้วิธีในการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์
ตัวอย่างการเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซ้ําเนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าจากการสูญเสีย
ขาดทักษะในการเผชิญปัญหาเมื่อต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
มีความรู้สึกผิดและโทษตนเองว่าเป็นสาเหตุของการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพแบบตัวต่อตัว ให้เกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล
พยายามรับฟังอย่างเข้าใจ ยอมรับในพฤติกรรม
ใช้เทคนิคการสื่อสารเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้นและพยายามชี้ให้ผู้ป่วยเห็นการเชื่อมโยงกันของคุณค่าของสิ่งที่สูญเสียกับภาวะเศร้าโศกที่เกิดขึ้น
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับความรู้สึกค้างคาใจที่มีต่อผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วได้อย่างเหมาะสม
อยู่เป็นเพื่อนและเป็นกําลังใจผู้ป่วยส่งเสริมให้เขามองเห็นคุณค่าในตนเองจนถึงกระตุ้นสัญชาตญาณของการมีชีวิตอยู่
ชี้ให้ผู้ป่วยเปรียบเทียบกับประสบการณ์การสูญเสียของตนเองกับผู้อื่นที่มีลักษณะรุนแรงกว่า เพื่อให้เกิดความรู้สึกบรรเทาความทุกข์ใจของตนเอง
ส่งเสริมกิจกรรมที่จะนําไปสู่การสร้างความหวังและศรัทธาในชีวิตรวมถึงที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ เช่น พระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้ป่วยจะใช้เป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจได้
จัดให้เข้ากลุ่มกิจกรรมบําบัดร่วมกับผู้ป่วยที่มีปัญหาคล้าย ๆ
การดูแลเรื่องอาการและอาการแสดงทางกาย
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาหรือการรักษาตามแผนการรักษาของแพทย์
ให้ความช่วยเหลือและกระตุ้นให้ผู้ป่วยสนใจเรื่องสุขวิทยาส่วนบุคคล และกิจวัตรประจําวัน
ให้การดูแลเรื่องสุขภาพโดยเฉพาะเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร และนอนไม่หลับ
จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ ผ่อนคลาย ลดสิ่งกระตุ้นให้ผู้ป่วย
จัดกิจกรรมหรือจัดให้เข้ากลุ่มบําบัดที่ได้ผ่อนคลาย
การส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
พูดคุยและส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วยและครอบครัว อธิบายให้ครอบครัวเข้าใจยอมรับและเห็นใจผู้ป่วย
ให้ความรู้แก่ครอบครรัวถึงปฏิกิริยาตอบสนองต่อการสูญเสีย ภาวะเศร้าโศกและแนวทางในการช่วยเหลือผู้ป่วยกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ป่วย
ให้ความรู้และช่วยแนะนําแหล่งสนับสนุน ช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสมกับบริบทของผู้ป่วยและครอบครัว
การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ป่วยมีภาวะเศร้าโศกลดลงสามารถดูแลตนเองได้มากขึ้น
ผู้ป่วยมีการตระหนักรู้ตนเองถึงระดับความรุนแรงของภาวะเศร้าโศกจากการสูญเสีย
ผู้ป่วยสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้มากขึ้น และแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือที่เหมาะสมได้
ผู้ป่วยสามารถสร้างเป้าหมายในชีวิตและปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมายนั้นได้
ผู้ป่วยมีวิธีการเผชิญหน้าปัญหาที่เหมาะสมมากขึ้น