Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บุคคลที่มีกลุ่มโรคจากเหตุสะเทือนขวัญและความเครียด - Coggle Diagram
บุคคลที่มีกลุ่มโรคจากเหตุสะเทือนขวัญและความเครียด
:black_flag:ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงของกลุ่มโรคจากเหตุสะเทือนขวัญและความเครียด
ความหมายของกลุ่มโรคจากเหตุสะเทือนขวัญและความเครียด
โรคพบที่ได้ภายหลังการประสบเหตุการณ์ในชีวิต
แบ่งออกเป็นโรคชนิดต่างๆหลากหลายโรคด้วยกัน ตามระยะเวลา และความรุนแรงของเหตุการณ์ที่มากระทบ
ลักษณะอาการและอาการแสดงของกลุ่มโรคจากเหตุสะเทือนขวัญและความเครียด
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (adjustment disorder) เป็นการตอบสนองภายใน 3 เดือน
โรคเครียดแบบเฉียบพลัน (acute stress disorder: ASD) เป็นโรคที่มีอาการและอาการแสดงตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปจนถึง 1 เดือน
โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (post-traumatic stress disorder: PDST) เป็นโรคที่มี อาการและอาการแสดงตั้งแต่ 3 เดือนขึ้น
:black_flag:การพยาบาลบุคคลที่มีกลุ่มโรคจากเหตุสะเทือนขวัญและความเครียด
การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล
กรณีผู้ป่วยมีภาวะการปรับตัวผิดปกติ
หลังระดับความกดดันทางจิตใจลดลงแล้ว จึงช่วยให้ผู้ป่วยได้มีการพัฒนาในสิ่งใหม่และมีกลไกการ ปรับตัวที่เหมาะสม
ช่วยให้ผู้ป่วยได้เห็นถึงวิธีการและขั้นตอนต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิภาพในการปรับตัว เพื่อลดความกดดันต่าง ๆ
นับสนุนให้ผู้ป่วยได้มีสำรวจ พูด สิ่งต่าง ๆที่เกิดขึ้นกับตนเอง ทั้งทางด้านความรู้สึกไม่สบายใจ
กรณีผู้ป่วยโรคเครียดแบบเฉียบพลัน
สนับสนุนให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกปลอดภัย โดยจัดสิ่งแวดล้อมหรือสถานที่ที่ปลอดภัย มีคนที่คุ้นเคย ดูแลประคับประคอง
ให้ความรู้เกี่ยวกับการสนองตอบหลังการเผชิญหรือถูกคุกคามเหตุการณ์สะเทือนขวัญ
สนับสนุนให้ผู้ป่วยได้รับการบำบัดในรูปแบบต่าง ๆที่เหมาะสมกับปัญหาความกดดันของผู้ป่วย
การประเมินผลทางการพยาบาล
ประกอบกิจวัตรประจำวัน บทบาทและหน้าที่ของตนเองได้
สามารถบอกวิธีในการเผชิญหรือแก้ปัญหาของตนเองได้
การประเมินสภาพ
ควรที่จะครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และความคิดแล้ว
ควรที่ต้องหาสาเหตุ ผลกระทบ วิธีการ ตอบสนองของผู้ป่วย
:black_flag:สาเหตุ การบำบัดรักษาของกลุ่มโรคจากเหตุสะเทือนขวัญและความเครียด
สาเหตุของกลุ่มโรคจากเหตุสะเทือนขวัญและความเครียด
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ พบว่า ผู้ที่มีประวัติความเจ็บป่วยรุนแรง เรื้อรังมีความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไป
ปัจจัยทางจิตสังคม ความเปราะบางทางจิตใจของบุคคล พบว่า เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้บุคคลเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคนี้
โรคเครียดแบบเฉียบพลัน
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ พบว่า มีความผิดปกติของสารสื่อประสาทได้แก่ norepinephrine และdopamine
ปัจจัยทางจิตสังคม
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ มองว่า อาการและอาการแสดงของโรคที่เกิดขึ้นเมื่อความขัดแย้งในจิตไร้สำนึกถูกกระตุ้นโดยเหตุการณ์ที่รุนแรง
ทฤษฎีทางความคิดและพฤติกรรม มองว่า อาการและอาการแสดงของโรคที่เกิดขึ้นมีความ เชื่อมโยงกับการเผชิญหรือถูกคุกคามจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นในชีวิต
โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (post-traumatic stress disorder: PDST) มีสาเหตุ เหมือนผู้ป่วยโรคเครียดแบบเฉียบพลันดังกล่าวไปแล้วข้างต้น
การบำบัดรักษาของกลุ่มโรคจากเหตุสะเทือนขวัญและความเครียด
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ
การบำบัดด้วยยา เพื่อบรรเทาความรุนแรงของอาการโดยในระยะแรกจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวได้
การบำบัดทางจิตใจ เป็นการบำบัดที่สำคัญที่สุดเพื่อลดอาการของผู้ป่วย และช่วยเหลือให้ผู้ป่วย มีการปรับตัวที่ดีขึ้นอย่างน้อยก็เท่าเดิมก่อนที่จะเกิดปัญหา
โรคเครียดแบบเฉียบพลัน
การบำบัดด้วยยา ซึ่งยาหลักที่ใช้ในการบำบัด คือ ยาในกลุ่ม SSRIs เช่น sertraline, paroxetine ส่วนยาในกลุ่ม TCAs เช่น amitriptyline, imipramine
การบำบัดทางจิตใจ สิ่งสำคัญคือการให้กำลังใจ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความคิด ความรู้สึก เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เผชิญมาเท่าที่ผู้ป่วยต้องการ
โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์สะเทือนขวัญ
การบำบัดทางจิตใจในผู้ป่วยโรคเครียดหลังผ่าน เหตุการณ์สะเทือนขวัญ
ให้ผู้ป่วยเผชิญหน้ากับเหตุการณ์สะเทือนขวัญ อีกครั้งผ่านการจินตนาการ (exposure therapy)