Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคมบุคคลที่มีภาวะสูญเสียและเศร้าโศก - Coggle…
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคมบุคคลที่มีภาวะสูญเสียและเศร้าโศก
ประเภทและลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะสูญเสีย (loss)
ประเภทของภาวะสูญเสีย
การสูญเสียสิ่งของภายนอก (loss of external object) คือ การสูญเสียสิ่งของต่าง ๆ ภายนอกร่างกาย
การสูญเสียตามช่วงวัย(maturational loss) เช่น เด็กที่ต้องหย่านมแม่การต้องออกจากโรงเรียนเมื่อสําเร็จการศึกษา
การสูญเสียภาพลักษณ์หรือ อัตมโนทัศน์(loss of body image or some aspect of self) เป็นการสูญเสียด้านร่างกายหรือจิตสังคม เช่น การสูญเสียอวัยวะในร่างกาย
การสูญเสียความรักหรือบุคคลสําคัญในชีวิต (loss of a love or a significant other) เช่น การตายของบิดา มารดา ญาติพี่น้อง คู่สมรส บุตร เพื่อนสนิท จะทําให้บุคคลมีภาวะเศร้าโศกอย่างมาก ซึ่งอาจนําไปสู่ผลรุนแรงจนเกิดอาการซึมเศร้าตามมา
ลักษณะอาการและอาการแสดงของเมื่อบุคคลมีการสูญเสีย
ระยะช็อค (shock and disbelief) เป็นระยะแรกที่รับรู้ถึงการสูญเสีย บุคคลจะตกใจ ไม่เชื่อปฏิเสธ อาจเกิดความรู้สึกมึนชาใน 2 -3 ชั่วโมงถึง 2 -3 สัปดาห์
ระยะพัฒนาการตระหนักรู้ถึงการสูญเสีย (developing awareness) เป็นระยะที่บุคลเริ่มมีสติอาจเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาทีหรือเป็นชั่วโมง ใช้เวลา 2 – 3 สัปดาห์แล้วจะดีขึ้นเองใน 2 – 4 เดือนหลังตระหนักรู้ถึงการสูญเสีย โดยส่วนใหญ่จะไม่เกิน 6 เดือนภายหลังจากมีการสูญเสียเกิดขึ้นอาการที่เด่นชัดในระยะนี้คือ การร้องไห้คร่ําครวญถึงการสูญเสียนั้น ความอยากอาหารลดลง นอนไม่หลับ หรืออาจมีการทําหน้าที่ในชีวิตประจําวันลดลงไปจากปกติ และบางครั้งอาจแสดงอาการโกรธด้วย
ระยะพักฟื้น (restitution) เป็นระยะที่บุคคลจะมีการปรับตัวเพื่อฟื้นคืนสู่ภาวะปกติ เริ่มยอมรับความจริง การหมกมุ่นคิดถึงสิ่งที่สูญเสียน้อยลง มองหาสิ่งใหม่ทดแทน และเริ่มมีความหวังใหม่ในชีวิต
ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะเศร้าโศก (grief)
การเศร้าโศกแบบปกติ (normal grief)
ระยะเฉียบพลัน ระยะนี้เกิดขึ้นในช่วง 4 – 8 สัปดาห์แรก บุคคลจะช็อค ไม่เชื่อ และไม่ยอมรับการสูญเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นกลไกช่วยลดความรู้สึกเจ็บปวดหากปฏิกิริยาการปฏิเสธใช้เวลานานเป็นหลาย ๆ เดือน จะแสดงถึงพยาธิสภาพของการปัญหาทางจิตใจแต่หากบุคคลปรับตัวได้และเริ่มระลึกรู้ถึงการสูญเสียที่เกิดขึ้นความรู้สึกเจ็บปวดจะเกิดขึ้นตามมา
ระยะเผชิญกับการสูญเสีย หลังจากที่บุคคลผ่านช่วงวิกฤตในระยะเฉียบพลันแล้ว ภาวะของการเศร้าโศกจะยังมีอยู่ในจิตใจและอาจจะมีอาการและอาการทางร่างกายและจิตใจ
มีความรู้สึกหายใจขัด ลําคอตีบตัน หมดแรง อ่อนเพลีย
มีความคิดหมกมุ่น อยู่กับสัญลักษณ์หรือตัวแทน
ของบุคคลที่สูญเสีย
การเศร้าโศกแบบผิดปกติ (maladaptive grief)
chronic grief reaction เป็นปฏิกิริยาความเศร้าโศกเรื้อรังยาวนาน โดยบุคคลจะมีภาวะเศร้าโศก อยู่เป็นเวลาหลายปีโดยไม่มีท่าทีว่าความรู้สึกนั้นจะลดลง ความคิดหมกมุ่นเกี่ยวกับความทรงจําเก่า ๆ ไม่สามารถขจัดความรู้สึกหม่นหมองเสียใจจากการสูญเสียไปได้เป็นเวลาหลายปี
delayed grief reaction เป็นปฏิกิริยาเศร้าโศกที่ล่าช้า บุคคลไม่สามารถแสดงความเศร้าโศกออกมาได้ หรือเมื่อต้องเผชิญความสูญเสียจะมีการแสดงออกในช่วงที่มีการสูญเสียไม่มากพอทั้งในด้านพฤติกรรมและอารมณ์
ไม่สนใจตนเองและสิ่งแวดล้อม ไม่อยากทําอะไร แม้แต่กิจกรรมที่เคยชอบ
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะสูญเสีย เศร้าโศก
การประเมินภาวะสูญเสีย เศร้าโศก
ประเมินระดับความรุนแรงของอาการและอาการแสดงที่เป็นผลจากความสูญเสียแบบองค์รวมทั้งด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ประเมินระดับการให้คุณค่า และความหมายของสิ่งสูญเสียในมุมมองของผู้ป่วย
ประเมินลักษณะบุคลิกภาพของผู้ป่วย
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
มุ่งเน้นลดภาวะเศร้าโศก ให้การดูแลเรื่องอาการและอาการแสดงทางกาย ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัว, แหล่งสนับช่วยเหลือทางสังคมของผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยรวมถึงการฝึกทักษะในการยอมรับความจริงของชีวิต และการใช้วิธีในการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์
กิจกรรมการพยาบาล
การลดภาวะเศร้าโศก
สร้างสัมพันธภาพแบบตัวต่อตัวให้เกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล
พยายามรับฟังอย่างเข้าใจ ยอมรับในพฤติกรรม
ใช้เทคนิคการสื่อสารเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับความรู้สึกค้างคาใจที่มีต่อผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วได้อย่างเหมาะสม