Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5.11 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะเพ้อ, นางสาวสรารัตน์ ธราพงษ์นิวัฒน์ …
5.11 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะเพ้อ
ความหมาย
ภาวะเพ้อ (Delirium) หรือภาวะสับสนเฉียบพลัน เป็นกลุ่มอาการ ( syndrome) ไม่ใช่โรค เกิดจากหลายสาเหตุและถือเป็นภาวะฉุกเฉิน ที่มีลักษณะความผิดปกติของสติสัมปชัญญะ การรู้สึกตัว(consciousness) เกิดการเปลี่ยนแปลงของการรู้คิดและการรับรู้ (cognitive function) อาการทางจิตที่พบบ่อยคือความผิดปกติของอารมณ์และพฤติกรรม
ลักษณะอาการ
C. ตรวจพบความผิดปกติความคิด การรับรู้ ( cognitive function )เช่น ความจาภาษา การรับประสาทสัมผัส การรู้วัน เวลา สถานที่ บุคคล บกพร่อง (Disorientation)
D. อาการต่างๆข้างต้นไม่สามารถอธิบายได้จากโรคอื่นในกลุ่ม Neurocognitive disorder หรือจากภาวะ coma
B. การเปลี่ยนแปลงในข้อ A. เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ แบบเฉียบพลัน อาการขึ้นๆลงๆ ในระหว่างวัน
E. มีหลักฐานจากประวัติการเจ็บป่วย การตรวจร่างกาย และการสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ การใช้ยา สารเสพติด ได้รับสารพิษ
A. มีความบกพร่องของสมาธิความสนใจ ( Attention) และระดับความรู้สึกตัว ( consciousness)
ไม่มีสติ ไม่มีสมาธิอย่างมาก ไม่สามารถให้ความสนใจ จดจ่อการงานหรือกิจกรรมเรื่องใดๆได้เป็นเวลานาน คิดเลขง่ายๆ ไม่ได้
กระแสความคิดไม่ติดต่อกัน ขาดตอน พูดจาสับสน งุนงง ความจาบกพร่อง
สติสัมปชัญญะ การรู้สึกตัวผิดปกติ สลึมสลือ
4.สติสัมปชัญญะเลือนราง ไม่ชัดเจน กระสับกระส่าย ไม่สามารถตั้งสติให้จดจ่ออยู่เรื่องใดได้
มีอาการรู้วัน เวลา สถานที่ บุคคล บกพร่อง ที่เรียกว่า Disorientation
มีปัญหาการสื่อสารพูดไม่รู้เรื่อง พูดสับสนไม่ต่อเนื่อง (incoherence) พูดเสียงดัง อ้อแอ้ รัว เร็ว
7.การรับรู้ผิดปกติ ( Perception disorder) และความคิดผิดปกติ (Thinking disorder)
ความผิดปกติของการนอน การตื่น ตื่นกลางคืน นอนกลางวัน การนอนมีลักษณะหลับๆตื่นๆเป็นช่วงสั้นๆ ไม่ต่อเนื่อง
การเคลื่อนไหวหรือการทากิจกรรมผิดปกติ อาการมักจะรุนแรงมากขึ้นในช่วงกลางคืนหรือเช้ามืด เรียกว่า sundowning syndrome
Hyperactive มีอาการกระสับกระส่าย กระวนกระวาย ตื่นตัว ระแวดระวังมากกว่าปกติ
Hypoactive มีอาการนิ่งเฉย ไม่ค่อยพูด ง่วงนอน สีหน้าเรียบเฉย เบื่อหน่าย สับสนอย่างเงียบ ๆ ไม่โวยวาย
Mixed level of activity มีระดับการเคลื่อนไหวปกติ ทั้งๆที่มีความบกพร่องของสมาธิ ความสนใจ และระดับความรู้สึกตัว
Alcoholic withdrawal delirium เป็นภาวะที่เกิดจากการดื่มสุราในปริมาณสูงๆ
อาการจะปรากฏหลังการหยุดดื่ม 48 ชม. หรือมีอาการภายใน 7 วัน
สาเหตุของภาวะเพ้อ
ระบบประสาทสมองผิดปกติ เกิดการชัก ภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยกว่าปกติ การบาดเจ็บที่ศีรษะ บาดเจ็บที่สมอง
ภาวะไข้ โดยเฉพาะไข้สูงในผู้สูงอายุ หรือผู้ทุโภชนาการ
การทำผ่าตัด เส้นเลือดในสมองแตก การอุดตัน หรือเนื้องอกในสมอง
การขาดวิตามิน ในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง มักขาดวิตามิน B1 B12
การติดเชื้อในร่างกาย เช่น ปอดบวม ไข้ไทฟอยด์ มาลาเรีย การติดเชื้อที่สมอง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะโลหิตเป็นพิษ เป็นต้น
ได้รับสารพิษ ยาฆ่าแมลง พิษจากสารโลหะหนัก ได้แก่ ปรอท ตะกั่ว ก๊าซพิษจากท่อไอเสียรถยนต์
Substance abuse toxicity & withdrawal syndromes เช่น อาการ delirium tremens พบในผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง ( Alcoholism ) ช่วงขาดสุรา หรือผู้ที่ติดสารเสพติด
ความผิดปกติของหลอดเลือด ภาวะหัวใจล้มเหลว อวัยวะต่างๆล้มเหลว
Metabolic imbalance จาก dehydration, hypoxia, hypoglycemia, electrolyte imbalance, hepatic - renal disease เป็นต้น
สิ่งกระตุ้นทางจิตสังคมที่ทาให้เกิดความเครียดแล้วเกิดอาการทางกาย เช่น นอนไม่หลับติดต่อกันเป็นเวลานาน
สารสื่อประสาทและพยาธิสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับภาวะเพ้อ (Delirium)
Norepinephrine ในผู้ป่วย alcohol withdrawal delirium
GABA สารบางชนิด เช่น alcohol, barbiturate และยากลุ่ม benzodiazepine
Dopamine การเพิ่มขึ้นของ dopaminergic activity
Serotonin เนื่องจากปฏิกิริยาระหว่าง serotonin-cholinergic receptor
Acethylcoline การลดลงของ cholinergic activity ในสมอง
Glutamate เกี่ยวข้องกับภาวะhypoxia
การบำบัดรักษา
การรักษาจำเพาะ อาการจะดีขึ้น ผู้ป่วยจะหายเป็นปกติภายใน 3-7 วัน
การรักษาโดยใช้ยา
ผู้ป่วยสูงอายุ หรือป่วยหนัก ใช้ antipsychotic ในระดับต่ำ เลี่ยง benzodiazepine
ผู้ป่วยมี dementia ร่วมด้วย ใช้ antipsychotic ในระดับต่า ถ้าไม่ดีขึ้น ต้องหยุดยา เพราะยาอาจทาให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะยาที่มี cardio vascular side effect
ผู้ป่วย substance withdrawal ใช้ยา first line benzodiazepine
ผู้ป่วยที่มีอาการแบบ hypoactive ไม่ควรใช้ benzodiazepam ใช้ Haloperidol 0.5-2 mg./ day
การพยาบาล
การประเมินผู้ป่วย
ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง สับสน ช่วงกลางคืน พลบค่า เช้ามืด
ความจา สูญเสียความจาระยะสั้น
การรู้เวลา สถานที่ บุคคล บกพร่อง
อารมณ์ ขึ้นๆลงๆ ไม่แน่นอน ตื่นเต้นตกใจ ถูกกระตุ้นง่าย
การรับรู้บกพร่อง มีหูแว่ว เห็นภาพหลอน
การควบคุมอารมณ์บกพร่อง การตัดสินใจบกพร่อง มีความวิตกกังวล ตื่นกลัว ซึมเศร้า เฉยเมย บางคนรื่นเริงวุ่นวายมากเกิน
สติปัญญาบกพร่อง คิดแก้ปัญหาไม่เหมาะสม ตอบคาถามไม่ได้
อาการทางกายที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ และระบบต่างๆบกพร่อง เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก ม่านตาขยาย ความดันโลหิตสูง หายใจลำบาก บวม ตาตัวเหลือง
ประเมินการใช้ยา และการได้รับสารพิษ สารเสพติด
การปฏิบัติการพยาบาล
ลดสิ่งกระตุ้นผู้ป่วยโดยจัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ไม่มีคนพลุกพล่าน
จัดสถานที่ให้มีแสงสว่างเพียงพอ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ควรเปิดไฟให้สว่างพอประมาณเพื่อให้ผู้ป่วยเห็นการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลงและเป็นการลดอาการประสาทหลอน
ให้ความมั่นใจว่าผู้ป่วยจะปลอดภัยโดยบอกผู้ป่วยว่า “ดิฉันเข้าใจว่าคุณกลัวมากใช่ไหมคะ ดิฉันจะอยู่เป็นเพื่อนและช่วยเหลือคุณให้ปลอดภัย”
สื่อสารกับผู้ป่วยด้วยคาพูดที่สั้นๆ ชัดเจน เข้าใจง่าย
ผู้ป่วยที่วุ่นวายมากอาจไม่ได้รับประทานอาหารและไม่ได้พักผ่อนพยาบาลต้องดูแลเรื่องนี้โดยให้ยา PRN ที่ทาให้ผู้ป่วยได้พักหรือรายงานแพทย์เพื่อให้สารน้าทางหลอดเลือดดำ
ทีมพยาบาลควรเป็นทีมเดิมๆ ผู้ป่วยที่สับสนไม่ควรเปลี่ยนคนดูแลบ่อยเกินความจาเป็น
ต้องบอกให้ผู้ป่วยร่วมมือ “คุณมานพคะคุณต้องไม่ทำร้ายใคร คุณรู้สึกอย่างไรบ้าง” “คุณมานพคะ..ขณะนี้คุณควบคุมตนเองไม่ได้ ทีมพยาบาลจะช่วยเหลือคุณและทุกคนเพื่อความปลอดภัย” “ดิฉันจำเป็นต้องฉีดยาให้คุณเพื่อทาให้คุณสงบและรู้สึกสบายใจขึ้น ขอให้คุณร่วมมือด้วย”
บอกความเป็นจริงให้ผู้ป่วยทราบถ้าผู้ป่วยสับสน
ป้องกันอุบัติเหตุและการบาดเจ็บโดยจากัดบริเวณผู้ป่วยให้อยู่ในที่ที่ปลอดภัย ยกข้างเตียงขึ้นทุกครั้ง ถ้าจาเป็นอาจต้องผูกมัดผู้ป่วยไว้
ให้ญาติมาเยี่ยมบ่อยๆเพื่อกระตุ้นความทรงจำ แต่ควรจากัดจำนวนคนในการเข้าเยี่ยมแต่ละครั้ง
นางสาวสรารัตน์ ธราพงษ์นิวัฒน์ 180101104