Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4.4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช…
บทที่ 4.4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช ภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ความหมาย
กลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาท ที่มีความบกพร่องของพัฒนาการด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การสื่อสารร่วมกับความผิดปกติของพฤติกรรม และความสนใจหมกหมุ่นในบางเรื่อง มีพฤติกรรมซ้ำๆ ซึ่งแสดงอาการในระยะต้นของพัฒนาการ
ลักษณะอาการและอาการแสดง
ลักษณะอาการของเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมนั้น ร่างกายภายนอกจะมีลักษณะเหมือนกับเด็กทั่วไป แต่เด็กจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างจากเด็กปกติทั่วไป อาการต่างๆ จะเป็นก่อนอายุ 36 เดือนแต่จะไม่ชัดเจนและจะปรากฏให้เห็นในระยะต้นๆ ของการพัฒนาการวัยเด็กตอนต้น ทำให้มีความบกพร่องในการทำหน้าที่ในชีวิตประจำวัน ค
1) มีความบกพร่องด้านการสื่อสารและด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในหลายบริบท
มีความผิดปกติทางอารมณ์และทางสังคม เช่น ไม่สามารถตอบสนองปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่นได้ไม่มีการสบสายตา ไม่มีการแสดงออกทางสีหน้า กิริยาท่าทางที่ประกอบการเข้าสังคม
มีความบกพร่องด้านการสื่อสาร เช่น ไม่สามารถผสมผสานระหว่างการสื่อสารแบบวัจนภาษากับอวัจนภาษาหรือมีความบกพร่องในการเข้าใจภาษาและการใช้ภาษากายในการสื่อสาร
มีความบกพร่องในการสร้าง รักษา และเข้าใจในสัมพันธภาพ เช่น ไมีความผิดปกติในการเข้าหาหรือเริ่มต้นมีปฏิสัมพันธ์บุคคลอื่น, ไม่สามารถเลียนแบบการกระทำของผู้อื่นได้
2) มีแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัดซ้ำๆ (stereotyped) ที่ไม่มีประโยชน์และไม่สามารถหยุดหรือยืดหยุ่นพฤติกรรมดังกล่าวได้อย่างน้อย 2 ข้อ ดังนี้
มีการแสดงกิริยาบางอย่างซ้ำ (mannerism) เช่น การสะบัดมือ การหมุนตัว การหมุนต้นคอ การโยกตัว ใช้วัตถุให้มีการเคลื่อนไหวซ้ำๆ หรือใช้คำพูดซ้ำๆ
ยึดติดกับสิ่งเดิม กิจวัตรประจำวันเดิม หรือแบบแผนการสื่อสารเดิมๆ ซ้ำๆ ไม่มีความยืดหยุ่น
มีความสนใจที่จำกัดในขอบเขตที่จำกัดหรือเฉพาะเจาะจง หมกหมุ่นกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือเพียงบางส่วนของวัตถุมากเกิน
มีการตอบสนองต่อการรับสัมผัสสิ่งเร้าที่เข้ามากระตุ้น (เช่น แสง สี เสียง สัมผัส เป็นต้น) มากหรือน้อยกว่าบุคคลทั่วไป
สาเหตุ
ยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่ชัดเจน
2) ปัจจัยทางสมอง ทั้งในลักษณะโครงสร้างและการทำหน้าที่ของสมอง
มีช่องว่างในสมอง (ventricle) มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ขนาดเซลล์สมองที่มีขนาดเล็ก หรือใหญ่กว่าปกติ
มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง เช่น ความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทประเภทซีโรโทนิน (serotonin)
3) ปัจจัยในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด
อายุพ่อแม่ พบว่า เด็กที่เกิดกับพ่อแม่ที่มีอายุมากขึ้น เด็กที่คลอดก่อนกำหนด อายุครรภ์น้อยกว่า 33 สัปดาห์ หรือน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์มาตราฐานมีความเสี่ยงสูงในการเป็นภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ภาวะที่ไม่เข้ากันของภูมิคุ้มกันระหว่างมารดาและทารก (immunological incompatibility) ทำเกิดการเซลล์ประสาทของทารก
ภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์และการคลอด เช่น เลือดออกในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ติดเชื้อหัดเยอรมัน ได้รับสารตะกั่ว เป็นต้น
1) ปัจจัยทางพันธุกรรม
ในคู่ฝาแฝดแท้ (ไข่ใบเดียวกัน) ที่มีคนหนึ่งมีภาวะออทิซึมสเปกตรัมแล้วแฝดอีกคนมีโอกาสเกิดภาวะออทิซึมสเปกตรัมเพิ่มสูง
การบำบัดรักษาภาวะออทิซึมสเปกตรัม
1) การรักษาทางยา
2) พัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร
3) พัฒนาด้านทักษะทางสังคม (social skills)
4) พฤติกรรมบำบัด (behavioral therapy)
5) การบำบัดทางความคิด และพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy: CBT)
6) ศิลปะบำบัด (art therapy)
7) ดนตรีบำบัด (music therapy)
8) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการศึกษา (educational rehabilitation)
9) การให้คำแนะนำครอบครัว
10) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ (vocational rehabilitation)
การพยาบาลเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
1) การประเมินสภาพ (assessment)
การซักประวัติ
การประเมินทางร่างกาย
• การตรวจร่างกาย เป็นการตรวจร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เพื่อประเมินความผิดปกติ ได้แก่ ลักษณะทั่วไป ศีรษะและคอ การตรวจช่องปากและฟัน ระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบประสาท เป็นต้น
• ผลการตรวจอื่นๆ เช่น ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการทดสอบทางจิตวิทยา เป็นต้น
การประเมินพัฒนาการ การซักถามบิดามารดา ผู้เลี้ยงดู บุคคลใกล้ชิด เพื่อช่วยในการประเมินความสามารถที่แท้จริงของเด็ก
การสังเกตพฤติกรรม โดยเฉพาะการเล่นของเด็ก
การใช้แบบคัดกรองพัฒนาการตามช่วงวัย
แบบคัดกรองจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงอายุ ดังนี้
• PDDSQ ที่ใช้คัดกรองเด็กที่มีอายุ 1-4 ปี
• PDDSQ ที่ใช้คัดกรองเด็กที่มีอายุ 4-18 ปี
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
มีพฤติกรรมก้าวร้าว เนื่องจากขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง
มีความบกพร่องด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เนื่องจากมีพฤติกรรมแยกตัว
เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เนื่องจากมีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง
เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง เนื่องจากขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง
เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร เนื่องจากมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารซ้ำซาก
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
การฝึกกิจวัตรประจำวัน คือ การฝึกให้เด็กรู้จักทำกิจวัตรประจำวัน เช่น เมื่อตื่นนอนตอนเข้า ต้องไปเข้าห้องน้ำ อาบน้ำ แต่งตัว เก็บที่นอน
ฝึกทักษะการสื่อความหมาย เด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม จะไม่สามารถสื่อความหมายที่เป็นภาษาพูด หรือการแสดงสีหน้าท่าทาง ยิ่งเด็กอายุมากขึ้นเท่าไรแล้วยังไม่พูดการฝึกก็จะยิ่งยากขึ้น การฝึพูดเริ่มด้วยการสร้างสัมพันธภาพร่วมกับเด็ก พูดกับเด็กตลอดเวลาทุกครั้งที่มีโอกาสจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความเป็นอยู่ของด็ก โดยทำร่วมกับเด็กทำไปด้วยพูดสอนไปด้วย
ฝึกทักษะทางสังคม เด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม จะไม่มีการแสดงสีหน้า ความรู้สึกใด ๆ ดังนั้นพยาบาล พ่อแม่ ควรจะสอนให้เด็กรู้จักแสดงความรู้สึกภายในใจออกมา
แก้ไขพฤติกรรมที่ไม่หมาะสม
• พฤติกรรมไม่สบตา
เรียกชื่อทุกครั้งเมื่อต้องการพูดคุยกับเด็กหรือต้องการให้เด็กละสายตาจากการมองแบบไร้จุดหมาย หากเด็กไม่หันมาเมื่อเรียกชื่อ ให้จับหน้าเด็กเบา ๆ ให้หันมาลสบตา
ฝึกให้เด็กสบตาคนอื่น โดยใช้กิจกรรมการเล่นในการฝึกทักษะ เช่น เล่นหูเล่นตา กระพริบตา ทำตาโต หรี่ตา เพื่อให้เด็กสนใจมองสบตา
ให้แรงเสริมทางบวกทันที เช่น ชมเชยเมื่อเด็กรู้จักสบตาแม้ทำได้เพียงชั่วครู่หรือให้รางวัลที่เด็กชอบ
• พฤติกรรมซน อยู่ไม่นิ่ง
ฝึกให้เด็กนั่งเก้าอี้ในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น เล่นของเล่นกินข้าว ทำการบ้าน เป็นต้น และเพิ่มระยะเวลาการนั่งทำกิจกรรม
ถ้าเด็กยังนั่งไม่ครบตามเวลาที่กำหนดหรือทำกิจกรรมไม่เสร็จพยายามลุกเดิน ให้จับมือเด็กไว้เบา ๆ พร้อมบอกว่า "นั่งลง" เมื่อเด็กเริ่มทำได้ให้รางวัลเพื่อเป็นการเสริมแรง
พาเด็กไปทำกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อปลดปล่อยพลังงานในร่างกาย เช่น ปลูกต้นไม้ ออกกำลังกาย เล่นกลางแจ้ง เป็นต้น
ลดสิ่งเร้าที่ทำให้เด็กไม่มีสมาธิ เช่น การดูโทรทัศน์ตามลำพังเนื่องจากภาพในโทรทัศน์เป็นภาพที่เคลื่อนหวเร็ว หากจำเป็นต้องมีผู้เลี้ยงดูคอยให้คำแนะนำหรือพูดคุยกับเด็กด้วย
สอนระเบียบวินัยให้กับเด็ก เช่น เก็บของเล่นเมื่อเล่นเสร็จนำเสื้อผ้าที่ใส่แล้วไปใส่ตะกร้า วางรองเท้าในที่เก็บ เป็นต้น
4) การประเมินผลทางการพยาบาล (evaluation)
เป็นการประเมินผลหลังให้การพยาบาลตามตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้ในเกณฑ์การประเมินผล เพื่อตรวจสอบว่าภายหลังให้การพยาบาลเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม เป็นไปดามเป้าหมายที่วางแผนไว้และสามารถแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ ถ้ายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ พยาบาลจะต้องนำผลที่ประเมินได้มาปรับแผนการพยาบาลหรือปรับกลยุทธ์ในการพยาบาลเพื่อแก้ไขปัญหาของเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมต่อไป