Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
GDMA1 G1P0000 GA 28^5 weeks นศพต.นงพงา คำห่อ เลขที่ 30 - Coggle Diagram
GDMA1
G1P0000
GA 28^5 weeks
นศพต.นงพงา คำห่อ เลขที่ 30
1.ข้อมูลพื้นฐาน📋
1.1 ข้อมูลส่วนบุคคล
หญิงตั้งครรภ์อายุ 24 ปี
เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ
ระดับการศึกษา ปริญญาตรี สถานภาพ สมรส
วันที่รับไว้ในความดูแล 8 มีนาคม 2564
1.2 ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพของผู้บริการ
G1A0000
GA 28^5 weeks by U/S
LMP 25 กรกฎาคม 2563
U/S วันที่ 15 ธันวาคม 2563 => GA 16^5 weeks
EDC 27 พฤษภาคม 2564 by U/S
ฝากครรภ์ครั้งแรก GA 8^3 weeks ที่โรงพยาบาลตำรวจ
น้ำหนักตัวก่อนการตั้งครรภ์ 43 kg ส่วนสูง 148 cm BMI 19.63 kg/m^2 อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต : ปฏิเสธ
ประวัติครอบครัว : มารดาและย่าเป็นเบาหวาน
ประวัติการได้รับวัคซีนบาดทะยัก : ได้รับจำนวน 2 เข็ม
dT1 : 20 ตุลาคม 2563
dT2 : 17 พฤศจิกายน 2563
ประวัติการผ่าตัด : ปฏิเสธ
ประวัติการแพ้ยา/แพ้อาหาร : ปฏิเสธ
2.การตรวจร่างกาย🤰🏻
2.1 สัญญาณชีพแรกรับ
BP 105/61 mmHg
HR 80 bpm
น้ำหนักตัว
น้ำหนักตัวก่อนการตั้งครรภ์ 43 kg
น้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์ 52.1 kg เพิ่มขึ้น 9.1 kg
ไตรมาสที่ 1 GA 12^3 weeks => 44.3 kg เพิ่มขึ้น 1.3 kg
ปกติ 0.5-2 kg
ไตรมาสที่ 2 GA 28^5 weeks => 52.1 kg เพิ่มขึ้น 7.8 kg
ปกติ 0.5-1 kg/wk
2.2 ตรวจร่างกายทั่วไป
ตา conjunctiva ไม่ซีด
ช่องปาก ไม่มีฟันผุ ไม่มีเลือดออกตามไรฟัน
ลำคอ ไม่พบก้อนที่ลำคอ
เต้านม หัวนมไม่บอดหรือบุ๋ม
หน้าท้อง พบ linear nigra และ striae gravidarum สีชมพู
-ขาและเท้า กดบุ๋มเล็กน้อย
2.3 การตรวจครรภ์
การตรวจท้อง
การดู
Linear nigra เส้นยาวสีดำจางๆ
Striae garvidarum เป็นสีชมพู
การคลำ (Leopold’s maneuver)
Fundal grip => 2/4 > สะดือ
Umbilical grip => Large part อยู่ด้านซ้าย (LOA)
Pawlik’s grip => Head float, Vertex presentation
Bilateral inguinal grip => Head float
การฟัง
FSH = 150 bpm
2.4 สภาพจิตใจ อารมณ์ และสังคม
หญิงตั้งครรภ์มีสีหน้าสดชื่น ไม่มีความตึงเครียด ทำแบบประเมินความเครียด (ST5) = 2 คะแนน (ปกติ)
3.ผลการตรวจ Lab💉
การคัดกรองเบาหวาน
22 กันยายน 2563 (GA 8^3 weeks)
BS 50 gm = 146 mg/dL
29 กันยายน 2563 (1 สัปดาห์ถัดไป)
100 gm OGTT = 76-197-164-116 mg/dL
20 ตุลาคม 2563 (1 เดือนถัดไป)
FBS = 73 mg/dL
2 hr PP = 112 mg/dL
เคมีคลินิค (UA)
(22 กันยายน 2563)
Blood negative
Ketone negative
Glucose negative
Albumin negative
pH 6.5
Blie negative
Urobilinogen normal
Leucocyte negative
Complete Blood Count
(22 กันยายน 2563)
Hemoglobin 12.3 g/dL
Hematocrit 37.1%
RBC 4.03 10^6/uL
MCV 92.0 fL
MCH 30.4 pg
MCHC 33.1 g/dL
RDW 14.0%
WBC 8.17 10^3/uL
Neutrophil 68.6%
Lymphocyte 22.7%
Monocyte 8.0%
Eosinophil 0.6%
Basophil 0.1%
Platelet count 250 10^3/uL
MPV 7.9 fL
ภูมิคุ้มกันวิทยา
(22 กันยายน 2563)
VDRL non-reactive
HBs Ag negative
HIV Ab negative
ธนาคารเลือด
(22 กันยายน 2563)
ABO group : O
Rh : Positive
IAT/Ab screening : Negative
4.พยาธิของโรค🩺
คือความผิดปกติของการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต เนื่องจากความไม่สมดุลระหว่างความต้องการ และการสร้างจากภาวะดื้ออินซูลืน หรือการใช้อินซูลินของร่างกายทำให้น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ
โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
- GDMA1
คือ Beta cell ของตับอ่อนถูกทำลายจากปฏิกิริยาภูมิต้านทานในร่างกาย
- GDMA2
Beta cell ของตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ
กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์
อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป
BMI > 25 kg/m^2 เป็นต้นไป
มีประวัติเคยมีภาวะเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ในครรภ์ก่อนหน้า
ให้ประวัติว่าปัสสาวะมาก กระหายน้ำมาก หิวบ่อยกินจุ อ่อนเพลีย ที่บ่งบอกว่าเป็นอาการแสดงของการเป็นเบาหวาน
ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ หรือพบโปรตีนในปัสสาวะ
มีภาวะความดันโลหิต BP > 140/90 mmHg
มีประวัติติดเชื้อราบ่อยๆ เป็นซ้ำๆรักษาด้วยยาไม่ได้ผล
มีประวัติบุคคลในครอบครัวสายตรงเป็นโรคเบาหวาน
มีประวัติการตั้งครรภ์ก่อนๆมีประวัติการแท้งเอง ทารกตายคลอด และการตั้งครรภ์แฝดน้ำ
มีประวัติคลอดทารกมีลักษณะตัวโตกว่าอายุครรภ์ (LGA) ทารกตัวโต (น้ำหนักแรกเกิด > 4,000 )
มีประวัติคลอดทารกมีความพิการแต่กำเนิดโดยเฉพาะความพิการของกระดูก ไต หัวใจ nerve palsy
เปรียบเทียบกับหญิงตั้งครรภ์
มารดาและย่าของหญิงตั้งครรภ์มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน
การตรวจคัดกรองและการวินิจฉัย
1) การตรวจเพื่อคัดกรอง (Screenig test)
2) การตรวจเพื่อวินิจฉัย (Diagnostic test)
Screening test ด้วยวิธี Glucose Challenge Test (GCT)
ตรวจได้โดยที่ไม่งดน้ำอาหารและน้ำ เวลาใดก็ได้ โดยให้ดื่มน้ำกลูโคสที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม ในน้ำ 100 ซีซี หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง จะเจาะเลือดตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดเรียกว่า 50 gm 1 hour blood sugar
การแปลผลและแนวทางปฏิบัติ
1.ถ้าค่าระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 140 mg/dL แปลผลว่า ผลการตรวจอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวทางคือ ให้ฝากครรภ์ต่อไปตามปกติ และควรได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานซ้ำเมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์
2.ถ้าค่าระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 140 mg/dL แปลผลว่า ผลการตรวจผิดปกติ แนวทางปฏิบัติคือ ให้นัดตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคเบาหวานต่อไปในอีก 1 สัปดาห์ โดยการใช้น้ำตาลกลูโคส 100 กรัม (OGTT)
เปรียบเทียบกับหญิงตั้งครรภ์
22 กันยายน 2563 (GA 8^3 weeks)
BS 50 gm = 146 mg/dL
Diagnostic test ด้วยวิธี Oral Glucose Tolerance Test (OGTT)
ตรวจโดยการให้งดน้ำ งดอาหารหลังเที่ยงคืนก่อนวันตรวจ โดยปกติไม่ควรงด < 8 ชั่วโมง และ > 14 ชั่วโมง ในวันที่ตรวจได้รับการเจาะเลือดตรวจเข็มที่ 1 (FBS) หลังจากนั้นจะดื่มน้ำกลูโคสที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม ในน้ำไม่เกิน 400 ซีซี ภายใน 5 นาที และเจาะเลือดหลังจากดื่มน้ำกลูโคส 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง 3 ชั่วโมง
การแปลผลและแนวทางปฏิบัติ
1.ถ้ากลูโคสอยู่ในระดับปกติทุกค่าหรือผิดปกติ 1 ค่า โดยค่า FBS ปกติ แปลว่า ผลการตรวจอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวทางคือ ให้ฝากครรภ์ต่อไปตามปกติ และนัดตรวจหาเบาหวานขณะตั้งครรภ์ครั้งต่อไปโดยวิธี OGTT ซ้ำอีก 1 เดือน หรือเมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์
2.ถ้ากลูโคสผิดปกติตั้งแต่ 2 ค่าขึ้นไป ให้พิจารณาที่ค่า FBS
-ค่า FBS ปกติ แปลว่าผลการตรวจอยู่ในเกณฑ์ผิดปกติและวินิจฉัย GDM A1 แนวทางปฏิบัติคือ ให้ปรึกษาโภชนากรเพื่อควบคุมอาหารและนัดตรวจเลือด
-ค่า FBS ผิดปกติ แปลว่าผลการตรวจอยู่ในเกณฑ์ผิดปกติและวินิจฉัย GDM A2
เปรียบเทียบกับหญิงตั้งครรภ์
29 กันยายน 2563 (GA 9^3 weeks)
100 gm OGTT = 76-197-164-116 mg/dL
20 ตุลาคม 2563 (12^3 weeks)
FBS = 73 mg/dL
2 hr PP = 112 mg/dL
17 พฤศจิกายน 2563 (16^3 weeks)
FBS = 75 mg/dL
2 hr PP = 80 mg/dL
15 ธันวาคม 2563 (16^5 weeks)
FBS = 69 mg/dL
2 hr PP = 142 mg/dL (ผิดปกติ)
ผลกระทบของโรคเบาหวาน
มารดา🤰🏻
การแท้งบุตร
ภาวะความดันโลหิตสูง (Preeclampsia)
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
ภาวะเลือดเป็นกรดจากสารคีโตนในเลือดสูง (Diabetic ketoacidosis)
การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและการคลอดก่อนกำหนด (Preterm labor and Preterm birth)
การตกเลือดหลังคลอด (Postpartum hemorrhage)
การติดเชื้อ (Infection)
ทารก👶🏻
ทารกมีขนาดใหญ่ (Macrosomia)
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า (Intrauterine Growth Restriction)
ปอดเจริญเติบโตช้า (Delayed lung maturity)
ทารกมีความพิการแต่กำเนิด (Congenital malformations)
การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth injuries)
ทารกแรกเกิดมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (Neonatal hypoglycemia)
ทารกแรกเกิดมีสารบิลิรูบินในเลือดสูง (Neonatal hyperbilirubinemia)
ทารกเสียชีวิตในครรภ์ (Intrauterine fetal death) / ตายคลอด (Stillbirth)
5.ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล🩹
5.1 ไตรมาสที่ 1 (0-14 weeks)
ทารกในครรภ์อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากมารดามีน้ำตาลในเลือดสูง
ข้อมูลสนับสนุน
OD : 50 gm GCT = 146 mg/dL
OGTT = 76-197-164-116 mg/dL
(12^3 weeks) OGTT FBS = 73 mg/dL
2 hr PP = 112 mg/dL
วัตถุประสงค์
1.เฝ้าระวังการเกิด abortion
2.เฝ้าระวังทารกพิการแต่กำเนิด
3.ทารกปลอดภัยไม่ตายในครรภ์
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.วัดสัญญาณชีพเพื่อประเมินอาการ และประเมินน้ำหนักตัวเมื่อหญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์
2.ประเมินอายุครรภ์ร่วมกับการตรวจครรภ์เพื่อหาความสัมพันธ์ของอายุครรภ์
3.ประเมินระดับน้ำตาลในปัสสาวะทุกครั้งที่มารดาฝากครรภ์
4.แนะนำให้มารดา U/S เพื่อตรวจดูสภาพทารกในครรภ์ตามแผนการรักษา
5.แนะนำให้มารดาหลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากๆ
6.แนะนำให้มารดาหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
7.แนะนำให้มารดารับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นอาหารจำพวกโปรตีน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง
การประเมินผล
1.ผลตรวจน้ำตาลในปัสสาวะเป็น negative
2.น้ำหนักของหญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกขึ้นตามปกติ โดยขึ้น 1.3 kg
3.ตรวจครรภ์แล้วพบว่าอายุครรภ์สัมพันธ์กับขนาดท้อง
4.หญิงตั้งครรภ์ไม่เกิดภาวะ abortion
เกณฑ์การประเมินผล
1.ผลตรวจน้ำตาลในปัสสาวะเป็น negative/trait
2.น้ำหนักของหญิงตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ คือ 0.5-2 kg/ไตรมาส
3.U/S พบสุขภาพทารกในครรภ์สมบูรณ์
4.หญิงตั้งครรภ์ไม่เกิดภาวะ abortion
5.2 ไตรมาสที่ 2 (GA 15-28 weeks)
เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำและเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
วัตถุประสงค์
1.เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะน้ำตาลสูงหรือต่ำในหญิงตั้งครรภ์
เกณฑ์การประเมิน
1.หญิงตั้งครรภ์ไม่มีน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ โดยผลระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหาร <95 mg/dL และหลังรับประทานอาหาร < 120 mg/dL
2.หญิงตั้งครรภ์ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง เช่น อ่อนเพลีย ปากแห้ง ลมหายมีใจมีกลิ่นคล้ายผลไม้ น้ำหนักลด
และจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว มือสั่น กระสับกระส่าย
3.มีความรู้และแนวทางในหารจัดการตนเองเมื่อมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติ
ข้อมูลสนับสนุน
SD : มารดาบอกว่าผลน้ำตาลในเลือดบางวันสูงกว่าเกณฑ์กำหนดไว้
OD : แพทย์วินิจฉัยเป็น GDM A1
: 16^5 weeks พบ FBS = 69 mg/dL (ปกติ), 2 hr PP = 142 mg/dL (สูงกว่าปกติ)
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่สำคัญในการควบคุมเบาหวาน เพื่อป้องกันความรุนแรงของโรคและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนี้
-ให้รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่เพียงพอต่อคาวมต้องการของร่างกาย งดอาหารที่มีน้ำตาลสูงเพื่อจำกัดจำนวนน้ำตาลที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม นมข้นหวาน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ผลไม้ที่มีรสหวานจัด
2.แนะนำการออกกำลังกาย เพื่อให้หลอดเลือดฝอยของกล้ามเนื้อที่กำลังทำงานเปิด นำกลูโคสไปใช้งานขึ้นและอินซูลินดูดซึมได้เร็วขึ้น แต่ต้องระวังภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำร่วมด้วย
3.แนะนำเกี่ยวกับการรักษาทำความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์ เพราะขณะตั้งครรภ์ผิวหนังแห้งอาจเกิดแผลได้ง่าย มีตกขาวและปัสสาวะบ่อย ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากน้ำตาลเป็นแหล่งอาหารให้กับเชื้อแบคทีเรียและสามารถเจริญเติบโตได้
4.แนะนำภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้และสังเกตอาการที่ผิดปกติ เช่น คลื่นไส้อาเจียน มีไข้ ปัสสาวะแสบขัด เป็นต้น ถ้ามีอาการผิดปกติควรรีบมาพบแพทย์ทันที
5.เน้นย้ำให้เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว (DTX) ตามคำสั่งของแพทย์ให้ตรงเวลาและสม่ำเสมอ และประเมินว่าอยู่ในเกณฑ์ที่แพทย์กำหนดหรือไม่ คือ ก่อนรับประทานอาหาร < 95 mg/dL หลังรับประทานอาหาร < 120 mg/dL
การประเมินผล
1.หญิงตั้งครรภ์บอกว่าผลระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยก่อนรับประทานอาหารจะอยู่ในช่วง 75-90 mg/dL และหลังรับประทานอาหารจะอยู่ในช่วง 110-115 mg/dL
2.หญิงตั้งครรภ์ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงและต่ำ
3.หญิงตั้งครรภ์สามารถบอกอาการผิดปกติและภาวะแทรกซ้อนของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำได้
6.คำแนะนำก่อนกลับบ้าน🏠
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการรักษาในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยในกรณีของหญิงตั้งครรภ์นั้นได้กำหนดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารสูงไม่เกิน 95 mg/dL และหลังรับประทานอาหารไม่เกิน 120 mg/dL
แนะนำให้รับประทานอาหารตามหลักโภชนบำบัดเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด
ชั่งน้ำหนักเพื่อประเมินการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มขึ้นเกณฑ์ที่กำหนด
ส่งเสริมพัฒนาการในไตรมาสที่ 3 โดย
กระตุ้นการรับรู้ความรู้สึกและการเคลื่อนไหว เช่น การนั่งเก้าอี้โยก การลูบหน้าท้อง
กระตุ้นการมองเห็น เช่น การส่องไฟที่หน้าท้อง
กระตุ้นการได้ยิน เช่น การฟังดนตรี การพูดคุยกับทารกในครรภ์
แนะนำการนับการดิ้นของทารกในครรภ์ โดยนับหลังรับประทานอาหารแต่ละมื้อ ให้นั่งพักและนับการดิ้นของทารก ถ้าได้ 3 ครั้งขึ้นไปถือว่าปกติหรือนับจนครบหลังอาหาร 3 มื้อ รวมกันแล้วได้มากกว่า 10 ครั้ง ถ้ารวมแล้วน้อยกว่า 10 ครั้ง แสดงว่าทารกอาจมีภาวะผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที