Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชความผิดปกติ…
บทที่ 5
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด
เป็นอาการและอาการแสดงที่ขึ้นกับชนิด ปริมาณ วิธีการใช้ ระยะเวลาที่ใช้ และการใช้สารเสพติดใน
ขณะนั้นๆ
กลุ่มที่ 1 สารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system stimulants)
เป็นสารที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อศูนย์ควบคุมความพึงพอใจ (pleasure or reward center) ในสมองส่วน limbic system
ผู้ที่เสพจะมีอาการ
ก้าวร้าว (aggression) มีพฤติกรรมรุนแรง (violence) หวาดระแวง (hypervigilance) ประสาทหลอน(hallucination) และอาจซัก (seizure)
สารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางชนิดรุนแรง ได้แก่ โคเคน (cocaine), แอมเฟตามีน(amphetamine), เมทแอมเฟตามีน (met-amphetamine)
ภาวะเมาสาร (substance intoxication)
เกิดลักษณะอาการแสดงออกแบบตื่นตัว มีอารมณ์ครึกครั้นสนุกสนาน พูดมาก ชอบพบปะผู้คน ทํากิจกรรมตลอดเวลาและมักเป็นพฤติกรรมซ้ํา ๆ(compulsive behavior) หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย กระวนกระวาย อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย วิตกกังวล เครียด ชอบพาลหาเรื่องทะเลาะวิวาท การตัดสินใจเสียและนอนไม่หลับ
ภาวะถอนสาร (substance withdrawal)
2-3 วันหลังหยุดเสพ โดยจะมี
ความรู้สึกหดหู่ (dysphoria) อ่อนเพลีย เมื่อยล้ํา (fatigue)ปวดศีรษะ ฝันร้าย นอนหลับมาก
กลุ่มที่ 2 กลุ่มนาร์โคติก (narcotic)
สารเสพติดในกลุ่มนี้ ได้แก่ สารฝิ่น (opium),
มอร์ฟีน (morphine), เฮโรอีน (heroin)
ภาวะเมาสาร (substance intoxication) หลังเสพทันทีโดยจะมีอารมณ์เคลิ้มสุขในระยะแรก จากนั้นจะเซื่องซึม หดหู่ อารมณ์ทางเพศลดลง เฉื่อยชา เฉยเมย
ภาวะถอนสาร (substance withdrawal)เกิดเมื่อหยุดเสพภายในไม่กี่นาที หรือ 2 – 3 วันหลังหยุดใช้หรือลดปริมาณการเสพลง โดยจะมีอาการวิตกกังวล กระวนกระวาย
กลุ่มที่3 กลุ่มกดระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system depressants)
สารเสพติดในกลุ่มนี้ ได้แก่ ยากลุ่ม barbiturates, ยากลุ่ม benzodiazepines, สุรา
(alcohol)
ภาวะเมาสาร (substance intoxication) งง สับสน สมาธิไม่ดีการทํางานประสานกันของกลัมเนื้อผิดปกติ(incoordination)
ภาวะถอนสาร (substance withdrawal) เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว มือสั่น นอนไม่หลับ วิตกกังวล กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข
กลุ่มที่ 4 กลุ่มหลอนประสาท (psychedelic drugs/Hallucinogen)
สารเสพติดในกลุ่มนี้ ได้แก่ สาร lysergic acid diethylamide (LSD), ketamine,
phencyclidine (PCP), ยาอี (ecstasy), mescalin, เห็ดขี้เมา (mushrooms/psilocybin)
ภาวะเมาสาร (substance intoxication) อาจมีหูแว่ว ภาพ
หลอน
ภาวะถอนสาร (substance withdrawal) เห็นภาพบิดเบือน (visual distortion) ภาพหลอนทางภูมิทัศน์ (geometric hallucination)
กลุ่มที่ 5 กลุ่มสารอื่น ๆ
สารเสพติดในกลุ่มนี้ ได้แก่ กัญชา
(cannabis), สารระเหย (inhalant) เช่น กาว ทินเนอร์, ใบกระท่อม (mitragyna), khat
สาเหตุ
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ
พันธุกรรม มีความสัมพันธ์กับการนําไปสู่การติดสารเสพติดของบุคคล
การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทในสมอง
การเปลี่ยนแปลงระดับเมตาบอลิสม (metabolic activity)
2) ปัจจัยทางจิต
มีแรงจูงใจในการอยากลอง
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory)
บุคลิกภาพ
3) ปัจจัยทางสังคม
ครอบครัวหรือพ่อและแม่มีการใช้สารเสพติด
สังคมมีค่านิยมผิดเกี่ยวกับการใช้สารเสพติด
การพยาบาล
1) การประเมินสภาพ มีเป้าหมายเช่นเดียวกันการให้การพยาบาลในผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มอื่น
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis) ควรมีความสอดคล้องกับระยะของการบําบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดด้วย
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล เป้าหมายในระยะสั้น เป้าหมายในระยะยาว
4) การประเมินผลทางการพยาบาล จะประเมินตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้