Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5.8บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตเวชทางสารเสพติด, นางสาวสรารัตน์…
5.8บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตเวชทางสารเสพติด
สารเสพติด (substance) คือสารเคมีหรือวัตถุใดก็ตามที่เสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะด้วยการกิน ดม สูบ หรือฉีด โดยไม่ได้มีจุดประสงค์ทางการแพทย์
ภาวะเมาสาร (substance intoxication)
มีพฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม, มีพฤติกรรมก้าวร้าว หลังจากการใช้สารนั้นทันทีหรือใช้สารนั้นเมื่อไม่นาน
ภาวะถอนสาร (substance withdrawal)
เกิดจากการหยุดหรือลดปริมาณการใช้สารเสพติดที่เคยใช้ปริมาณมากมาเป็นเวลานาน
โรคของการใช้สารเสพติด (substance use disorder)
ใช้สารแบบมีปัญหา (substance abuse) หรือการติดสาร (dependence)
โรคทางจิตเวชที่เกิดจากการใช้ติดสารเสพติด (substance induced mental disorder)
โรคทางจิตที่เป็นผลโดยตรงจากการใช้สารเสพติด
อาการเเละอาการเเสดง
1) โรคของการใช้สารเสพติด (substance use disorder)
การใช้สารแบบมีปัญหา (substance abuse)
มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆอย่างต่อเนื่อง ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เช่น ขับรถขณะมึนเมา
ก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายจากการใช้สารสารเสพติดนั้น ๆ เช่น ถูกจับกุม
มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ไม่สามารถทำงานต่าง ๆ ได้เต็มที่ เช่น หน้าที่การงาน การเรียน หรืองานบ้าน
มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสารเสพติดนั้น ๆจะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การทะเลาะเบาะแวงระหว่างสามีภรรยาที่เกิดจากผลของการใช้สารเสพติดนั้น ๆ
การติดสาร (substance dependence)
อาการขาดยา (withdrawal)
มักใช้สารเสพติดชนิดนั้น ๆ ในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นหรือติดต่อกันนานมากกว่าที่คิดไว้
การดื้อยา (tolerance)
ตั้งใจอยู่เสมอที่จะหยุดหรือลดปริมาณการใช้สารเสพติดนั้น ๆแต่ไม่สำเร็จ
เวลาในแต่ละวันหมดไปกับกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อที่จะให้ได้สารเสพติดนั้น ๆมา
การใช้สารเสพติดนั้น ๆมีผลทำให้กิจกรรมสำคัญๆ ในด้านสังคม อาชีพ และกิจกรรมส่วนตัวเสื่อมลง
มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆต่อไปเรื่อย ๆ แม้จะทราบว่าสารเสพติดนั้น ๆก่อให้เกิดปัญหาทางกายและจิตใจอยู่เป็นประจำก็ตาม
2) ภาวะเมาสาร (substance intoxication)
เกิดขึ้นทันทีหรือไม่นานหลังจากใช้สารเสพติดนั้น ๆ
พฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม พฤติกรรมก้าวร้าว อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย การตัดสินใจบกพร่อง
3) ภาวะถอนสาร (substance withdrawal)
เกิดขึ้นภายใน 2 ถึง 3 ชั่วโมง ถึง 2 ถึง 3 วันหลังหยุดใช้หรือลดปริมาณการใช้สารเสพติดชนิดนั้น ๆ
ทำให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่ด้านสังคม การงาน
4) โรคทางจิตเวชที่เกิดจากการใช้ติดสารเสพติด (substance induced mental disorder)
กลุ่มสารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system stimulants)
สารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางชนิดรุนแรง ได้แก่ โคเคน (cocaine), แอมเฟตามีน (amphetamine), เมทแอมเฟตามีน (met-amphetamine)
กลุ่มกลุ่มหลอนประสาท (psychedelic drugs/Hallucinogen)
ได้แก่ สาร lysergic acid diethylamide (LSD), ketamine,
phencyclidine (PCP), ยาอี (ecstasy), mescalin, เห็ดขี้เมา (mushrooms/psilocybin)
กลุ่มสารอื่น ๆ
ได้แก่ กัญชา (cannabis), สารระเหย (inhalant) เช่น กาว ทินเนอร์, ใบกระท่อม (mitragyna), khat
สาเหตุ
2) ปัจจัยทางจิต
มีแรงจูงใจในการอยากลองเพราะเห็นคนอื่นใช้และบอกว่าสนุกสนาน คลายทุกข์ได้
ใช้ซ้ำ ๆ ปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดพิษจากสารเสพติด สมองเกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดผลกระทบทั้งทางร่างกาย จิตใจและสังคม
กลุ่มอาการ ADHD และบุคลิกภาพแบบ antisocial ตัวอย่างเช่น บุคลิกภาพที่เสี่ยงต่อการติดสุรา (alcoholic-prone personality)
3) ปัจจัยทางสังคม
ครอบครัวหรือพ่อและแม่มีการใช้สารเสพติด
สัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดี เด็กหันไปติดเพื่อน ถูกเพื่อนชักจูง
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ
ารเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทในสมอง โดยเฉพาะ dopamine receptor
การเปลี่ยนแปลงระดับเมตาบอลิสม (metabolic activity)พบว่า ปริมาณของ serotonin, dopamine และ GABA ลดลง
พันธุกรรม
การบำบัดรักษา
ระบบการบำบัดรักษาการเสพสารเสพติดในประเทศไทย แบ่งเป็น 3 ระบบ
ระบบบังคับรักษา
การต้องโทษ (ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ)
ระบบสมัครใจ
รูปแบบการบำบัดรักษาความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพมี 4 ระยะ
ระยะสองการถอนพิษยา (detoxification)
ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 2 - 3 สัปดาห์
โดยเริ่มจากการลดขนาดยาเสพติดลงไปเรื่อย ๆ
ผู้ป่วยจะได้รับอาหารที่มีคุณภาพ และมีปริมาณพียงพอ
แก้ไขปัญหาภาวะแทรกซ้อนและภาวะขาดสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
ระยะสามการรักษาทางจิตสังคมเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ (psychosocial rehabilitation)
ใช้เวลาในการรักษานานอย่างน้อย ๑ ปี
ใช้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้
แต่ผู้ป่วยควรมาติดตามต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ๆ ละ 3 ชั่วโมงเป็นเวลา 16 สัปดาห์
ระยะแรก (pre-admission)
การเตรียมพร้อมสำหรับผู้ป่วยใช้เวลา 1 - 7 วัน
ภาวะเมา ภาวะถอน อาการแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น หวาดระแวง ประสาทหลอน และความคิดฆ่าตัวตาย
ระยะสี่การติดตามดูแล (after-care)
แพทย์ยังนัดมาเพื่อติดตาม ปีละ 3 - 4 ครั้ง
เข้ากลุ่มช่วยเหลือกันเอง (self-help group) เพื่อช่วยกันหยุดการใช้สารเสพติดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเป็นวลานานที่สุดเท่าที่จะนานได้
การพยาบาล
ระยะเตรียมการก่อนบำบัด (pre-admission)
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวเกิดความไว้วางใจและให้ความร่วมมือในการบำบัดรักษาทางการพยาบาล
ให้ความรู้ผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับการติดสารเสพติด การรักษา การฟื้นฟูและการป้องกันการกลับไปเสพสารเสพติดซ้ำเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวลดความวิตกกังวลในการบำบัดรักษาทางการพยาบาล
ระยะการถอนพิษยา (de toxification)
สังเกตและบันทึกรายงานและให้การดูแลอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะถอนพิษยาอย่างเหมาะสม
ตามแผนการรักษาของทีมสุขภาพเพื่อให้ผู้ป่วยความปลอดภัยขณะถอนพิษจากสารเสพติด
จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัดและให้การดูแลช่วยเหลือการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
รวบรวมและประเมินข้อมูลทั้งสภาพร่างกาย สภาพจิต อาการและอาการแสดงเพื่อค้นหาปัญหาที่พบในขณะถอนพิษจากสารเสพติด
ระยะการฟื้นฟูสภาพ (rehabilitation)
ประเมินสภาวะความเครียดและแรงกดันต่าง ๆ ที่อาจทำให้ผู้ป่วยกลับไปใช้สารเสพติดอีก
กระตุ้นผู้ป่วยให้มีส่วนร่วมในแผนการรักษาและมุ่งเน้นให้เกิดความเข้าใจในปัญหาของตนเองที่ต้องใช้สารเสพติด
กระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในเกี่ยวกับการติดสารเสพติด การฟื้นฟูและการป้องกันการกลับไปเสพสารเสพติดซ้ำ
สนับสนุนให้ผู้ป่วยได้เปิดเผยหรือบอกได้ถึงแรงจูงใจต่าง ๆ ที่ทำให้เขาต้องใช้สารเสพคิดพร้อมกับช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหาวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ
ระยะติดตามดูแล (after-care)
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งประโยชน์ที่ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถพึ่งพาและขอความช่วยเหลือได้
ส่งต่อเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
ส่งเสริมแรงจูงใจและการร่วมมือในการรักษาต่อไป หลีกเลี่ยงการกลับไปใช้สารเสพติดอีก
เช่น ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาในท้องถิ่นที่ผู้ป่วยอยู่ โรงพยาบาล ศูนย์สาธารณสุข สถานือนามัย บ้านพักฟื้น คลินิกชีวิตใหม่ องค์กรเอกชน ผู้นำชุมชน หรืออาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชนให้มีส่วนร่วมดูแลผู้เลิกเสพยา
การประเมินผลทางการพยาบาล
สุขภาพทั่วไปดีขึ้นในระยะ 6 เดือน
สามารถบอกวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ไขเมื่อความเครียดได้ เช่น การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การออกกำลังกาย หรือเทคนิคคลายเครียดต่าง ๆ
จำนวนวันที่ใช้สารเสพติดลดลง 3 วันจากเดิม 5 วันต่อสัปดาห์
สามารถแหล่งประโยชน์ที่ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถพึ่งพาและขอความช่วยเหลือได้
นางสาวสรารัตน์ ธราพงษ์นิวัฒน์ 180101104