Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5.9-5.10 การพยาบาลบุคคลที่มี ความผิดปกติทางด้านอารมณ์ - Coggle…
บทที่ 5.9-5.10
การพยาบาลบุคคลที่มี
ความผิดปกติทางด้านอารมณ์
อารมณ์แปรปรวน : Mood Disorders (โรคจิตเวชทางอารมณ์)
เป็นความผิดปกติทางอารมณ์เป็นอาการเด่น โดยบุคคลอาจมีอารมณ์เศร้ามากผิดปกติ อ่อนเพลีย ร้องไห้ เศร้ามาก อยากตาย หรืออาจมีอารมณ์ดีมากผิดปกติ ครื้นเครง พูดมาก อาจมีอาการเพียงลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือทั้งสองลักษณะร่วมกัน
บุคคลที่มีความผิดปกติทางอารมณ์อย่างเด่นชัด
อาจแสดงอารมณ์เศร้ามากผิดปกติ(Depressive) ซึมเศร้ามาก ร้องไห้มาก ปฏิเสธสังคม อ่อนเพลีย หดหู่ใจ อยากตาย
อาจมีอารมณ์ครื้นเครง คลุ้มคลั่ง เริงร่า
มากกว่าปกติ (Mania) หัวเราะโดยไม่มีเหตุผลตลอดเวลา
อาจมีอาการทั้งเศร้าและคลุ้มคลั่งมากในเวลา
เดียวกัน
โรคอารมณ์แปรปรวน
• ระยะแรกพบในลักษณะอาการซึมเศร้า(Depression)
• ในอดีตพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ระยะหลังอัตราการป่วยในเพศหญิงและเพศชายพอๆกัน
• พบในวัยหนุ่มสาวมากขึ้น
• เป็นโรคที่รักษาหายได้ถึง 80-90 % ถ้ารักษาตั้งแต่แรกๆ
ลักษณะอารมณ์เศร้า (Depression)
• เศร้า หดหู่ใจ สะเทือนใจ ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล เบื่อหน่ายสังคม สิ่งแวดล้อมรอบตัว ท้อแท้ เหนื่อยหน่าย ซึมเฉย เก็บตัวอยู่คนเดียว หงุดหงิด เหม่อลอย หลงลืม มองโลก ในแง่ร้าย ต าหนิตนเอง รู้สึกว่าตนเองมีทุกข์มาก ไม่มีใครช่วยได้ และอยากตาย
• พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
ลักษณะอารมณ์คลุ้มคลั่ง (Mania)
• ครึกครื้น ครื้นเครงมากกว่าปกติ อารมณ์ดีมากเกินปกติ หัวเราะร่าเริงโดยไม่มีเหตุผล คิดว่าตนเป็นใหญ่
แสดงพฤติกรรมมากกว่าปกติทั้งการพูด
การคิด และการกระทำ พูดจาสับสน เปลี่ยนเรื่องบ่อย หงุดหงิด โกรธง่าย ตกใจง่าย ไม่สามารถควบคุมตนเองได้
ปัจจัยเหตุของโรคอารมณ์แปรปรวน
ปัจจัยด้านชีวภาพ (Biological factors)
ชีวเคมี เกี่ยวข้องกับระดับอารมณ์ของมนุษย์
ภาวะเศร้ามี Norepinephrin ต่ำ ภาวะคลุ้มคลั่งจะมี NE สูง
ความผิดปกติของระบบประสาท: การกระจายสารละลาย Na & K ในและนอกเซลประสาทไม่สมดุล ผู้ป่วยจะมีอารมณ์เศร้ารุนแรงช่วงเช้าตรู่และดีขึ้นในช่วงบ่ายหรือค่ า
ความผิดปกติของการเผาผลาญสารชีวเคมีบางตัว
ปัจจัยด้านพันธุกรรม (Genetic factors)
ปัจจัยด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
3.1 ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ Freud
-ใช้คำ Mourning และ Melancholia จำแนกอาการ
เป็นอาการเศร้า ไม่สนใจโลกภายนอก ขาดความรักและกิจกรรมต่างๆ สนใจเฉพาะตนเอง หลงผิด และลงโทษตนเอง
อารมณ์เศร้าเกิดจากการสูญเสียสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือสับสนเรื่องสัมพันธภาพเกี่ยวกับความรัก สัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก และความขัดแย้งใจเกี่ยวกับตนเอง
3.2 ทฤษฎีพัฒนาการ และประสบการณ์การ
เรียนรู้
การถูกทอดทิ้ง แยกจากบุคคลที่สำคัญใน 6 เดือนแรกของชีวิต ทำให้บุคคลรู้สึกเศร้า คิดและคาดหวังในทางลบเกี่ยวกับตน ปรับตัวไม่ได้
ทารกที่ถูกทอดทิ้งในขวบปีแรกจะเกิดความเศร้า ร้องไห้มาก รับประทานอาหารไม่ได้ พัฒนาการเคลื่อนไหว ล่าช้า ซึม ทื่อ การเจริญเติบโตหยุดชะงัก มีอาการเศร้าตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จะมีพฤติกรรมเศร้ามาก
Jacobson : ภาวะซึมเศร้าเกิดจากการที่ทารก
ผิดหวังจากการถูกแยกจาก พัฒนาการความเป็นตนหยุดชะงัก ไม่อาจปรับตัวเองกับโลกความเป็นจริงได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
Sulivan : ความขัดแย้งในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือสภาพของสังคมรอบตัวเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า
ปัจจัยด้านการรู้คิด (Cognitive factors)
ความเศร้าเกิดจากการที่บุคคลมีความคิดเกี่ยวกับตนเองในทางลบ คิดโทษตนเอง ทำร้ายตนเอง
Beck : ความคาดหวังในทางลบ 3 ประการที่ก่อให้เกิดอารมณ์เศร้า คือ ความคาดหวังด้านสิ่งแวดล้อมความคาดหวังตนเอง และความคาดหวังอนาคต
ความรู้สึกในทางลบจะทำลายพัฒนาการทางความคิด
ของบุคคล ทำลายความรู้สึกมีคุณค่าของตนเอง รู้สึกต่ำต้อย ท้อแท้ สิ้นหวัง มองอนาคตว่าล้มเหลว หมดทางแก้ และพยายามฆ่าตัวตาย
50% ของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนชนิด Bipolar-I จะมีอย่างน้อยบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งเป็นโรคอารมณ์แปรปรวน และมักเป็นโรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง
บุตรมีโอกาสเป็นโรคอารมณ์แปรปรวน 50-75% ถ้าทั้งบิดาและมารดาป่วยเป็นโรคนี้
ฝาแฝดไข่ใบเดียวกัน อัตราความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอารมณ์แปรปรวนสูง 33-99%และโรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง 50%
การจำแนกโรคอารมณ์แปรปรวน
โรคอารมณ์ซึมเศร้า (Depressive Disorders)
1.1 โรคซึมเศร้ารุนแรง (Major Depressive
Disorder)
1) การวินิจฉัยดูที่อาการแสดงครั้งเดียว หรือกลับเป็นอีกมากกว่า 2 ครั้ง
2) พิจารณาตามระดับความรุนแรงของอาการ :mild, moderate, severe
3) มีอาการโรคจิตชัดเจน มีการสูญเสียการรับรู้ความจริง หลงผิด ประสาทหลอน
4) มีอาการของโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ต่อเนื่องและนานเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป
5) มีอาการของโรคที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล
6) เป็นโรคซึมเศร้าที่เกิดในช่วงเวลาหลังคลอดโดยมีอาการภายใน 4 สัปดาห์หลังคลอด
โรคอารมณ์คลุ้มคลั่งสลับเศร้า (Bipolar Disorders)
อารมณ์ขึ้นๆลงๆ โดยมีอารมณ์เศร้าระดับต่ำ ถึงอารมณ์เริงร่า คลุ้มคลั่ง (Euphoria-Mania)
เกณฑ์การวินิจฉัยโรค มีอาการต่อไปนี้มากกว่า 3 อาการ :
ความรู้สึกคุณค่าในตนเองสูงเกินจริง
ต้องการพักผ่อนน้อยหรือนอนไม่หลับ
พูดมาก พูดไม่หยุด
ความคิดฟุ้งซ่าน, กระสับกระส่าย อยู่ไม่สุข, วุ่นวาย
มีกิจกรรมมากกว่าปกติ, สัมพันธภาพกับผู้อื่นเสีย
ชนิดของ โรคอารมณ์คลุ้มคลั่งสลับเศร้า
(Bipolar Disorders)
2.1 Bipolar I
มีทั้งอารมณ์เศร้า (depress) หรืออารมณ์แบบผสม (mixed)
เคยมีอาการเศร้ามาก่อน
การวินิจฉัยมุ่งที่อาการแสดงปัจจุบัน
2.2 Bipolar II
มีทั้งอารมณ์เศร้า สนุก ครื้นเครง ตามเกณฑ์การวินิจฉัยอาการคลุ้มคลั่งและอาการผสม
ไม่เคยมีอาการเหล่านี้มาก่อน
2.3 Cyclothymic Disorder
มีอาการปรากฏเป็นช่วงๆ อย่างน้อยเป็นเวลา 2 ปี
มีอาการคลุ้มคลั่ง และเศร้า อาการอาจไม่ครบเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้ารุนแรง
ในช่วงกว่า 2 ปี อาจไม่มีอาการตามเกณฑ์นานถึง 2 เดือน
โรคอารมณ์แปรปรวนอื่นๆ
(Other Mood Disorders)
3.1 เป็นความผิดปกติที่มีผลต่อสภาพทางร่างกายโดยตรง สัมพันธ์กับความล้มเหลวในการาหน้าที่การทำงาน และการเข้าสังคม
3.2 เป็นผลจากการใช้ยาและสารเสพติดสารบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์ แอมเฟตตามีน โคเคน ฝิ่น ยานอนหลับ
การจำแนกโรคอารมณ์แปรปรวนตาม ICD-10 WHO
ได้จำแนกโรคจิตอารมณ์ไว้ 4 กลุ่ม
Manic Episode
Bipolar Affective Disorder
Depressive Episode
Persistent Mood Disorders (ชนิดอื่นๆ)
1.2 โรคซึมเศร้าดิสไธมิก (Dysthymic Disorder)
คล้ายโรคซึมเศร้ารุนแรง แต่อาการน้อยกว่า
มักเป็นอารมณ์เศร้าตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยรุ่น
เป็นมาไม่น้อยกว่า 2 ปี (ในเด็กและวัยรุ่นเป็นมาไม่น้อยกว่า 1 ปี)
มี 2 ลักษณะ : Early Onset (อาการเริ่มเป็นก่อนอายุ 21), Late Onset (อาการเริ่มเป็นหลังอายุ21 ปีขึ้นไป)
การจำแนกโรคอารมณ์แปรปรวนตาม DSM-V
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า Dysthymic
1) มีอารมณ์เศร้าเกือบทั้งวันมากกว่า 1 วัน และเป็นมาไม่น้อยกว่า 2 ปี (ในเด็กและวัยรุ่น 1 ปี)
2) แสดงอาการต่อไปนี้มากกว่า 2 อาการ : ความอยาก
อาหารลดลงหรือมากเกินปกติ, นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินปกติ, อ่อนเพลีย ไม่มีแรง, ความรู้สึกคุณค่าในตนเองต่ำ, สมาธิเสีย ตัดสินใจลำบาก, สิ้นหวัง
3) ในช่วง 2 ปีที่มีอาการ ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใน 1. และ 2. ได้นานเกิน 2 เดือน
4) ไม่มีอาการของโรคซึมเศร้ารุนแรงในระหว่าง 2 ปี
5) ไม่มีอาการคลุ้มคลั่ง(Mania) อาการผสม(Mixed) หรืออาการคลุ้มคลั่งระดับต่ำ(Hypomania)
6) ความผิดปกติต้องแยกออกจากโรคจิตชนิดอื่นๆ
7) อาการแสดงต้องไม่ใช่เกิดจากผลของยาเสพติดหรือยารักษาโรคทางกาย
8) อาการแสดงต้องมีลักษณะเด่นด้านความล้มเหลวในการเข้าสังคมและการประกอบอาชีพ
1.3 โรคซึมเศร้าในช่วงก่อนมีประจำเดือน(Premenstrual Disphoric Disorder)
DSM-V ไม่ได้รวมการวินิจฉัยโรคนี้อย่างเป็นทางการ
อารมณ์เศร้า วิตกกังวลเด่น อาการเปลี่ยนแปลงขึ้นๆลงๆและกดดันในสัปดาห์ที่มีประจำเดือน
อาการรบกวนการทำงาน การเรียน กิจวัตรประจำวัน
จะมีอาการเกิดขึ้นประจำในช่วงรอบเดือนส่วนใหญ่ของปีที่ผ่านมา
การบำบัดรักษาบุคคลที่มีอารมณ์แปรปรวน
การรักษาด้วยยา
1) ยาต้านอาการเศร้า (Antidepressant) : Amitriptyline 10, 25 มก. Imipramine 25 มก. Nortriptyline 10, 25มก.
2) ยารักษาโรคอารมณ์คลุ้มคลั่ง :
Chlorpromazine, Haloperidol, Lithium
การรักษาด้วยไฟฟ้า
ผู้ป่วยที่มีอาการเศร้ารุนแรง พยายามทำร้ายตนเอง
รับการรักษาทางยาแล้วไม่ได้ผล
มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน
การรักษาด้วยจิตบำบัด
ใช้หลักการสัมพันธภาพทั้งรายบุคคล และรายกลุ่ม
ใช้การพูดคุยกับผู้ป่วย วิเคราะห์สภาพปัญหาของผู้ป่วย นำไปสู่ความเข้าใจ ยอมรับปัญหา มุ่งหาทางแก้ไข และส่งเสริมการปรับตัวในทางที่ถูกต้องและเหมาะสม
การใช้สัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ยอมรับผู้ป่วยโดยไม่มีเงื่อนไข
สื่อสารด้วยความเห็นใจและเข้าใจ
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายปัญหาและความทุกข์
ให้ข้อเสนอแนะ หรือทางเลือกแก่ผู้ป่วยและครอบครัวพิจารณา
ป้องกันอันตราย สังเกต และดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
เสริมสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งในการเผชิญปัญหา
ฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยเรื้อรังทั้งในด้านสุขอนามัยการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพ
ส่งเสริมสุขภาพจิต และป้องกันปัญหาของผู้ป่วยและครอบครัว
การพยาบาลบุคคลที่มีอารมณ์แปรปรวน
กระบวนการพยาบาลผู้ป่วยอารมณ์ซึมเศร้า
1.1 การประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยอารมณ์ซึมเศร้า
มุ่งที่ระดับของอารมณ์เศร้าว่าอยู่ที่ระดับใด โดยประเมินทั้ง 4 ด้าน : affective, behavior, cognitive และ physiological
แนวทางการประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยซึมเศร้า
อารมณ์เศร้าตามสถานการณ์(Transient depression)
เป็นความรู้สึกเศร้าเมื่อบุคคลรู้สึกผิด หรือเผชิญ
กับสถานการณ์ปัญหาในชีวิตประจำวันที่ผิดหวัง
อารมณ์เศร้าระดับต่ำ (Mild depression)
เป็นอารมณ์เศร้าที่เริ่มเบี่ยงเบนจากความเศร้าปกติ มีอาการต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นกว่าระดับแรก
อารมณ์เศร้าระดับกลาง(Moderate depression)
เป็นอารมณ์เศร้าที่แสดงถึงปัญหาการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเริ่มมีความผิดปกติ
อารมณ์เศร้าระดับรุนแรง (Severe depression)
เป็นอารมณ์เศร้าที่มากและรุนแรง
1.2 การวินิจฉัยการพยาบาล
1.3 การวางแผนการพยาบาล
ระยะสั้น มุ่งให้การพยาบาลตามข้อวินิจฉัยการ
พยาบาล
1) การสร้างสัมพันธภาพและส่งเสริมการปรับตัว
2) การป้องกันอันตราย
3) การส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี และพัฒนาคุณค่าในตนเอง
4) การดูแลช่วยเหลือด้านสรีรวิทยา
ระยะยาว – มุ่งการดูแลอย่างต่อเนื่อง เน้นการ
ดำรงชีวิตที่เหมาะสมในอนาคต
1) การพัฒนาคุณค่าในตนเอง สนับสนุนความสามารถในการทำงาน การเผชิญปัญหาและการปรับตัวในครอบครัวและสังคม
2) การส่งเสริมความรู้สึกพึงพอใจในตนเองและคุณค่าแห่งตน
1.4 การปฏิบัติการพยาบาล
1) การป้องกันอันตราย
2) การใช้เทคนิคการสื่อสาร และสร้างสัมพันธภาพ
3) การสอนผู้ป่วย
4) การให้คำปรึกษา
5) การพัฒนาพฤติกรรมที่เหมาะสม
6) การแนะนำแหล่งบริการที่สะดวกสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว
พฤติกรรมการเสี่ยงต่อการท าร้ายตนเองจากความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า โกรธ และแปลเหตุการณ์ผิดจากความเป็นจริง
การสูญเสียหน้าที่การทำงาน ปฏิเสธการสูญเสีย การระบายความโกรธไม่เหมาะสม คิดาๆกับสิ่งที่สูญเสีย ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจประจำวันได้
ขาดความสนใจในการดูแลสุขอนามัยของตนทุกด้าน รวมถึงการดูแลด้านบุคลิกภาพและการแต่งกาย
กระบวนการพยาบาลผู้ป่วยอารมณ์คลุ้มคลั่ง
สลับเศร้า
2.1 การประเมินภาวะสุขภาพ
ด้านอารมณ์ ครื้นเครง สนุกสนานกว่าปกติ เริงร่าไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์ แสดงอารมณ์เหมือนตนเองยิ่งใหญ่
ด้านพฤติกรรม ไม่อยู่เฉย วุ่นวาย พูดรัว
เร็ว เสียงดัง ขาดความเชื่อมโยงในเนื้อหาที่พูดพูดไปหัวเราะไป ใช้เงินเปลืองพฤติกรรมถดถอยเหมือนเด็ก
ด้านความรู้สึกนึกคิด คิดฟุ้งซ่าน ความคิด
เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก มีความภาคภูมิใจในตนเองสูงหลงผิดว่าตนสำคัญและยิ่งใหญ่กว่าคนอื่น
ด้านสรีรวิทยา ไม่สนใจสภาพร่างกายของตน ไม่อาบน้ำ ไม่เปลี่ยนเสื้อผ้า ไม่รับประทานอาหาร ไม่นอน
2.2 การวินิจฉัยการพยาบาล
มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุ จากพฤติกรรมที่ไม่อยู่นิ่ง มีกิจกรรมตลอดเวลา
การดูแลสุขอนามัยบกพร่อง เนื่องจากมีความคิด อารมณ์ สับสน
2.3 การวางแผนการพยาบาล
ระยะสั้น – เน้นที่แผนการดูแล และกิจกรรมการพยาบาลที่ต้องเร่งปฏิบัติในขณะอยู่รพ.
1) ความปลอดภัยของผู้ป่วยจากการทำร้ายตนเองขณะมีอาการ
2) การป้องกันภาวะที่มีพฤติกรรมรุนแรง
3) การดูแลด้านสรีรวิทยา
ระยะยาว เน้นที่ :-
1) ด้านสัมพันธภาพ : ให้ระบายความเครียด ความขัดแย้งและปัญหา เสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหา
2) การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ : ให้ความรู้ จัดกระบวนการให้คำปรึกษา สร้างเสริมสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและกลุ่มของผู้ป่วย
2.4 การปฏิบัติการพยาบาล
1) การดูแลความปลอดภัย
2) ใช้เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
3) ใช้กระบวนการให้ค าปรึกษาแก่ผู้ป่วยและครอบครัว
4) พัฒนาทักษะในการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตและจิตเวช
5) ใช้เทคนิคการสอน การปรับตัว และเทคนิคการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม