Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการ เจ็บป่วยทางจิตเวช,…
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการ
เจ็บป่วยทางจิตเวช
5.3 โรคบุคลิกภาพผิดปกติท่ีพบบ่อย
ความหมาย
ประสบการณ์ พฤติกรรมและการดําเนินชีวิตท่ี
เบี่ยงเบนหรือแตกต่างไปจากบรรทัดฐานและความคาดหวังของสังคม เริ่มปราฎในช่วงวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
แบ่งออกตามความเหมือนหรือความคล้ายกันของอาการ เรียงลําดับของความรุนแรงในเรื่องของการปรับตัวและการพยากรณ์โรคออกเป็น 3 กลุ่ม (cluster)
กลุ่ม A ลักษณะที่มีพฤติกรรมประหลาด พิสดาร (odd or eccentricity) เป็ปรับตัวได้ยากในระดับที่มีความรุนแรงมากที่สุดและยากท่ีจะรักษาหายได้ ได้แก่ บุคลิกภาพผิดปกติแบบ หวาดระแวง เก็บตัว และจิตเภท (paranoid, schizoid and
personality disorders)
กลุ่ม B ลักษณะที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ผิดปกติ หรือคาดเดาไม่ได้ (dramatic, emotional, or erratic) เป็นกลุ่มท่ีมีการปรับตัวยากในระดับท่ีมีความรุนแรงปานกลางและได้บ้างไม่ได้บ้าง ได้แก่ บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม ก้ำกึ่ง ฮีสที่เรีย และ หลงตัว (antisocial, borderline, histrionic, and narcissistic personality disorders)
กลุ่ม c ลักษณะที่มีความหวาดกลัวหรือวิตกกังวลอย่างสูง (anxious or fearful) ปรับตัวยากในระดับที่มีความรุนแรงน้อยที่สุดและสามารถรักษาได้ ได้แก่ บุคลิกภาพผิดปกติแบบ หลีกเลี่ยง พึ่งพา และย้ำคิดย้ำทํา (avoidant, dependent and obsessive-compulsive personality disorders)
อาการและอาการแสดง
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (antisocial personality disorders)
มีอายุอย่างน้อย 18 ปี บ่งชี้ว่ามีความประพฤติเกเร (conduct disorder) ตั้งแต่อายุ 15 ปี มีอาการแสดงออกอย่างน้อย 3 จาก 7 อาการดังนี้
1)ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือมาตรฐานของสังคม
2)หลอกลวง
3) หุนหันวู่วาม
4) หงุดหงิด และก้าวร้าว
5) ไม่ใส่ใจถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
6) ขาดความรับผิดชอบอยู่เป็นประจํา
7)ไม่รู้สึกสํานึกผิดหรือเสียใจต่อความผิดที่ได้กระทําลงไป
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อก้ำกึ่ง (borderline personality disorders)
อาการแสดงออกอย่างน้อย 5 จาก 9 อาการดังต่อไปนี้
1) พยายามอย่างคนเสียสติท่ีจะหนีความเป็นจริงหรือหนีจากการถูกทอดทิ้ง
2) สัมพันภาพกับผู้อื่นมีลักษณะท่ีไม่แน่นอนระหว่างดีสุดๆ และชั่วร้ายสุดๆ
3) สับสนในความเป็นตัวของตัวเอง
4) แสดงพฤติกรรมหุนหันวู่วามซึ่งส่งผลร้ายหรือทําลายตนเองอย่างน้อย 2 อย่าง ได้แก่ สําส่อนทางเพศ ใช้สารสพติต ขับรถประมาท ดื่มจัด
5) มีพฤติกรรม ท่าทาง หรือพยายามที่จะทําร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตายบ่อยๆ
6) มีอารมณ์ไม่สม่ำเสมอ ไม่คงที่เปลี่ยนแปลงง่าย
7) มีความรู้สึกเหงาหว้าเหว่เรื้อรัง
8) มีการแสดงออกของอารมณ์โกรธรุนแรงไม่เหมาะสม
9) เมื่อมีความเครียด จะเกิดความหวาดระแวงหรือแสดงอาการแสดงเกี่ยวกับภาวะความจํา
การรับรู้เก่ียวกับตนเองสูญเสียไป (dissociative symptoms)
บุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา (dependent personality disorders)
อาการแสดงออกอย่างน้อย 5 จาก 8 อาการดังต่อไปนี้
1) ไม่กล้าตัดสินใจด้วยตนเอง
2) ต้องการให้คนอื่นเข้ามารับผิดชอบเรื่องสําคัญๆ ให้
3) รู้สึกยากที่จะแสดงความคิดเห็นคัดค้าน หรือไม่เห็นด้วยกับคนอื่น
4) ไม่สามารถที่จะคิดริเริ่มกิจกรรมหรือโครงการใหม่ๆ และทําอะไรด้วยตนเองไม่ค่อยได้
5) ทําทุกอย่างที่จะให้ได้รับการช่วยเหลือเกื้อหนุนจากผู้อื่น
6) รู้สึกไม่สบายใจหรือหมดหนทางช่วยเหลือ เมื่อต้องอยู่คนเดียว
7) เมื่อคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดต้องมีอันจากไปหรือสัมพันธภาพต้องยุติลง
8) ครุ่นคิดแต่ในเรื่องท่ีจะถูกทอดทิ้งให้ต้องดูแลตนเอง
สาเหตุ
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ > พันธุกรรม ประสาทชีววิทยา
2) ปัจจัยทางจิตวิทยา >
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory) อธิบายถึงสาเหตุของบุคลิกภาพที่ผิดปกติตามทฤษฎีของฟรอยด์ (Freud's psychosexual stages of development) ว่า 2 สาเหตุที่ทําให้เกิดความผิดปกติมา จาก 1) มีการติดขัดในขั้นของพัฒนาการ 2) โครงสร้างทางจิต (psychic structure; id, ego, superego) บกพร่อง
ทฤษฎีการเรียนรู้ (leaning theory) อธิบายว่า บุคคลมีบุคลิกภาพที่ผิดปกติเพราะมีการ เรียนรู้ที่ผิดปกติมาตั้งแต่ช่วงต้นของชีวิต
ทฤษฎีทางจิตสังคม (psychosocial theory) อธิบายว่า บุคคลมีบุคลิกภาพที่ผิดปกติเพราะมี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลสําคัญในแต่ละช่วงวัยของพัฒนาการไม่เหมาะสม
3)ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์พ่อแม่ลูกไม่ดี พ่อแม่เคร่งครัดขาดเหตุผลต่อเด็ก ความยากจนและการขาดที่พึ่ง
การบำบัดรักษา
1)การบำบัดทางจิตสังคม
จิตบำบัดรายบุคคล, จิตบำบัดแบบกลุ่ม
2)การรักษาด้วยยา
ยาคลายกังวล ยาลดอารมณ์เศร้า และยาต้านโรคจิต
การพยาบาล
1) การประเมินสภาพ (assessment)
พันธภาพทางสังคม ลักษณะเฉพาะ อารมณ์ทั่วไป การเลี้ยงดูในวัยเด็ก การจัดการปัญหาและการใช้กลไกการป้องกันตนเองทางจิต เจตคติและมาตรฐาน การใช้เวลาว่าง การกระทำเป็นนิสัย
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
ตัวอย่าง
เสี่ยงต่อการทําร้ายตนเอง/ฆ่าตัวตายเนื่องจากรู้สึกไม่มีคุณค่า/สูญเสีย/ล้มเหลว/มีภาวะซึมเศร้า
เสี่ยงต่อการทําร้ายผู้อื่นด้วยวิธีรุนแรงเนื่องจากขาดความยับยั้งชั่งใจ/ความอดทนต่อความคับข้องใจต่ำ
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
1) บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคมและแบบก้ำกึ่ง และพึ่งพา (antisocial, and borderline personality disorders)
สร้างสัมพันธภาพด้วยความชัดเจน ให้ระบายความรู้สึก เฝ้าระวังพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย
2) บุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา (dependent personality disorders)
ให้พูดระบายความรู้สึกก่อนและหลังกระทำในสิ่งที่กลัว สอนการปรับเปลี่ยนวิธีคิดที่มีผลต่อความวิตกกังวล การคิดเชิงบวก ส่งเสริมการมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น สอนทักษะจำเป็นต่างๆ ให้เลือกวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเอง ให้การเสริมแรงบวก
4) การประเมินผลทางการพยาบาล (evaluation)
การพยาบาลได้ผลทางบวก.
ไม่มีความคิดค่าตัวตาย
ไม่มีการทำร้ายบุคคลอื่น
ไม่รู้สึกว่าตนเองด้อยค่า
5.3 กลุ่มโรคอาการทางกาย
ความหมาย
บุคคลที่มีปัญหาทางด้าน
จิตใจ หรือ มีความกดดันทางด้านจิตใจแต่แสดงอาการของการมีปัญหาทางด้านจิตใจออกมาให้เห็นเป็นความเจ็บป่วย ทางด้านร่างกาย
ลักษณะอาการและอาการแสดง
โรค somatization disorder
1) มีอาการปวด (pain) อย่างน้อย 4 ตําแหน่งพร้อมกัน เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง ปวดหลัง ปวดข้อ แขนขา ปวดท้องขณะมีประจําเดือน ปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ ปวดขณะถ่ายปัสสาวะ
2) มีอาการของระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal symptom) อย่างน้อย 2 อาการ เช่น คลื่นไส้ แน่นท้อง อาเจียน ท้องเดิน
3) อาการทางเพศ (Sexual symptom) อย่างน้อย 1 อาการ เช่น เฉื่อยชาทางเพศ ประจําเดือนมา ไม่สม่ำเสมอ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
4) อาการที่คล้ายโรคทางระบบประสาท (pseudo neurological symptom) น้อย 1 เช่น การ ทรงตัว แขนขาไม่มีแรงหรือเป็นอัมพาต กลืนอาหารลําบาก พูดไม่มีเสียง ตามองไม่เห็น หูหนวก ชัก เป็นต้น
โรค Hypochondriasis
ผู้ป่วยจะมีความกลัวหรือกังวลอย่างน้อย 6 เดือนว่าตนเองจะป่วยเป็นโรคร้ายโรคใดโรคหนึ่ง โดยที่
ตนเองไม่มีการเจ็บป่วยนั้นจริง
ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงหมกมุ่น แยกตัวจากสังคม ไม่ปฏิบัติงานที่ควรปฏิบัติได้ หรือปฏิบัติตนเป็นคนป่วยตลอด
ไปพบแพทย์บ่อย ต้องการเปลี่ยน ผู้รักษาไปหาคนใหม่ (doctor shopping)
สาเหตุ
โรค somatization disorder (ยังไม่ทราบแน่ชัด)
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ
ความผิดปกติของระดับการใส่ใจ (attention) การรู้คิดและเข้าใจ (cognition) ทําให้
ผู้ป่วยมีการรับรู้ (perception) ความรู้สึกในร่างกายและมีการแปลความรู้สึกในร่างกายผิดไปจากคนปกติ
การทํางานที่น้อยกว่าปกติของสมองส่วนหน้า (frontal lope) และสมองซีกไม่เด่น (non –
dominant hemisphere)
พันธุกรรม แฝดจากไข่ใบเดียวกันมีโอกาสเกิดมากกว่า
2)ปัจจัยทางจิตสังคม
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ มองว่า อาการแสดงทางร่างกายเป็นการสื่อแทนความรู้สึกภายในจิตใจ ในการ หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบหรือหลีกเลี่ยงส่ิงท่ีต้องทํา
ทฤษฎีการเรียนรู้ มองว่า อาการแสดงทางร่างกายที่ กิดขึ้น เป็นการรับแบบอย่างมาจากพ่อแม่ การอบรมสั่งสอน หรือเกิดจากวัฒนธรรมประเพณีบางอย่าง
โรค hypochondriasis (ยังไม่ทราบแน่ชัด)
โดยท่ัวไปในผู้ป่วยโรคน้ีการบําบัดด้วยยาไม่ค่อยได้ผล ผู้ป่วยอาจจะได้รับยาแก้ต้านเศร้าที่อาจช่วย
ให้อาการดีขึ้นบ้าง อาจได้รับการรักษาด้วยจิต บําบัดอาจเป็นจิตบําบัดแบบกลุ่ม ส่วนจิตบําบัดแบบอื่น ๆ เช่น จิตบําบัดเชิงลึก พฤติกรรมบําบัด การ บําบัดความคิดและพฤติกรรม หรือแม้แต่การสะกดจิตก็ อาจเป็นประโยชน์สําหรับผู้ป่วยในบางราย
การพยาบาล
1)การประเมินสภาพ
ด้านร่างกาย ตรวจร่างกายอย่างถี่ถ้วน
ด้านจิตใจ มุ่งเน้นด้านอารมณ์และความคิดเป็นสำคัญ
ด้านสังคม ประเมินแรงกดดันที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดอาการต่าง ๆมากข้ึน เพื่อเข้าใจและหาแนวทางช่วยเหลือต่อไป
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
ตัวอย่าง
ไม่สนใจที่จะแก้ปัญหาทางจิตใจเพราะปฏิเสธปัญหาทางจิตใจ
มีความบกพร่องในการดูแลตนเองด้านสุขภาพอนามัย
มีอาการเจ็บป่วยทางร่างกายหลายอย่าง
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพ ให้ระบายความในใจ หลีกเลี่ยงการให้แรงเสริมต่อพฤติกรรมที่เป็นพยาธสภาพของผู้ป่วย ด้วยการ เพิกเฉยต่ออาการผู้ป่วยแต่ให้ความสนใจในตัวผู้ป่วย ส่งเสริมความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับปัญหาทางสุขภาพของผู้ป่วย และทักษะที่จําเป็น ตามแต่ละปัญหาที่แท้จริงของของผู้ป่วย จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย ส่งเสริมการบำบัดทางจิตสังคม ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
4)การประเมินผลทางการพยาบาล
ผลทางบวก
สามารถบอกวิธีในการเผชิญหรือแก้ปัญหาของตนเองได้
สีหน้าสดชื่นแจ่มใส
นอนหลับพักผ่อนได้
ประกอบกิจวัตรประจําวัน บทบาท และหน้าท่ีของตนเองได
นางสาวจิราภรณ์ แก้วขวาน้อย รหัส 180101041 พยบ.ปี 3