Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5.5 บุคคลที่มีกลุ่มโรควิตกกังวล, นางสาวสรารัตน์ ธราพงษ์นิวัฒน์ 180101104 -…
5.5 บุคคลที่มีกลุ่มโรควิตกกังวล
ความหมาย
ความวิตกกังวล (Anxiety) หมายถึง ความรู้สึกไม่สบายใจ หวาดหวั่น ไม่มั่นใจต่อสภาพการณ์ในอนาคตเกรงว่าจะเกิดอันตรายหรือความเสียหาย
สาเหตุ
ปัจจัยทางจิตวิทยา (Psychological factors)
2.2 ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ซัลลิแวน = เกิดจากการไม่ได้รับการยอมรับจากคนรอบข้างในช่วงต้นของชีวิต
2.3 ทฤษฎีการเรียนรู้ (cognitive behavior theory) = เมื่อพบสิ่งกระตุ้นบางสิ่งแล้ว ทำให้เกิดการย้ำคิด ส่วนการย้ำทำ
2.1 ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychodynamic theory) Freud มีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ และกลัวสุดขีด
ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social and environmental factors)
ภาวะ Panic attack ของคนละตินอเมริกันหรือคนยุโรปทางเหนือ จะมีอาการ หายใจขัด หายใจไม่เต็มปอด เจ็บแน่นหน้าอก กลัวตาย
ปัจจัยทางชีววิทยา (Biological factors)
1.3 สารชีวเคมี (biochemical) การมี blood lactate สูงผิดปกติทาให้ผู้ป่วยมีอาการ panic disorder
1.4 สารสื่อประสาท (neurochemical) = serotonin และGABA
1.2 กายวิภาคของระบบประสาท (neuroanatomical)
1.5 ภาวะการเจ็บป่วยทางกาย (medical condition) เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
1.1 กรรมพันธุ์ (genetic)
ลักษณะอาการของความวิตกกังวล
อาการแสดงด้านจิตใจและอารมณ์
มีอาการกระสับกระส่าย หงุดหงิด ซึมเศร้าร้องไห้ โกรธ รู้สึกไม่มีสมาธิ
อาการแสดงด้านพฤติกรรม
ได้แก่ เดินไปเดินมา ลุกลี้ลุกลน นั่งไม่ติดที่ เอามือม้วนเส้นผม ระมัดระวังตัวมากเป็นพิเศษ
อาการทางร่างกาย
คือ กล้ามเนื้อตึงเครียด เหนื่อย กระสับกระส่าย ปากแห้ง หนาว มือและเท้าเย็น ต้องการปัสสาวะ ตาพร่า กล้ามเนื้อสั่นกระตุก หน้าแดง เสียงสั่น กระสับกระส่ายและอาเจียน หายใจลึกและถี่ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
อาการแสดงด้านความคิด ความจา
สนใจสิ่งแวดล้อมลดลง ไม่มีสมาธิ ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นรอบตัว ทาให้วิตกกังวล หลงลืม สนใจสิ่งที่ผ่านมามากกว่าเรื่องที่กาลังจะเกิดขึ้น มีอาการครุ่นคิด
ระดับของความวิตกกังวล
วิตกกังวลระดับปานกลาง (Moderate anxiety) ความสนใจและสมาธิลดลง การรับรู้แคบลง มีความตื่นตัวมากขึ้นแต่ยังรับรู้ เข้าใจความเกี่ยวเนื่องของเหตุการณ์อยู่
วิตกกังวลระดับสูง (Severe anxiety) ความสนใจจดจ่ออยู่กับแค่บางสิ่งบางอย่าง เริ่มมีพฤติกรรมที่แสดงถึงความผิดปกติทางจิตใจ เช่น ซึมเศร้า แยกตัว
วิตกกังวลระดับน้อย (Mild anxiety)สามารถเกิดได้ในชีวิตประจำวัน จะมีลักษณะตื่นตัวดี กระตือรือร้น สามารถสังเกตการณ์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆได้ดี เรียนรู้ได้ดี
วิตกกังวลระดับรุนแรง (Panic state)ความคิดเป็นเหตุเป็นผลลดลง แก้ปัญหาไม่ได้ มีความรู้สึกโกรธ ขาดที่พึ่ง เศร้าหดหู่ หมดอาลัยตายอยากในชีวิต แยกตัวเอง พูดเสียงดังเร็ว ไม่ประติดประต่อเป็นประโยค หน้านิ่วคิ้วขมวด
วิตกกังวลระดับปกติ (Normal)มีความไม่สบายใจ มีความรู้สึกหวาดหวั่น
ลักษณะของความวิตกกังวล
Trait – anxiety or A –trait (ความวิตกกังวลประจำตัว)
ลักษณะประจำตัวของแต่ละบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้และการประเมินสิ่งเร้า
State- anxiety or A- state (ความวิตกกังวลในขณะปัจจุบัน)
ความวิตกกังวลในขณะปัจจุบันนี้ทาให้บุคคลเกิดความตึงเครียด หวาดหวั่น กระวนกระวาย ระบบอัตโนมัติตื่นตัวสูงขึ้น ความรุนแรงและระยะเวลาที่เกิดความวิตกกังวลในขณะปัจจุบันจะแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล
การบำบัดรักษา
การรักษาทางจิตสังคม วิธีการของจิตบาบัดมีหลายวิธี เช่น จิตบำบัดโดยจิตวิเคราะห์ จิตบำบัดโดยทฤษฎีมนุษย์นิยม
การบำบัดทางเลือก (Alternative therapy) เพื่อลดความวิตกกังวล
Transcendental meditation การทาสมาธิ
Biofeedback การใช้เครื่องไบโอฟีดแบคตรวจสอบ
Exercise or massage การออกกาลังกายหรือการนวด
Systematic desensitization วิธีเผชิญภาวะวิตกกังวลอย่างเป็นระบบ
Change of pace or scenery การเปลี่ยนย้ายสถานที่อยู่
7.relaxation exercise ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
Visual imagery การสร้างจินตภาพ
Therapeutic touch or laying on of hands การใช้พลังสัมผัส
Hypnosis การสะกดจิต
การรักษาด้วยยา ได้เเก่ Ativan, Xanax, buspar แต่ยาเหล่านี้มีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์หลายอย่าง เช่น หลังจากใช้จะมีผลทำให้ง่วงนอน ไม่สดชื่น ทาให้ติดยาต้องเพิ่มปริมาณยาที่ใช้ และต้องเพิ่มปริมาณยาขึ้นเรื่อยๆ เมื่อใช้เป็นเวลานานในปริมาณสูงๆ การหยุดยาทันทีทาให้เกิดอาการชักได้
Generalized Anxiety Disorders (GAD) โรควิตกกังวลทั่วไป
อาการ
ผู้ป่วยพบว่า ยากที่จะควบคุมความกังวล
ความกังวลจะเกี่ยวข้องกับอาการอย่างน้อย 3 อาการจากทั้งหมด 6 อาการและอย่างน้อยอาการที่เกิดขึ้นได้เกิดมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
3.3 มีปัญหาด้านสมาธิ หรือใจลอย
3.4 หงุดหงิดง่าย
3.2 อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
3.5 ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตึงเครียดตามกล้ามเนื้อ
3.1 กระสับกระส่าย
3.6 มีปัญหาการนอน (หลับยาก นอนหลับตลอดเวลา หลับ ๆ ตื่น ๆ นอนหลับไม่สนิท)
ความวิตกกังวลมากผิดปกติจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป
ความวิตกกังวล หรืออาการทางกายเป็นสาเหตุให้มีอาการทางคลินิก หรือบกพร่องในการเข้าสังคม การประกอบอาชีพ หรือการทาหน้าที่ที่สำคัญอื่น ๆ ในชีวิต
ระบาดวิทยา
พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 2เท่า อาการมักเริ่มต้นในวัยเด็ก และวัยรุ่น
การดำเนินโรค
โรคกังวลไปทั่ว เป็นโรคเรื้อรัง มักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ส่วนใหญ่อาการจะรุนแรงในช่วงที่เครียด หลังจากหายเครียดแล้วอาการจะดีขึ้น
การรักษา
จิตบาบัด เช่น วิธี Cognitive behavior therapy (CBT)
การรักษาด้วยยา Benzodiazepine เช่น Diazepam ช่วยลดอาการวิตกกังวล และอาการทางกายได้ดี
ยากลุ่ม SSRI เช่น Sertraline, Paroxetine Propanolol ใช้เพื่อลดอาการใจสั่น มือสั่น แต่ต้องระวังผลข้างเคียง เช่น Depression, Bradycardia, Nausea
การพยาบาล
การพยาบาลเพื่อช่วยลดระดับความวิตกกังวล
สนับสนุนให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกไม่สบายใจ
อยู่กับผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยร้องไห้ให้นั่งเงียบๆ ซึ่งเป็นการยอมรับการแสดงอารมณ์ตึงเครียดที่สามารถทำได้
ให้ผู้ป่วยสำรวจความรู้สึก ค้นหาสาเหตุ ตระหนักรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับตน
ประเมินความคิดที่จะทำอันตรายต่อตนเอง โดยใส่ใจกับคำพูด การกระทำที่แสดงถึงความรู้สึกหมดหนทางและความรู้สึกหมดหวัง เพราะผู้ป่วยต้องการหนีความทุกข์ใจและผู้ป่วยไม่เชื่อว่าเขาจะรู้สึกดีขึ้น
พูดคุยกับผู้ป่วยด้วยน้ำเสียงและท่าทีที่สงบ ใช้คำพูดที่เข้าใจง่ายๆ สั้นๆ ชัดเจน
เฝ้าระวังการทาร้ายตนเอง หลังจากความวิตกกังวลลดลง พยาบาลช่วยให้ผู้ป่วยแก้ไขพฤติกรรมและใช้วิธีแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมต่อไป
จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ ลดสิ่งกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวล
สอนเทคนิควิธีการผ่อนคลาย (relaxation exercise) เพื่อลดระดับความวิตกกังวลด้วยตนเอง
ส่งเสริมให้ทางานอดิเรก และทำกิจกรรมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อช่วยผู้ป่วยจัดการกับความรู้สึกเครียด และความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นประจำวัน
Panic disorder
อาการ
อาการ Panic attack ตาม DSM 5เกิดขึ้นในระยะเวลารวดเร็วภายในไม่กี่นาที และถึงระดับสูงสุดในระยะเวลา 10นาที จะต้องมี อาการแสดงเกิดขึ้นอย่างน้อย 4 อาการ ดังนี้
1.2 เหงื่อออกมาก
1.3 สั่นทั้งตัว
1.1 ใจสั่น หัวใจเต้นแรง หรืออัตราเต้นของหัวใจเร็ว
1.4 หายใจเร็วถี่
1.6 ร้อน ๆ หนาว ๆ ตามตัว
1.7รู้สึกตัวชา หรือรู้สึกซู่ซ่ารู้สึกเหมือนไม่อยู่กับความจริง (Derealization) หรือ ไม่ใช่ตัวของตัวเอง (Depersonalization)
1.5รู้สึกวิงเวียน สมองตื้อ โคลงเคลง หรือจะเป็นลม
1.8 กลัวควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือเหมือนจะเป็นบ้า กลัวตาย
อาการที่เกิดอย่างน้อยครั้งหนึ่ง จะต้องมีอาการอยู่เป็นเวลาตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป โดยเกิดอาการใดอาการหนึ่ง หรือทั้ง 2 อาการ ได้แก่
2.1 กังวลตลอดเวลาว่าจะเกิดมีอาการขึ้นอีก เช่น การสูญเสียการควบคุม หัวใจ หยุดเต้น อาการคล้ายจะเป็นบ้า
2.2 การแสดงพฤติกรรมการปรับตัวที่ไม่มีประสิทธิภาพจะเกี่ยวข้องกับการเกิดอาการ เช่น การหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
อาการที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นผลต่อร่างกายจากการใช้สารต่าง ๆ เช่น การใช้ยาเสพติด ยารักษาโรค หรืออาการของโรค เช่น Hyperthyroidism, Cardiopulmonary disorders
อาการ panic attack ไม่ได้เกิดจากโรคจิตเวชอื่นๆ เช่น social phobia, specific phobia, obsessive compulsive disorder หรือ posttraumatic stress disorder
การดำเนินโรค
โรคมักเกิดในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยทั่วไปจะเป็นเรื้อรัง
การรักษา
จิตบำบัด เช่น Cognitive behavior therapy (CBT) ร่วมกับ Relaxation Technique การฝึกหายใจเมื่อเกิด Hyperventilation
การรักษาด้วยยา ได้แก่ ยากลุ่ม SSRI เช่น Fluoxetine และ Benzodiazepine เช่น Alprazolam
การพยาบาล
หลักการการบำบัดด้านความคิด (cognitive therapy) พูดกับตนเองในแง่บวก ช่วยในการควบคุมตนเองเมื่อมีภาวะวิตกกังวล
เทคนิควิธีการผ่อนคลาย เพื่อลดระดับความวิตกกังวลด้วยตนเอง เช่น deep breathing exercise และการออกกาลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อระบายพลังงานที่มีออกมา
จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ ไม่มีสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการ panic เช่น หรี่ไฟ มีคน 2-3 คนอยู่ด้วย เพราะสิ่งแวดล้อมอาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลสูงขึ้น และระมัดระวังการสัมผัสผู้ป่วย เพราะการสัมผัสอาจเพิ่มความรู้สึก Panic
ให้ยาคลายกังวลตามแผนการรักษา ประเมินประสิทธิภาพและผลข้างเคียงจากการใช้ยา
ถ้าผู้ป่วยมีอาการหายใจเร็ว (hyperventilation) ให้ผู้ป่วยหายใจในถุงกระดาษและมุ่งความสนใจมาที่การหายใจของผู้ป่วย
อสารกับผู้ป่วย ด้ายคาพูดที่เข้าใจง่าย สั้น ชัดเจน ให้ผู้ป่วยบอกพยาบาลเมื่อความรู้สึกกลัวเกิดขึ้น เพื่อลดความวิตกกังวล ไม่ให้มีมากจนถึงอาการ panic
ตระหนักถึงความรู้สึกกลัวของผู้ป่วย โดยอยู่กับผู้ป่วย และให้กาลังใจว่าปลอดภัยเพราะผู้ป่วยอาจกลัวว่าเขาจะเสียชีวิต
Phobia disorder
โรคกลัวอยู่ในที่โล่ง หรือที่ชุมชน (Agoraphobia)
สถานที่ที่มีผู้คนมาก เช่น ร้านค้า โรงภาพยนตร์ โรงละคร
การเข้าคิวในแถว หรือสถานที่ที่มีคนหนาแน่น
ที่โล่งกว้าง เช่น ลานจอดรถ ตลาด สะพาน
การอยู่นอกบ้านคนเดียวตามลาพัง
การใช้ขนส่งมวลชน เช่น รถยนต์โดยสาร รถโดยสารประจำทาง รถไฟ เรือ เครื่องบิน
ความกลัว ความวิตกกังวล หรือการหลีกเลี่ยงต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป
โรคกลัวสังคม (Social phobia หรือ Social anxiety disorder)
หลีกเลี่ยงสถานการณ์ในสังคม หรืออดทนต่อความกลัวหรือความวิตกกังวลอย่างมาก
ความกลัว ความวิตกกังวล หรือการหลีกเลี่ยงต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป
สถานการณ์ทางสังคมจะเป็นสาเหตุให้เกิดความกลัว และความวิตกกังวล
ข้อสังเกต ในเด็ก ความกลัว หรือวิตกกังวลอาจแสดงโดย การร้องไห้ การออกฤทธิ์ (Tantrum) ตัวแข็งทื่อ การทาตัวลีบ หรือการพูดไม่ออกเมื่ออยู่ในสังคม
อาการไม่ใช่ลักษณะผลของร่างกายที่เกิดจากการใช้สาร เช่น ยา แอลกอฮอล์ หรือผลจากยาตัวอื่น
บุคคลกลัวว่าตนเองจะแสดงวิธี หรือแสดงอาการวิตกกังวล ซึ่งจะถูกประเมินภาพลบ เช่น จะเป็นความอดสู หรือความน่าอาย ซึ่งจะนาไปสู่การปฏิเสธ หรือไม่พอใจจากบุคคลอื่น
กลัวอย่างชัดเจน เช่น การพบปะสนทนา การประชุมกับบุคคลที่ไม่คุ้นเคย
โรคกลัวสิ่งเฉพาะเจาะจง (Specific phobia)
กลัวอย่างชัดเจน หรือวิตกกังวลเกี่ยวกับวัตถุหรือสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง เช่น กลัวแมลงที่มีปีกบิน กลัวความสูง สัตว์ กลัวเข็มฉีดยา กลัวเลือด
ข้อสังเกต ในเด็ก ความกลัวหรือวิตกกังวล อาจแสดงออกโดย การร้องไห้ การออกฤทธิ์ (Tantrum) ตัวแข็งทื่อ การที่ต้องอยู่ใกล้ผู้อื่น
ระบาดวิทยา
Specific phobia จะพบในเพศหญิงมากกว่าในเพศชาย 2: 1
Social phobia จะพบในเพศชายมากกว่าในเพศหญิง 2: 1 และมักพบในช่วงวัยรุ่น
การรักษา
Specific phobia ใช้วิธีExposure therapy มากที่สุด
Social phobia ใช้วิธีการทาจิตบำบัดร่วมกับการใช้ยา ได้แก่ ยากลุ่ม SSRI เช่น Paroxetine
ยา Benzodiazepine เช่น Clonazepam และยา Beta-adrenergic antagonist เช่น Propranolol
การพยาบาล
เข้ากลุ่มกิจกรรมกับผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัย
ความรู้เพื่อการดูแลตนเอง เช่น สัญญาณ และอาการที่จะเพิ่มความวิตกกังวล อาการและอาการแสดงของโรค
การให้ผู้ป่วยเผชิญกับสิ่งที่ทาให้กลัวมากที่สุด (flooding)
เทคนิควิธีการผ่อนคลาย เพื่อลดระดับความวิตกกังวลด้วยตนเอง เช่ย deep breathing exercise และการออกกาลังกายอย่างสม่าเสมอ
การให้ผู้ป่วยเผชิญกับความกลัวทีละระดับอย่างช้าๆ (desensitization)
ให้ยาคลายกังวลตามแผนการรักษา ประเมินประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของยา
ให้ผู้ป่วยตัดสินใจเลือกวิธีในการจัดการกับความกลัวด้วยตนเอง
อยู่เป็นเพื่อนขณะที่ผู้ป่วยมีความกลัว และให้กาลังใจว่าเขาปลอดภัย
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบาบัด ยอมรับความกลัวของผู้ป่วย โดยพูดคุยด้วยกิริยาสงบท่าทางที่เชื่อมั่น
Obsessive Compulsive Disorders (OCD)
ย้ำคิด (Obsessions)
มีความหมกมุ่น โดยเกิดขึ้นซ้า ๆ มากระตุ้น
ผู้ป่วยพยายามที่จะเพิกเฉย หรือหยุดยั้งความคิด การกระตุ้น หรือมโนภาพหรือต่อต้านด้วยความคิด หรือการกระทำ
ย้ำทำ (Compulsive)
พฤติกรรมที่ทำซ้า ๆ เช่น การล้างมือ การออกคำสั่ง
พฤติกรรม หรือการแสดงออกด้านจิตใจเพื่อที่จะป้องกัน หรือลดความกังวลหรือความทุกข์ทรมานใจ
อาการ
ไม่มีอาการทางร่างกายที่เป็นผลจากการได้รับสาร เช่น สารเสพติด หรืออาการจากยาบางชนิด
การกระทาที่ใช้เวลามาก เช่น ใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน
การรักษา
พฤติกรรมบาบัด จะใช้หลัก Exposure และ Response prevention ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วยมาก
การรักษาด้วยยา ยากลุ่ม SSRI เช่น Fluoxetine
การพยาบาล
2) เมื่อสัมพัธภาพดีขึ้นเริ่มจากัดเวลาในการทากิจกรรมที่ทำซ้าๆ หรือใช้เวลานาน พร้อมทั้งอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ ลดเวลาอาบน้ำนาน 60 นาที เป็น 45 นาที และ 30 นาที อย่างค่อยเป็นค่อยไป
3) ให้แรงเสริมทางด้านบวกเมื่อผู้ป่วยทาได้สาเร็จ เพื่อเพิ่มความภาคภูมิใจและความมีคุณค่าของผู้ป่วย
1) ระยะแรกของการบำบัด ควรจัดตารางกิจกรรม และให้เวลาในการทำกิจกรรมซ้าๆ ไม่บังคับให้ผู้ป่วยหยุดการทากิจกรรมที่ใช้เวลานาน
4.ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่น อาหาร การพักผ่อน และการแต่งตัว
การจัดกิจกรรม หรืองานให้ผู้ป่วยทำ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยหมกมุ่นกับการย้ำคิด ทำให้เกิดการย้ำทำ
นางสาวสรารัตน์ ธราพงษ์นิวัฒน์ 180101104