Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด -…
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม
บุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด
ความวิตกกังวล
ลักษณะอาการและอาการแสดง
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
มีภาวะหัวใจเต้นเร็ว ผิดจังหวะ เจ็บหน้าอก ใจสั่นความดันโลหิตสูง หน้าแดง เลือดไประบบย่อยอาหารน้อย เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมากขึ้น
ระบบทางเดินหายใจ
สะอึก หายใจเร็ว หายใจลำบาก
ระบบทางเดินอาหาร
กลืนลำบาก ปากแห้ง ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องเดิน
ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์
ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด มีการเปลี่ยนแปลงในรอบเดือน ความรู้สึกทางเพศลดลง
ระบบประสาท
ปวดศีรษะจากความเครียด ตาพร่า หูอื้อ ปากแห้ง เหงื่อออก มือสั่น รูม่านตาขยาย
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย มือสั่น
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและอารมณ์
บุคคลจะมีความรู้สึกหวาดหวั่น กลัว ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง มองตนเองไร้ค่า สับสน กระวนกระวาย หงุดหงิดเจ้ากี้เจ้าการ
การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
ขาดความสนใจ ขาดความคิดริเริ่ม มีปัญหาเรื่องสัมพันธภาพกับผู้อื่น พึ่งพาผู้อื่นหรือแยกตัว
การเปลี่ยนแปลงด้านสติปัญญา
ความคิด ความจำลดลง ครุ่นคิด หมกมุ่น ไม่ค่อย มีสมาธิ การรับรู้และการตัดสินใจผิดพลาด มีความคิดและการกระทำซ้ำๆ
ความวิตกกังวล
หมายถึง ความรู้สึกไม่สบาย สับสน กระวนกระวายกระสับกระส่าย หรือตื่นตระหนก ต่อสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและเกรงว่าจะเกิดอันตรายหรือความเสียหายซึ่งอาจ เกิดขึ้นจริงหรือคิดขึ้นเองจากสิ่งที่ไม่รู้ไม่แน่ใจ
การตอบสนอง
มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการต่อสู้ (acting out -behavior)
โดยความวิตกกังวลจะ เปลี่ยนไปเป็นความโกรธ โต้เถียง ข่มขู่ต่อต้าน ก้าวร้าว ทำลายข้าวของ พฤติกรรมรุนแรง เจ้ากี้เจ้าการ
มีพฤติกรรมชะงักงันหรือถดถอย(paralysis and retreating behavior)
บุคคลจะหลีกเลี่ยงการแกัปัญหา แยกตัว เก็บตัว หลับ ซึมเศร้า หลีกเลี่ยงการพูดถึงเรื่องตัวเอง
มีการเจ็บป่วยทางกาย (somatizing)
เช่น เครียดแล้วมีอาการปวดศีรษะ หายใจลำบาก ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ ปวดท้อง มีการเปลี่ยนแปลงของรอบเดือน เป็นต้น
มีพฤติกรรมเผชิญความวิตกกังวลในเชิงสร้างสรรค์ (constructive behavior)
เช่น การแก้ปัญหาโดยกระบวนการแก้ปัญหา (problem solving) โดยการที่ค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาสาเหตุและวิธีการแก้ไขปัญหา ตัดสินใจเลือกวิธีที่ดีทีสุด ลงมือกระทำ และประเมินผลการกระทำนั้น
ชนิดของความวิตกกังวล
ความวิตกกังวลปกติ (normal anxiety)
เป็นแรงผลักดันให้ชีวิตประสบความสำเร็จ
ความวิตกกังวลเฉียบพลัน (acute anxiety)
เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีเหตุการณ์ เข้ามากระทบหรือคุกคาม
ความวิตกกังวลเรื้อรัง (chronic anxiety)
รู้สึกหวาดหวั่นไม่เป็นสุขขาดความมั่นคง ปลอดภัยที่แฝงอยู่ในตัวของบุคคลตลอดเวลา
ระดับของความวิตกกังวล (level of anxiety)
ความวิตกกังวลต่ำ (mild anxiety) +1
สามารถควบคุมตนเองได้มากขึ้น หาวิธีแก้ปัญหาและบรรเทาความวิตกกังวลได้
ความวิตกกังวลปานกลาง (moderate anxiety) +2
พยายามควบคุม ตนเองมากขึ้น และใช้ความพยายามในการแก้ปัญหาสูงขึ้น
ความวิตกกังวลรุนแรง (severe anxiety) +3
หมกมุ่น จนไม่สามารถติดตามเนื้อหาของเรื่องราวได้อย่างกว้างขวาง
ความวิตกกังวลท่วมท้น (panic anxiety) +4
ไม่สามารถจะทนต่อไปได้มีความผิดปกติของความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ อาจถึงแก่ความตายได้
สาเหตุ
มีลักษณะทางกายภาพ ของระบบประสาทบกพร่องมาแต่กำเนิด
ไวต่อสารบางอย่าง เช่น caffeinelactate ที่มีใน เลือดสูงจะกระตุ้นให้เกิดอาการตื่นตระหนก (panic disorder) ได้ง่าย
การเจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคหัวใจแบบ เฉียบพลันหรือการเจ็บป่วยรุนแรงอื่น ๆ
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วย
ใช้คำพูดง่ายๆ ข้อความสั้น ๆ
ดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยที่มีอาการทางกาย
ดูแลป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยและบุคคลอื่น อันเนื่องมาจากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตนเองได้ มีอารมณ์พฤติกรรมก้าวร้าวและรุนแรง หรือผู้ป่วยอยู่ในระดับไม่รู้สึกตัว
ให้ความช่วยเหลือดูแลและกระตุ้นให้ผู้ป่วยสนใจเรื่องสุขภาพอนามัยของตนเอง เช่น เรื่องอาหาร
ความเครียด
ความเครียด
หมายถึง ปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายและจิตใจที่มีต่อสิ่งกระตุ้น (stressor) และบุคคล นั้นได้ประเมินแล้วว่าสิ่งกระตุ้นนั้นคุกคามหรือทำให้ตนเองรู้สึกไม่มั่นคง ปลอดภัย หากบุคคลมีความครียดระดับสูง และสะสมอยู่นาน ๆ จะก่อให้เกิดโรคทางกายและทางจิตได้
ลักษณะอาการและอาการแสดง
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ สังคม
ได้แก่ วิตกกังวล โกรธง่าย หงุดหงิด ซึมเศร้า การตัดสินใจไม่ดี สมาธิสั้นไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มองโลกในแง่ร้าย แยกตัว มีปัญหาด้านสัมพันธภาพ
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ได้แก่ มึนงง ปวดศีรษะ มีเสียงด้งในหู ปวดตามกล้ามเนื้อ อ่อนแรงไม่อยากทำอะไร มีปัญหาเรื่องการนอน กัดฟัน อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่อิ่ม มือเย็น แน่นจุกท้อง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ท้องผูก
การตอบสนอง
++
การตอบสนองด้านร่างกาย
++
การปรับตัวแบบทั่วไปเพื่อตอบสนองความเครียด (general adaptation syndrome)
ระยะเตือน (alarm reaction)
ร่างกายมีภาวะตื่นตัวและเกิดแรงที่จะป้องกันตนเอง
/
ระยะช็อก (shock phase)
หลั่งสาร epinephrine and cortisone จะรับรู้ต่อสิ่งกระตุ้นแบบรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว
/
ระยะตอบสนองการช็อก (counter shock phase)
ร่างกายจะปรับตัวกลับสู่สภาพเดิม
ระยะต่อต้าน(stage of resistance)
ใช้กลไกการป้องกันตัวที่เหมาะสม และพยายามจำกัดสิ่งที่มากระตุ้นให้น้อยลงทำให้ความเครียดลดลงเข้าสู่ภาวะปกติ
ระยะหมดกำลัง (stage of exhaustion)
ระยะการต่อต้านไม่สำเร็จร่างกายจะหมดแรงที่จะต่อสู้กับความครียด มีการใช้กลไกป้องกันตัวเองที่ไม่เหมาะสม มีพฤติกรรมแปรปรวน มีการรับรู้ความเป็นจริงบิดเบือน น้ำหนักตัวลดลง ต่อมไร้ท่อต่าง ๆ โตขึ้น ระดับ ฮอร์โมนสำคัญต่าง ๆ สูงขึ้น ถ้ามีความเครียดในระดับสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจทำให้เสียชีวิตได้
การปรับตัวเฉพาะที่เพื่อตอบสนองความเครียด (local adaptation syndrome)
ร่างกายมีการตอบสนองเฉพาะที่ เช่น เมื่อเกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บที่ขาบริเวณขาจะมีอาการปวด บวมหรืออักเสบ และหากการตอบสนองไม่ได้ผล การปรับตัวเฉพาะที่ล้มเหลว อาจเกิดเป็น localized exhaustion ได้ในที่สุด
การตอบสนองทางด้านจิตใจ
หนีหรือเลี่ยง (flight)
ทำได้ด้วยการปฏิเสธว่าตนกำลังมีความเครียด หรืออาจหันไปทำกิจกรรมอื่นๆทดแทน เช่น การเลี่ยงไม่รับรู้ ด้วยการนอนหลับ ช็อปปิ้ง หันไปใช้สารเสพติด ดื่มสุรา หรือ เพ้อฝันในสิ่งที่กลบเกลื่อน หรืออาจย้ายที่อยู่ใหม่เพื่อหลีกหนี่เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด
ยอมรับและเผชิญกับความครียด (fight)
การต่อสู้โดยการแก้ไขเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความครียดหรือแก้ไขปรับเปลี่ยนตนเอง เช่น การแสวงหาความช่วยเหลือ หาข้อมูลเพื่อปรับแก้ สถานการณ์จากภายนอก หรือการสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเองให้สามารถรับความเครียดได้มากขึ้น
เรียนรู้ที่จะอยู่กับความเครียด (coexistence)
เมื่อความเครียดยังคงอยู่และบุคคลยังไม่สามารถจัดการความครียดให้กลับสู่ภาวะปกติได้ บุคคลจะเริ่มแสวงหาและเรียนรู้วิธีการใหม่ๆ ที่จะอยู่กับความเครียด เช่น การไป ฟังพระสวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังเพลง ออกกำลังกาย หรือหาที่พึ่งที่สามารถให้คำปรึกษาหรือให้กำลังใจ
การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรม
ได้แก่ ร้องไห้ กัดเล็บ ดึงผมตัวเอง รับประทานอาหารเก่ง ติดบุหรี่ สุรา ก้าวร้าว เปลี่ยนงานบ่อย หรืออาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะทำงานได้
ชนิดของความเครียด
ความเครียดฉับพลัน (acute stress)
เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันที
ความเครียดเรื้อรัง (chronic stress)
เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อความครียดนั้น
ระดับของความเครียด
ความเครียดระดับต่ำ (mild stress)
เป็นความเครียดในระดับน้อยและหายไปได้ในระยะเวลาสั้น ไม่คุกคามต่อการดำเนินชีวิต(แบบประเมิน ST 20 ระดับคะแนน 0 - 23 คะแนน)
ความเครียดระดับปานกลาง (moderate stress)
เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีสิ่งคุกคามหรือเหตุการณ์ที่ทำให้เครียด(แบบประเมิน ST 20 ระดับคะแนน 24 - 41 คะแนน)
ความเครียดระดับสูง (high stress)
เกิดจากเหตุการณ์รุนแรง สิ่งต่าง ๆ สถานการณ์หรือเหตุการณ์รอบตัวที่แก้ไขจัดการปัญหานั้นไม่ได้รู้สึกขัดแย้ง ปรับความรู้สึกด้วยความลำบากส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน(แบบประเมิน ST 20 ระดับ คะแนน 42 - 61 คะแนน)
ความเครียดระดับรุนแรง (severe stress)เป็นความเครียดระดับสูงและเรื้อรังต่อเนื่องหรือกำลัง เผชิญกับวิกฤตของชีวิต เช่น เจ็บป่วยรุนแรง(แบบประเมิน ST 20 ระดับคะแนน 62 คะแนนขึ้นไป)
สาเหตุ
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น สภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ การย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วยของบุคคลอันเป็นที่รัก
ภาวะสุขภาพของตนเอง เช่น ภาวะเจ็บป่วยที่เผชิญอยู่ ความพิการ หรือความผิดปกติของสรีระร่างกายที่มีมาแต่กำเนิดการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการล่าช้า
กิจกรรมการพยาบาล
เน้นที่การพยาบาลตามแผนการบำบัดรักษาอาการทางกายของแพทย์ก่อนเป็นลำดับแรก
ส่งเสริมและให้กำลังในการฝึกและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้และเลือกกลวิธีในการจัดการความเครียดที่สร้างสรรค์
กระตุ้นและให้กำลังใจผู้ป่วยวางแผนการเปลี่ยนแปลงตนเอง ในการใช้ชีวิตเพื่อผ่อนคลายความเครียด
ฝึกทักษะการคิดเชิงบวก